#Green หลักฐานที่จัดเจนที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการศึกษาใหม่ของ Bethan Davies นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัย Newcastle ในอังกฤษ
.
Juneau Icefield ธารน้ำแข็งจูโน เป็นทุ่งน้ำแข็งที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองจูโน รัฐอลาสก้าประเทศสหรัฐอเมริกา ทอดยาวไปทางเหนือผ่านพรมแดนติดกับบริติชโคลัมเบีย ธารน้ำแข็งแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของธารน้ำอีกแข็งอีกหลายแห่ง รวมถึงธารน้ำแข็ง Mendenhall Glacier มีความยาวประมาณ 21.9 กม. ตั้งอยู่ในหุบเขา Denhall ห่างจากตัวเมืองจูโนประมาณ 19 กม. ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอลาสก้า
.
โครงการวิจัยทุ่งน้ำแข็งจูโนนั้น ได้ติดตามธารน้ำแข็งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942
.
สภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากจนเกิดไปนี้ กำลังให้ธารน้ำแข็งหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการศึกษาใหม่นี้พบว่าทุ่งนำแข็งจูโนฝั่งของ Mendenhall Glacier และธารน้ำแข็งอื่นๆ กว่าพันแห่ง กำลังละลายอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าสองเท่าก่อนปี ค.ศ. 2010
.
ปริมาณธารน้ำแข็งลดลงในอัตราที่ค่อนข้างคงที่ระหว่างปี ค.ศ. 1770 ถึง 1979 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นทศวรรษ 2000 สิ่งต่างๆ เริ่มละลายเร็วขึ้นเล็กน้อย จากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 2010 ถึง 2020 การสูญเสียน้ำแข็งก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
สิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก ธารน้ำแข็งทุกแห่งในทุ่งน้ำแข็งจูโนมีขนาดเล็กกว่าเมื่อ 250 ปีที่แล้ว
.
เนื่องจากทุ่งน้ำแข็งจูโนเป็นที่ราบสูงกว้างและหนักมาก ผลที่ตามมาจากการละลายนั้นคือ พื้นผิวของทุ่งน้ำแข็งจะทรุดตัวลงสู่ระดับความสูงที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นจุดที่อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น "และในระดับที่ต่ำกว่านี้ อุณภูมิจะอุ่นกว่า ก็จะยิ่งทำให้มันละลายเร็ซมากขึ้น"
.
Bethan Davies ผู้ศึกษาทุ่งน้ำแข็งจูโนนี้กังวลว่า ธารน้ำแข็งที่กำลังละลายลงอย่างรวดเร็วนี้ กำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้
.
“นั่นหมายความว่าเราจะสูญเสียน้ำแข็งจากทุ่งน้ำแข็งจูโนต่อไป แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะหยุดลงก็ตาม แม้ว่าอุณหภูมิจะหยุดสูงขึ้นก็ตาม” เธอกล่าว “ในขณะนี้ เราสามารถรักษาทุ่งน้ำแข็งของเราไว้ได้ แต่ถ้าเราข้ามจุดเปลี่ยนนั้น มันก็สายเกินไป”
.
ลานน้ำแข็งที่ทอดยาวไปทั่วภูมิประเทศภูเขาขนาด 15,000 ตารางไมล์ระหว่างจูโนและบริติชโคลัมเบีย มีปริมาณสูงสุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ระหว่างช่วงอุณหภูมิที่เย็นกว่าซึ่งเรียกว่ายุคน้ำแข็งน้อย
.
ตั้งแต่นั้นมา ปริมาณน้ำแข็งเกือบหนึ่งในสี่ก็ละลายหายไป ซึ่งการตรวจวัดน้ำแข็งนี้ ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม รวมทั้งภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการตรวจวัดน้ำแข็งมานานหลายทศวรรษ เพื่อติดตามการลดลงดังกล่าว ในการศึกษาที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications
.
Bethan Davies กล่าว “ธารน้ำแข็งทั้งหมดในโลกรวมกันมีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ และทำให้เกิดระดับน้ำทะเลสูงกว่าแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกด้วย และพื้นที่ที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดคืออลาสก้า”
.
วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นคือการกักเก็บน้ำไว้ในน้ำแข็ง และวิธีเดียวที่จะทำได้คือ "การชะลออัตราการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก" “หากเรารักษาอุณหภูมิให้ร้อนขึ้น 1.5 องศา เราจะกักเก็บน้ำแข็งส่วนใหญ่ของโลกไว้ได้”
.
ทำไมโลกห้ามร้อนเกิน 1.5°C
https://www.facebook.com/share/i9kD4hz1Jknr1FKe/
.
ขอขอบคุณข้อมูล
:
https://www.ktoo.org/2024/07/03/melting-glaciers-in-the-juneau-icefield-may-be-approaching-irreversible-tipping-point-new-study-says/
: ภาพถ่ายจากโครงการวิจัยทุ่งน้ำแข็งจูโนในปี ค.ศ. 2018 โดย JIRP
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ Green Green กับ Better Day ได้ที่ Facebook:
https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...
