ชั่งใจอยู่นานค่ะว่าจะเขียนกระทู้แชร์เทคนิคนี้ดีหรือเปล่า เพราะจริงๆ ก็ผ่านหูและก็ผ่านตามาตลอด กับประเด็นเข้าเซเว่นอีเลฟเว่นทีไรเสียเงินเยอะกับการที่ลูกร้องขอซื้อของเล่นของกินและอีกสารพัด ส่วนตัวเราไม่เคยมีประเด็นนี้กับลูก ก็เลยอยากจะมาแชร์วิธีการแล้วก็เทคนิคดีๆ ที่ตัวเองใช้มาตลอด ตั้งแต่ลูกเล็กๆจนถึงตอนนี้จะ 15 แล้ว
ประสบการณ์ของเราที่มีเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งประสบการณ์ตรงที่มีน้องชาย ค่อนข้างมีปัญหากับเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก (แต่พอโตก็หายนะคะ เพราะซื้อเองได้แล้ว 555) ตั้งแต่ตอนนั้นเราจึงปฏิญาณเลยว่า ถ้ามีลูก จะไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเด็ดขาดค่ะ อ่านรายละเอียดในความเห็นที่เราเคยตอบไว้ได้เลยค่ะ
https://ppantip.com/topic/42875111/comment39
ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกว่าเราเป็น single mom แม่เลี้ยงเดี่ยว ที่เลี้ยงลูกคนเดียว แม้จะมีช่วงที่มีรายได้มาจากหลายช่องทาง แต่ก็มีช่วงที่มีรายได้มาจากทางเดียว ดังนั้นเราไม่ได้มีงบซื้อของเล่นลูกหรือตามใจลูกมากพอ ที่จะตอบสนองเขาในทุกๆ ครั้งที่เขาร้องขอนะคะ หากบ้านไหนที่มีงบตามใจลูกไม่อั้นก็เอาตามที่เหมาะกับครอบครัวค่ะ
1. ให้ของขวัญในวันพิเศษเท่านั้น
การซื้อของเล่นหรือสิ่งที่ลูกอยากได้สำหรับเราถ้าเป็นชิ้นใหญ่ๆ เราจำไม่ได้ให้ทุกครั้งที่เขาร้องขอ แต่จะให้แค่ปีละ 1-2 ครั้ง เป็นของขวัญวันเกิด 1 ชิ้น และเป็นของขวัญวันคริสต์มาส 1 ชิ้น เท่านั้น ซึ่งตอนเล็กๆ ก็ทำมาตลอด เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 4 ขวบ เขาจะพอเข้าใจในเรื่องของเหตุผลบ้างแล้ว จนพอเขาเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเขาไม่อยากได้อะไรอีกต่อไป ก็ไม่ได้ให้มาหลายปีแล้วค่ะ
2. เปิดโอกาสในทุกตัวเลือก ตามงบประมาณ
เราไม่ได้จำกัดว่าลูกจะต้องซื้อของเล่นเท่านั้น ของกินเท่านั้น หรือแม้แต่เสื้อผ้าเท่านั้น เพียงแต่ว่าลูกอยากได้ในสิ่งไหนจะต้องอยู่ในงบประมาณที่เราสามารถซื้อได้ เช่น เรากำหนดว่าอายุ 4 ขวบ ของขวัญวันเกิดหรือคริสต์มาสของเขาจะต้องไม่เกินงบ 2,000 บาทเป็นต้นค่ะ จากนั้นเมื่อใดก็ตามที่ลูกอยากได้อะไร เราจะทำการถ่ายรูปเก็บเอาไว้ในมือถือทุกครั้ง ถ่ายแล้วคือจบค่ะ อาจจะถ่ายข้างหน้า พร้อมราคา หรือข้างหลังด้วยก็ได้ หรือจะทุกมุมก็แล้วแต่เลย จากนั้นเมื่อใกล้ถึงวันเกิดเขา เราสองคนแม่ลูกก็จะมานั่งเลือกด้วยกัน ว่าภายในระยะเวลาที่ผ่านมาเขาอยากได้อะไรบ้าง และเขายินยอมที่จะเลือกของขวัญชิ้นที่ต้องการที่สุดเพียง 1-2 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งเราพบว่ามันเป็นทักษะในการหักห้ามใจของเด็กได้เป็นอย่างดีค่ะ
3. ยืดหยุ่นตามสถานการณ์
