เรียนรู้จากข่าว : 1. การพิสูจน์เพศสภาพระดับสากลในการแข่งกีฬาระดับสากล / 2.ไซยาไนด์ออกฤทธิ์อย่างไร ?
ในปี 1934 เมื่อมีนักกีฬาที่ชื่อ ซเดน่า คุบโคว่า ชาวเชกโกสโลวะเกีย เธอทำสถิติโลกวิ่ง 800 เมตรหญิง จากนั้นก็ทำสถิติโลกวิ่ง 200 เมตร และวิ่ง 2x100 เมตร คือผลงานดีขนาดนี้ ก็บอกได้เลยว่านี่คืออัจฉริยะมาเกิดชัด ๆ แน่นอน เธอเป็นตัวเต็งเหรียญทองโอลิมปิก 1936 ที่เบอร์ลินด้วย
ถ้าเธอเก่งเองตามปกติก็คงไม่มีประเด็นอะไร แต่นักกีฬาจากชาติอื่น ๆ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาว่า คุบโคว่าเป็นผู้หญิงจริงหรือ? เพราะเธอมีกล้ามเนื้อเหมือนผู้ชาย และดูมีรูปร่างต่างจากผู้หญิงทั่วไป จริง ๆ เธอดูเป็นชาย มากกว่าเป็นหญิงด้วยซ้ำ
คณะกรรมการไปตรวจสอบ พบว่าสูติบัตรของคุบโคว่า ตอนเกิดเป็นหญิงจริง แต่ประเด็นคือร่างกายเธอเป็น intersex หรือคนสองเพศในร่างเดียว กล่าวคือ ตอนเธอเกิดขึ้นมา อวัยวะเพศมีความกำกวมดูไม่ออกว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ดูแนวโน้มจะเป็นหญิงมากกว่า พ่อแม่จึงลงสูติบัตรให้เธอเป็นหญิงไว้ก่อน จากนั้นตอนเธอโตขึ้น ตามแผนคือจะเข้ารับการผ่าตัดให้เหลือเพศเดียว
เมื่อคุบโคว่าโตขึ้น ฮอร์โมนเพศชายเริ่มเด่นชัดกว่า แต่เธอยังฉกฉวยประโยชน์จากการมีสูติบัตรเป็นหญิง เดินหน้าลงแข่งกีฬาหลากหลายประเภท ซึ่งแน่นอน ด้วยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะของผู้ชาย ทำให้เธอลงแข่งอะไรก็ได้เปรียบ ไม่ใช่แค่วิ่ง แต่เธอคว้าแชมป์กระโดดสูง และกระโดดไกลด้วย คุบโคว่าให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันสารภาพว่า เหมือนโชคชะตาพาฉันขึ้นรถไฟผิดขบวน จริงอยู่ฉันควรจะแจ้งคนขับให้หยุดรถ แต่ฉันกลับเลือกที่จะอยู่เงียบ ๆ ดีกว่า"
เมื่อเรื่องโดนแฉออกมา คุบโคว่าจึงหนีปัญหาด้วยการประกาศเลิกเล่นกรีฑาอย่างถาวร จากนั้นเข้ารับการผ่าตัดให้เป็นเพศชายโดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น ซเดเน็ค คูเบ็ก
นอกจากเคสของซเดเน็ค คูเบ็ก ก็ยังมีกรณีของแมรี่ เวสตัน นักพุ่งแหลนชาวอังกฤษ ที่เป็น intersex เช่นกัน ก่อนสุดท้ายจะเลือกเพศชาย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมาร์ก เวสตัน แล้วไปแต่งงานกับผู้หญิง มีลูกด้วยกัน 3 คน
เมื่อมีกรณีแบบนี้หลายครั้ง ในปี 1950 สหพันธ์กีฬาทั่วโลก จึงมองว่าจะตัดสินแค่จากสูติบัตรไม่ได้แล้ว ถ้าเกิดกรณี intersex แบบนี้อีกจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงมีกระบวนการตรวจสอบที่ชื่อ Physical Examination แบบ Nude Parade หรือถอดเสื้อผ้าตรวจดูเลยว่า มีอวัยวะ ตามจุดต่าง ๆ ที่ตรงกับเพศหรือเปล่า
สำหรับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทชาย จะไม่มีการตรวจสอบว่าตรงกับเพศหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีนักกีฬาหญิงปลอมตัวมาแข่งกีฬาชาย ก็ไม่ชนะอยู่แล้ว เพราะมีร่างกายที่บอบบางกว่า แต่ในทางตรงข้าม กับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทหญิง จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยการแก้ผ้า ให้คุณหมอหลาย ๆ คน ได้ช่วยกันเช็ก เพื่อคอนเฟิร์มว่าตรงตามเพศหรือไม่
