ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็น่าจะเป็นมือถือ เพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญ ใช้ติดต่อสื่อสาร ทุกวันนี้เรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราหลายเรื่องถูกจับยัดลงมือถือหมด อย่างเช่นการเงินการธนาคาร สุขภาพ ตารางชีวิต
อย่างเรื่องธนาคารที่ผมพูดถึง ทุกวันนี้คนเราหลายคนมักใช้วิธีสแกนจ่ายเวลาซื้อของต่าง ๆ ซึ่งมันก็สะดวกดี
แต่ปัญหาที่เจอทุกวันนี้คือ บางคนเอาชีวิตไปผูกกับมือถือ กับเทคโนโลยีจนเกินไป จนบางคนมีคำถามว่า ".....(ชื่อสิ่งของ) ยังจำเป็นอยู่ไหม" เพราะมองว่าดูในมือถือได้หมดแล้ว หรือเรื่องสแกนจ่ายนี่ก็ใช่ บางคนไม่พกเงินสดแล้ว เพราะกะจะสแกนจ่ายลูกเดียว โดยไม่นึกถึงสถานการณ์ที่ถ้ามือถือใช้ไม่ได้ เช่น แบตหมด,ไม่มีเน็ต,แอปล่ม ฯลฯ แล้วจะทำยังไง เพื่อนผมคนหนึ่งไม่พกเงินสด แต่วันหนึ่งจะต้องขึ้น BTS สุดท้ายก็ต้องยืมเงินผม (ตอนนั้น BTS ยังไม่มีระบบสแกนจ่าย)
อีกอันก็คือร้านค้าหลาย ๆ ร้านรับแต่สแกนอย่างเดียวแล้วในตอนนี้ โดยไม่คำนึงถึงคนสูงอายุที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือใช้มือถือไม่เป็น
จริง ๆ ปัญหานี้ผมว่าไม่ใช่แค่เรื่องสแกนจ่าย อย่างเช่นนโยบายบางอย่างของรัฐบาลที่แล้วก็เหมือนเน้นอะไรที่มันต้องทำโดยสมาร์ทโฟน ไม่นึกถึงคนมีอายุเช่นกัน (เคยมีคนญี่ปุ่นรุ่นคุณลุงมาใช้บริการที่ที่ทำงานผม แล้วตอนนั้นที่ทำงานผมจะมีให้ลงทะเบียนหรืออะไรสักอย่างนี่แหละโดยใช้มือถือ เขาก็บ่นว่า "คนรุ่นใหม่ คิดโดยเอาแต่ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่คำนึงถึงคนสูงอายุเลย"
จุดหนึ่งผมว่ามาจากการที่คนไทยเราบางทีเป็นประเภทได้ใหม่แล้วลืมเก่า ก้าวหน้าแล้วลืมหลัง พอมีอะไรใหม่ที่ดีกว่า ก็มุ่งเน้นไปที่ทางนั้นจนละทิ้งของเก่าไปหมด โดยไม่มองให้รอบด้านว่าอาจจะมีสถานการณ์ที่ต้องกลับไปใช้ของเขาก็ได้ เอาง่าย ๆ ตอนมัธยม มีการทำบอร์ดรายงาน ผมใช้กาวน้ำแปะ ในขณะที่เพื่อนคนอื่นใช้เทปกาวสองหน้า เพื่อนก็ถาม "นี่มืงยังใช้กาวอยู่อีกเหรอ" หรือเรื่องเพลงก็ใช่ พอฟังเพลงเก่าของนักร้องบางคนที่ตอนนั้นมีเพลงใหม่แล้ว ก็มีบางคนบอกว่า "ตอนนี้มันต้องเพลง...แล้ว" มันก็พอสะท้อนแนวคิดได้บ้างเหมือนกัน
ผมเลยมักจะเตรียมพร้อมไว้หลาย ๆ ทาง ไม่มุ่งเน้นไปทางใดทางหนึ่งเกินไป
ผมว่าคนไทยเราเอาชีวิตไปผูกกับมือถือ กับเทคโนโลยีจนเกินไป
อย่างเรื่องธนาคารที่ผมพูดถึง ทุกวันนี้คนเราหลายคนมักใช้วิธีสแกนจ่ายเวลาซื้อของต่าง ๆ ซึ่งมันก็สะดวกดี
แต่ปัญหาที่เจอทุกวันนี้คือ บางคนเอาชีวิตไปผูกกับมือถือ กับเทคโนโลยีจนเกินไป จนบางคนมีคำถามว่า ".....(ชื่อสิ่งของ) ยังจำเป็นอยู่ไหม" เพราะมองว่าดูในมือถือได้หมดแล้ว หรือเรื่องสแกนจ่ายนี่ก็ใช่ บางคนไม่พกเงินสดแล้ว เพราะกะจะสแกนจ่ายลูกเดียว โดยไม่นึกถึงสถานการณ์ที่ถ้ามือถือใช้ไม่ได้ เช่น แบตหมด,ไม่มีเน็ต,แอปล่ม ฯลฯ แล้วจะทำยังไง เพื่อนผมคนหนึ่งไม่พกเงินสด แต่วันหนึ่งจะต้องขึ้น BTS สุดท้ายก็ต้องยืมเงินผม (ตอนนั้น BTS ยังไม่มีระบบสแกนจ่าย)
อีกอันก็คือร้านค้าหลาย ๆ ร้านรับแต่สแกนอย่างเดียวแล้วในตอนนี้ โดยไม่คำนึงถึงคนสูงอายุที่ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือใช้มือถือไม่เป็น
จริง ๆ ปัญหานี้ผมว่าไม่ใช่แค่เรื่องสแกนจ่าย อย่างเช่นนโยบายบางอย่างของรัฐบาลที่แล้วก็เหมือนเน้นอะไรที่มันต้องทำโดยสมาร์ทโฟน ไม่นึกถึงคนมีอายุเช่นกัน (เคยมีคนญี่ปุ่นรุ่นคุณลุงมาใช้บริการที่ที่ทำงานผม แล้วตอนนั้นที่ทำงานผมจะมีให้ลงทะเบียนหรืออะไรสักอย่างนี่แหละโดยใช้มือถือ เขาก็บ่นว่า "คนรุ่นใหม่ คิดโดยเอาแต่ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไม่คำนึงถึงคนสูงอายุเลย"
จุดหนึ่งผมว่ามาจากการที่คนไทยเราบางทีเป็นประเภทได้ใหม่แล้วลืมเก่า ก้าวหน้าแล้วลืมหลัง พอมีอะไรใหม่ที่ดีกว่า ก็มุ่งเน้นไปที่ทางนั้นจนละทิ้งของเก่าไปหมด โดยไม่มองให้รอบด้านว่าอาจจะมีสถานการณ์ที่ต้องกลับไปใช้ของเขาก็ได้ เอาง่าย ๆ ตอนมัธยม มีการทำบอร์ดรายงาน ผมใช้กาวน้ำแปะ ในขณะที่เพื่อนคนอื่นใช้เทปกาวสองหน้า เพื่อนก็ถาม "นี่มืงยังใช้กาวอยู่อีกเหรอ" หรือเรื่องเพลงก็ใช่ พอฟังเพลงเก่าของนักร้องบางคนที่ตอนนั้นมีเพลงใหม่แล้ว ก็มีบางคนบอกว่า "ตอนนี้มันต้องเพลง...แล้ว" มันก็พอสะท้อนแนวคิดได้บ้างเหมือนกัน
ผมเลยมักจะเตรียมพร้อมไว้หลาย ๆ ทาง ไม่มุ่งเน้นไปทางใดทางหนึ่งเกินไป