เราจะไม่ใช้เทคนิคหรือกฎเกณฑ์นี้สำหรับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ดังนั้นหากปู่ย่าตายาย พี่ป้าน้าอาและเพื่อนๆ ของเราที่อยากจะให้ของขวัญกับลูกเราสามารถให้ได้เลยค่ะ ไม่จำกัดว่าเขาต้องเลือกจากของขวัญที่เขาต้องการเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หากมีช่วงเวลาที่ไปเที่ยวแล้วลูกเกิดร้องขอของเล่นขึ้นมา และหากมีสมาชิกในบ้านที่ต้องการจะซื้อให้ลูกเท่านั้นนะคะ ให้ลองถามลูกก่อนค่ะว่า ลูกอยากจะเก็บไว้เลือกในวันเกิด หรืออยากจะให้สมาชิกในบ้านซื้อให้ด้วยความเต็มใจ เราจะให้สิทธิแก่ลูกในการเลือกค่ะ แต่ต้องไม่ใช่การที่เราไม่อยากจ่ายเงินซื้อให้เขาแล้วไปรบกวนสมาชิกภายในบ้าน หรือเพื่อนฝูงรับผิดชอบในเรื่องของขวัญของลูกนะคะ
ในกรณีที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ แล้วมีของที่ลูกอยากได้ อาจจะเป็นข้อยกเว้นได้ เนื่องจากเราไม่สามารถเดินทางมาซื้อได้ง่าย หรือมีโอกาสบินมาบ่อยๆ อีกประเด็นคือของเล่นที่เกินงบนิดหน่อย อาจจะมีอนุโลมได้ หรือเป็นของชิ้นใหญ่อย่างล่าสุดคือคอมเกมมิ่งครบชุด ที่มีราคาหลายหมื่น แบบนี้ก็ต้องดูว่ามันสามารถใช้งานได้นานแค่ไหน คุ้มค่าไหม บวกกับสามารถเอามาเรียนออนไลน์ได้ (ลูกเราเรียนออนไลน์เป็นหลัก เพราะทำโฮมสคูลค่ะ)
ข้อดีที่เห็นได้ชัด
คือของขวัญหรือของเล่นที่เขาตั้งใจจะเลือกซื้อและอยากได้จริงๆ เขาจะเป็นคนที่เล่นอย่างรักษาของ และเก็บอย่างดีค่ะ นอกจากนี้เรายังสอนเขาด้วยว่า เวลาเราทำงานหารออกมาเป็นรายชั่วโมงแล้ว เราได้ชั่วโมงละเท่าไหร่ และของชิ้นนี้เราต้องทำงานกี่ชั่วโมง จนบางปีลูกไม่มีอะไรที่อยากได้จริงๆ เขาก็จะไม่ซื้อไปเลยค่ะ อีกเรื่องนึงที่เราก็ถือว่าเป็นข้อดีคือของเล่นไม่ได้เยอะขนาดเต็มบ้าน รกไปหมด และของเล่นไม่พังจนเล่นไม่ได้ค่ะ
ข้อเสีย
หากเราแชร์เรื่องนี้กับบางคน เขาอาจจะมองว่าเราขี้เหนียวกับลูกจนเกินไป ของเล่นบางอย่างไม่กี่สิบบาท ซึ่งมันสามารถซื้อได้เลย เราก็ควรที่จะซื้อให้ไหม ซึ่งเราเคยซื้อมาเล่นเองด้วยซ้ำสำหรับบางอย่างนะคะ ในบางทีของเล่นนั้นเล่นไม่กี่ครั้งก็พังแล้ว หรือเป็นของเล่นที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน สำหรับเด็กเล็กเราไม่แนะนำเท่าไหร่ เนื่องจากเวลาชำรุดหรือชิ้นส่วนหลุด ลูกอาจจะพิเรนเอาเข้าปากเข้าจมูกได้ค่ะ แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าลูกโตพอ หรือแม่อย่างเราอยากได้ด้วย ก็จะซื้อให้แหละค่ะ
สุดท้ายนี้ นี่คือเทคนิคที่เราทำมาตลอดสิบกว่าปี และได้ผล จึงขอเอามาแชร์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ส่วนทุกวันนี้ไม่ได้ทำแบบนี้เท่าไหร่แล้ว เนื่องจากลูกไม่ได้ขออะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นการเติมเกม (อีกประเด็นที่เราอาจจะเขียนรอบหน้านะคะ) หรือขอเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น ดังนั้นเวลาที่เขาอยากได้อะไร ณ ตอนนี้ เราก็จะซื้อให้เลย เพราะอย่างล่าสุดก็ขอซื้อรูบิคราคาร้อยเดียว เราก็ซื้อให้เลยเช่นกัน
