ค่าเล่าเรียนคือหนึ่งในคชจ.หลักของผู้ปกครอง
บางคนหรือส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอยากให้ลูกเข้าม.รัฐชื่อดัง มัธยม หรือแม้แต่อนุบาลรร.ดัง
จ่ายค่าเล่าเรียนพิเศษให้ลูกสูงกว่าค่าเทอมเสียอีก
เชื่อว่า หลายคนส่วนใหญ่จ่ายไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นต่อปี
มันคือหนึ่งในความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กแน่นอน
พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกได้เรียนที่มีคุณภาพ แต่ขาดปัจจัยด้านทุน
บวกลบคูณหารแล้ว ถ้าส่งลูกเรียนที่ดีๆ สังคมดีๆไม่ได้ก็ไม่มีซะดีกว่า
(สังคมโรงเรียนทุกวันนี้มีผลต่อเด็กสูงมาก ถ้าอยู่ในรร.ที่เด็กชวนกันเรียน
พ่อแม่เอาใจใส่ เราก็โล่งใจไปได้ครึ่งนึงละ นั้นคือสาเหตุนึงที่ทำไมถึงมีการแข่งขันกันพาเข้ารร.ดัง)
ทุกวันนี้ที่เรียนพิเศษก็ปรับตัวมีการสอน online มากขึ้น บางแห่งก็ขายคอร์สเป็นรายวิชา
วิชานึงตกชม.ละร้อยกว่าบ. วิชานึงเฉลี่ยประมาณ 3-4 พัน มีระยะเวลาดูจำกัดอีกตะหากไม่ได้ซื้อขาดนะเหมือนเช่าดูอะ
เรียน 5 วิชาก็เกือบ 2 หมื่นละ อันนี้ขั้นต่ำนะต่อเทอม
เอาจริงจังแบบเด็กขยันมาก ก็ปีนึงไม่ต่ำกว่า 5 หมื่น
คำถามคือแล้วแบบนี้คนไม่มีทุนจะเข้าถึงการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้อย่างไร
เพราะต้องยอมรับว่า ลำพังเนื้อหาที่สอนในรร.นั้นยังไงก็ไม่เพียงพอจะไปสอบแข่งขันเข้ารร.มีชื่อแน่นอน
(หลักสูตรที่สอนนะมันอยู่ในขอบเขตแหละ แต่ข้อสอบจริง เค้าจะมีการประยุกต์ คิดกัน 2-3 ชั้นกว่าจะได้คำตอบ
ถามว่า รร.ผิดมั้ย ไม่ผิดหรอก เพราะคนแย่งกันสอบอัตราส่วนคนสอบ 3-5 คน รับ 1 คน ข้อสอบมันต้องออกแบบมาเพื่อคัดคนอยู่แล้ว)
สิ่งที่ภาครัฐควรทำเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมคือ การสร้างรร.สอนพิเศษบนระบบ streaming แบบฟรีๆให้กับเด็กทั่วประเทศมากกว่า
เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก
การที่เด็กจะสนใจหรือไม่ จะคุ้มหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่ควรถาม
ทำแล้วจากเด็ก 100 คน สนใจ 10 คน ยังถือว่า คุ้มเลยสำหรับการสร้างคนมีคุณภาพ สร้างโอกาส
หลายท่านอาจจะบอกว่า มันมีช่องสอนอยู่ แต่ผมมองว่า มันไม่ตอบโจทย์
ระบบ streaming จะทำให้เด็กเลือกได้อยากดูอะไรดูเมื่อไร
แถมเป็นการช่วยลดภาระคชจ.ผู้ปกครองกับค่าเรียนพิเศษ
เงินตรงส่วนนี้ปีละ 3-5 หมื่นก็เหลือไปหมุนบริโภคกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทาง
อยากกระตุ้นให้คนมีลูก ก็ต้องมีนโยบายที่ตอบโจทย์ สร้างความมั่นใจให้กับคนจะเป็นพ่อคนแม่คนในระยะยาวให้ได้ฮะ
