ก่อนอื่นสวัสดีเพื่อนๆ ห้องวอลเลย์บอลนะครับเนื่องจากผมไม่ได้เข้ามานานเพราะต้องไปรักษาเกี่ยวกับเรื่องโรคหัวใจ
ขอบคุณพันทิปที่ส่งของที่ระลึกมาให้ตอนปีใหม่ (ไม่ได้ออกนอกระบบไว้ลูกสาวตอบข้อความจากพันทิปแทน)
......................................................................................................................
เนื้อหาข้างล่างนี้ คัดลอกมาจาก เฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/jingjungfootball
บทความนี้แบบมีภาพประกอบ แอดมินจะลงไว้ใน Blockdit นะครับทุกท่าน สามารถตามไปอ่านกันได้เลย แบบมีภาพ สวยงามสบายตานะครับ
Blockdit จากตอนแรกเป็นแอพพลิเคชั่นหน้าใหม่ ตอนนี้มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคนแล้วนะครับ ในช่วงที่ facebook เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย สำหรับเจ้าของเพจทั้งหลาย การมี Blockdit เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีนะ
Blockdit เป็นสังคมที่ดีน่ารัก ผู้คนถ้อยทีถ้อยอาศัย คอมเมนต์ไม่โหดเกิน ผมเชื่อว่าคนที่เล่นใน Blockdit จะรู้สึกชอบนะครับ
ตอนนี้วิเคราะห์บอลจริงจังมีคนกดไลค์ 49K แล้วครับ อีกไม่ถึงพันคนแอดมินจะมีคนติดตามเกินครึ่งแสนแล้วนะเย้ สำหรับคนที่สนใจโหลด คลิกได้ทางนี้เลยนะครับผม
iOS > apple.co/2u1LGjL
Android > bit.ly/37N3de1
นี่คือข่าวใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย กับประเด็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติ ชื่อเอพริเลีย แมงกาแนง ถูกแพทย์ยืนยันว่า ความจริงแล้วเธอเป็นผู้ชายต่างหาก
ชาวเน็ตก็เอาไปล้อกันสนุกสนาน ว่าทำไมวงการวอลเลย์บอลอินโดนีเซียดูไม่ออกจริงๆหรือ ว่าเป็นผู้ชายปลอมตัวมา อย่างไรก็ตาม เรื่องมันซับซ้อนกว่านั้นนิดหน่อย ไม่ใช่ เหมือนละครทัดดาวบุษยา ที่แอบปลอมตัวเปลี่ยนเพศแบบไม่เนียน มันไม่ใช่อย่างนั้น
เราจะค่อยๆเล่าลำดับไปช้าๆ ทำความเข้าใจถึงเหตุการณ์ไปด้วยกันนะครับ
ย้อนไปในประวัติศาสตร์ของวงการกีฬา โอลิมปิกเกมครั้งแรกสุด ถูกจัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี 1896 การแข่งครั้งนั้น มีนักกีฬาทั้งหมด 241 คน เป็นผู้ชาย 100% แต่ในโอลิมปิกอีก 4 ปีต่อมาที่ปารีส เริ่มมีการแข่งขันชิงชัยเหรียญทองในประเภทหญิง เช่นในกีฬาเทนนิส หรือเรือใบเป็นต้น
ยุคนั้น การแบ่งว่านักกีฬาคนไหนจะแข่งประเภทหญิง หรือประเภทชาย ก็ไม่มีอะไรยาก ดูตามสูติบัตร ถ้าหมอบอกว่าเป็นเพศอะไร ก็ให้ลงแข่งขันกีฬาของเพศนั้น
อย่างไรก็ตาม มันมีความดราม่าเกิดขึ้น ในปี 1934 เมื่อมีนักกีฬาที่ชื่อ ซเดน่า คุบโคว่า ชาวเชกโกสโลวะเกีย เธอทำสถิติโลกวิ่ง 800 เมตรหญิง จากนั้นก็ทำสถิติโลกวิ่ง 200 เมตร และวิ่ง 2x100 เมตร คือผลงานดีขนาดนี้ ก็บอกได้เลยว่านี่คืออัจฉริยะมาเกิดชัดๆ แน่นอน เธอเป็นตัวเต็งเหรียญทองโอลิมปิก 1936 ที่เบอร์ลินด้วย
