วันที่ 18 มิถุนายน 2567 คุณเยาฮารี แหละตี ได้รับ การแต่งตั้ง เป็นผู้อำนวยกลุ่มผู้ประกอบการ พัฒนาการแต่งงานอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุนจดทะเบียนรวมกว่า 250 ล้าน บาท โดยมีบริษัท สยามแมนดารีน่า กรุ๊ป และ บริษัทเดอะทอลทรีส์ ร่วมกับบริษัทอารยานิกะห์แพลนเนอร์แอนด์คอนเซาท์ จำกัด เป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม
บันทึกข้อตกลงนี้ เป็นการวมกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการ เรียนรู้ และพัฒนาพื้นที่ให้สามารถรองรับการให้บริการตลาดมุสลิม (Muslim Friendly Service) โดย ได้พัฒนามาจาก การรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ มีการให้ความรู้ เรื่องการสร้างห้องละหมาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารฮาลาล การอยู่ร่วมกัน และการดูแล พนักงานที่เป็นมุสลิม โดยสร้างองค์กรบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้มีความแตกต่างทางศาสนา ปัจจุบันได้มี ห้องละหมาดทยอยสร้างขึ้นเรื่อยๆ ผ่าน กิจกรรมนี้
นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มยังได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลาม ในสุเหร่าต่างๆ สถานที่ละหมาด การทำความสะอาด ขั้นตอนการละหมาด และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยโครงการนี้ พัฒนามาตั้งแต่ปี 2565 จนปัจจุบันพัฒนาเป็น กลุ่มอย่างเป็นทางการ
บันทึกข้อตกลงนี้ได้ทำขึ้นที่ โรงแรม สยามแมนดารีน่า เวลา 12:30 ของวัน 18 มิถุนายน 2567 โดยมีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมอย่างอบอุ่น
ในงานวันนี้ คุณเยาฮารี แหละตี ได้กล่าวเปิดงานสั้นๆดังนี้
"..... จริงอยู่ว่า การรวมกลุ่มในครั้งนี้ เป็นการรวมกลุ่มทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาสินค้า และ บริการ และเพิ่มการแข่งขัน เราเชื่อว่าเราจะทำได้ดี และทำให้กลุ่มเราเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดดังกล่าว การเริ่มต้นนี้เป็นการเริ่มต้นที่มีเป้าหมายทางการค้า การลงทุน และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสมาชิก
อย่างไรก็ดี ในฐานะที่อยู่เบื้องหลังครอบครัวหลายๆครอบครัวที่เริ่มต้นขึ้น
ทั้งเริ่มต้นความดี และ ได้เห็นครอบครัวที่ต้องเผชิญความเจ็บปวด ผ่านการจัดงานแต่งงาน
ผมมีความฝัน ที่เป็นส่วนตัว
ผมมีความฝันว่า วันหนึ่ง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เปิดรับ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผมมีความฝันว่า วันหนึ่ง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่ ไม่ตัดสินกัน และรับฟัง ซึ่งกันและกัน แม้ว่า คนเหล่านั้นจะมีความแตกต่างทางศาสนากันก็ตาม
ผมมีความฝันว่า ประเทศไทยจะเป็น พื้นที่ปลอดภัย ให้กับ คนทั้งภูมิภาคเอเซีย และวันหนึ่ง จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจให้กับทั้งโลก
ที่ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต ซึ่งกันและกัน ที่ประเทศไทย...."
