มักได้ยินบทสนทนานี้หนาหูขึ้นเรื่อยๆวันนี้จะวิเคราะห์ในฐานะคนร่วมสมัยละกัน
จริงๆอาหารเหนือค่อนข้างกินยากสำหรับคนไม่คุ้นชิน แต่คนเหนือดั้งเดิมเวลาไปกินอาหารต่างถิ่นเขาก็ไม่อยากไปกินบ่อยนะ สังเกตถ้าเป็นคนเหนือมีอายุหน่อยจะบ่นอาหารต่างถิ่นว่าเลี่ยนมั่ง หวานมั่ง น้ำมันเยอะมั่ง
แต่คนต่างถิ่นก็สวนว่าอาหารเหนือก็เลี่ยน น้ำมันเยอะเหมือนกัน ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล จะบอกว่าเป็นอาหารเจ้านายสมัยโบราณนำเข้ามาสมัยพม่ามาปกครอง ถ้าเป็นอาหารเหนือจะหนักไปทางเมนูผักตามฤดูกาล เครื่องปรุงเนื้อสัตว์น้อยมากเนื่องสมัยก่อนภาคเหนือถือว่า"เขียม"มาก เนื้อสัตว์จะทำกันตามวาระโอกาสไม่ได้กันบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนจากปลาแห้งและเป็นน้ำซุป มีเครื่องแกงเป็นถั่วเน่าแค่บ ปลาร้า แต่บางเมนูปีหนึ่งได้หากินแค่ครั้งเดียว เดือนเดียว จึงมีความตื่นตัวกับการเก็บหาพืชผักแมลงสัตว์ต้นฤดูกาลนั้นๆ เช่น แมงมัน ไข่มดส้ม ผักหวาน เห็ดหล่ม เห็ดถอบ หน่อบุ่น(ขุดในดิน) ดอกนางลาว ดอกก้าน ผักพ่อค้าตีเมีย อีฮวก กบ แลน ฟาน หมูป่า ไก่ป่า
ถ้าเป็นเมนูแกผักมักจะไม่มีการปรุงมากนักนอกจากเกลือห้ามใส่น้ำตาลเด็ดขาด ช่วง2530เป็นต้นมาเริ่มมีซอสซีอิ้วน้ำเกลือน้ำปลาชูรส และรสดีมาหลังๆ จึงทำให้มีรสซับซ้อน และเนื้อสัตว์เริ่มมีขายแพร่หลายจับต้องง่ายขึ้นผสมผสานทำให้น้ำซุปเข้มข้นขึ้น
ส่วนเมนูสัตว์ที่มีความคาวหรือกลิ่นแรงเครื่องปรุงจะเป็นเครื่องเทศหลากหลายอย่างเพื่อดับกลิ่นคาวและจะมีรสสัมผัสชาปลายลิ้นเช่น มะแคว่น จะค่าน เครื่องลาบต่างๆ ซึ่งถือว่าเปิดต่อมรับรสกระตุ้นความหิวพอสมควร
จึงสรุปได้ว่าไม่แปลกที่คนต่างถิ่นจะไม่นิยมมากนักเพราะพื้นฐานอาหารมาจากสภาพทางภูมิประเทศที่ไม่มีทางเลือกมากนัก แต่ยุคสมัครนี้มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบมากขึ้น วิทยาการทางด้านอาหารก้าวหน้าไปเยอะ เชื่อว่ารุ่นใหม่ๆจะสามารถอัพเกรดรังสรรเมนูดั้งเดิมให้ถูกปากถูกคอคนได้กว้างขึ้น
ทำไมอาหารเหนือจึงไม่เป็นที่นิยม
จริงๆอาหารเหนือค่อนข้างกินยากสำหรับคนไม่คุ้นชิน แต่คนเหนือดั้งเดิมเวลาไปกินอาหารต่างถิ่นเขาก็ไม่อยากไปกินบ่อยนะ สังเกตถ้าเป็นคนเหนือมีอายุหน่อยจะบ่นอาหารต่างถิ่นว่าเลี่ยนมั่ง หวานมั่ง น้ำมันเยอะมั่ง
แต่คนต่างถิ่นก็สวนว่าอาหารเหนือก็เลี่ยน น้ำมันเยอะเหมือนกัน ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงฮังเล จะบอกว่าเป็นอาหารเจ้านายสมัยโบราณนำเข้ามาสมัยพม่ามาปกครอง ถ้าเป็นอาหารเหนือจะหนักไปทางเมนูผักตามฤดูกาล เครื่องปรุงเนื้อสัตว์น้อยมากเนื่องสมัยก่อนภาคเหนือถือว่า"เขียม"มาก เนื้อสัตว์จะทำกันตามวาระโอกาสไม่ได้กันบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนจากปลาแห้งและเป็นน้ำซุป มีเครื่องแกงเป็นถั่วเน่าแค่บ ปลาร้า แต่บางเมนูปีหนึ่งได้หากินแค่ครั้งเดียว เดือนเดียว จึงมีความตื่นตัวกับการเก็บหาพืชผักแมลงสัตว์ต้นฤดูกาลนั้นๆ เช่น แมงมัน ไข่มดส้ม ผักหวาน เห็ดหล่ม เห็ดถอบ หน่อบุ่น(ขุดในดิน) ดอกนางลาว ดอกก้าน ผักพ่อค้าตีเมีย อีฮวก กบ แลน ฟาน หมูป่า ไก่ป่า
ถ้าเป็นเมนูแกผักมักจะไม่มีการปรุงมากนักนอกจากเกลือห้ามใส่น้ำตาลเด็ดขาด ช่วง2530เป็นต้นมาเริ่มมีซอสซีอิ้วน้ำเกลือน้ำปลาชูรส และรสดีมาหลังๆ จึงทำให้มีรสซับซ้อน และเนื้อสัตว์เริ่มมีขายแพร่หลายจับต้องง่ายขึ้นผสมผสานทำให้น้ำซุปเข้มข้นขึ้น
ส่วนเมนูสัตว์ที่มีความคาวหรือกลิ่นแรงเครื่องปรุงจะเป็นเครื่องเทศหลากหลายอย่างเพื่อดับกลิ่นคาวและจะมีรสสัมผัสชาปลายลิ้นเช่น มะแคว่น จะค่าน เครื่องลาบต่างๆ ซึ่งถือว่าเปิดต่อมรับรสกระตุ้นความหิวพอสมควร
จึงสรุปได้ว่าไม่แปลกที่คนต่างถิ่นจะไม่นิยมมากนักเพราะพื้นฐานอาหารมาจากสภาพทางภูมิประเทศที่ไม่มีทางเลือกมากนัก แต่ยุคสมัครนี้มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบมากขึ้น วิทยาการทางด้านอาหารก้าวหน้าไปเยอะ เชื่อว่ารุ่นใหม่ๆจะสามารถอัพเกรดรังสรรเมนูดั้งเดิมให้ถูกปากถูกคอคนได้กว้างขึ้น