ถ้าเธอเก่งเองตามปกติก็คงไม่มีประเด็นอะไร แต่นักกีฬาจากชาติอื่นๆ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาว่า คุบโคว่าเป็นผู้หญิงจริงหรือ? เพราะเธอมีกล้ามเนื้อเหมือนผู้ชาย และดูมีรูปร่างต่างจากผู้หญิงทั่วไป จริงๆ เธอดูเป็นชาย มากกว่าเป็นหญิงด้วยซ้ำ
คณะกรรมการไปตรวจสอบ พบว่าสูติบัตรของคุบโคว่า ตอนเกิดเป็นหญิงจริง แต่ประเด็นคือร่างกายเธอเป็น intersex หรือคนสองเพศในร่างเดียว
กล่าวคือ ตอนเธอเกิดขึ้นมา อวัยวะเพศมีความกำกวมดูไม่ออกว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ดูแนวโน้มจะเป็นหญิงมากกว่า พ่อแม่จึงลงสูติบัตรให้เธอเป็นหญิงไว้ก่อน จากนั้นตอนเธอโตขึ้น ตามแผนคือจะเข้ารับการผ่าตัดให้เหลือเพศเดียว
เมื่อคุบโคว่าโตขึ้น ฮอร์โมนเพศชายเริ่มเด่นชัดกว่า แต่เธอยังฉกฉวยประโยชน์จากการมีสูติบัตรเป็นหญิง เดินหน้าลงแข่งกีฬาหลากหลายประเภท ซึ่งแน่นอน ด้วยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะของผู้ชาย ทำให้เธอลงแข่งอะไรก็ได้เปรียบ ไม่ใช่แค่วิ่ง แต่เธอคว้าแชมป์กระโดดสูง และกระโดดไกลด้วย
คุบโคว่าให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันสารภาพว่า เหมือนโชคชะตาพาฉันขึ้นรถไฟผิดขบวน จริงอยู่ฉันควรจะแจ้งคนขับให้หยุดรถ แต่ฉันกลับเลือกที่จะอยู่เงียบๆดีกว่า"
เมื่อเรื่องโดนแฉออกมา คุบโคว่าจึงหนีปัญหาด้วยการประกาศเลิกเล่นกรีฑาอย่างถาวร จากนั้นเข้ารับการผ่าตัดให้เป็นเพศชายโดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น ซเดเน็ค คูเบ็ก
นอกจากเคสของซเดเน็ค คูเบ็ก ก็ยังมีกรณีของแมรี่ เวสตัน นักพุ่งแหลนชาวอังกฤษ ที่เป็น intersex เช่นกัน ก่อนสุดท้ายจะเลือกเพศชาย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมาร์ก เวสตัน แล้วไปแต่งงานกับผู้หญิง มีลูกด้วยกัน 3 คน
เมื่อมีกรณีแบบนี้หลายครั้ง ในปี 1950 สหพันธ์กีฬาทั่วโลก จึงมองว่าจะตัดสินแค่จากสูติบัตรไม่ได้แล้ว ถ้าเกิดกรณี intersex แบบนี้อีกจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงมีกระบวนการตรวจสอบที่ชื่อ Physical Examination แบบ Nude Parade หรือถอดเสื้อผ้าตรวจดูเลยว่า มีอวัยวะ ตามจุดต่างๆ ที่ตรงกับเพศหรือเปล่า
สำหรับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทชาย จะไม่มีการตรวจสอบว่าตรงกับเพศหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีนักกีฬาหญิงปลอมตัวมาแข่งกีฬาชาย ก็ไม่ชนะอยู่แล้ว เพราะมีร่างกายที่บอบบางกว่า แต่ในทางตรงข้าม กับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทหญิง จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยการแก้ผ้า ให้คุณหมอหลายๆคน ได้ช่วยกันเช็ก เพื่อคอนเฟิร์มว่าตรงตามเพศหรือไม่
วิธีนี้โดนประณามอย่างหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน ลองคิดดูว่า คุณเป็นนักกีฬาระดับโลก แต่ต้องมาแก้ผ้าให้คนอื่นตรวจแบบนั้น มันจะโอเคหรือ นักกีฬาหญิงหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี สุดท้ายการแก้ผ้าให้รุมตรวจก็เลยเป็นวิธีการที่ไม่เวิร์ก จึงต้องหาแนวทางใหม่ในการแยกแยะเพศ
