สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เผย หุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้แนวโน้มลดลง ปีนี้มีแค่ 3 บริษัทไซซ์เล็ก ไม่มีประเด็นเซอร์ไพร์สฮือฉาวเหมือนปีที่แล้ว
ด้านบริษัทขอเลื่อนชำระหนี้พบ 9 บริษัท มูลหนี้ 1.8 หมื่นล้าน กระจุกตัวที่ ITD กว่า 1.4 หมื่นล้าน EA ครบดีล ส.ค. วงเงิน 1.5 พันล้าน เงินสดในมือพร้อม
”อริยา“ ชี้ตลาดหุ้นกู้ มีความระมัดระวัง ผู้ถือหุ้นกู้ตื่นตัวมาก มองข้ามชอร์ต 6 เดือน ไปถึง 1 ปี สอบถามบริษัทถึงแผนชำระคืนหนี้
วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า หุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 มีจำนวน 3 บริษัท รวมมูลค่า 1,101 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. บริษัท พีพี ฮอลิเดย์ จำกัด (PPH) เป็นหุ้นกู้ไม่จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Non-rated) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 392 ล้านบาท จากผลพวงปัญหาที่ลากยาวมาตั้งแต่วิกฤตโควิด ซึ่งประคับคองธุรกิจมาต่อเนื่องจนไปต่อไม่ไหว
2.บริษัท ซิซ่า กรุ๊ป จำกัด (CISSA) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหุ้นกู้ Non-rated จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 217 ล้านบาท ปัญหาคล้าย ๆ กันลากยาวมาตั้งแต่ช่วงโควิด
3. บริษัท ไอริส กรุ๊ป (IRIS) เป็นหุ้นกู้ Non-rated อีกจำนวน 2 รุ่น มูลค่ารวม 492 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่มีหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ 22 รุ่น จากผู้ออก 5 ราย มูลค่ารวม 16,363 ล้านบาท
“ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีปัญหาสะสมของตัวเองมาตั้งแต่โควิด ไม่ได้มีประเด็นเซอร์ไพร์สหรือฮือฉาวเหมือนกับปีที่แล้ว”
แต่ในส่วนหุ้นกู้ที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้ใน 6 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่ารวม 18,876 ล้านบาท โดยมีผู้ออกรายใหม่ในกลุ่มหุ้นกู้ที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้จำนวน 5 บริษัท ประกอบด้วย
1. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ (ITD) จำนวน 5 รุ่น มูลค่า 14,455 ล้านบาท ในเดือน ม.ค แต่ขายให้เฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบันและรายใหญ่
2. บมจ.โกลบอล คอนซูเมอร์ (GLOCON) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 330 ล้านบาท ในเดือน ก.พ.
3.บมจ.โปรเอ็น คอร์ป (PROEN) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 500 ล้านบาท ในเดือน มี.ค.
4. บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค (ECF) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 389 ล้านบาท ในเดือน พ.ค. และ
5. บมจ.เอเซีย พรีซิชั่น (APCS) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 385 ล้านบาท ในเดือน มิ.ย.
“โดยส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้จะให้เหตุผลว่า จากปัญหาสภาวะตลาด ทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามประมาณการ จึงยังไม่สามารถที่จะคืนเงินต้นได้เต็มจำนวน ต้องขอไปเจรจาขอผันผ่อนจ่ายและขอยืดอายุออกไป 1-2 ปี”
นอกจากนี้ยังมีอีก 4 บริษัท ที่มีปัญหาอยู่เดิมคือขอเลื่อนชำระหนี้มาแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ๆ และมาครบกำหนดต้องจ่ายในปีนี้แต่ไม่สามารถจ่ายได้ ขอยืดอายุออกไปอีก ประกอบด้วย 1. บริษัท สยามนุวัตร จำกัด (SNW) จำนวน 3 รุ่น มูลค่า 520 ล้านบาท ในเดือน ม.ค. 2. บมจ.เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล (JCK) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 280 ล้านบาท ในเดือน มี.ค. 3. บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) จำนวน 2 รุ่น มูลค่า 1,672 ล้านบาท ในเดือน มี.ค. และ 4. บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (JCKD) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 375 ล้านบาท ในเดือน พ.ค.
