ศาลแพ่งละเมิดอำนาจของพระราชกำหนดหรือไม่

จากกรณีที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดข้อห้าม 9 ข้อ ที่รัฐบาลได้ออกตาม พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  มีคำถามที่ชัดๆออกมาที่ควรต้องได้รับคำตอบคือ
1.ศาลแพ่งใช้อำนาจตาม ป.วิแพ่ง หรืออำนาจใด ที่สามารถห้ามการประกาศข้อกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฯ ที่เป็นสาระในกฎหมาย ระดับพระราชกำหนดได้
2. หากศาลแพ่งมีอำนาจห้ามการกระทำที่ปรากฎในพระราชกำหนดฉบับนี้ ศาลแพ่งก็ต้องมีอำนาจห้ามการกระทำในพระราชกำหนดอื่นๆ เช่น พระราชกำหนดด้านภาษี ด้านการเงิน ที่ฝ่ายบริหารออกมาบังคับใช้ ด้วยหรือไม่
3. ถ้าข้อ 1 และข้อ 2 ศาลแพ่งมีอำนาจระงับ ยังยั้ง การกระทำที่เขียนไว้ในพระราชกำหนดได้  แสดงว่า ศาลแพ่งมีอำนาจระงับ ยัยยั้งการกระทำใดก็ตามที่เขียนกำหนดไว้ในกฎหมายทุกฉบับ ใช่หรือไม่
4. ในคดีแพ่งคดีหนึ่ง(คดีแดงที่ 453/2550)   เคยมีกรณีตัวอย่างที่ศาลแพ่ง เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้อง(ที่ไม่ใช่จำเลย) ทุเลาการบังคับคดีได้  ทั้งๆที่ไม่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก่อนเลย อีกทั้งกฎหมายก็ไม่ได้ให้อำนาจให้ศาลแพ่งสามารถอนุญาตให้ผู้ร้องทุเลาการบังคับคดีในกรณีนี้ได้  แต่ศาลแพ่งยังดื้อดึงที่จะทำ  เมื่อมีการร้องไปยังอธิบดีศาลแพ่ง กลับบอกให้ไปแก้อุทธรณ์เอาเอง...?  นี่คืออีกตัวอย่างที่ศาลแพ่งสั่งการโดยไม่มีอำนาจ ไม่มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้  
5. ในโลกของ line ขณะนี้ ได้อ่านข้อความที่แชร์มาจากอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาท่านหนึ่ง ที่ปัจจุบันไปเป็นที่ปรึกษาธนาคาร ก็เขียนในทำนองว่า กรณีศาลแพ่งกับ ศรส. ต้องไปอุทธรณ์คำสั่งเอาเอง....  ทั้งๆที่ศาลแพ่งสั่งโดยไม่มีกฎหมายรองรับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องของดุลยพินิจ สั่งออกไปจะผิดจะถูกอย่างไรก็ไม่ต้องรับผิดชอบ  หากคู่ความไม่พอใจก็ไปอุทธรณ์คำสั่งเอาเอง...ง่ายไปรึเปล่าครับท่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่