ปี 1966 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลค้นพบวิธีใหม่ ที่จะตัดสินเรื่องเพศได้อย่างดีที่สุด นั่นคือการตรวจโครโมโซม
ในร่างกายมนุษย์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ โดยแบ่งเป็นออโต้โซม ที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมต่างๆ จำนวน 22 คู่ และโครโมโซมเพศ จำนวน 1 คู่ โดยโครโมโซมเพศนั้น ถ้าเป็น XX จะหมายถึงเพศหญิง และถ้าเป็น XY จะหมายถึงเพศชาย
ดังนั้นไอโอซี จึงใช้เกณฑ์โครโมโซมในการตัดสินไปเลย XX ลงแข่งกีฬาประเภทหญิง ส่วน XY ก็ลงแข่งกีฬาประเภทชาย โดยทัวร์นาเมนต์แรกที่ทดลองระบบนี้คือ การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ยุโรปในปี 1966
การตัดสินด้วยโครโมโซมถูกใช้เรื่อยมา 30 ปี ไม่มีปัญหาอะไร แต่มามีประเด็นขึ้นในโอลิมปิก 1996 ที่แอตแลนต้า เมื่อนักกีฬาหญิง 8 คน ถูกตรวจว่ามีโครโมโซม Y อยู่ในร่างกาย ทั้งๆที่ภายนอกมีความเป็นผู้หญิงทุกอย่าง และไม่ได้ผ่านการแปลงเพศใดๆทั้งสิ้น
แพทย์วินิจฉัยว่า พวกเธอเป็นกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (AIS) กล่าวคือเด็กที่เกิดมาเป็น XY แต่มีปัญหาบกพร่องในการแสดงออกของเพศชาย แปลว่าร่างกายของเธอเหล่านั้น แสดงออกว่าเป็นหญิงทั้งหมด อวัยวะเพศเป็นหญิง มีสูติบัตรเป็นหญิง ถูกเลี้ยงแบบเพศหญิงปกติ รูปร่าง หน้าตา กล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ทุกอย่างเป็นหญิงหมด
คำถามคือ แล้วเราจะตัดสินให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชายหรือหญิงล่ะ? XY ก็จริง แต่ในเมื่อร่างกายแสดงออกเป็นหญิงทั้งหมดแบบนี้ คุณจะจับเธอไปแข่งกับผู้ชาย มันยุติธรรมอย่างนั้นหรือ?
มาถึงจุดนี้ การตัดสินด้วยโครโมโซม ก็เลยถูกตั้งคำถามอีก เพราะมันไม่สามารถตัดสินได้อย่างยุติธรรมจริงๆ และถ้ายึดหลัก XX-XY ต่อไป ก็จะไปริดรอนสิทธิ์ของนักกีฬาที่เป็นโรคต่อต้านแอนโดรเจนอีก
วงการกีฬาต้องค้นหาวิธีใหม่ ที่จะแบ่งแยกนักกีฬาชาย-หญิงได้อย่างแฟร์มากกว่านี้ และในปี 2011 จึงมีการคิดค้นระบบการตรวจสอบที่ชื่อ "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" เอามาใช้แทนการตรวจโครโมโซม
เทสโทสเตอโรน คือฮอร์โมนเพศ ที่จะกระตุ้นให้แสดงลักษณะของความเป็นชาย เช่นความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ขนตามส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก นี่คือฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเพศชาย
สหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กำหนดเอาไว้ว่า คนที่จะลงแข่งขันในกีฬาของประเภทหญิงได้นั้น ต้องมีค่าเทสโทสเตอโรน ในเลือดไม่เกิน 10 นาโนโมลต่อลิตร ซึ่งไอโอซีก็เห็นชอบด้วย และนำมาใช้ตั้งแต่โอลิมปิกปี 2012
ในเมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นส่วนที่สร้างความแข็งแรงแบบเพศชาย ดังนั้นตามทฤษฎีคนที่จะแข่งกีฬาประเภทหญิงก็ควรที่จะมีฮอร์โมนตัวนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
วิธีการนี้ถูกใช้งานระหว่างปี 2011-2015 แต่ก็มีนักกีฬาหลายคนไปโวยอีก ตัวอย่างเช่น ดูตี้ ชาน นักวิ่งสาวชาวอินเดีย เจ้าของเหรียญทองวิ่ง 200 เมตร เยาวชนชิงแชมป์เอเชีย เธอเกิดมาเป็นเพศหญิง เป็น XX มีอวัยวะเพศปกติ แต่ร่างกายของเธอดันสร้างเทสโทสเตอโรนขึ้นเกินลิมิตโดยธรรมชาติ จนเธอถูกแบนจากการแข่งขัน และเธอก็ไม่พอใจ เพราะมองว่าการสั่งแบนครั้งนี้ไม่มีความยุติธรรม
ดูตี้ ชาน ยื่นฟ้องศาลกีฬาโลกว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เธอเป็นหญิงแท้ 100% ซึ่งศาลก็ยอมรับฟังจึงทำให้ นโยบาย "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" ถูกระงับใช้ชั่วคราวระหว่างปี 2015-2018
IAAF ไปหารือร่วมกับศาลกีฬาโลก และชี้แจงว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรบางอย่าง สูติบัตรก็ไม่ได้ ,แก้ผ้าตรวจร่างกายก็ไม่ได้, โครโมโซมก็ไม่ได้ แล้วถ้าฮอร์โมนก็ยังไม่ได้อีก แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องตัดสินใจการแบ่งแยกเพศล่ะ
มันต้องมีหลักการอะไรสักอย่าง ที่จะแบ่งแยก Sex ที่หมายถึงเพศจริงๆ ทางกายภาพ ที่ไม่ใช่ Gender ที่บอกว่าตัวเองอยากเป็นเพศอะไร นั่นทำให้สุดท้ายในปี 2018 ก็เลยได้ข้อสรุปว่า ในการแข่งขันรายการต่างๆ รวมถึงโอลิมปิกครั้งต่อไปที่โตเกียวด้วย จะใช้เกณฑ์เทสโทสเตอโรนลิมิต แต่ลดลงเหลือแค่ 5 นาโนโมลต่อลิตรเท่านั้น
ในมุมของสหพันธ์กีฬาก็ชี้ว่า เพศหญิงโดยปกติทั่วไป มีค่าเทสโทสเตอโรนในร่างกายประมาณ 1.04-2.43 นาโนโมลต่อลิตรเท่านั้นเอง การที่เพิ่มตัวเลขถึง 5 นาโนโมลก็นับว่าเยอะแล้ว ดังนั้นจะยึดเกณฑ์นี้เอาไว้ โดยไม่เปลี่ยนอีกแล้ว ซึ่งศาลกีฬาโลกก็เห็นชอบด้วย ถ้านักกีฬาคนไหนที่มีค่าเทสโทสเตอโรนมากเกินกว่า 5 ก็ต้องเทกยา เพื่อลดลงมาให้ต่ำกว่า 5 ให้ได้
เรื่องนี้ก็มีดราม่าอีกพอตัว เพราะกลุ่มเฟมินิสต์ วิจารณ์ศาลกีฬาโลกอย่างหนักหน่วง อย่างเช่นเว็บ Buzzfeed เขียนคอลัมน์ว่า "นักกีฬาหญิงเหล่านี้โดนแบนจากการแข่งเพียงเพราะเธอไม่เป็น 'เพศหญิง' มากพอ" โดยบทความนี้มองว่า ถ้าทุกคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพศหญิง ก็ควรได้ลงแข่งกีฬาประเภทหญิงทั้งหมด
แต่อีกกลุ่มก็มองว่า ถ้าให้ทุกคนในโลกพอใจหมด มันเป็นไปไม่ได้ มันก็จำเป็นต้องยึดหลักการอะไรบางอย่างไว้ และคนที่อยู่นอกเหนือจากเกณฑ์นี้ก็อาจจะต้องยอมรับความจริง
----------------------------
วิธิการตรวจเพศของนักกีฬาอดีตถึงบัจจุบัน ... ความซับซ้อนของ เอพริเลีย แมงกาแนง ...บัจจุบันผ่าตัดรอบแรกแล้ว
ขอบคุณพันทิปที่ส่งของที่ระลึกมาให้ตอนปีใหม่ (ไม่ได้ออกนอกระบบไว้ลูกสาวตอบข้อความจากพันทิปแทน)
......................................................................................................................