วิธีนี้โดนประณามอย่างหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน ลองคิดดูว่า คุณเป็นนักกีฬาระดับโลก แต่ต้องมาแก้ผ้าให้คนอื่นตรวจแบบนั้น มันจะโอเคหรือ นักกีฬาหญิงหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี สุดท้ายการแก้ผ้าให้รุมตรวจก็เลยเป็นวิธีการที่ไม่เวิร์ก จึงต้องหาแนวทางใหม่ในการแยกแยะเพศ ปี 1966 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลค้นพบวิธีใหม่ ที่จะตัดสินเรื่องเพศได้อย่างดีที่สุด นั่นคือการตรวจโครโมโซม
ในร่างกายมนุษย์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ โดยแบ่งเป็นออโต้โซม ที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมต่าง ๆ จำนวน 22 คู่ และโครโมโซมเพศ จำนวน 1 คู่ โดยโครโมโซมเพศนั้น ถ้าเป็น XX จะหมายถึงเพศหญิง และถ้าเป็น XY จะหมายถึงเพศชาย ดังนั้นไอโอซี จึงใช้เกณฑ์โครโมโซมในการตัดสินไปเลย XX ลงแข่งกีฬาประเภทหญิง ส่วน XY ก็ลงแข่งกีฬาประเภทชาย โดยทัวร์นาเมนต์แรกที่ทดลองระบบนี้คือ การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ยุโรปในปี 1966
การตัดสินด้วยโครโมโซมถูกใช้เรื่อยมา 30 ปี ไม่มีปัญหาอะไร แต่มามีประเด็นขึ้นในโอลิมปิก 1996 ที่แอตแลนต้า เมื่อนักกีฬาหญิง 8 คน ถูกตรวจว่ามีโครโมโซม Y อยู่ในร่างกาย ทั้ง ๆ ที่ภายนอกมีความเป็นผู้หญิงทุกอย่าง และไม่ได้ผ่านการแปลงเพศใด ๆ ทั้งสิ้น
แพทย์วินิจฉัยว่า พวกเธอเป็นกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (AIS) กล่าวคือเด็กที่เกิดมาเป็น XY แต่มีปัญหาบกพร่องในการแสดงออกของเพศชาย แปลว่าร่างกายของเธอเหล่านั้น แสดงออกว่าเป็นหญิงทั้งหมด อวัยวะเพศเป็นหญิง มีสูติบัตรเป็นหญิง ถูกเลี้ยงแบบเพศหญิงปกติ รูปร่าง หน้าตา กล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ทุกอย่างเป็นหญิงหมด
คำถามคือ แล้วเราจะตัดสินให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชายหรือหญิงล่ะ? XY ก็จริง แต่ในเมื่อร่างกายแสดงออกเป็นหญิงทั้งหมดแบบนี้ คุณจะจับเธอไปแข่งกับผู้ชาย มันยุติธรรมอย่างนั้นหรือ?
มาถึงจุดนี้ การตัดสินด้วยโครโมโซม ก็เลยถูกตั้งคำถามอีก เพราะมันไม่สามารถตัดสินได้อย่างยุติธรรมจริง ๆ และถ้ายึดหลัก XX-XY ต่อไป ก็จะไปริดรอนสิทธิ์ของนักกีฬาที่เป็นโรคต่อต้านแอนโดรเจนอีก
วงการกีฬาต้องค้นหาวิธีใหม่ ที่จะแบ่งแยกนักกีฬาชาย-หญิงได้อย่างแฟร์มากกว่านี้ และในปี 2011 จึงมีการคิดค้นระบบการตรวจสอบที่ชื่อ "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" เอามาใช้แทนการตรวจโครโมโซม
เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศ ที่จะกระตุ้นให้แสดงลักษณะของความเป็นชาย เช่น ความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ขนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก นี่คือฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเพศชาย
สหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กำหนดเอาไว้ว่า คนที่จะลงแข่งขันในกีฬาของประเภทหญิงได้นั้น ต้องมีค่าเทสโทสเตอโรน ในเลือดไม่เกิน 10 นาโนโมลต่อลิตร ซึ่งไอโอซีก็เห็นชอบด้วย และนำมาใช้ตั้งแต่โอลิมปิกปี 2012
เครดิต : หมอเฉพาะทางบาทเดียว
เรียนรู้จากข่าว : 1. การพิสูจน์เพศสภาพระดับสากลในการแข่งกีฬาระดับสากล / 2. ไซยาไนด์ออกฤทธิ์อย่างไร ?