ทั้งนี้เทียบในปี 2566 มีหุ้นกู้เลื่อนกำหนดชำระหนี้ 37 รุ่น จากผู้ออก 14 ราย มูลค่ารวม 12,443 ล้านบาท
นางสาวอริยา กล่าวต่อว่า สถานการณ์โดยรวมยังปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีการผิดนัดชำระหนี้อยู่ แต่ถ้าเทียบในแง่ทั้งปริมาณและนัยะความใหญ่ของเหตุการณ์ ปีนี้ดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่ดูดีขึ้น ถึงแม้จะยังมีความจำเป็นต้องไปขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อยู่ก็ตาม ซึ่งเท่าที่ติดตามดูถือว่ายังจ่ายดอกเบี้ยได้ทุกงวดตามที่เลื่อนอยู่ บางรายก็ทยอยจ่ายคืนเงินต้นด้วย เช่น 5-10% แต่เมื่อไรที่นักลงทุนไม่เชื่อใจก็มีสิทธิที่จะไม่อนุมัติให้เลื่อนจ่ายหนี้ได้
”ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง บริษัทที่มีปัญหา โอกาสในการออกหุ้นกู้ใหม่ถูกปิด เพราะฉะนั้นบริษัทอื่นจะเห็นเป็นตัวอย่าง ถ้าไม่รักษาชื่อเสียงหรือเครดิต ต่อไปจะเข้าสู่ตลาดทุนได้ยากมาก ดังนั้นจากบทเรียนเหล่านี้แต่ละบริษัทจะระมัดระวังตัวอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้
อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้อีกมากน้อยแค่ไหน แต่ตลาดมีความระมัดระวัง แม้ว่าไม่ถึงกับตระหนก แต่นักลงทุนมีความรอบคอบในการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นในมุมของผู้ออกต้องอาศัยแหล่งระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น หาวงเงินกู้จากธนาคาร หรือขายทรัพย์สิน เพื่อบริหารจัดการไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ได้ รวมทั้งหากมีความจำเป็นต้องเจรจากับผู้ถือหุ้นกู้ ต้องเตรียมแผนให้ดีและมีความจริงใจ
ในเวลานี้ผู้ถือหุ้นกู้ตื่นตัวมาก โดยบริษัทที่มีหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอนภายในปีนี้หรือปีหน้า บางคนติดต่อสอบถามผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อให้สอบถามไปทางบริษัทว่าเตรียมแผนอย่างไรในการจะชำระคืนหนี้ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารบริษัทไม่นิ่งนอนใจ ตอนนี้ทุกคนมองข้ามชอร์ต 6 เดือน ไปถึง 1 ปี ว่าจะมีแผนชำระคืนหนี้อย่างไร“ นางสาวอริยา กล่าว
ทั้งนี้สมาคมฯกำลังจับตาหลายบริษัทที่มีกระแสข่าวด้านปัญหาสภาพคล่องหรือมีปัญหาสถานะการเงินอย่างใกล้ชิด โดยพอใกล้ถึงวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้น จะประสานไปยังนายทะเบียนหุ้นกู้ และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือแม้แต่ผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ ว่าบริษัทมีการเตรียมแผนไว้อย่างไรบ้าง
สำหรับในส่วน บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดภายในปีนี้ 5,500 ล้านบาท โดยจะครบกำหนดในวันที่ 15 ส.ค. 2567 มูลค่า 1,500 ล้านบาท และวันที่ 29 ก.ย. 2567 อีกมูลค่า 4,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีตามข้อมูลในงบการเงิน EA มีกระแสเงินสดอยู่ในมือประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1599068
หุ้นกู้เลื่อนชำระหนี้ 9 บริษัท 1.8 หมื่นล้าน EA ครบดีล ส.ค. เงินสดในมือพร้อม.
