ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวต่อเนื่อง 5 เดือน หวังมาตรการกระตุ้น ศก.-กังวลเงินทุนไหลออก
https://siamrath.co.th/n/549761
“ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนอยู่ในเกณฑ์ ‘ทรงตัว’ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 นักลงทุนคาดหวังปัจจัยหนุนจากผลประกอบการ บจ.-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจัยฉุดคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ-เงินทุนไหลออก
นาย
กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม 2567 (สำรวจระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2567) พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 82.89 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” นักลงทุนมองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ รองลงมาคือการไหลออกของเงินทุน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนมิถุนายน 2567 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กันยายน 2567) อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (ช่วงค่าดัชนี 80-119) ที่ระดับ 82.89
- ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนบุคคล และกลุ่มนักลงทุนสถาบันอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา”
- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON)
- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP)
- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุดคือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุดคือ การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับผลสำรวจ ณ เดือนมิถุนายน 2567 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนทุกกลุ่มปรับลดลง โดยกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับลด 3.3% มาอยู่ที่ระดับ 93.65 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับลด 42.9% มาอยู่ที่ระดับ 57.14 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 10.0% มาอยู่ที่ระดับ 110.00 และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศปรับลด 25.0% อยู่ที่ระดับ 75.00
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน 2567 SET index ปรับตัวลดลงจากความกังวลทั้งจากปัจจัยทางการเมือง อาทิ คดีของนายกรัฐมนตรีและพรรคก้าวไกลที่อยู่ในกระบวนการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศทั้งภาคการผลิตและภาคการส่งออกที่ยังฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลให้ดัชนีหลุดกรอบ 1,300 ในช่วงกลางเดือน อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือนโดยได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ การปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) และเตรียมฟื้นกองทุนรวมวายุภักษ์ โดย SET Index ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 ปิดที่ 1,300.96 ปรับตัวลดลง 3.3% จากเดือนก่อนหน้า ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ 45,238 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 34,342 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิกว่า 115,983 ล้านบาท
โดยปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ แนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางในแต่ละประเทศจากการที่อัตราเงินเฟ้อโลกชะลอตัวลง อีกทั้งต้องจับตามองการเลือกตั้งในสหรัฐและสภายุโรป และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะช่วยกระตุ้นการส่งออกและการบริโภคในประเทศ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐซึ่งจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 และติดตามผลของมาตรการกระตุ้นตลาดทุนผ่านกองทุน ThaiESG และผลของมาตรการฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุนซึ่งคาดหวังว่าจะช่วยลดแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติและอาจทำให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว
#ข่าววันนี้ #สภาธุรกิจตลาดทุนไทย #FETCO #ลงทุน #กอบศักดิ์ภูตระกูล #ดอกเบี้ย
ก้าวไกล จับตาบอร์ด ธ.ก.ส. ลงมติปมเงินดิจิทัล หากไม่ตรงวัตถุประสงค์ เสี่ยงผิดกฎหมาย
https://www.thairath.co.th/news/politic/2799449
“จุลพงศ์” สส.ก้าวไกล เตือนคณะกรรมการ ธ.ก.ส. พร้อมจับตาการลงมติออกเงินทดรองแจกดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ หากไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน อาจเสี่ยงทำผิดกฎหมาย
วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 นาย
จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวที่อาคารรัฐสภา ถึงโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ว่า ภายหลังจากที่ได้รับทราบข่าวจาก นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ว่ารัฐบาลยังไม่ได้สอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการใช้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้า
ทั้งนี้ ได้มีการค้นคว้าแง่มุมทุกด้านทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ ธ.ก.ส. โดยละเอียด และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงทางกฎหมายของ ธ.ก.ส. ว่า การที่ ธ.ก.ส. จะออกเงินทดรองเพื่อแจกในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตประมาณ 170,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วไปตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้นั้น เป็นการขัดกับกฎหมายคือ พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และฉบับที่แก้ไขต่อมาอย่างชัดเจน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ธ.ก.ส. หรือวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของ ธ.ก.ส. ไม่ได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติอนุมัติให้ ธ.ก.ส. ทดรองเงินเพื่อนำไปใช้แจกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด เงิน ธ.ก.ส. จะต้องนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรหรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตรเท่านั้น
นาย
จุลพงศ์ กล่าวต่อไปว่า หากรัฐบาลจะอ้างมาตรา 28 ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้ ธ.ก.ส. แจกเงินให้ได้ แต่มาตรา 28 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะทำตามที่ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลนั้น ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น
...
