ดีอี-บช.ก. ตัดตอน “โจรออนไลน์” ยึดอุปกรณ์ STARLINK รับ-ส่งสัญญาณเน็ตผ่านดาวเทียม ก่อนส่งข้ามแดนกัมพูชา-เมียนมา ผวาใช้ก่ออาชญากรรมจะตรวจจับได้ยากกว่าการลอบใช้สัญญาณโทรคมนาคมในประเทศ
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมทางออนไลน์ ตามข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กระทรวงดีอี โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (AOC 1441) ได้บูรณาการทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
โดย บก.ปอศ. เปิดปฏิบัติการเข้าตรวจยึดอุปกรณ์รับ-ส่ง สัญญาณอินเทอร์เน็ต STARLINK ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชุดสื่อสารในการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และ กสทช.ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรจำนวน 58 ชุด
มูลค่าเครื่องรับส่งสัญญาณอยู่ที่ราว 2-5 หมื่นบาทต่อตัว
“จากการดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องของเสาสัญญาณ และสายสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อข้ามประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยมี กสทช.ดำเนินการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่แนวชายแดน
ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเริ่มมีการปรับรูปแบบการก่ออาชญากรรมทางออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและปราบปราม ทำให้กระทรวงดีอีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับรูปแบบตาม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมิติการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนต่อไป” รมว.ประเสริฐกล่าว
ด้านพันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ได้กล่าวด้วยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวใช้รับส่งสัญญาณคลื่นความถี่ดาวเทียมจากโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ Starlink ซึ่งในโลกนี้มีโครงข่ายดาวเทียมแบบดังกล่าวอยู่หลายเจ้า เช่น OneWeb ที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยตั้งสถานีฐานร่วมกับ NT รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ ทั้งของ AMAZON หรือของจีน
“การรับส่งสัญญาณโดยตรงจากตัวรับภาคพื้นไปสู่ดาวเทียม ทำให้เราตรวจสอบการใช้งานได้ยาก ดังนั้น หากมีการใช้ก่อเหตุส่งสัญญาณหลอกลวงประชาชน หรือก่อเหตุอาชญากรรมไซเบอร์จะตรวจจับได้ยากกว่า การลอบใช้โครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศ ดังนั้น การใช้งานอย่างถูกต้องจึงต้องมีการตั้งสถานเกตเวย์ที่ภาคพื้นให้สัญญาณผ่านเข้าออกและควบคุมตรงนั้น เหมือนที่เรากับ OneWeb ทำ”
โดยหลักการเครื่องรับส่งสัญญาณที่แอ็กทีฟอยู่สามารถตรวจจับได้ด้วยอุปกรณ์ตรวจจับ แต่ตรวจจับได้ในรัศมีจำกัดเท่านั้น การใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้จึงต้องมีการตรวจสอบและปรึกษาหาทางป้องกันกับ กสทช. แม้ว่ามีกฎหมายห้ามนำเข้าอยู่แล้วก็ตาม
ทั้งนี้ อุปกรณ์ตัวรับส่ง Starlink ดังกล่าวสามารถตรวจยึดได้จากร้านรับ-ส่งพัสดุ ใน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี โดยระบุที่อยู่ปลายทางใน อ.แม่สอด และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นของขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และกลุ่มเครือข่ายพนันออนไลน์ที่ต้องการส่งออกไปยังชายแดนประเทศไทย จากฝั่งชายแดนประเทศกัมพูชาไปยังชายแดนประเทศเมียนมา เพื่อเตรียมนำมาใช้ในการก่ออาชญากรรมทางออนไลน์
ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดถือเป็นสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย โดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้ตรวจยึดไว้
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 67 กองทัพเรือ โดยกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (ฉก.นย.จันทบุรี) ได้เข้าตรวจสอบยึดกล่องพัสดุจำนวน 6 กล่อง ที่มีอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink จำนวน 30 ชุดบรรจุอยู่ บริเวณหน้าร้านรับ-ส่งพัสดุ พื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
แถลงข่าวการตรวจยึดของกลาง อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink ครั้งนี้ มี ดร.เอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดีอี พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าว...