”อริยา“ ชี้ตลาดหุ้นกู้ มีความระมัดระวัง ผู้ถือหุ้นกู้ตื่นตัวมาก มองข้ามชอร์ต 6 เดือน ไปถึง 1 ปี สอบถามบริษัทถึงแผนชำระคืนหนี้
วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า หุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 มีจำนวน 3 บริษัท รวมมูลค่า 1,101 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. บริษัท พีพี ฮอลิเดย์ จำกัด (PPH) เป็นหุ้นกู้ไม่จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Non-rated) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 392 ล้านบาท จากผลพวงปัญหาที่ลากยาวมาตั้งแต่วิกฤตโควิด ซึ่งประคับคองธุรกิจมาต่อเนื่องจนไปต่อไม่ไหว
2.บริษัท ซิซ่า กรุ๊ป จำกัด (CISSA) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นหุ้นกู้ Non-rated จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 217 ล้านบาท ปัญหาคล้าย ๆ กันลากยาวมาตั้งแต่ช่วงโควิด
3. บริษัท ไอริส กรุ๊ป (IRIS) เป็นหุ้นกู้ Non-rated อีกจำนวน 2 รุ่น มูลค่ารวม 492 ล้านบาท เทียบกับปี 2566 ที่มีหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ 22 รุ่น จากผู้ออก 5 ราย มูลค่ารวม 16,363 ล้านบาท
“ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทขนาดเล็ก มีปัญหาสะสมของตัวเองมาตั้งแต่โควิด ไม่ได้มีประเด็นเซอร์ไพร์สหรือฮือฉาวเหมือนกับปีที่แล้ว”
แต่ในส่วนหุ้นกู้ที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้ใน 6 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่ารวม 18,876 ล้านบาท โดยมีผู้ออกรายใหม่ในกลุ่มหุ้นกู้ที่เลื่อนกำหนดชำระหนี้จำนวน 5 บริษัท ประกอบด้วย
1. บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ (ITD) จำนวน 5 รุ่น มูลค่า 14,455 ล้านบาท ในเดือน ม.ค แต่ขายให้เฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบันและรายใหญ่
2. บมจ.โกลบอล คอนซูเมอร์ (GLOCON) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 330 ล้านบาท ในเดือน ก.พ.
3.บมจ.โปรเอ็น คอร์ป (PROEN) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 500 ล้านบาท ในเดือน มี.ค.
4. บมจ.อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค (ECF) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 389 ล้านบาท ในเดือน พ.ค. และ
5. บมจ.เอเซีย พรีซิชั่น (APCS) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 385 ล้านบาท ในเดือน มิ.ย.
“โดยส่วนใหญ่บริษัทเหล่านี้จะให้เหตุผลว่า จากปัญหาสภาวะตลาด ทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามประมาณการ จึงยังไม่สามารถที่จะคืนเงินต้นได้เต็มจำนวน ต้องขอไปเจรจาขอผันผ่อนจ่ายและขอยืดอายุออกไป 1-2 ปี”
นอกจากนี้ยังมีอีก 4 บริษัท ที่มีปัญหาอยู่เดิมคือขอเลื่อนชำระหนี้มาแล้วตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ๆ และมาครบกำหนดต้องจ่ายในปีนี้แต่ไม่สามารถจ่ายได้ ขอยืดอายุออกไปอีก ประกอบด้วย 1. บริษัท สยามนุวัตร จำกัด (SNW) จำนวน 3 รุ่น มูลค่า 520 ล้านบาท ในเดือน ม.ค. 2. บมจ.เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล (JCK) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 280 ล้านบาท ในเดือน มี.ค. 3. บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ (CGD) จำนวน 2 รุ่น มูลค่า 1,672 ล้านบาท ในเดือน มี.ค. และ 4. บริษัท เจซี เควิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (JCKD) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 375 ล้านบาท ในเดือน พ.ค.
ทั้งนี้เทียบในปี 2566 มีหุ้นกู้เลื่อนกำหนดชำระหนี้ 37 รุ่น จากผู้ออก 14 ราย มูลค่ารวม 12,443 ล้านบาท
นางสาวอริยา กล่าวต่อว่า สถานการณ์โดยรวมยังปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีการผิดนัดชำระหนี้อยู่ แต่ถ้าเทียบในแง่ทั้งปริมาณและนัยะความใหญ่ของเหตุการณ์ ปีนี้ดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่ดูดีขึ้น ถึงแม้จะยังมีความจำเป็นต้องไปขอเลื่อนกำหนดชำระหนี้อยู่ก็ตาม ซึ่งเท่าที่ติดตามดูถือว่ายังจ่ายดอกเบี้ยได้ทุกงวดตามที่เลื่อนอยู่ บางรายก็ทยอยจ่ายคืนเงินต้นด้วย เช่น 5-10% แต่เมื่อไรที่นักลงทุนไม่เชื่อใจก็มีสิทธิที่จะไม่อนุมัติให้เลื่อนจ่ายหนี้ได้
”ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง บริษัทที่มีปัญหา โอกาสในการออกหุ้นกู้ใหม่ถูกปิด เพราะฉะนั้นบริษัทอื่นจะเห็นเป็นตัวอย่าง ถ้าไม่รักษาชื่อเสียงหรือเครดิต ต่อไปจะเข้าสู่ตลาดทุนได้ยากมาก ดังนั้นจากบทเรียนเหล่านี้แต่ละบริษัทจะระมัดระวังตัวอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้
อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะมีหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้อีกมากน้อยแค่ไหน แต่ตลาดมีความระมัดระวัง แม้ว่าไม่ถึงกับตระหนก แต่นักลงทุนมีความรอบคอบในการลงทุนเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นในมุมของผู้ออกต้องอาศัยแหล่งระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น หาวงเงินกู้จากธนาคาร หรือขายทรัพย์สิน เพื่อบริหารจัดการไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ได้ รวมทั้งหากมีความจำเป็นต้องเจรจากับผู้ถือหุ้นกู้ ต้องเตรียมแผนให้ดีและมีความจริงใจ
ในเวลานี้ผู้ถือหุ้นกู้ตื่นตัวมาก โดยบริษัทที่มีหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอนภายในปีนี้หรือปีหน้า บางคนติดต่อสอบถามผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อให้สอบถามไปทางบริษัทว่าเตรียมแผนอย่างไรในการจะชำระคืนหนี้ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารบริษัทไม่นิ่งนอนใจ ตอนนี้ทุกคนมองข้ามชอร์ต 6 เดือน ไปถึง 1 ปี ว่าจะมีแผนชำระคืนหนี้อย่างไร“ นางสาวอริยา กล่าว
ทั้งนี้สมาคมฯกำลังจับตาหลายบริษัทที่มีกระแสข่าวด้านปัญหาสภาพคล่องหรือมีปัญหาสถานะการเงินอย่างใกล้ชิด โดยพอใกล้ถึงวันครบกำหนดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้น จะประสานไปยังนายทะเบียนหุ้นกู้ และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หรือแม้แต่ผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ ว่าบริษัทมีการเตรียมแผนไว้อย่างไรบ้าง
สำหรับในส่วน บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดภายในปีนี้ 5,500 ล้านบาท โดยจะครบกำหนดในวันที่ 15 ส.ค. 2567 มูลค่า 1,500 ล้านบาท และวันที่ 29 ก.ย. 2567 อีกมูลค่า 4,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดีตามข้อมูลในงบการเงิน EA มีกระแสเงินสดอยู่ในมือประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1599068