เนื้อหาข้างล่างนี้ คัดลอกมาจาก เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/jingjungfootball
บทความนี้แบบมีภาพประกอบ แอดมินจะลงไว้ใน Blockdit นะครับทุกท่าน สามารถตามไปอ่านกันได้เลย แบบมีภาพ สวยงามสบายตานะครับ
Blockdit จากตอนแรกเป็นแอพพลิเคชั่นหน้าใหม่ ตอนนี้มีผู้ใช้มากกว่า 1 ล้านคนแล้วนะครับ ในช่วงที่ facebook เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย สำหรับเจ้าของเพจทั้งหลาย การมี Blockdit เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีนะ
Blockdit เป็นสังคมที่ดีน่ารัก ผู้คนถ้อยทีถ้อยอาศัย คอมเมนต์ไม่โหดเกิน ผมเชื่อว่าคนที่เล่นใน Blockdit จะรู้สึกชอบนะครับ
ตอนนี้วิเคราะห์บอลจริงจังมีคนกดไลค์ 49K แล้วครับ อีกไม่ถึงพันคนแอดมินจะมีคนติดตามเกินครึ่งแสนแล้วนะเย้ สำหรับคนที่สนใจโหลด คลิกได้ทางนี้เลยนะครับผม
iOS > apple.co/2u1LGjL
Android > bit.ly/37N3de1
นี่คือข่าวใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซีย กับประเด็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติ ชื่อเอพริเลีย แมงกาแนง ถูกแพทย์ยืนยันว่า ความจริงแล้วเธอเป็นผู้ชายต่างหาก
ชาวเน็ตก็เอาไปล้อกันสนุกสนาน ว่าทำไมวงการวอลเลย์บอลอินโดนีเซียดูไม่ออกจริงๆหรือ ว่าเป็นผู้ชายปลอมตัวมา อย่างไรก็ตาม เรื่องมันซับซ้อนกว่านั้นนิดหน่อย ไม่ใช่ เหมือนละครทัดดาวบุษยา ที่แอบปลอมตัวเปลี่ยนเพศแบบไม่เนียน มันไม่ใช่อย่างนั้น
เราจะค่อยๆเล่าลำดับไปช้าๆ ทำความเข้าใจถึงเหตุการณ์ไปด้วยกันนะครับ
ย้อนไปในประวัติศาสตร์ของวงการกีฬา โอลิมปิกเกมครั้งแรกสุด ถูกจัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี 1896 การแข่งครั้งนั้น มีนักกีฬาทั้งหมด 241 คน เป็นผู้ชาย 100% แต่ในโอลิมปิกอีก 4 ปีต่อมาที่ปารีส เริ่มมีการแข่งขันชิงชัยเหรียญทองในประเภทหญิง เช่นในกีฬาเทนนิส หรือเรือใบเป็นต้น
ยุคนั้น การแบ่งว่านักกีฬาคนไหนจะแข่งประเภทหญิง หรือประเภทชาย ก็ไม่มีอะไรยาก ดูตามสูติบัตร ถ้าหมอบอกว่าเป็นเพศอะไร ก็ให้ลงแข่งขันกีฬาของเพศนั้น
อย่างไรก็ตาม มันมีความดราม่าเกิดขึ้น ในปี 1934 เมื่อมีนักกีฬาที่ชื่อ ซเดน่า คุบโคว่า ชาวเชกโกสโลวะเกีย เธอทำสถิติโลกวิ่ง 800 เมตรหญิง จากนั้นก็ทำสถิติโลกวิ่ง 200 เมตร และวิ่ง 2x100 เมตร คือผลงานดีขนาดนี้ ก็บอกได้เลยว่านี่คืออัจฉริยะมาเกิดชัดๆ แน่นอน เธอเป็นตัวเต็งเหรียญทองโอลิมปิก 1936 ที่เบอร์ลินด้วย
ถ้าเธอเก่งเองตามปกติก็คงไม่มีประเด็นอะไร แต่นักกีฬาจากชาติอื่นๆ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) พิจารณาว่า คุบโคว่าเป็นผู้หญิงจริงหรือ? เพราะเธอมีกล้ามเนื้อเหมือนผู้ชาย และดูมีรูปร่างต่างจากผู้หญิงทั่วไป จริงๆ เธอดูเป็นชาย มากกว่าเป็นหญิงด้วยซ้ำ
