วิเคราะห์ข้อเสนอของ Lockheed Martin ที่จะให้ไทยสำหรับดีล F-16

กระทู้คำถาม
ต่อจากกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/42845455
วันนี้ผมไม่มีเวลาเขียนกับตอบกระทู้นั้นเลยแปะแต่คลิป ขอทิ้งกระทู้เดิมตั้งใหม่เลยละกัน

กระทู้นี้ไม่ได้อวย F-16 ตอนนี้สำหรับผมรุ่นไหนก็ได้ ถ้าซื้อกริพเพนผมก็จะมาอธิบายกริพเพนเช่นกัน
แค่อยากอธิบายเพิ่มในส่วนนี้สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ ข้อมูลในการอธิบายผมเอามาจากเว็บไซด์ของ Lockheed Martin

สิ่งที่บริษัท Lockheed Martin จะมอบให้เราตาม Offset Policy ที่เราต้องการมีดังนี้
Research & Development Center ศูนย์วิจัยและพัฒนา
Advanced aerospace engineering training การฝึกอบรมวิศวกรรมการบินและอวกาศขั้นสูง
Manufacturing workforce development การพัฒนาแรงงานการผลิต
Advanced datalink upgrade การอัปเกรด datalink ขั้นสูง
Fighter maintenance training การฝึกอบรมการบํารุงรักษาไฟท์เตอร์
Supply chain opportunities โอกาสในการจัดหาห่วงโซ่อุปทาน
Sustainment capabilities ความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

จากข้อความเหล่านี้ผมจะมาขยายความต่ออีกนิดหน่อย

1.Research & Development Center
จะมีการตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆในด้านเทคนิคการสงคราม
-วิเคราะห์ข้อมูลสงครามและรูปแบบในการจัดการ
-จัดตั้งเครือข่ายระบบไซเบอร์ชั้นสูงเพื่อป้องกันและตอบโต้การโจมตีด้วยสงครามอิเล็กทรอนิกส์จากฝ่ายตรงข้าม
ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ไม่ยากครับ

2.Advanced aerospace engineering training
ประเทศไทยไทยมีบริษัทเกี่ยวกับการบินและอวกาศรวมกันหลายสิบบริษัท
Lockheed Martin จะช่วยเหลือในด้านฝึกสอนและมอบองค์ความรู้ต่างๆให้กับบริษัทเหล่านี้
ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ไม่ยากครับ

3.Manufacturing workforce development
คือการช่วยเหลือในด้านพัฒนาบุคลากรต่างๆเช่น เจ้าหน้าที่ พนักงาน
ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ไม่ยากครับ

4.Advanced datalink upgrade
จะมีการอัปเกรดระบบดาต้าลิงค์ให้กับทั้งสามเหล่าทัพลิงค์ระบบเชื่อมกัน
ทั้งสามเหล่าทัพจะมีระบบที่เชื่อมต่อกันทำให้สามารถตอบโต้สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
เหล่าไหนเห็นเหล่าอื่นก็เห็น ซึ่งจะทำให้ทั้งสามเหล่าทัพทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น
-ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ยากครับ แต่ละเหล่าทัพของไทยยังแยกกันทำงานอยู่ เอาเป็นว่าไม่ขออธิบายต่อ บอกแค่ว่ายากถึงไม่มีทางเป็นไปได้

5.Fighter maintenance training
คือการฝีกสอนการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินขับไล่ อันนี้ปกติจะมีค่าใช้จ่ายนะครับ แต่เขาจะให้ฟรีตาม Offset Policy
ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ไม่ยากครับ

6.Supply chain opportunities
จะเกี่ยวกับการทำธุรกิจต่างๆ การผลิตชิ้นส่วนอากาศยานต่างๆเพื่อส่งขาย ไม่ใช่เฉพาะเกี่ยวกับเครื่องบินรบเท่านั้นนะ ให้ย้อนไปอ่านข้อ2นะครับ
บริษัทเกี่ยวกับการบินและอวกาศของไทยจะได้โอกาศทางการตลาดนอกประเทศที่มากขึ้น
ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ไม่ยากครับ

