สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เอาจริง HR ไม่น่าจะซีเรียสเรื่องอายุผู้สมัครที่เกิน 35 ปีกันซักเท่าไหร่หรอกค่ะ
แต่ที่ต้องคัดขนาดนั้นเพราะหน่วยงานที่ร้องขอส่วนใหญ่ไม่รับคนอายุขนาดนั้นกัน
เราส่งใบสมัครที่สมัครเข้ามาให้หน่วยงานที่ร้องขอดูอีกทีหนึ่ง เพื่อให้เค้าคัดเลือกผู้สมัคร
เมื่อถูกใจแล้ว ทางหน่วยงานที่ร้องขอคน ก็จะส่งใบสมัครกับมาให้กับทาง HR เพื่อนัดสัมภาษณ์งาน
จากสถานการณ์จริง ถ้าหน่วยงานที่ต้องการคน รับพิจารณาผู้สมัครที่อายุมากๆ เราก็สามารถหาให้ได้ค่ะ
แต่ส่วนใหญ่ผู้สมัครที่อายุมาก ก็ต้องเป็นผู้สมัครที่มีตำแหน่งในระดับนึง เช่น ระดับ ผจก. (ที่ บ.เพิ่งรับผจก.ที่อายุ 55 ปีมาทำงานค่ะ)
ถ้าผู้สมัครอายุเยอะ เกิน 35+ ยังเป็นตำแหน่ง จนท.ธรรมดา ๆ ไม่ค่อยมีหน่วยงานไหน รับค่ะ โดยเฉพาะถ้าผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้น ๆ อายุน้อยกว่า หรือไม่มากพอ เพราะเค้าก็จะบอกว่าสอนงานยาก อีโก้สูง น้ำเต็มแล้ว บลาๆๆๆ ( เข้าใจได้ว่าในหน่วยงานหนึง ๆ ไม่มีใครอยากมีลูกน้องที่อายุมากกว่าตนเองที่เป็นหัวหน้า -โดยเฉพาะในองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการ ) พวกที่อายุมากตำแหน่งงานไม่ขยับเขยื้อนไปไหนก็จะถูกมองด้วยว่ามัวไปทำอะไรอยู่ อายุตัวขนาดนี้ อายุงานขนาดนั้นทำไมไม่มีความก้าวหน้าในงานบ้างเลยเหรอ? มันหมายความว่าอย่างไร คุณทำงานไม่ดี คุณไม่มีประสิทธิ์ภาพ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
โดยหลักการเมื่ออายุคนเราเพิ่มขั้น ตำแหน่งงานควรเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ ไม่มากก็น้อย สำหรับงานเอกชนนะคะ อย่างน้อย ๆ ที่สุดก็ต้องพ่วงคำว่า ...อาวุโสลงไป ก็ได้แล้วค่ะ (แต่ไม่ใช่ว่าทำงานที่เก่ามา 10/20 กว่าปี แต่ก็ยังเป็นแค่เจ้าหน้าที่อาวุโสอยู่อย่างนั้นนะคะ)
ที่คุณ จขพ.เขียนมาถูกต้องทุกอย่างค่ะ หน่วยงานที่ขอคน ที่สำคัญกว่า HR ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่ ยิ่งถ้าเจ้าของ/ผบห.ระดับ กก.ผจก.ไม่ลงมาเล่นด้วย หรือไม่ลงมากำชับสั่งการเป็นนโยบาย ก็ยากที่จะปฏิบัติได้ค่ะ คนหายากมาก HR มีหน้าที่หาก็หาไป (ในแง่ความคิดของหน่วยงานที่ต้องการคนทำงาน)บางคนเลือกคนที่จะเข้ามาทำงาน แบบต้องทั้งเก่ง ทั้งสวย บุคคลิกหน้าตาต้องดี ภาษาต้องได้(ดี) และต้องเพศ..เท่านั้น ไม่ยอมรับเพศสภาพ-ทางเลือกอะไรเลย ก็มีให้เห็นมาแล้วค่ะ ถามว่า HR ลำบากใจมั๊ย? บอกได้เลยว่ามากๆๆๆ ค่ะ แต่ว่าทำอะไรไม่ได้ อย่างที่บอกถ้าเจ้าของไม่ออกเป็นนโยบายเราไม่มีสิทธิ์ คุณอาจสงสัยว่าแล้วเรานั่งทำอะไรทำไมไม่เสนอ เสนอค่ะ แจ้ง-บอกแบบที่คุณว่าเลย แต่ยังไม่อนุมัติหรือไม่เห็นด้วยค่ะ (สรุปคือเค้าก็ยังยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ ที่ผ่านมานี่ะค่ะ )