หากคิดว่าเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่สามารถเอาไปปรับใช้กับลูกหลานของทุกท่านได้ เราก็ยินดีนะคะ
ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านค่ะ
(พาลูกเข้า 7-11 ยังไงให้ไม่บานปลาย) 3 เทคนิคจัดการเมื่อลูกร้องอยากได้ของ
ประสบการณ์ของเราที่มีเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีทั้งประสบการณ์ตรงที่มีน้องชาย ค่อนข้างมีปัญหากับเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก (แต่พอโตก็หายนะคะ เพราะซื้อเองได้แล้ว 555) ตั้งแต่ตอนนั้นเราจึงปฏิญาณเลยว่า ถ้ามีลูก จะไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเด็ดขาดค่ะ อ่านรายละเอียดในความเห็นที่เราเคยตอบไว้ได้เลยค่ะ
https://ppantip.com/topic/42875111/comment39
ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกว่าเราเป็น single mom แม่เลี้ยงเดี่ยว ที่เลี้ยงลูกคนเดียว แม้จะมีช่วงที่มีรายได้มาจากหลายช่องทาง แต่ก็มีช่วงที่มีรายได้มาจากทางเดียว ดังนั้นเราไม่ได้มีงบซื้อของเล่นลูกหรือตามใจลูกมากพอ ที่จะตอบสนองเขาในทุกๆ ครั้งที่เขาร้องขอนะคะ หากบ้านไหนที่มีงบตามใจลูกไม่อั้นก็เอาตามที่เหมาะกับครอบครัวค่ะ
1. ให้ของขวัญในวันพิเศษเท่านั้น
การซื้อของเล่นหรือสิ่งที่ลูกอยากได้สำหรับเราถ้าเป็นชิ้นใหญ่ๆ เราจำไม่ได้ให้ทุกครั้งที่เขาร้องขอ แต่จะให้แค่ปีละ 1-2 ครั้ง เป็นของขวัญวันเกิด 1 ชิ้น และเป็นของขวัญวันคริสต์มาส 1 ชิ้น เท่านั้น ซึ่งตอนเล็กๆ ก็ทำมาตลอด เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 4 ขวบ เขาจะพอเข้าใจในเรื่องของเหตุผลบ้างแล้ว จนพอเขาเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเขาไม่อยากได้อะไรอีกต่อไป ก็ไม่ได้ให้มาหลายปีแล้วค่ะ
2. เปิดโอกาสในทุกตัวเลือก ตามงบประมาณ
เราไม่ได้จำกัดว่าลูกจะต้องซื้อของเล่นเท่านั้น ของกินเท่านั้น หรือแม้แต่เสื้อผ้าเท่านั้น เพียงแต่ว่าลูกอยากได้ในสิ่งไหนจะต้องอยู่ในงบประมาณที่เราสามารถซื้อได้ เช่น เรากำหนดว่าอายุ 4 ขวบ ของขวัญวันเกิดหรือคริสต์มาสของเขาจะต้องไม่เกินงบ 2,000 บาทเป็นต้นค่ะ จากนั้นเมื่อใดก็ตามที่ลูกอยากได้อะไร เราจะทำการถ่ายรูปเก็บเอาไว้ในมือถือทุกครั้ง ถ่ายแล้วคือจบค่ะ อาจจะถ่ายข้างหน้า พร้อมราคา หรือข้างหลังด้วยก็ได้ หรือจะทุกมุมก็แล้วแต่เลย จากนั้นเมื่อใกล้ถึงวันเกิดเขา เราสองคนแม่ลูกก็จะมานั่งเลือกด้วยกัน ว่าภายในระยะเวลาที่ผ่านมาเขาอยากได้อะไรบ้าง และเขายินยอมที่จะเลือกของขวัญชิ้นที่ต้องการที่สุดเพียง 1-2 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งเราพบว่ามันเป็นทักษะในการหักห้ามใจของเด็กได้เป็นอย่างดีค่ะ
3. ยืดหยุ่นตามสถานการณ์
