นักวิจัยจาก Wharton School เผยงานวิจัยที่ตอกย้ำประโยคที่ว่า “เงินซื้อความสุขได้” และ “ยิ่งมีเงินมากก็ยิ่งมีความสุขมาก” นับเป็นอีกหนึ่งผลวิจัยที่คัดค้านงานวิจัยชื่อดังก่อนหน้านี้ที่เสนอว่า ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความมั่งคั่งและความเป็นอยู่ที่ดีจะแบนราบ (Plateau) เมื่อคนร่ำรวยถึงจุดหนึ่ง
Matthew Killingsworth นักวิจัยความสุขของมนุษย์จาก Wharton School เปิดเผยผลการวิจัยที่พบว่า ทั้งเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) และมหาเศรษฐีพันล้าน (Billionaires) มีความสุข ‘มากกว่า’ คนที่มีรายได้ครึ่งล้าน (มากกว่า 500,000 ดอลลาร์ต่อปี) อย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ข้อค้นพบดังกล่าวอยู่ในงานวิจัยของ Killingsworth และทีมนักวิทยาศาสตร์ รวมถึง Daniel Kahneman นักจิตวิทยาผู้ล่วงลับ ซึ่งเพิ่งถูกตีพิมพ์เมื่อปีก่อน
ผลการวิจัยเมื่อปีก่อน (2023) ขัดแย้งกับผลการศึกษา ‘ชื่อดัง’ เมื่อปี 2010 ของ Kahneman และ Angus Deaton ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากงานวิจัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนฉบับนั้นพบว่า ความสุขของมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามรายได้ จนถึงระดับรายได้ประมาณ 60,000-90,000 ดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขจะ ‘แบนลง’
เมื่อผู้คนมีรายได้มากขึ้นๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ‘ที่ราบสูงความสุข’ (Happiness Plateau)
โดยในงานวิจัยใหม่ Killingsworth พบว่า ผู้คนที่มีความมั่งคั่งสุทธิหลักล้านหรือพันล้านให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิต โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.5-6 คะแนน จาก 7 คะแนน เทียบกับคะแนนประมาณ 4.6 สำหรับผู้ที่มีรายได้ประมาณ 100,000 ดอลลาร์ ส่วนผู้ที่มีรายได้ประมาณ 15,000-30,000 ดอลลาร์ต่อปี ให้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4
ที่มา : THE STANDARD WEALTH
ยิ่งมีเงินมากยิ่งมีความสุขมาก’ เป็นเรื่องจริง แม้แต่มหาเศรษฐีก็คิดว่าเงินซื้อความสุขได้
Matthew Killingsworth นักวิจัยความสุขของมนุษย์จาก Wharton School เปิดเผยผลการวิจัยที่พบว่า ทั้งเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) และมหาเศรษฐีพันล้าน (Billionaires) มีความสุข ‘มากกว่า’ คนที่มีรายได้ครึ่งล้าน (มากกว่า 500,000 ดอลลาร์ต่อปี) อย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ข้อค้นพบดังกล่าวอยู่ในงานวิจัยของ Killingsworth และทีมนักวิทยาศาสตร์ รวมถึง Daniel Kahneman นักจิตวิทยาผู้ล่วงลับ ซึ่งเพิ่งถูกตีพิมพ์เมื่อปีก่อน
ผลการวิจัยเมื่อปีก่อน (2023) ขัดแย้งกับผลการศึกษา ‘ชื่อดัง’ เมื่อปี 2010 ของ Kahneman และ Angus Deaton ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากงานวิจัยเมื่อ 10 กว่าปีก่อนฉบับนั้นพบว่า ความสุขของมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามรายได้ จนถึงระดับรายได้ประมาณ 60,000-90,000 ดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น โดยความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขจะ ‘แบนลง’ เมื่อผู้คนมีรายได้มากขึ้นๆ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ‘ที่ราบสูงความสุข’ (Happiness Plateau)
โดยในงานวิจัยใหม่ Killingsworth พบว่า ผู้คนที่มีความมั่งคั่งสุทธิหลักล้านหรือพันล้านให้คะแนนความพึงพอใจในชีวิต โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.5-6 คะแนน จาก 7 คะแนน เทียบกับคะแนนประมาณ 4.6 สำหรับผู้ที่มีรายได้ประมาณ 100,000 ดอลลาร์ ส่วนผู้ที่มีรายได้ประมาณ 15,000-30,000 ดอลลาร์ต่อปี ให้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 4
ที่มา : THE STANDARD WEALTH