7.Sustainment capabilities
เมื่อทุกข้อรวมกันเราจะได้ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศอย่างยั่งยืน
10ปีแรกอาจจะผลิตชิ้นส่วนต่างๆและโดรนเพื่อใช้งานและอาจส่งขายได้
20ปีถัดไปเมื่อองค์ความรู้มีมากพอ อาจจะเริ่มโครงการสร้างเครื่องบิน
อีก40ปีข้างหน้าอาจจะไม่ต้องซื้อเครื่องบินขับไล่เจน4 ผลิตใช้เองได้เลย
ซึ่งอีก40ปีข้างหน้าเครื่องบินขับไล่ที่เราต้องซื้อแน่ๆคือเครื่องเจน5และ6 แต่ไม่ว่ายังไงก็ต้องมีเครื่องเจน4ด้วยเพราะบางภารกิจเครื่องเจน5-6ไม่เหมาะ
-ความเป็นไปได้ของข้อนี้ ยากอยู่ครับ
ขึ้นอยู่ที่นโยบายประเทศและกองทัพ ถ้าเขาคิดแค่ซื้อมาใช้ก็ต้องซื้อไปเรื่อยๆ อีกกี่ปีก็ต้องซื้อไปเรื่อยๆและมันก็แพงขึ้นตลอด
รถไฟความเร็วสูงเรายังสร้างเองได้โดยใช้เทคโนโลยีจากจีน แม้จะไม่ได้เร็วมากแต่ก็เป็นสิ่งที่เราสร้างเอง
เครื่องบินรบอาจต้องใช้เวลาถึง40ปี ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องสร้างรุ่นที่ดีที่สุด เราจำเป็นต้องมีรุ่นรองลงมาในปริมาณที่พอเพียง
ตอนนี้เรามี F-16+กริพเพนรวมกันหลายสิบลำ เรามี TA-50 รวมกัน14ลำเพิ่งส่งมอบมาอีก2ลำเมื่อไม่กี่วันก่อนและปีหน้าจะสั่งซื้ออีก2ลำ
พวกรุ่นรองๆอย่าง TA-50 หรือ AT-6 หากเราสร้างได้เองก็ไม่ต้องซื้อไงครับ เราซื้อแค่ฝูงหลัก
เหมือนเกาหลีใต้เขาซื้อ F-35 มาใช้เป็นฝูงบินหลัก สร้าง KF-21 FA-50 TA-50 ใช้เองเป็นรุ่นรอง
อนาคตเกาหลีใต้อาจจะไม่ต้องซื้อ F-35 อีกแล้วก็ได้ เพราะ KF-21 เจน3ก็จะเป็นเครื่องสเตลท์ เกาหลีใต้เขาทำแบบยั่งยืนครับ

ทั้ง7ข้อนี้คือสิ่งที่บริษัท Lockheed Martin จะมอบให้เราสำหรับดีล F-16
ส่วนซาบสวีเดนกริพเพนก็มีแบบนี้เหมือนกันครับ

ถามว่ามอบให้เยอะขนาดนี้เขาไม่กลัวเราไปทำขายแข่งกับเขาหรอ เขาไม่กลัวครับ
อนาคตเขาผลิตเครื่องเจน5-6ขาย ยังไงเราก็ต้องซื้อจากเขามาใช้อยู่ดี
ในที่นี้หมายถึงเมื่อทุกอย่างเราพร้อม ทั้งเทคโนโลยีทั้งการเงิน เราจะได้ไม่ต้องซื้อพวกรุ่นรองๆอย่างๆ TA-50 หรือ AT-6 อีกต่อไป
เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ และย้ำว่า ไม่ต้องผลิตได้ถึงรุ่นที่ดีที่สุดเอาแค่รุ่นรองๆไม่ต้องซื้อก็พอ
เจ้าหน้าที่ซาบสวีเดนเคยให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงสงครามโลกไม่มีประเทศไหนขายเครื่องบินรบให้กัน ต้องสร้างเองเท่านั้น

สงครามจริงวัดกันที่จำนวนของเครื่องบินและปริมาณอาวุธ
ต่อให้เราไม่ได้มีเครื่องบินที่รบ BVR ได้ดี ไม่ได้มีเครื่องสเตลท์
เราขอแค่มีรุ่นที่ติดไซด์ไวเดอร์และทิ้งระเบิดได้อย่าง TA-50 จำนวนหลายร้อยเครื่อง และมีโดรนจำนวนมหาศาล ผมว่าโคตรน่ากลัวนะ
ไม่ได้หมายถึงให้เอา TA-50 มานะ ผมหมายถึงรุ่นรองหากสร้างเองได้และมีเยอะก็จะดี รุ่นหลักต้องซื้อที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะซื้อไหว

ทั้งหมดนี้คาดว่าจะไม่เกิดขึ้นจริง
ระบบกองทัพไทยเป็น Old school มีระบบการจัดการแบบยุคเก่า
Offset Policy ที่รัฐบาลต้องการน่าจะเป็นเรื่องการค้าขายอื่นๆเป็นหลัก
และลุ่นกันต่อไปว่าจะได้รุ่นไหน ผมตามข่าวเหมือนตามละครซีรีส์ละครับ ดูเอาสนุก ได้อะไรมาก็ตามนั้น ชิลๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่