คณะกรรมการไปตรวจสอบ พบว่าสูติบัตรของคุบโคว่า ตอนเกิดเป็นหญิงจริง แต่ประเด็นคือร่างกายเธอเป็น intersex หรือคนสองเพศในร่างเดียว
กล่าวคือ ตอนเธอเกิดขึ้นมา อวัยวะเพศมีความกำกวมดูไม่ออกว่าเป็นชายหรือหญิง แต่ดูแนวโน้มจะเป็นหญิงมากกว่า พ่อแม่จึงลงสูติบัตรให้เธอเป็นหญิงไว้ก่อน จากนั้นตอนเธอโตขึ้น ตามแผนคือจะเข้ารับการผ่าตัดให้เหลือเพศเดียว
เมื่อคุบโคว่าโตขึ้น ฮอร์โมนเพศชายเริ่มเด่นชัดกว่า แต่เธอยังฉกฉวยประโยชน์จากการมีสูติบัตรเป็นหญิง เดินหน้าลงแข่งกีฬาหลากหลายประเภท ซึ่งแน่นอน ด้วยกล้ามเนื้อที่มีลักษณะของผู้ชาย ทำให้เธอลงแข่งอะไรก็ได้เปรียบ ไม่ใช่แค่วิ่ง แต่เธอคว้าแชมป์กระโดดสูง และกระโดดไกลด้วย
คุบโคว่าให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันสารภาพว่า เหมือนโชคชะตาพาฉันขึ้นรถไฟผิดขบวน จริงอยู่ฉันควรจะแจ้งคนขับให้หยุดรถ แต่ฉันกลับเลือกที่จะอยู่เงียบๆดีกว่า"
เมื่อเรื่องโดนแฉออกมา คุบโคว่าจึงหนีปัญหาด้วยการประกาศเลิกเล่นกรีฑาอย่างถาวร จากนั้นเข้ารับการผ่าตัดให้เป็นเพศชายโดยสมบูรณ์ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น ซเดเน็ค คูเบ็ก
นอกจากเคสของซเดเน็ค คูเบ็ก ก็ยังมีกรณีของแมรี่ เวสตัน นักพุ่งแหลนชาวอังกฤษ ที่เป็น intersex เช่นกัน ก่อนสุดท้ายจะเลือกเพศชาย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นมาร์ก เวสตัน แล้วไปแต่งงานกับผู้หญิง มีลูกด้วยกัน 3 คน
เมื่อมีกรณีแบบนี้หลายครั้ง ในปี 1950 สหพันธ์กีฬาทั่วโลก จึงมองว่าจะตัดสินแค่จากสูติบัตรไม่ได้แล้ว ถ้าเกิดกรณี intersex แบบนี้อีกจะทำอย่างไร ดังนั้นจึงมีกระบวนการตรวจสอบที่ชื่อ Physical Examination แบบ Nude Parade หรือถอดเสื้อผ้าตรวจดูเลยว่า มีอวัยวะ ตามจุดต่างๆ ที่ตรงกับเพศหรือเปล่า
สำหรับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทชาย จะไม่มีการตรวจสอบว่าตรงกับเพศหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีนักกีฬาหญิงปลอมตัวมาแข่งกีฬาชาย ก็ไม่ชนะอยู่แล้ว เพราะมีร่างกายที่บอบบางกว่า แต่ในทางตรงข้าม กับนักกีฬาที่ลงทะเบียนแข่งประเภทหญิง จะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดด้วยการแก้ผ้า ให้คุณหมอหลายๆคน ได้ช่วยกันเช็ก เพื่อคอนเฟิร์มว่าตรงตามเพศหรือไม่
วิธีนี้โดนประณามอย่างหนักเรื่องสิทธิมนุษยชน ลองคิดดูว่า คุณเป็นนักกีฬาระดับโลก แต่ต้องมาแก้ผ้าให้คนอื่นตรวจแบบนั้น มันจะโอเคหรือ นักกีฬาหญิงหลายคนมองว่าเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี สุดท้ายการแก้ผ้าให้รุมตรวจก็เลยเป็นวิธีการที่ไม่เวิร์ก จึงต้องหาแนวทางใหม่ในการแยกแยะเพศ