"การศึกษาใหม่ระบุ" ธารน้ำแข็งทุ่งจูโนกำลังละลายเข้าใกล้ จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้
#Green หลักฐานที่จัดเจนที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการศึกษาใหม่ของ Bethan Davies นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัย Newcastle ในอังกฤษ
.
Juneau Icefield ธารน้ำแข็งจูโน เป็นทุ่งน้ำแข็งที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองจูโน รัฐอลาสก้าประเทศสหรัฐอเมริกา ทอดยาวไปทางเหนือผ่านพรมแดนติดกับบริติชโคลัมเบีย ธารน้ำแข็งแห่งนี้เป็นแหล่งกำเนิดของธารน้ำอีกแข็งอีกหลายแห่ง รวมถึงธารน้ำแข็ง Mendenhall Glacier มีความยาวประมาณ 21.9 กม. ตั้งอยู่ในหุบเขา Denhall ห่างจากตัวเมืองจูโนประมาณ 19 กม. ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอลาสก้า
.
โครงการวิจัยทุ่งน้ำแข็งจูโนนั้น ได้ติดตามธารน้ำแข็งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942
.
สภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากจนเกิดไปนี้ กำลังให้ธารน้ำแข็งหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการศึกษาใหม่นี้พบว่าทุ่งนำแข็งจูโนฝั่งของ Mendenhall Glacier และธารน้ำแข็งอื่นๆ กว่าพันแห่ง กำลังละลายอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเร็วกว่าสองเท่าก่อนปี ค.ศ. 2010
.
ปริมาณธารน้ำแข็งลดลงในอัตราที่ค่อนข้างคงที่ระหว่างปี ค.ศ. 1770 ถึง 1979 ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นทศวรรษ 2000 สิ่งต่างๆ เริ่มละลายเร็วขึ้นเล็กน้อย จากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 2010 ถึง 2020 การสูญเสียน้ำแข็งก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
.
สิ่งที่น่าตกใจเป็นอย่างมาก ธารน้ำแข็งทุกแห่งในทุ่งน้ำแข็งจูโนมีขนาดเล็กกว่าเมื่อ 250 ปีที่แล้ว
.
เนื่องจากทุ่งน้ำแข็งจูโนเป็นที่ราบสูงกว้างและหนักมาก ผลที่ตามมาจากการละลายนั้นคือ พื้นผิวของทุ่งน้ำแข็งจะทรุดตัวลงสู่ระดับความสูงที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นจุดที่อุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น "และในระดับที่ต่ำกว่านี้ อุณภูมิจะอุ่นกว่า ก็จะยิ่งทำให้มันละลายเร็ซมากขึ้น"
.
Bethan Davies ผู้ศึกษาทุ่งน้ำแข็งจูโนนี้กังวลว่า ธารน้ำแข็งที่กำลังละลายลงอย่างรวดเร็วนี้ กำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้
.
“นั่นหมายความว่าเราจะสูญเสียน้ำแข็งจากทุ่งน้ำแข็งจูโนต่อไป แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะหยุดลงก็ตาม แม้ว่าอุณหภูมิจะหยุดสูงขึ้นก็ตาม” เธอกล่าว “ในขณะนี้ เราสามารถรักษาทุ่งน้ำแข็งของเราไว้ได้ แต่ถ้าเราข้ามจุดเปลี่ยนนั้น มันก็สายเกินไป”
.
ลานน้ำแข็งที่ทอดยาวไปทั่วภูมิประเทศภูเขาขนาด 15,000 ตารางไมล์ระหว่างจูโนและบริติชโคลัมเบีย มีปริมาณสูงสุดในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ระหว่างช่วงอุณหภูมิที่เย็นกว่าซึ่งเรียกว่ายุคน้ำแข็งน้อย
.
ตั้งแต่นั้นมา ปริมาณน้ำแข็งเกือบหนึ่งในสี่ก็ละลายหายไป ซึ่งการตรวจวัดน้ำแข็งนี้ ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม รวมทั้งภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการตรวจวัดน้ำแข็งมานานหลายทศวรรษ เพื่อติดตามการลดลงดังกล่าว ในการศึกษาที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications
.
Bethan Davies กล่าว “ธารน้ำแข็งทั้งหมดในโลกรวมกันมีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ และทำให้เกิดระดับน้ำทะเลสูงกว่าแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกด้วย และพื้นที่ที่มีธารน้ำแข็งมากที่สุดคืออลาสก้า”
.
วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นคือการกักเก็บน้ำไว้ในน้ำแข็ง และวิธีเดียวที่จะทำได้คือ "การชะลออัตราการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก" “หากเรารักษาอุณหภูมิให้ร้อนขึ้น 1.5 องศา เราจะกักเก็บน้ำแข็งส่วนใหญ่ของโลกไว้ได้”
.
ทำไมโลกห้ามร้อนเกิน 1.5°C
https://www.facebook.com/share/i9kD4hz1Jknr1FKe/
.
ขอขอบคุณข้อมูล
: https://www.ktoo.org/2024/07/03/melting-glaciers-in-the-juneau-icefield-may-be-approaching-irreversible-tipping-point-new-study-says/
: ภาพถ่ายจากโครงการวิจัยทุ่งน้ำแข็งจูโนในปี ค.ศ. 2018 โดย JIRP
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ Green Green กับ Better Day ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...