หนึ่งในการกระตุ้นให้คนอยากมีลูก : สนับสนุนค่าเรียนพิเศษด้วยระบบ streaming
บางคนหรือส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอยากให้ลูกเข้าม.รัฐชื่อดัง มัธยม หรือแม้แต่อนุบาลรร.ดัง
จ่ายค่าเล่าเรียนพิเศษให้ลูกสูงกว่าค่าเทอมเสียอีก
เชื่อว่า หลายคนส่วนใหญ่จ่ายไม่ต่ำกว่าห้าหมื่นต่อปี
มันคือหนึ่งในความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กแน่นอน
พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกได้เรียนที่มีคุณภาพ แต่ขาดปัจจัยด้านทุน
บวกลบคูณหารแล้ว ถ้าส่งลูกเรียนที่ดีๆ สังคมดีๆไม่ได้ก็ไม่มีซะดีกว่า
(สังคมโรงเรียนทุกวันนี้มีผลต่อเด็กสูงมาก ถ้าอยู่ในรร.ที่เด็กชวนกันเรียน
พ่อแม่เอาใจใส่ เราก็โล่งใจไปได้ครึ่งนึงละ นั้นคือสาเหตุนึงที่ทำไมถึงมีการแข่งขันกันพาเข้ารร.ดัง)
ทุกวันนี้ที่เรียนพิเศษก็ปรับตัวมีการสอน online มากขึ้น บางแห่งก็ขายคอร์สเป็นรายวิชา
วิชานึงตกชม.ละร้อยกว่าบ. วิชานึงเฉลี่ยประมาณ 3-4 พัน มีระยะเวลาดูจำกัดอีกตะหากไม่ได้ซื้อขาดนะเหมือนเช่าดูอะ
เรียน 5 วิชาก็เกือบ 2 หมื่นละ อันนี้ขั้นต่ำนะต่อเทอม
เอาจริงจังแบบเด็กขยันมาก ก็ปีนึงไม่ต่ำกว่า 5 หมื่น
คำถามคือแล้วแบบนี้คนไม่มีทุนจะเข้าถึงการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้อย่างไร
เพราะต้องยอมรับว่า ลำพังเนื้อหาที่สอนในรร.นั้นยังไงก็ไม่เพียงพอจะไปสอบแข่งขันเข้ารร.มีชื่อแน่นอน
(หลักสูตรที่สอนนะมันอยู่ในขอบเขตแหละ แต่ข้อสอบจริง เค้าจะมีการประยุกต์ คิดกัน 2-3 ชั้นกว่าจะได้คำตอบ
ถามว่า รร.ผิดมั้ย ไม่ผิดหรอก เพราะคนแย่งกันสอบอัตราส่วนคนสอบ 3-5 คน รับ 1 คน ข้อสอบมันต้องออกแบบมาเพื่อคัดคนอยู่แล้ว)
สิ่งที่ภาครัฐควรทำเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมคือ การสร้างรร.สอนพิเศษบนระบบ streaming แบบฟรีๆให้กับเด็กทั่วประเทศมากกว่า
เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก
การที่เด็กจะสนใจหรือไม่ จะคุ้มหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งที่ควรถาม
ทำแล้วจากเด็ก 100 คน สนใจ 10 คน ยังถือว่า คุ้มเลยสำหรับการสร้างคนมีคุณภาพ สร้างโอกาส
หลายท่านอาจจะบอกว่า มันมีช่องสอนอยู่ แต่ผมมองว่า มันไม่ตอบโจทย์
ระบบ streaming จะทำให้เด็กเลือกได้อยากดูอะไรดูเมื่อไร
แถมเป็นการช่วยลดภาระคชจ.ผู้ปกครองกับค่าเรียนพิเศษ
เงินตรงส่วนนี้ปีละ 3-5 หมื่นก็เหลือไปหมุนบริโภคกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทาง
อยากกระตุ้นให้คนมีลูก ก็ต้องมีนโยบายที่ตอบโจทย์ สร้างความมั่นใจให้กับคนจะเป็นพ่อคนแม่คนในระยะยาวให้ได้ฮะ