ปี 1966 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลค้นพบวิธีใหม่ ที่จะตัดสินเรื่องเพศได้อย่างดีที่สุด นั่นคือการตรวจโครโมโซม
ในร่างกายมนุษย์จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ โดยแบ่งเป็นออโต้โซม ที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรมต่างๆ จำนวน 22 คู่ และโครโมโซมเพศ จำนวน 1 คู่ โดยโครโมโซมเพศนั้น ถ้าเป็น XX จะหมายถึงเพศหญิง และถ้าเป็น XY จะหมายถึงเพศชาย
ดังนั้นไอโอซี จึงใช้เกณฑ์โครโมโซมในการตัดสินไปเลย XX ลงแข่งกีฬาประเภทหญิง ส่วน XY ก็ลงแข่งกีฬาประเภทชาย โดยทัวร์นาเมนต์แรกที่ทดลองระบบนี้คือ การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์ยุโรปในปี 1966
การตัดสินด้วยโครโมโซมถูกใช้เรื่อยมา 30 ปี ไม่มีปัญหาอะไร แต่มามีประเด็นขึ้นในโอลิมปิก 1996 ที่แอตแลนต้า เมื่อนักกีฬาหญิง 8 คน ถูกตรวจว่ามีโครโมโซม Y อยู่ในร่างกาย ทั้งๆที่ภายนอกมีความเป็นผู้หญิงทุกอย่าง และไม่ได้ผ่านการแปลงเพศใดๆทั้งสิ้น
แพทย์วินิจฉัยว่า พวกเธอเป็นกลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (AIS) กล่าวคือเด็กที่เกิดมาเป็น XY แต่มีปัญหาบกพร่องในการแสดงออกของเพศชาย แปลว่าร่างกายของเธอเหล่านั้น แสดงออกว่าเป็นหญิงทั้งหมด อวัยวะเพศเป็นหญิง มีสูติบัตรเป็นหญิง ถูกเลี้ยงแบบเพศหญิงปกติ รูปร่าง หน้าตา กล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ทุกอย่างเป็นหญิงหมด
คำถามคือ แล้วเราจะตัดสินให้กลุ่มคนเหล่านี้เป็นชายหรือหญิงล่ะ? XY ก็จริง แต่ในเมื่อร่างกายแสดงออกเป็นหญิงทั้งหมดแบบนี้ คุณจะจับเธอไปแข่งกับผู้ชาย มันยุติธรรมอย่างนั้นหรือ?
มาถึงจุดนี้ การตัดสินด้วยโครโมโซม ก็เลยถูกตั้งคำถามอีก เพราะมันไม่สามารถตัดสินได้อย่างยุติธรรมจริงๆ และถ้ายึดหลัก XX-XY ต่อไป ก็จะไปริดรอนสิทธิ์ของนักกีฬาที่เป็นโรคต่อต้านแอนโดรเจนอีก
วงการกีฬาต้องค้นหาวิธีใหม่ ที่จะแบ่งแยกนักกีฬาชาย-หญิงได้อย่างแฟร์มากกว่านี้ และในปี 2011 จึงมีการคิดค้นระบบการตรวจสอบที่ชื่อ "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" เอามาใช้แทนการตรวจโครโมโซม
เทสโทสเตอโรน คือฮอร์โมนเพศ ที่จะกระตุ้นให้แสดงลักษณะของความเป็นชาย เช่นความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ขนตามส่วนต่างๆของร่างกาย กล้ามเนื้อและกระดูก นี่คือฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเพศชาย
สหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กำหนดเอาไว้ว่า คนที่จะลงแข่งขันในกีฬาของประเภทหญิงได้นั้น ต้องมีค่าเทสโทสเตอโรน ในเลือดไม่เกิน 10 นาโนโมลต่อลิตร ซึ่งไอโอซีก็เห็นชอบด้วย และนำมาใช้ตั้งแต่โอลิมปิกปี 2012