เรียนรู้จากข่าว : 1. การพิสูจน์เพศสภาพระดับสากลในการแข่งกีฬาระดับสากล / 2.ไซยาไนด์ออกฤทธิ์อย่างไร ?
ในปี 1934 เมื่อมีนักกีฬาที่ชื่อ ซเดน่า คุบโคว่า ชาวเชกโกสโลวะเกีย เธอทำสถิติโลกวิ่ง 800 เมตรหญิง จากนั้นก็ทำสถิติโลกวิ่ง 200 เมตร และวิ่ง 2x100 เมตร คือผลงานดีขนาดนี้ ก็บอกได้เลยว่านี่คืออัจฉริยะมาเกิดชัด ๆ แน่นอน เธอเป็นตัวเต็งเหรียญทองโอลิมปิก 1936 ที่เบอร์ลินด้วย
ถ้าเธอเก่งเองตามปกติก็คงไม่มีประเด็นอะไร แต่นักกีฬาจากชาติอื่น ๆ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาว่า คุบโคว่าเป็นผู้หญิงจริงหรือ? เพราะเธอมีกล้ามเนื้อเหมือนผู้ชาย และดูมีรูปร่างต่างจากผู้หญิงทั่วไป จริง ๆ เธอดูเป็นชาย มากกว่าเป็นหญิงด้วยซ้ำ
คณะกรรมการไปตรวจสอบ พบว่าสูติบัตรของคุบโคว่า ตอนเกิดเป็นหญิงจริง แต่ประเด็นคือร่างกายเธอเป็น intersex หรือคนสองเพศในร่างเดียว กล่าวคือ ตอนเธอเกิดขึ้นมา อวัยวะเพศมีความกำกวมดูไม่ออกว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ดูแนวโน้มจะเป็นหญิงมากกว่า พ่อแม่จึงลงสูติบัตรให้เธอเป็นหญิงไว้ก่อน จากนั้นตอนเธอโตขึ้น ตามแผนคือจะเข้ารับการผ่าตัดให้เหลือเพศเดียว
เมื่อคุบโคว่าโตขึ้น ฮอร์โมนเพศชายเริ่มเด่นชัดกว่า แต่เธอยังฉกฉวยประโยชน์จากการมีสูติบัตรเป็นหญิง เดินหน้าลงแข่งกีฬาหลากหลายประเภท ซึ่งแน่นอน ด้วยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะของผู้ชาย ทำให้เธอลงแข่งอะไรก็ได้เปรียบ ไม่ใช่แค่วิ่ง แต่เธอคว้าแชมป์กระโดดสูง และกระโดดไกลด้วย คุบโคว่าให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันสารภาพว่า เหมือนโชคชะตาพาฉันขึ้นรถไฟผิดขบวน จริงอยู่ฉันควรจะแจ้งคนขับให้หยุดรถ แต่ฉันกลับเลือกที่จะอยู่เงียบ ๆ ดีกว่า"
เมื่อเรื่องโดนแฉออกมา คุบโคว่าจึงหนีปัญหาด้วยการประกาศเลิกเล่นกรีฑาอย่างถาวร จากนั้นเข้ารับการผ่าตัดให้เป็นเพศชายโดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น ซเดเน็ค คูเบ็ก
นอกจากเคสของซเดเน็ค คูเบ็ก ก็ยังมีกรณีของแมรี่ เวสตัน นักพุ่งแหลนชาวอังกฤษ ที่เป็น intersex เช่นกัน ก่อนสุดท้ายจะเลือกเพศชาย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมาร์ก เวสตัน แล้วไปแต่งงานกับผู้หญิง มีลูกด้วยกัน 3 คน
เมื่อมีกรณีแบบนี้หลายครั้ง ในปี 1950 สหพันธ์กีฬาทั่วโลก จึงมองว่าจะตัดสินแค่จากสูติบัตรไม่ได้แล้ว ถ้าเกิดกรณี intersex แบบนี้อีกจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงมีกระบวนการตรวจสอบที่ชื่อ Physical Examination แบบ Nude Parade หรือถอดเสื้อผ้าตรวจดูเลยว่า มีอวัยวะ ตามจุดต่าง ๆ ที่ตรงกับเพศหรือเปล่า
สำหรับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทชาย จะไม่มีการตรวจสอบว่าตรงกับเพศหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีนักกีฬาหญิงปลอมตัวมาแข่งกีฬาชาย ก็ไม่ชนะอยู่แล้ว เพราะมีร่างกายที่บอบบางกว่า แต่ในทางตรงข้าม กับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทหญิง จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยการแก้ผ้า ให้คุณหมอหลาย ๆ คน ได้ช่วยกันเช็ก เพื่อคอนเฟิร์มว่าตรงตามเพศหรือไม่