เราจะไม่ใช้เทคนิคหรือกฎเกณฑ์นี้สำหรับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง ดังนั้นหากปู่ย่าตายาย พี่ป้าน้าอาและเพื่อนๆ ของเราที่อยากจะให้ของขวัญกับลูกเราสามารถให้ได้เลยค่ะ ไม่จำกัดว่าเขาต้องเลือกจากของขวัญที่เขาต้องการเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น หากมีช่วงเวลาที่ไปเที่ยวแล้วลูกเกิดร้องขอของเล่นขึ้นมา และหากมีสมาชิกในบ้านที่ต้องการจะซื้อให้ลูกเท่านั้นนะคะ ให้ลองถามลูกก่อนค่ะว่า ลูกอยากจะเก็บไว้เลือกในวันเกิด หรืออยากจะให้สมาชิกในบ้านซื้อให้ด้วยความเต็มใจ เราจะให้สิทธิแก่ลูกในการเลือกค่ะ แต่ต้องไม่ใช่การที่เราไม่อยากจ่ายเงินซื้อให้เขาแล้วไปรบกวนสมาชิกภายในบ้าน หรือเพื่อนฝูงรับผิดชอบในเรื่องของขวัญของลูกนะคะ
ในกรณีที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ แล้วมีของที่ลูกอยากได้ อาจจะเป็นข้อยกเว้นได้ เนื่องจากเราไม่สามารถเดินทางมาซื้อได้ง่าย หรือมีโอกาสบินมาบ่อยๆ อีกประเด็นคือของเล่นที่เกินงบนิดหน่อย อาจจะมีอนุโลมได้ หรือเป็นของชิ้นใหญ่อย่างล่าสุดคือคอมเกมมิ่งครบชุด ที่มีราคาหลายหมื่น แบบนี้ก็ต้องดูว่ามันสามารถใช้งานได้นานแค่ไหน คุ้มค่าไหม บวกกับสามารถเอามาเรียนออนไลน์ได้ (ลูกเราเรียนออนไลน์เป็นหลัก เพราะทำโฮมสคูลค่ะ)
ข้อดีที่เห็นได้ชัด
คือของขวัญหรือของเล่นที่เขาตั้งใจจะเลือกซื้อและอยากได้จริงๆ เขาจะเป็นคนที่เล่นอย่างรักษาของ และเก็บอย่างดีค่ะ นอกจากนี้เรายังสอนเขาด้วยว่า เวลาเราทำงานหารออกมาเป็นรายชั่วโมงแล้ว เราได้ชั่วโมงละเท่าไหร่ และของชิ้นนี้เราต้องทำงานกี่ชั่วโมง จนบางปีลูกไม่มีอะไรที่อยากได้จริงๆ เขาก็จะไม่ซื้อไปเลยค่ะ อีกเรื่องนึงที่เราก็ถือว่าเป็นข้อดีคือของเล่นไม่ได้เยอะขนาดเต็มบ้าน รกไปหมด และของเล่นไม่พังจนเล่นไม่ได้ค่ะ
ข้อเสีย
หากเราแชร์เรื่องนี้กับบางคน เขาอาจจะมองว่าเราขี้เหนียวกับลูกจนเกินไป ของเล่นบางอย่างไม่กี่สิบบาท ซึ่งมันสามารถซื้อได้เลย เราก็ควรที่จะซื้อให้ไหม ซึ่งเราเคยซื้อมาเล่นเองด้วยซ้ำสำหรับบางอย่างนะคะ ในบางทีของเล่นนั้นเล่นไม่กี่ครั้งก็พังแล้ว หรือเป็นของเล่นที่ไม่ค่อยได้มาตรฐาน สำหรับเด็กเล็กเราไม่แนะนำเท่าไหร่ เนื่องจากเวลาชำรุดหรือชิ้นส่วนหลุด ลูกอาจจะพิเรนเอาเข้าปากเข้าจมูกได้ค่ะ แต่ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าลูกโตพอ หรือแม่อย่างเราอยากได้ด้วย ก็จะซื้อให้แหละค่ะ
สุดท้ายนี้ นี่คือเทคนิคที่เราทำมาตลอดสิบกว่าปี และได้ผล จึงขอเอามาแชร์ให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน ส่วนทุกวันนี้ไม่ได้ทำแบบนี้เท่าไหร่แล้ว เนื่องจากลูกไม่ได้ขออะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นการเติมเกม (อีกประเด็นที่เราอาจจะเขียนรอบหน้านะคะ) หรือขอเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่น ดังนั้นเวลาที่เขาอยากได้อะไร ณ ตอนนี้ เราก็จะซื้อให้เลย เพราะอย่างล่าสุดก็ขอซื้อรูบิคราคาร้อยเดียว เราก็ซื้อให้เลยเช่นกัน
หากคิดว่าเทคนิคนี้เป็นสิ่งที่สามารถเอาไปปรับใช้กับลูกหลานของทุกท่านได้ เราก็ยินดีนะคะ
ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านค่ะ