ในเมื่อฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นส่วนที่สร้างความแข็งแรงแบบเพศชาย ดังนั้นตามทฤษฎีคนที่จะแข่งกีฬาประเภทหญิงก็ควรที่จะมีฮอร์โมนตัวนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
วิธีการนี้ถูกใช้งานระหว่างปี 2011-2015 แต่ก็มีนักกีฬาหลายคนไปโวยอีก ตัวอย่างเช่น ดูตี้ ชาน นักวิ่งสาวชาวอินเดีย เจ้าของเหรียญทองวิ่ง 200 เมตร เยาวชนชิงแชมป์เอเชีย เธอเกิดมาเป็นเพศหญิง เป็น XX มีอวัยวะเพศปกติ แต่ร่างกายของเธอดันสร้างเทสโทสเตอโรนขึ้นเกินลิมิตโดยธรรมชาติ จนเธอถูกแบนจากการแข่งขัน และเธอก็ไม่พอใจ เพราะมองว่าการสั่งแบนครั้งนี้ไม่มีความยุติธรรม
ดูตี้ ชาน ยื่นฟ้องศาลกีฬาโลกว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เธอเป็นหญิงแท้ 100% ซึ่งศาลก็ยอมรับฟังจึงทำให้ นโยบาย "ค่าลิมิตเทสโทสเตอโรน" ถูกระงับใช้ชั่วคราวระหว่างปี 2015-2018
IAAF ไปหารือร่วมกับศาลกีฬาโลก และชี้แจงว่า ถ้าโลกนี้ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรบางอย่าง สูติบัตรก็ไม่ได้ ,แก้ผ้าตรวจร่างกายก็ไม่ได้, โครโมโซมก็ไม่ได้ แล้วถ้าฮอร์โมนก็ยังไม่ได้อีก แล้วจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องตัดสินใจการแบ่งแยกเพศล่ะ
มันต้องมีหลักการอะไรสักอย่าง ที่จะแบ่งแยก Sex ที่หมายถึงเพศจริงๆ ทางกายภาพ ที่ไม่ใช่ Gender ที่บอกว่าตัวเองอยากเป็นเพศอะไร นั่นทำให้สุดท้ายในปี 2018 ก็เลยได้ข้อสรุปว่า ในการแข่งขันรายการต่างๆ รวมถึงโอลิมปิกครั้งต่อไปที่โตเกียวด้วย จะใช้เกณฑ์เทสโทสเตอโรนลิมิต แต่ลดลงเหลือแค่ 5 นาโนโมลต่อลิตรเท่านั้น
ในมุมของสหพันธ์กีฬาก็ชี้ว่า เพศหญิงโดยปกติทั่วไป มีค่าเทสโทสเตอโรนในร่างกายประมาณ 1.04-2.43 นาโนโมลต่อลิตรเท่านั้นเอง การที่เพิ่มตัวเลขถึง 5 นาโนโมลก็นับว่าเยอะแล้ว ดังนั้นจะยึดเกณฑ์นี้เอาไว้ โดยไม่เปลี่ยนอีกแล้ว ซึ่งศาลกีฬาโลกก็เห็นชอบด้วย ถ้านักกีฬาคนไหนที่มีค่าเทสโทสเตอโรนมากเกินกว่า 5 ก็ต้องเทกยา เพื่อลดลงมาให้ต่ำกว่า 5 ให้ได้
เรื่องนี้ก็มีดราม่าอีกพอตัว เพราะกลุ่มเฟมินิสต์ วิจารณ์ศาลกีฬาโลกอย่างหนักหน่วง อย่างเช่นเว็บ Buzzfeed เขียนคอลัมน์ว่า "นักกีฬาหญิงเหล่านี้โดนแบนจากการแข่งเพียงเพราะเธอไม่เป็น 'เพศหญิง' มากพอ" โดยบทความนี้มองว่า ถ้าทุกคนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพศหญิง ก็ควรได้ลงแข่งกีฬาประเภทหญิงทั้งหมด
แต่อีกกลุ่มก็มองว่า ถ้าให้ทุกคนในโลกพอใจหมด มันเป็นไปไม่ได้ มันก็จำเป็นต้องยึดหลักการอะไรบางอย่างไว้ และคนที่อยู่นอกเหนือจากเกณฑ์นี้ก็อาจจะต้องยอมรับความจริง
----------------------------