วิธีนี้โดนประณามอย่างหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน ลองคิดดูว่า คุณเป็นนักกีฬาระดับโลก แต่ต้องมาแก้ผ้าให้คนอื่นตรวจแบบนั้น มันจะโอเคหรือ นักกีฬาหญิงหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี สุดท้ายการแก้ผ้าให้รุมตรวจก็เลยเป็นวิธีการที่ไม่เวิร์ก จึงต้องหาแนวทางใหม่ในการแยกแยะเพศ ปี 1966 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลค้นพบวิธีใหม่ ที่จะตัดสินเรื่องเพศได้อย่างดีที่สุด นั่นคือการตรวจโครโมโซม
ในร่างกายมนุษย์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ โดยแบ่งเป็นออโต้โซม ที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมต่าง ๆ จำนวน 22 คู่ และโครโมโซมเพศ จำนวน 1 คู่ โดยโครโมโซมเพศนั้น ถ้าเป็น XX จะหมายถึงเพศหญิง และถ้าเป็น XY จะหมายถึงเพศชาย ดังนั้นไอโอซี จึงใช้เกณฑ์โครโมโซมในการตัดสินไปเลย XX ลงแข่งกีฬาประเภทหญิง ส่วน XY ก็ลงแข่งกีฬาประเภทชาย โดยทัวร์นาเมนต์แรกที่ทดลองระบบนี้คือ การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ยุโรปในปี 1966
การตัดสินด้วยโครโมโซมถูกใช้เรื่อยมา 30 ปี ไม่มีปัญหาอะไร แต่มามีประเด็นขึ้นในโอลิมปิก 1996 ที่แอตแลนต้า เมื่อนักกีฬาหญิง 8 คน ถูกตรวจว่ามีโครโมโซม Y อยู่ในร่างกาย ทั้ง ๆ ที่ภายนอกมีความเป็นผู้หญิงทุกอย่าง และไม่ได้ผ่านการแปลงเพศใด ๆ ทั้งสิ้น
แพทย์วินิจฉัยว่า พวกเธอเป็นกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (AIS) กล่าวคือเด็กที่เกิดมาเป็น XY แต่มีปัญหาบกพร่องในการแสดงออกของเพศชาย แปลว่าร่างกายของเธอเหล่านั้น แสดงออกว่าเป็นหญิงทั้งหมด อวัยวะเพศเป็นหญิง มีสูติบัตรเป็นหญิง ถูกเลี้ยงแบบเพศหญิงปกติ รูปร่าง หน้าตา กล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ทุกอย่างเป็นหญิงหมด
คำถามคือ แล้วเราจะตัดสินให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชายหรือหญิงล่ะ? XY ก็จริง แต่ในเมื่อร่างกายแสดงออกเป็นหญิงทั้งหมดแบบนี้ คุณจะจับเธอไปแข่งกับผู้ชาย มันยุติธรรมอย่างนั้นหรือ?
มาถึงจุดนี้ การตัดสินด้วยโครโมโซม ก็เลยถูกตั้งคำถามอีก เพราะมันไม่สามารถตัดสินได้อย่างยุติธรรมจริง ๆ และถ้ายึดหลัก XX-XY ต่อไป ก็จะไปริดรอนสิทธิ์ของนักกีฬาที่เป็นโรคต่อต้านแอนโดรเจนอีก
วงการกีฬาต้องค้นหาวิธีใหม่ ที่จะแบ่งแยกนักกีฬาชาย-หญิงได้อย่างแฟร์มากกว่านี้ และในปี 2011 จึงมีการคิดค้นระบบการตรวจสอบที่ชื่อ "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" เอามาใช้แทนการตรวจโครโมโซม
เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศ ที่จะกระตุ้นให้แสดงลักษณะของความเป็นชาย เช่น ความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ขนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก นี่คือฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเพศชาย
สหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กำหนดเอาไว้ว่า คนที่จะลงแข่งขันในกีฬาของประเภทหญิงได้นั้น ต้องมีค่าเทสโทสเตอโรน ในเลือดไม่เกิน 10 นาโนโมลต่อลิตร ซึ่งไอโอซีก็เห็นชอบด้วย และนำมาใช้ตั้งแต่โอลิมปิกปี 2012
เครดิต : หมอเฉพาะทางบาทเดียว