ผมก็เป็นคนเชื้อสายจีน ก็เห็นคนรอบข้างหลายคนเรียกพ่อแม่ว่า "ป่าป๊า หม่าม้า" และกลายเป็นการรับรู้ที่ว่าคนเชื้อสายจีนถึงเรียกพ่อแม่ว่า "ป่าป๊า หม่าม้า" แต่ส่วนตัวผมเรียกพ่อแม่เป็นภาษาไทย เพราะตอนเด็กดูละครแล้วเห็นในละครเรียกแบบนั้นเลยเรียกตาม
จนมาช่วงหลัง ๆ นี้ผมเห็นคนที่ไม่ได้มีเชื้อสายจีนให้ลูกเรียกว่า "ป่าป๊า หม่าม้า" จนมีกระทู้ หรือมีโพสต์ตามเฟซบุ๊กถามว่าไม่มีเชื้สายจีนทำไมให้ลูกเรียกป่าป๊า หม่าม้า
ถ้าถามผมตอนนี้ ผมมองว่าป่าป๊า หม่าม้าออกแนวเป็นคำสากลมากกว่า ผมทำงานกับคนญี่ปุ่น ก็เห็นเด็กญี่ปุ่นเรียกพ่อแม่ว่าป่าป๊า หม่าม้า แต่อาจจะต่างในเรื่องของสำเนียงไปหน่อย หรืออย่างพระโอรสพระธิดาของเจ้าชายวิลเลียมก็เรียกเจ้าชายวิลเลียมว่า "papa" อ้างอิงจากจดหมายที่หลาน ๆ เขียนถึงเจ้าหญิงไดอาน่า หรือตอนที่เจ้าหญิงชาร์ลอตสะกิดเรียกพี่ชายให้ดูตอนเจ้าชายวิลเลียมเสด็จขึ้นเวที
เพราะคำว่า papa mama มันเป็นคำที่เด็กออกเสียงได้ง่ายล่ะมั้ง คำว่าพ่อแม่ในหลาย ๆ ภาษาเลยมักจะเป็นตัว p กับ m แต่สงสัยว่าทำไมต้องสงวนป่าป๊า หม่าม้าเฉพาะคนเชื้อสายจีน
คำว่า "ป่าป๊า หม่าม้า" นี่เป็นภาษาจีนเหรอ ทำไมต้องสงวนสำหรับคนเชื้อสายจีน
จนมาช่วงหลัง ๆ นี้ผมเห็นคนที่ไม่ได้มีเชื้อสายจีนให้ลูกเรียกว่า "ป่าป๊า หม่าม้า" จนมีกระทู้ หรือมีโพสต์ตามเฟซบุ๊กถามว่าไม่มีเชื้สายจีนทำไมให้ลูกเรียกป่าป๊า หม่าม้า
ถ้าถามผมตอนนี้ ผมมองว่าป่าป๊า หม่าม้าออกแนวเป็นคำสากลมากกว่า ผมทำงานกับคนญี่ปุ่น ก็เห็นเด็กญี่ปุ่นเรียกพ่อแม่ว่าป่าป๊า หม่าม้า แต่อาจจะต่างในเรื่องของสำเนียงไปหน่อย หรืออย่างพระโอรสพระธิดาของเจ้าชายวิลเลียมก็เรียกเจ้าชายวิลเลียมว่า "papa" อ้างอิงจากจดหมายที่หลาน ๆ เขียนถึงเจ้าหญิงไดอาน่า หรือตอนที่เจ้าหญิงชาร์ลอตสะกิดเรียกพี่ชายให้ดูตอนเจ้าชายวิลเลียมเสด็จขึ้นเวที
เพราะคำว่า papa mama มันเป็นคำที่เด็กออกเสียงได้ง่ายล่ะมั้ง คำว่าพ่อแม่ในหลาย ๆ ภาษาเลยมักจะเป็นตัว p กับ m แต่สงสัยว่าทำไมต้องสงวนป่าป๊า หม่าม้าเฉพาะคนเชื้อสายจีน