แต่ที่ต้องคัดขนาดนั้นเพราะหน่วยงานที่ร้องขอส่วนใหญ่ไม่รับคนอายุขนาดนั้นกัน
เราส่งใบสมัครที่สมัครเข้ามาให้หน่วยงานที่ร้องขอดูอีกทีหนึ่ง เพื่อให้เค้าคัดเลือกผู้สมัคร
เมื่อถูกใจแล้ว ทางหน่วยงานที่ร้องขอคน ก็จะส่งใบสมัครกับมาให้กับทาง HR เพื่อนัดสัมภาษณ์งาน
จากสถานการณ์จริง ถ้าหน่วยงานที่ต้องการคน รับพิจารณาผู้สมัครที่อายุมากๆ เราก็สามารถหาให้ได้ค่ะ
แต่ส่วนใหญ่ผู้สมัครที่อายุมาก ก็ต้องเป็นผู้สมัครที่มีตำแหน่งในระดับนึง เช่น ระดับ ผจก. (ที่ บ.เพิ่งรับผจก.ที่อายุ 55 ปีมาทำงานค่ะ)
ถ้าผู้สมัครอายุเยอะ เกิน 35+ ยังเป็นตำแหน่ง จนท.ธรรมดา ๆ ไม่ค่อยมีหน่วยงานไหน รับค่ะ โดยเฉพาะถ้าผู้บังคับบัญชาหน่วยงานนั้น ๆ อายุน้อยกว่า หรือไม่มากพอ เพราะเค้าก็จะบอกว่าสอนงานยาก อีโก้สูง น้ำเต็มแล้ว บลาๆๆๆ ( เข้าใจได้ว่าในหน่วยงานหนึง ๆ ไม่มีใครอยากมีลูกน้องที่อายุมากกว่าตนเองที่เป็นหัวหน้า -โดยเฉพาะในองค์กรหรือหน่วยงานที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการ ) พวกที่อายุมากตำแหน่งงานไม่ขยับเขยื้อนไปไหนก็จะถูกมองด้วยว่ามัวไปทำอะไรอยู่ อายุตัวขนาดนี้ อายุงานขนาดนั้นทำไมไม่มีความก้าวหน้าในงานบ้างเลยเหรอ? มันหมายความว่าอย่างไร คุณทำงานไม่ดี คุณไม่มีประสิทธิ์ภาพ หรืออื่น ๆ อีกมากมาย
โดยหลักการเมื่ออายุคนเราเพิ่มขั้น ตำแหน่งงานควรเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ ไม่มากก็น้อย สำหรับงานเอกชนนะคะ อย่างน้อย ๆ ที่สุดก็ต้องพ่วงคำว่า ...อาวุโสลงไป ก็ได้แล้วค่ะ (แต่ไม่ใช่ว่าทำงานที่เก่ามา 10/20 กว่าปี แต่ก็ยังเป็นแค่เจ้าหน้าที่อาวุโสอยู่อย่างนั้นนะคะ)
ที่คุณ จขพ.เขียนมาถูกต้องทุกอย่างค่ะ หน่วยงานที่ขอคน ที่สำคัญกว่า HR ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่ ยิ่งถ้าเจ้าของ/ผบห.ระดับ กก.ผจก.ไม่ลงมาเล่นด้วย หรือไม่ลงมากำชับสั่งการเป็นนโยบาย ก็ยากที่จะปฏิบัติได้ค่ะ คนหายากมาก HR มีหน้าที่หาก็หาไป (ในแง่ความคิดของหน่วยงานที่ต้องการคนทำงาน)บางคนเลือกคนที่จะเข้ามาทำงาน แบบต้องทั้งเก่ง ทั้งสวย บุคคลิกหน้าตาต้องดี ภาษาต้องได้(ดี) และต้องเพศ..