ตรวจจับได้ยาก ? หวั่นแก๊งมิจฉาชีพใช้ดาวเทียม Starlink ส่งสัญญาณลวงเหยื่อ...
วันที่ 18 มิถุนายน 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมทางออนไลน์ ตามข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กระทรวงดีอี โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (AOC 1441) ได้บูรณาการทำงานร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
โดย บก.ปอศ. เปิดปฏิบัติการเข้าตรวจยึดอุปกรณ์รับ-ส่ง สัญญาณอินเทอร์เน็ต STARLINK ซึ่งเป็นอุปกรณ์ชุดสื่อสารในการเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และ กสทช.ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรจำนวน 58 ชุด
มูลค่าเครื่องรับส่งสัญญาณอยู่ที่ราว 2-5 หมื่นบาทต่อตัว
“จากการดำเนินมาตรการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเรื่องของเสาสัญญาณ และสายสัญญาณอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อข้ามประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยมี กสทช.ดำเนินการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่แนวชายแดน
ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเริ่มมีการปรับรูปแบบการก่ออาชญากรรมทางออนไลน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและปราบปราม ทำให้กระทรวงดีอีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับรูปแบบตาม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมิติการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนต่อไป” รมว.ประเสริฐกล่าว
ด้านพันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ได้กล่าวด้วยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวใช้รับส่งสัญญาณคลื่นความถี่ดาวเทียมจากโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรต่ำ Starlink ซึ่งในโลกนี้มีโครงข่ายดาวเทียมแบบดังกล่าวอยู่หลายเจ้า เช่น OneWeb ที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยตั้งสถานีฐานร่วมกับ NT รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ ทั้งของ AMAZON หรือของจีน
“การรับส่งสัญญาณโดยตรงจากตัวรับภาคพื้นไปสู่ดาวเทียม ทำให้เราตรวจสอบการใช้งานได้ยาก ดังนั้น หากมีการใช้ก่อเหตุส่งสัญญาณหลอกลวงประชาชน หรือก่อเหตุอาชญากรรมไซเบอร์จะตรวจจับได้ยากกว่า การลอบใช้โครงข่ายโทรคมนาคมในประเทศ ดังนั้น การใช้งานอย่างถูกต้องจึงต้องมีการตั้งสถานเกตเวย์ที่ภาคพื้นให้สัญญาณผ่านเข้าออกและควบคุมตรงนั้น เหมือนที่เรากับ OneWeb ทำ”
โดยหลักการเครื่องรับส่งสัญญาณที่แอ็กทีฟอยู่สามารถตรวจจับได้ด้วยอุปกรณ์ตรวจจับ แต่ตรวจจับได้ในรัศมีจำกัดเท่านั้น การใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้จึงต้องมีการตรวจสอบและปรึกษาหาทางป้องกันกับ กสทช. แม้ว่ามีกฎหมายห้ามนำเข้าอยู่แล้วก็ตาม
ทั้งนี้ อุปกรณ์ตัวรับส่ง Starlink ดังกล่าวสามารถตรวจยึดได้จากร้านรับ-ส่งพัสดุ ใน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี โดยระบุที่อยู่ปลายทางใน อ.แม่สอด และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นของขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และกลุ่มเครือข่ายพนันออนไลน์ที่ต้องการส่งออกไปยังชายแดนประเทศไทย จากฝั่งชายแดนประเทศกัมพูชาไปยังชายแดนประเทศเมียนมา เพื่อเตรียมนำมาใช้ในการก่ออาชญากรรมทางออนไลน์
ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดถือเป็นสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย โดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้ตรวจยึดไว้
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 67 กองทัพเรือ โดยกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (ฉก.นย.จันทบุรี) ได้เข้าตรวจสอบยึดกล่องพัสดุจำนวน 6 กล่อง ที่มีอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink จำนวน 30 ชุดบรรจุอยู่ บริเวณหน้าร้านรับ-ส่งพัสดุ พื้นที่ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
แถลงข่าวการตรวจยึดของกลาง อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Starlink ครั้งนี้ มี ดร.เอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดีอี พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าว...