ส่วนหนึ่งของการกล่าวเปิดงานในวันนี้
เป็นอีกก้าวหนึ่งของสังคมไทยที่ประเทศไทยจะมี องค์กร และกลุ่มที่ทำงานด้านศาสนาอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การให้ความรู้ทางศาสนาอิสลาม เพื่อความเข้าใจอันดีของสังคม กลุ่มมีการวางแผนพัฒนาตลาด และ เสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันเพิ่มเติมระหว่างศาสนา และเผยแพร่ความดีตามหลักการศาสนาอิสลาม รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายสมาชิกเพิ่มเติมในลำดับถัดไป
รวมกลุ่มผู้ประกอบการ ทุนจดทะเบียนกว่า 250 ล้าน พัฒนาการแต่งงานอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม
บันทึกข้อตกลงนี้ เป็นการวมกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการ เรียนรู้ และพัฒนาพื้นที่ให้สามารถรองรับการให้บริการตลาดมุสลิม (Muslim Friendly Service) โดย ได้พัฒนามาจาก การรวมกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ มีการให้ความรู้ เรื่องการสร้างห้องละหมาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารฮาลาล การอยู่ร่วมกัน และการดูแล พนักงานที่เป็นมุสลิม โดยสร้างองค์กรบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้มีความแตกต่างทางศาสนา ปัจจุบันได้มี ห้องละหมาดทยอยสร้างขึ้นเรื่อยๆ ผ่าน กิจกรรมนี้
นอกจากนี้ สมาชิกของกลุ่มยังได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลาม ในสุเหร่าต่างๆ สถานที่ละหมาด การทำความสะอาด ขั้นตอนการละหมาด และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน โดยโครงการนี้ พัฒนามาตั้งแต่ปี 2565 จนปัจจุบันพัฒนาเป็น กลุ่มอย่างเป็นทางการ
บันทึกข้อตกลงนี้ได้ทำขึ้นที่ โรงแรม สยามแมนดารีน่า เวลา 12:30 ของวัน 18 มิถุนายน 2567 โดยมีสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมอย่างอบอุ่น
ในงานวันนี้ คุณเยาฮารี แหละตี ได้กล่าวเปิดงานสั้นๆดังนี้
"..... จริงอยู่ว่า การรวมกลุ่มในครั้งนี้ เป็นการรวมกลุ่มทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาสินค้า และ บริการ และเพิ่มการแข่งขัน เราเชื่อว่าเราจะทำได้ดี และทำให้กลุ่มเราเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดดังกล่าว การเริ่มต้นนี้เป็นการเริ่มต้นที่มีเป้าหมายทางการค้า การลงทุน และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสมาชิก
อย่างไรก็ดี ในฐานะที่อยู่เบื้องหลังครอบครัวหลายๆครอบครัวที่เริ่มต้นขึ้น
ทั้งเริ่มต้นความดี และ ได้เห็นครอบครัวที่ต้องเผชิญความเจ็บปวด ผ่านการจัดงานแต่งงาน
ผมมีความฝัน ที่เป็นส่วนตัว
ผมมีความฝันว่า วันหนึ่ง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่เปิดรับ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผมมีความฝันว่า วันหนึ่ง สังคมไทยจะเป็นสังคมที่ ไม่ตัดสินกัน และรับฟัง ซึ่งกันและกัน แม้ว่า คนเหล่านั้นจะมีความแตกต่างทางศาสนากันก็ตาม
ผมมีความฝันว่า ประเทศไทยจะเป็น พื้นที่ปลอดภัย ให้กับ คนทั้งภูมิภาคเอเซีย และวันหนึ่ง จะเป็นพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจให้กับทั้งโลก
ที่ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต ซึ่งกันและกัน ที่ประเทศไทย...."
ส่วนหนึ่งของการกล่าวเปิดงานในวันนี้
เป็นอีกก้าวหนึ่งของสังคมไทยที่ประเทศไทยจะมี องค์กร และกลุ่มที่ทำงานด้านศาสนาอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การให้ความรู้ทางศาสนาอิสลาม เพื่อความเข้าใจอันดีของสังคม กลุ่มมีการวางแผนพัฒนาตลาด และ เสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันเพิ่มเติมระหว่างศาสนา และเผยแพร่ความดีตามหลักการศาสนาอิสลาม รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายสมาชิกเพิ่มเติมในลำดับถัดไป