นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศมองว่ายอดการจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ว่า ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลล่าสุด สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ลดลง 1.55% ในไตรมาส 1/2567 ชะลอตัวลงมากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น และพบว่าการปฏิเสธสินเชื่อมีมากขึ้น แต่ทั้งนี้ มองว่ามีสาเหตุมาจากคุณภาพของผู้กู้เอง ไม่ใช่เกิดจากความเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร
“เท่าที่คุยกับผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน พบว่า มาตรฐานสินเชื่อรถยนต์โดยรวมไม่ได้เปลี่ยน แต่ที่เปลี่ยน คือ คุณภาพของลูกหนี้ที่จะมาขอกู้แย่ลง ทำให้การปฏิเสธสินเชื่อมีมากขึ้น” นายปิติ กล่าว
ขณะเดียวกัน รถยนต์มือสองถูกกดดันอย่างมาก โดยราคารถยนต์มือสองที่ลดลงทำให้ตลาดซบเซา เพราะปกติจะมีผู้ซื้อกลุ่มหนึ่งที่จะซื้อรถใหม่ โดยนำรถเก่าไปเทิร์น เพื่อให้ได้เงินมาโปะซื้อรถคันใหม่ ดังนั้น เมื่อขายรถมือสองได้ในราคาต่ำ จึงทำให้ผู้ซื้อต้องเพิ่มเงินมากขึ้นเพื่อซื้อรถคันใหม่ ดังนั้นจึงส่งผลต่อความสามารถในการซื้อรถคันใหม่ให้ลดลงไปด้วย
อีกทั้งยังมีการเข้ามาแข่งขันด้านราคาจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประชาชนรอดูความชัดเจนเรื่องการปรับลดราคาแบตเตอรี่ เพราะมีส่วนลดเป็นหลักแสนบาท จึงเกิดความลังเลที่จะซื้อรถ ประกอบกับตลาดรถปิกอัพ ที่ก่อนหน้านี้มีการเร่งปล่อยสินเชื่อไปมากพอสมควรแล้ว ทำให้ปัจจุบันการซื้อจึงกลับเข้าภาวะปกติ ดังนั้นยอมรับว่ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายพอสมควร
นายปิติ กล่าวด้วยว่า ปัญหาหนี้มีทั้งหนี้ภาคครัวเรือน และหนี้ภาคธุรกิจ ซึ่งหนี้ภาคธุรกิจไม่ได้มีปัญหาหนี้สูง แต่มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่ม SME ในขณะที่ภาคครัวเรือนมีจุดเปราะบางอยู่ที่มูลหนี้ที่อยู่ในระดับสูงเป็นประเด็นหลัก ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนจึงต้องแก้ที่มูลหนี้ ซึ่งอย่างน้อยก็คือทำให้ปัญหาไม่แย่ลง
“ดังนั้น จึงต้องแก้ปัญหาเรื่องมูลหนี้ให้ได้ เราไม่ได้มองว่า นโยบายการเงินจะเป็นตัวแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ไม่ได้มีเป้าหมายว่า การใช้เครื่องมือดอกเบี้ย เพื่อตั้ง target ว่าให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนอยู่ที่เท่าไร แค่รู้ว่ามีส่วนทำให้หนี้ครัวเรือนไม่แย่ลง มีมาตรการเฉพาะจุดแก้มูลหนี้ ให้รายได้ค่อยเติบโต เพื่อบรรเทาปัญหา” นายปิติกล่าว
ที่มา:
https://www.infoquest.co.th/2024/409298
“แบงก์ชาติ” แจงไฟแนนซ์รถยนต์ ไม่ได้เข้มงวดขึ้น แต่เป็นเพราะคุณภาพผู้กู้ด้อยลง
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศมองว่ายอดการจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารพาณิชย์ ว่า ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยข้อมูลล่าสุด สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ลดลง 1.55% ในไตรมาส 1/2567 ชะลอตัวลงมากกว่าสินเชื่อประเภทอื่น และพบว่าการปฏิเสธสินเชื่อมีมากขึ้น แต่ทั้งนี้ มองว่ามีสาเหตุมาจากคุณภาพของผู้กู้เอง ไม่ใช่เกิดจากความเข้มงวดมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร
“เท่าที่คุยกับผู้ประกอบการ และสถาบันการเงิน พบว่า มาตรฐานสินเชื่อรถยนต์โดยรวมไม่ได้เปลี่ยน แต่ที่เปลี่ยน คือ คุณภาพของลูกหนี้ที่จะมาขอกู้แย่ลง ทำให้การปฏิเสธสินเชื่อมีมากขึ้น” นายปิติ กล่าว
ขณะเดียวกัน รถยนต์มือสองถูกกดดันอย่างมาก โดยราคารถยนต์มือสองที่ลดลงทำให้ตลาดซบเซา เพราะปกติจะมีผู้ซื้อกลุ่มหนึ่งที่จะซื้อรถใหม่ โดยนำรถเก่าไปเทิร์น เพื่อให้ได้เงินมาโปะซื้อรถคันใหม่ ดังนั้น เมื่อขายรถมือสองได้ในราคาต่ำ จึงทำให้ผู้ซื้อต้องเพิ่มเงินมากขึ้นเพื่อซื้อรถคันใหม่ ดังนั้นจึงส่งผลต่อความสามารถในการซื้อรถคันใหม่ให้ลดลงไปด้วย
อีกทั้งยังมีการเข้ามาแข่งขันด้านราคาจากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประชาชนรอดูความชัดเจนเรื่องการปรับลดราคาแบตเตอรี่ เพราะมีส่วนลดเป็นหลักแสนบาท จึงเกิดความลังเลที่จะซื้อรถ ประกอบกับตลาดรถปิกอัพ ที่ก่อนหน้านี้มีการเร่งปล่อยสินเชื่อไปมากพอสมควรแล้ว ทำให้ปัจจุบันการซื้อจึงกลับเข้าภาวะปกติ ดังนั้นยอมรับว่ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายพอสมควร
นายปิติ กล่าวด้วยว่า ปัญหาหนี้มีทั้งหนี้ภาคครัวเรือน และหนี้ภาคธุรกิจ ซึ่งหนี้ภาคธุรกิจไม่ได้มีปัญหาหนี้สูง แต่มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่ม SME ในขณะที่ภาคครัวเรือนมีจุดเปราะบางอยู่ที่มูลหนี้ที่อยู่ในระดับสูงเป็นประเด็นหลัก ไม่ใช่เรื่องดอกเบี้ย ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนจึงต้องแก้ที่มูลหนี้ ซึ่งอย่างน้อยก็คือทำให้ปัญหาไม่แย่ลง
“ดังนั้น จึงต้องแก้ปัญหาเรื่องมูลหนี้ให้ได้ เราไม่ได้มองว่า นโยบายการเงินจะเป็นตัวแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ไม่ได้มีเป้าหมายว่า การใช้เครื่องมือดอกเบี้ย เพื่อตั้ง target ว่าให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนอยู่ที่เท่าไร แค่รู้ว่ามีส่วนทำให้หนี้ครัวเรือนไม่แย่ลง มีมาตรการเฉพาะจุดแก้มูลหนี้ ให้รายได้ค่อยเติบโต เพื่อบรรเทาปัญหา” นายปิติกล่าว
ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2024/409298