วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีลูก โดยมีเป้าหมายไปที่คนมีคู่ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 กลับพบว่าคนไทยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) มีคนโสดอยู่ 40.5% สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว 23.9% และเพิ่มขึ้นจากปี’60 ที่ 35.7
สอดคล้องกับสัดส่วนของคนไทยที่มีสถานะแต่งงานแล้วที่ลดลงต่อเนื่อง จากระดับ 57.9% ในปี 2560 เหลือ 52.6% ในปี 2566 ท่ามกลางอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น โดยคนโสดในความหมายของรายงานหมายถึงผู้ที่ยังไม่เคยสมรส
นายดนุชากล่าวว่า คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ถึง 50.4% เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่าผู้หญิงที่โสดส่วนใหญ่คือผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป คิดเป็น 42% รองลงมาคือผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย คิดเป็น 31.2% ส่วนผู้ชายที่โสดส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย คิดเป็น 29.4% รองลงมาคือผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมต้น คิดเป็น 28.7%
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสด แบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ
1. ค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสดยุคใหม่ อาทิ
– SINK (Single Income, No Kids) หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง จากข้อมูล SES ในปี 66 พบว่า สัดส่วนคนโสด SINK สูงขึ้นตามระดับรายได้
– PANK (Professional Aunt, No Kids) หรือกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ หรืออาชีพการงานดี และไม่มีลูก ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลหลาน หรือเด็กในครอบครัวรอบตัว โดยคนโสด PANK มีจำนวน 2.8 ล้านคน ส่วนใหญ่มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง
– Waithood หรือกลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยความรัก เนื่องจากความไม่พร้อม หรือไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสด 40% ที่มีรายได้ต่ำสุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 37.7% ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มากถึง 62.6% มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ทำให้ความสามารถในการหารายได้จำกัด
2. ปัญหาความต้องการ หรือความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคม และทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 64 บริษัทมีทแอนด์ลันช์ สาขาประเทศไทย พบว่า ผู้หญิงกว่า 76% จะไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า และ 83% ไม่คบกับผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า ขณะเดียวกัน ผู้ชาย 59% จะไม่คบกับผู้หญิงตัวสูงกว่า และอีกกว่า 60% ไม่เดทกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง
3. โอกาสในการพบปะผู้คน โดยในปี 66 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ทำให้คนโสดไม่มีโอกาสในการมองหาคู่
4. นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่อง และครอบคลุมความต้องการของคนโสด โดยนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนัก โดยเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่
ทั้งนี้ สภาพัฒน์ มีแนวทางสนับสนุนให้คนมีคู่ ดังนี้
– การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการ หรือพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมให้คนโสดสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
– การส่งเสริมการมี Work-life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทำให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น และเพิ่มโอกาสให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบ และพบเจอคนที่น่าสนใจมากขึ้น
– การยกระดับทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และรายได้ ซึ่งคนโสดยังมีโอกาสพบรักจากสถานศึกษาได้อีกด้วย
– การส่งเสริมกิจกรรม และการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนโสดมีโอกาสพบปะ และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ได้
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายทางประชากรศาสตร์ (Demographic Challenges) อยู่แล้ว ท่ามกลางการเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society)
โดย Ayhan Kose รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการ The Prospect Group ของธนาคารโลก (World Bank) เคยให้สัมภาษณ์พิเศษกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ข้อแนะนำเบื้องต้นเพื่อจัดการกับความท้าทายนี้คือ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงาน รวมไปถึงกำลังแรงงาน (Labour Force) ปัจจุบันให้เข้ากับเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)
โดยจากอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่า หลายเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากมีจำนวนประชากรวัยทำงานจำนวนมาก ‘ร่วมขับเคลื่อน’ ตัวอย่างเช่น จีนและอินเดีย
ทำให้ก่อนหน้านี้องค์การสหประชาชาติ (UN) เคยออกมาเตือนว่า อัตราการเติบโตของประชากรที่ชะลอตัวในประเทศเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอาจส่งผลต่อการบริโภค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์และปัจจัยดึงดูดการลงทุนสำคัญของเศรษฐกิจหลายประเทศด้วย
ดังนั้นการเข้าสู่สังคมคนโสดจึงอาจทำให้อัตราการเกิดของประชากรและกำลังแรงงานของไทยในระยะข้างหน้าเป็นปัญหาได้
สภาพัฒน์เผย คนไทยครองโสดมากขึ้น กระทบเศรษฐกิจ ส่งเสริมแอปหาคู่ มีลูกมีครอบครัว
วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมการมีลูก โดยมีเป้าหมายไปที่คนมีคู่ เพื่อแก้ปัญหาเด็กเกิดน้อย
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 กลับพบว่าคนไทยในช่วงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) มีคนโสดอยู่ 40.5% สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว 23.9% และเพิ่มขึ้นจากปี’60 ที่ 35.7
สอดคล้องกับสัดส่วนของคนไทยที่มีสถานะแต่งงานแล้วที่ลดลงต่อเนื่อง จากระดับ 57.9% ในปี 2560 เหลือ 52.6% ในปี 2566 ท่ามกลางอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น โดยคนโสดในความหมายของรายงานหมายถึงผู้ที่ยังไม่เคยสมรส
นายดนุชากล่าวว่า คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ถึง 50.4% เมื่อจำแนกตามการศึกษา พบว่าผู้หญิงที่โสดส่วนใหญ่คือผู้ที่มีการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้นไป คิดเป็น 42% รองลงมาคือผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย คิดเป็น 31.2% ส่วนผู้ชายที่โสดส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย คิดเป็น 29.4% รองลงมาคือผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมต้น คิดเป็น 28.7%
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสด แบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ
1. ค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสดยุคใหม่ อาทิ
– SINK (Single Income, No Kids) หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง จากข้อมูล SES ในปี 66 พบว่า สัดส่วนคนโสด SINK สูงขึ้นตามระดับรายได้
– PANK (Professional Aunt, No Kids) หรือกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ หรืออาชีพการงานดี และไม่มีลูก ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลหลาน หรือเด็กในครอบครัวรอบตัว โดยคนโสด PANK มีจำนวน 2.8 ล้านคน ส่วนใหญ่มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง
– Waithood หรือกลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยความรัก เนื่องจากความไม่พร้อม หรือไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสด 40% ที่มีรายได้ต่ำสุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 37.7% ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มากถึง 62.6% มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ทำให้ความสามารถในการหารายได้จำกัด
2. ปัญหาความต้องการ หรือความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคม และทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 64 บริษัทมีทแอนด์ลันช์ สาขาประเทศไทย พบว่า ผู้หญิงกว่า 76% จะไม่เดทกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า และ 83% ไม่คบกับผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า ขณะเดียวกัน ผู้ชาย 59% จะไม่คบกับผู้หญิงตัวสูงกว่า และอีกกว่า 60% ไม่เดทกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง
3. โอกาสในการพบปะผู้คน โดยในปี 66 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ทำให้คนโสดไม่มีโอกาสในการมองหาคู่
4. นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่อง และครอบคลุมความต้องการของคนโสด โดยนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนัก โดยเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่
ทั้งนี้ สภาพัฒน์ มีแนวทางสนับสนุนให้คนมีคู่ ดังนี้
– การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐอาจร่วมมือกับผู้ให้บริการ หรือพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมให้คนโสดสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น
– การส่งเสริมการมี Work-life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ทำให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น และเพิ่มโอกาสให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบ และพบเจอคนที่น่าสนใจมากขึ้น
– การยกระดับทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และรายได้ ซึ่งคนโสดยังมีโอกาสพบรักจากสถานศึกษาได้อีกด้วย
– การส่งเสริมกิจกรรม และการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนโสดมีโอกาสพบปะ และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ได้
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายทางประชากรศาสตร์ (Demographic Challenges) อยู่แล้ว ท่ามกลางการเข้าสู่สังคมสูงวัย (Aging Society)
โดย Ayhan Kose รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการ The Prospect Group ของธนาคารโลก (World Bank) เคยให้สัมภาษณ์พิเศษกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ข้อแนะนำเบื้องต้นเพื่อจัดการกับความท้าทายนี้คือ การเพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงาน รวมไปถึงกำลังแรงงาน (Labour Force) ปัจจุบันให้เข้ากับเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)
โดยจากอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่า หลายเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด เนื่องจากมีจำนวนประชากรวัยทำงานจำนวนมาก ‘ร่วมขับเคลื่อน’ ตัวอย่างเช่น จีนและอินเดีย
ทำให้ก่อนหน้านี้องค์การสหประชาชาติ (UN) เคยออกมาเตือนว่า อัตราการเติบโตของประชากรที่ชะลอตัวในประเทศเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอาจส่งผลต่อการบริโภค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์และปัจจัยดึงดูดการลงทุนสำคัญของเศรษฐกิจหลายประเทศด้วย
ดังนั้นการเข้าสู่สังคมคนโสดจึงอาจทำให้อัตราการเกิดของประชากรและกำลังแรงงานของไทยในระยะข้างหน้าเป็นปัญหาได้