เท่านั้น ไม่ยอมรับเพศสภาพ-ทางเลือกอะไรเลย ก็มีให้เห็นมาแล้วค่ะ ถามว่า HR ลำบากใจมั๊ย? บอกได้เลยว่ามากๆๆๆ ค่ะ แต่ว่าทำอะไรไม่ได้ อย่างที่บอกถ้าเจ้าของไม่ออกเป็นนโยบายเราไม่มีสิทธิ์ คุณอาจสงสัยว่าแล้วเรานั่งทำอะไรทำไมไม่เสนอ เสนอค่ะ แจ้ง-บอกแบบที่คุณว่าเลย แต่ยังไม่อนุมัติหรือไม่เห็นด้วยค่ะ (สรุปคือเค้าก็ยังยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ ที่ผ่านมานี่ะค่ะ )
แสดงความคิดเห็น
HR เอกชน จะไม่ซีเรียสเรื่อง อายุคนสมัครงานเกิน 35-40 ปี ได้แล้วหรือยัง
จริงอยู่งานประเภทใช้แรงงาน มีประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า กัมพูชา ลาว มาทดแทนได้ คุณจะใช้เกณฑ์อายุมาตัดสินรับได้ เพราะตัวเลือกเยอะ
แต่งานปฏิบัติการในออฟฟิศ อนาคตข้างหน้าไม่อีกกี่ปี มันจะหาคนที่มีคุณสมบัติพร้อมอายุไม่เกินที่ตั้งไว้ ได้ง่ายๆขนาดนั้นเลยหรอ จำนวนประชากรไทย คนดีๆเก่งๆ บางทีเขาก็ไปทำงานราชการ ย้ายไปทำงานต่างประเทศ ทำธุรกิจส่วนตัว จำนวนประชากรเก่งมันก็เหลือน้อยลงเป็นตัวเหลือสำหรับเอกชน
บริษัทใหญ่ดังๆติดท็อปประเทศอาจจะไม่มีปัญหาหรือมีน้อยกว่า แต่ใหญ่รองลงมามันน่าจะมีปัญหานะ ถ้าบอกก็รับคนต่างชาติมาได้นิ แต่ถ้าเขาเก่ง เขาได้ 2-3 ภาษา ทำไมเขาต้องมาทำงานออฟฟิศไทย เขาไปทำงานประเทศพัฒนาแล้วไม่ดีกว่าหรอ ดีกว่ามาทำประเทศที่เศรษฐกิจที่ไม่โต และไม่คิดจะแก้ปัญหาสังคม ปัญหารถสาธารณะ ทำไม
เลยอยากจะรู้ว่า HR ชื่อก็บอกว่างานทรัพยากรบุคคล เคยคิดกันบ้างไหมว่าบุคคลในประเทศไทย วัยรุ่นบางคนมันไม่เอาไหน มันเริ่มวิกฤต มันไม่ได้มีเด็กเกิดใหม่มหาศาลมาทดแทน เหมือน เวียดนาม อินโดนีเซีย บุคคลดีๆมันเริ่มขาดแคลน เราต้องเริ่มไม่ซีเรียสเรื่องอายุในการรับคน ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศเขาเห็นไม่ซีเรียสเรื่องอายุเลย ซึ่งบางคนที่อายุเกินเขาก็ไม่ได้อยากมาสมัครตอนอายุเยอะหรอก แต่ก็มีเหตุผลบางอย่างแล้วแต่คนที่อยากจะเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ซึ่งบางคนมองว่า อายุเยอะต้องสมัครเป็นระดับหัวหน้าได้แล้ว มันใช่ว่าทุกคนที่เกิดมาทำงานประจำ ในชีวิตจะได้เป็นหัวหน้ากันหมดใช่ไหมครับ ขอให้เขามีสุขภาพแข็งแรง มีความสามารถ มีประสบประการณ์ ยอมรับเงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่งได้และไม่เกินขีดจำกัดในการจ่ายเงินของบริษัทก็พอ ซึ่งไม่รู้ว่าทุกวันนี้คนทำงาน HR เอกชนเคยคิดเรื่องนี้กันบ้างไหม