“
จึงขอเตือนไปถึงคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่า หากลงมติให้ ธ.ก.ส. แจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยไม่ได้จำกัดการแจกว่าให้ผู้ที่ได้รับการแจกเงิน ต้องนำเงินที่ได้รับจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเพื่อไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตร หรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร ตามวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. อีกทั้ง การที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ลงมติเห็นชอบนั้น มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย”
นาย
จุลพงศ์ ระบุอีกว่า ไม่สามารถอ้างได้ว่าทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะมติ ครม. ไม่ใช่กฎหมาย แต่หากคณะกรรมการ ธ.ก.ส. จะลงมติให้ผู้รับเงินนำเงินที่ได้รับแจกจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปใช้ได้เฉพาะเพื่อการเกษตร เช่น ให้เกษตรกรที่เป็นชาวนาทั่วไปนำไปซื้อปุ๋ย ก็จะเป็นการซ้ำซ้อนกับโครงการปุ๋ยคนละครึ่งที่รัฐบาลจะให้ ธ.ก.ส. ออกทดรองไปก่อนถึง 30,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจช่วยคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติ และจะขอติดตามดูมติของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่าจะออกมาอย่างไรต่อไป.
จับตาศาล รธน. เริ่มประชุมคดี 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน 'เศรษฐา' ตั้ง 'พิชิต' นั่งรัฐมนตรี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4672633
จับตาศาล รธน. เริ่มประชุมคดี 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน ‘นายกฯ’ ตั้ง ‘พิชิต’ นั่งรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 10 กรกฎาคม คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมประจำสัปดาห์ตามปกติ โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา 40 คน ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ นาย
เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ จากเหตุนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นาย
พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ว่านาย
พิชิตขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ศาลได้มีคำสั่งให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งนาย
เศรษฐา ในฐานะผู้ถูกร้อง ได้แจ้งยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับการประชุมวันนี้ต้องรอผลการพิจารณาว่าศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนวิธีพิจารณาคดีนี้อย่างไรต่อไป ข้อเท็จจริงที่ได้เพียงพอที่จะนัดประชุม ปรึกษาหารือ และลงมติพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือไม่ หรือจะมีการจะมีการเปิดไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
JJNY : เชื่อมั่นนักลงทุนทรงตัว│ก้าวไกลจับตาบอร์ด ธ.ก.ส. ลงมติ│จับตาศาลรธน.│นาโตจัดระบบป้องกันทางอากาศภัยชุดใหญ่ให้ยูเครน
https://siamrath.co.th/n/549761
“ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนอยู่ในเกณฑ์ ‘ทรงตัว’ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 นักลงทุนคาดหวังปัจจัยหนุนจากผลประกอบการ บจ.-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจัยฉุดคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ-เงินทุนไหลออก
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม 2567 (สำรวจระหว่างวันที่ 20-30 มิถุนายน 2567) พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 82.89 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” นักลงทุนมองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ รองลงมาคือการไหลออกของเงินทุน และสถานการณ์การเมืองในประเทศ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนมิถุนายน 2567 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กันยายน 2567) อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” (ช่วงค่าดัชนี 80-119) ที่ระดับ 82.89
- ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนบุคคล และกลุ่มนักลงทุนสถาบันอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา”
- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON)
- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุดคือ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP)
- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุดคือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุดคือ การถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับผลสำรวจ ณ เดือนมิถุนายน 2567 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนทุกกลุ่มปรับลดลง โดยกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับลด 3.3% มาอยู่ที่ระดับ 93.65 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับลด 42.9% มาอยู่ที่ระดับ 57.14 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 10.0% มาอยู่ที่ระดับ 110.00 และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศปรับลด 25.0% อยู่ที่ระดับ 75.00
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน 2567 SET index ปรับตัวลดลงจากความกังวลทั้งจากปัจจัยทางการเมือง อาทิ คดีของนายกรัฐมนตรีและพรรคก้าวไกลที่อยู่ในกระบวนการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศทั้งภาคการผลิตและภาคการส่งออกที่ยังฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลให้ดัชนีหลุดกรอบ 1,300 ในช่วงกลางเดือน อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือนโดยได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ การปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) และเตรียมฟื้นกองทุนรวมวายุภักษ์ โดย SET Index ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 ปิดที่ 1,300.96 ปรับตัวลดลง 3.3% จากเดือนก่อนหน้า ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ 45,238 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 34,342 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิกว่า 115,983 ล้านบาท
โดยปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ แนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางในแต่ละประเทศจากการที่อัตราเงินเฟ้อโลกชะลอตัวลง อีกทั้งต้องจับตามองการเลือกตั้งในสหรัฐและสภายุโรป และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อ ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะช่วยกระตุ้นการส่งออกและการบริโภคในประเทศ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐซึ่งจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 และติดตามผลของมาตรการกระตุ้นตลาดทุนผ่านกองทุน ThaiESG และผลของมาตรการฟื้นความเชื่อมั่นนักลงทุนซึ่งคาดหวังว่าจะช่วยลดแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติและอาจทำให้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว
#ข่าววันนี้ #สภาธุรกิจตลาดทุนไทย #FETCO #ลงทุน #กอบศักดิ์ภูตระกูล #ดอกเบี้ย
ก้าวไกล จับตาบอร์ด ธ.ก.ส. ลงมติปมเงินดิจิทัล หากไม่ตรงวัตถุประสงค์ เสี่ยงผิดกฎหมาย
https://www.thairath.co.th/news/politic/2799449
“จุลพงศ์” สส.ก้าวไกล เตือนคณะกรรมการ ธ.ก.ส. พร้อมจับตาการลงมติออกเงินทดรองแจกดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ หากไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน อาจเสี่ยงทำผิดกฎหมาย
วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงข่าวที่อาคารรัฐสภา ถึงโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ว่า ภายหลังจากที่ได้รับทราบข่าวจาก นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ว่ารัฐบาลยังไม่ได้สอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการใช้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้า
ทั้งนี้ ได้มีการค้นคว้าแง่มุมทุกด้านทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ ธ.ก.ส. โดยละเอียด และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงทางกฎหมายของ ธ.ก.ส. ว่า การที่ ธ.ก.ส. จะออกเงินทดรองเพื่อแจกในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตประมาณ 170,000 ล้านบาท สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วไปตามที่รัฐบาลได้กำหนดไว้นั้น เป็นการขัดกับกฎหมายคือ พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และฉบับที่แก้ไขต่อมาอย่างชัดเจน เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ธ.ก.ส. หรือวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของ ธ.ก.ส. ไม่ได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติอนุมัติให้ ธ.ก.ส. ทดรองเงินเพื่อนำไปใช้แจกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่อย่างใด เงิน ธ.ก.ส. จะต้องนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรหรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตรเท่านั้น
นายจุลพงศ์ กล่าวต่อไปว่า หากรัฐบาลจะอ้างมาตรา 28 ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้ ธ.ก.ส. แจกเงินให้ได้ แต่มาตรา 28 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การที่หน่วยงานของรัฐจะทำตามที่ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลนั้น ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น
...
“จึงขอเตือนไปถึงคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่า หากลงมติให้ ธ.ก.ส. แจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต โดยไม่ได้จำกัดการแจกว่าให้ผู้ที่ได้รับการแจกเงิน ต้องนำเงินที่ได้รับจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเพื่อไปพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตร หรือเพื่อส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร ตามวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. อีกทั้ง การที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ลงมติเห็นชอบนั้น มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย”
นายจุลพงศ์ ระบุอีกว่า ไม่สามารถอ้างได้ว่าทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะมติ ครม. ไม่ใช่กฎหมาย แต่หากคณะกรรมการ ธ.ก.ส. จะลงมติให้ผู้รับเงินนำเงินที่ได้รับแจกจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปใช้ได้เฉพาะเพื่อการเกษตร เช่น ให้เกษตรกรที่เป็นชาวนาทั่วไปนำไปซื้อปุ๋ย ก็จะเป็นการซ้ำซ้อนกับโครงการปุ๋ยคนละครึ่งที่รัฐบาลจะให้ ธ.ก.ส. ออกทดรองไปก่อนถึง 30,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจช่วยคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในการลงมติ และจะขอติดตามดูมติของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ว่าจะออกมาอย่างไรต่อไป.
จับตาศาล รธน. เริ่มประชุมคดี 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน 'เศรษฐา' ตั้ง 'พิชิต' นั่งรัฐมนตรี
https://www.matichon.co.th/politics/news_4672633
จับตาศาล รธน. เริ่มประชุมคดี 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน ‘นายกฯ’ ตั้ง ‘พิชิต’ นั่งรัฐมนตรี
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 10 กรกฎาคม คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมประจำสัปดาห์ตามปกติ โดยมีวาระที่น่าสนใจ คือกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภา 40 คน ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ จากเหตุนำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้ว่านายพิชิตขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ศาลได้มีคำสั่งให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งนายเศรษฐา ในฐานะผู้ถูกร้อง ได้แจ้งยื่นเอกสารเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับการประชุมวันนี้ต้องรอผลการพิจารณาว่าศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนวิธีพิจารณาคดีนี้อย่างไรต่อไป ข้อเท็จจริงที่ได้เพียงพอที่จะนัดประชุม ปรึกษาหารือ และลงมติพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือไม่ หรือจะมีการจะมีการเปิดไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาวินิจฉัย