สวัสดีครับ พวกเราได้มีโอกาสเดินทางไปเรียนรู้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนเมืองตรัง ที่อำเภอสิเกา เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ซึ่งการท่องเที่ยวในครั้งนี้ได้เริ่มจากการที่เราได้มีโอกาสในการจัดทริปการท่องเที่ยงเองในวิชาเรียน พวกเราจึงสามารถรวมตัวกันไปเที่ยวได้ โดยมีงานเป็นที่ข้ออ้าง ทำให้เพื่อน ๆ ไม่สามารถปฏิเสธกันได้ เราได้พูดคุยกันโดยเริ่มตั้งจากว่าเราอยากไปเที่ยวในแบบไหน และได้คำตอบว่าเราอยากไปแนว ๆ โฮมสเตย์กัน เพราะการเที่ยวแบบโฮมสเตย์ดูน่าจะทำให้เราใกล้ชิดกับคนในพื้นที่มากกว่าการเที่ยวแบบปกติ และไม่มีใครในกลุ่มเคยไปเที่ยวแบบนี้ด้วย หลังจากนั้นมีเพื่อนคนนึงเสนอขึ้นมาว่า เขามีพี่ที่รู้จักกันเคยไปเที่ยวที่ บ่อหินฟาร์มสเตย์ แล้วมันดีมาก ๆ พวกเราเลยตัดสินใจติดต่อสอบถามข้อมูล และทำการจองที่พักกัน โดยค่าที่พักตกคนละ 1000 บาท มีอาหารเย็นและเช้าให้ เราจึงได้วันที่ 22 - 23 เมษายน แต่ว่าในรายวิชาต้องการให้เราไปทั้งหมด 3 วัน 2 คืน ทำให้เราจัดแผนต่อว่าเราจะไปเที่ยวกันในตัวเมือง เพราะที่โฮมสเตย์ที่เราจะไปนั้นอยู่นอกตัวเมืองตรังไปอีก เมื่อตกลงเรื่องแผนการท่องเที่ยวเสร็จ เราก็หาเพื่อนคนอื่น ๆ ที่สนใจไปกับพวกเราด้วย(ที่จะร่วมชะตากรรมไปกับพวกเรา) แล้วเราก็ได้เพื่อนมาเพิ่มในทริปครั้งนี้อีก 2 คนรวมเป็น 7 คน
เมื่อตกลงกันเรื่องคนและที่เที่ยวลงตัวแล้ว เราก็รีบทำการจองตัวรถไฟที่จะเดินทางไปยังจังหวัดตรัง โดยขาไปเราได้จองตั๋วรถไฟชั้น 2 เตียงนอนชั้นบนปรับอากาศ ในราคาประมาณ 780 บาท และขากลับเราอยากลองไปแบบชั้น 1 เลยจองตั๋วชั้น 1 ไปในราคา 1,276 บาท โดยเราใช้เวลาเดินทางบนรถไฟประมาณ 13 ชั่วโมง เราออกเดินทางวันที่ 21 เมษายน ถึงตรัง 22 เมษายน เมื่อจองตั๋วเสร็จก็เตรียมตัวรอวันที่เราจะออกเดินทางกัน
ในวันเดินทางวันที่ 21 เมษายน 2567 เรานัดเจอกันที่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อขึ้นรถไฟในเวลา 18:50 น. และถึงตรังเวลา ก็มีการเตรียมตัวซื้อขนม ซื้อข้าวขึ้นไปกินบนรถไฟ เพราะอาหารบนนั้นแพงมาก ๆ และเราก็ได้นอนพักผ่อนตลอดการเดินทางเลยครับ
ถึงสถานีรถไฟเมืองตรังเวลา 8.15 น. ตามตารางได้เวลาหามื้อเช้า เคยได้ยินว่าภาคใต้คนชอบทานติมซำเป็นมื้อเช้าเราเลยลองเปิดใน google map เผื่อหาร้านอาหาร ที่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟ ก็ได้มาจบที่ร้านพงโอชา โดยเดินจากสถานีรถไฟมาประมาณ 1 กิโลเมตร เมนูจะเป็นติมซำและข้าวหมูแดงหมูกรอบ และมีหมูย่างเมืองตรังด้วย เป็นครั้งแรกที่ได้ลองกินความรู้สึกเหมือนหมูหันที่มีเนื้อรสชาติหวาน สำหรับมื้อแรกของเราโดยรวมรสชาติดี
ต่อมาถึงเวลาเดินทางเข้าที่พัก โดยที่พักของเราคือ บ่อหินฟามสเตย์ อยู่ที่อำเภอสิเกา ตำบลบ่อหิน ซึ่งห่างออกมาจากตัวเมืองตรัง เราจึงไปที่ขนส่งของจังหวัดตรัง มีรถตู้เหมาที่รับส่งอยู่ เราก็ไปใช้บริการโดยค่าเดินทางตกลงละประมาน 100 บาท ต่อคน
มาถึงแล้วที่บ่อหินโฮมสเตย์ พี่เจ้าของได้เล่าว่าบ่อหินเป็นชื่อที่มาจากตั้งแต่สมัยก่อน บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำที่มีหินล้อม ที่ด้านในเป็นน้ำจืด เนื่องจากแถวนี้ติดทะเลผู้คนจึงจะมาใช้น้ำจืดในบ่อนี้ จึงติดเรียกกันมาว่าบ่อหิน
และแล้วก็ถึงเวลาล่องเรือไปบนคลองสิเกาเพื่อมุ่งหน้าไปที่บ่อน้ำพุร้อนเค็ม
เข้าไปในคลองคลองเล็กๆจากคลองสิเกาเขาเรียกคลองนี้ว่าคลองสุก
ระหว่างทางเจอต้นโกงกางมีทั้ง โกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก พี่เขาเล่าว่ากิ่งก้านของมันจะล่วงลงไปปักปักตรงไหนต้นโกงกางก็จะโตที่นั่น เปลือกของต้นโกงกางนำไปทำผ้าบาติกย้อมสี ต้นของมันนำไปเผาถ่าน และหลังจากนั้นก็มีการปลูกทดแทนด้วย จะมีแหล่งเพาะต้นโกงกางอยู่
เห็นปูก้ามดาบด้วย ชาวประมงจะออกมาจับปูตอนกลางคืนโดยใช้ไซตอนกลางคืนปูจะออกมาตรงต้นโกงกางแล้วปูจะเข้ามาติดในไซ
มาถึงบ่อน้ำพุร้อนเค็มบ่อหินแล้วเป็นบ่อน้ำพุที่ชาวบ้านพบเจอกจากการที่มาหาหอยปูปลาแถวนั้นแล้วเจอ
เรามาตอนช่วงที่น้ำน้อยน้ำจะร้อนเป็นพิเศษ ถ้าเรามาตอนช่วงที่น้ำเยอะกว่านี้จะมาไม่เห็นปากบ่อแบบนี้และน้ำจะอุ่นขึ้นสามารถลงไปแช่ได้
โคลนที่นี่เอาพอกได้ช่วยบำรุงผิวให้ดีขึ้นบางคนพอกที่นี่แล้วก็ล้างที่นี่เลย แต่บางคนพอกแล้วก็ไปต่อที่ต่อไปเลย
หลังจากเพื่อนได้พอกโคลนสมใจก็ถึงเวลาที่เราจะไปกันต่อ และระหว่างทางเราก็ได้ถามพี่เขาว่าชาวบ้านเขาจับไรกินกัน พี่เขาบอกว่าในน้ำก็จะมี กุ้ง ปลา ปลาเก๋า ปลากระพง ปลากระบอก ปูม้า ปูดำ ปูก้ามดาบ หอยแครง หอยเพรียงอยู่ที่ชั้น และ หอยแมลงผู้ที่ชาวบ้านเขาเลี้ยงเอาไว้
จุดที่ตลิ่งมันพังเลยเลยเอาต้นโกงกางมาปลูกเอาไว้เพื่อทดแทนไม่ให้ตลิ่งมันพังเข้าไปเรื่อยๆ
ระหว่างทางจะเจอโคลงที่ดักโวยวาย โวยวายก็คือหมึกยักษ์โดยจะใช้เปลือกหอยมาตั้งไว้แล้วโวยวายมันจะเข้ามาในเปลือกหอย
มาถึงเวิ้งอ่าวบุญคงเข้าไปข้างในจะเป็นป่าโกงกางมีพื้นดินทรายมีหญ้าทะเล ปลาพะยูนก็จะเขามากินหญ้าทะเลในป่านี้ด้วย และด้านในจะมีภาพวาดโบราณด้วย แต่วันนั้นที่ไปพวกเราไม่สามารถนำเรือเข้าไปได้ เพราะมีลมตะวันตกเข้ามาทำให้น้ำตื้นมากตื้นจนสามารถเดินข้ามฝั่งได้เลย ถ้าเป็นลมตะวันออกน้ำจะเป็นสีเขียวกว่านี้
เรามีถึงที่เกาะหลอหลอ เหตุผลที่ชื่อเกาะหลอหลอเพราะว่าเพราะจะเห็นช่วงหลอที่ติดกัน เมื่อก่อนมีการสังฆทานรังนกด้วยแต่ตอนนี้ไม่ทำแล้ว
หาดเก็บตะวันบรรยากาศสวยมากเหมือนในหนังเรื่อง DUNE เลย ซึ่งอีกฝั่งของหาดเก็ฐตะวันนี้เราจะเรียกว่าหาดกลองสน หาดเก็บตะวันนี้เกิดขึ้นหลังสึนามิปี 47 ที่มันพักของพัดกระจงปลิวหมดแล้วก่อตัวเป็นกองทราย
หาดเก็บตะวันจะได้เจอกับเจ้าปูหมุบหมิบด้วยที่ชื่อนี้เพราะถ้ามันโดนจับมันจะมุดทรายนี้ เจ้าปูหมุบหมิบนี้ไม่นิยมกินกันเพราะก้ามกระดองแข็งเกิน
หลังจากเยียมชมหาดเก็บตะวันเสร็จแล้วก็ถึงเวลาเดินทางกลับที่พักของพวกเราแล้ว
หลังจากเรากลับมาถึงที่พักพี่ๆที่บ่อหินฟาร์มสเตย์เขาก็ได้เตรียมอาหารมาให้เราทาน เป็นอาหารทะเลสดจากกระชังหน้าบ้านพัก ซึ่งเมนูในวันนี้น่ากินมากทุกเมนู และอร่อยมากด้วย
วันที่สอง เราต้องขอบคุณพี่บรรจงที่อาสามาพาพวกเราไปเที่ยวดู ศึกษาภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชน ที่แรกที่เราไปคือ กลุ่มผ้าบาติก บ้านพรุจูด ซึ่งเป็น OTOP Village และเราก็จะได้มาศึกษาวิธีการทำผ้าบาติก และผ้ามัดย้อมกันที่นี่
ผ้ามัดย้อมที่นี่ก็จะใช้ทั้งสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ ตัวอย่างสีธรรมชาติที่ใช้ ก็จะมีพวก สีมังคุด สีสังกะสี เป็นต้น
ต่อมาคือผ้าบาติก วิธีการทำก็คือเราจะมีการนำผ้าไปร่างภาพที่เราจะเขียนมาก่อนด้วยดินสอ จากนั้นก็เอาผ้ามาขึงไว้กับโครง
จากนั้นเราจะเอาเทียนที่ต้มไว้มาใส่จันติ้ง (เห็นในรูปที่เหมือนปากกามั้ยครับ อันนั้นแหละจันติ้ง) แล้วเราก็เขียนออกมาตามแบบที่ร่างไว้ได้เลย สำหรับขั้นตอนนี้เค้าเรียกกันว่าการเดินเทียน
หลังเดินเทียนเสร็จก็ทำการลงสี จากนั้นนำผ้าไปต้มน้ำเดือด เพื่อให้เทียนที่เขียนลายเอาไว้ออกมาจากผ้าด้วยความร้อน ก็จะได้ผ้าบาติกที่มีลวดลายสีสันสวยงามมาแล้วครับ
ที่ต่อไปที่เราไปก็คือ ชุมชนกลุ่มจักรสานเตยปาหนัน ที่นี่ก็จะมีการนำใบเตยปาหนันมาทำเครื่องจักรสาน
ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า ที่เก็บไม้จิ้มฟัน และอีกมากมาย เอ้อแล้วก็ มีเคสโทรศัพท์ด้วยแหละ ซึ่งกระเป๋าทำ
ออกมาสวยงามไม่แพ้แบรนด์ดัง ๆ เลย
หลังจากนั้นเราก็ได้เข้าพักที่บ้านพักที่จองไว้ในตัวเมือง แล้วก็ออกมาตลาดกันช่วงเย็น ๆ
ในช่วงเย็นนั้นพวกเราได้เดินทางกันออกมาหาของกินกัน โดยที่พวกเราเดินกันออกจากบ้านพักประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งที่แรกที่เราได้มาหาของกินนั้นก็คืออออ ตลาดเซ็นเตอร์พอยท์นั้นเอง ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดที่อยู่ติดกับวงเวียนปลาพะยูน เป็นตลาดคนเดิน มีของกินขายเยอะมาก ๆ แถมราคาไม่แพงเลย
ร้านไฮไลท์เด็ด ๆ ที่ถือว่ามาแล้วพลาดไม่ได้สำหรับพวกเรานั้นก็คือ ร้านน้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพร้านนี้เลย เป็นการเปิดโลกแบบใหม่เลยเพราะว่าไม่เคยกินน้ำเต้าหู้ที่ผสมกับน้ำชา หลังจากที่ได้ลองก็ทำให้รู้เลยว่าน้ำเต้าหู้และชานั้นเข้าได้ด้วยกันมาก ๆ 10/10 ไม่หักเลยครับ
ต่อมาที่เราไปก็คือตลาดชินตา เป็นตลาดที่เดินมาจากตลาดเซ็นเตอร์พอยท์ประมาณกิโลเศษ ๆ ครับ ซึ่งไฮไลท์ของที่นี่ก็คือจะมีโซนให้มาถ่ายรูป เหมือนว่าเราอยู่ที่ญี่ปุ่นเลย ยิ่งตอนดึกบรรยากาศสวยมาก ๆ
ช่วงรีวิวคาเฟ่ ในทริปนี้ในวันสุดท้ายระหว่างรอขึ้นไฟกลับกรุงเทพ เราก็ได้ไปค่าเฟ่ 2 ที่ ในตัวเมืองตรัง และคาเฟ่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟตรังครับ
คาเฟ่แรกที่เราไปกันชื่อว่า GRAY 18 CAFÉ เป็นคาเฟ่ที่เพื่อนที่เป็นคนตรังแนะนำมากๆ อยากให้เรามาลอง อยู่ในตัวเมืองตรังเลย ภายนอกตกแต่งแนว Industrial มีความ สนิมๆ หน่อย ค่อนข้างสวยถูกใจสายสตรีท ภายในมีหลายชั้น ที่นั่งค่อนข้างเยอะ ในวันที่ไปเป็นวันธรรมดาคนก็ค่อนข้างเยอะเลย ส่วนใหญ่จะเป็นคนมานั่งคุยหรือทำงานกัน
ต่อมาเป็นเรื่องของรสชาติ เราอาจจะอธิบายออกมาเท่าที่เราเข้าใจ เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่ก็ดื่มค่อนข้างบ่อย 5555 ก็ที่ไปลองทานได้ทาน Dirty ออกตัวก่อนเลยว่
[CR] 3 วัน 2 คืนกับจังหวัดตรัง ทะเลสวย ๆ ที่น้อยคนไปเที่ยวกัน...
เมื่อตกลงกันเรื่องคนและที่เที่ยวลงตัวแล้ว เราก็รีบทำการจองตัวรถไฟที่จะเดินทางไปยังจังหวัดตรัง โดยขาไปเราได้จองตั๋วรถไฟชั้น 2 เตียงนอนชั้นบนปรับอากาศ ในราคาประมาณ 780 บาท และขากลับเราอยากลองไปแบบชั้น 1 เลยจองตั๋วชั้น 1 ไปในราคา 1,276 บาท โดยเราใช้เวลาเดินทางบนรถไฟประมาณ 13 ชั่วโมง เราออกเดินทางวันที่ 21 เมษายน ถึงตรัง 22 เมษายน เมื่อจองตั๋วเสร็จก็เตรียมตัวรอวันที่เราจะออกเดินทางกัน
ในวันเดินทางวันที่ 21 เมษายน 2567 เรานัดเจอกันที่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อขึ้นรถไฟในเวลา 18:50 น. และถึงตรังเวลา ก็มีการเตรียมตัวซื้อขนม ซื้อข้าวขึ้นไปกินบนรถไฟ เพราะอาหารบนนั้นแพงมาก ๆ และเราก็ได้นอนพักผ่อนตลอดการเดินทางเลยครับ
ถึงสถานีรถไฟเมืองตรังเวลา 8.15 น. ตามตารางได้เวลาหามื้อเช้า เคยได้ยินว่าภาคใต้คนชอบทานติมซำเป็นมื้อเช้าเราเลยลองเปิดใน google map เผื่อหาร้านอาหาร ที่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟ ก็ได้มาจบที่ร้านพงโอชา โดยเดินจากสถานีรถไฟมาประมาณ 1 กิโลเมตร เมนูจะเป็นติมซำและข้าวหมูแดงหมูกรอบ และมีหมูย่างเมืองตรังด้วย เป็นครั้งแรกที่ได้ลองกินความรู้สึกเหมือนหมูหันที่มีเนื้อรสชาติหวาน สำหรับมื้อแรกของเราโดยรวมรสชาติดี
ต่อมาถึงเวลาเดินทางเข้าที่พัก โดยที่พักของเราคือ บ่อหินฟามสเตย์ อยู่ที่อำเภอสิเกา ตำบลบ่อหิน ซึ่งห่างออกมาจากตัวเมืองตรัง เราจึงไปที่ขนส่งของจังหวัดตรัง มีรถตู้เหมาที่รับส่งอยู่ เราก็ไปใช้บริการโดยค่าเดินทางตกลงละประมาน 100 บาท ต่อคน
มาถึงแล้วที่บ่อหินโฮมสเตย์ พี่เจ้าของได้เล่าว่าบ่อหินเป็นชื่อที่มาจากตั้งแต่สมัยก่อน บริเวณนี้เป็นบ่อน้ำที่มีหินล้อม ที่ด้านในเป็นน้ำจืด เนื่องจากแถวนี้ติดทะเลผู้คนจึงจะมาใช้น้ำจืดในบ่อนี้ จึงติดเรียกกันมาว่าบ่อหิน
และแล้วก็ถึงเวลาล่องเรือไปบนคลองสิเกาเพื่อมุ่งหน้าไปที่บ่อน้ำพุร้อนเค็ม
เข้าไปในคลองคลองเล็กๆจากคลองสิเกาเขาเรียกคลองนี้ว่าคลองสุก
ระหว่างทางเจอต้นโกงกางมีทั้ง โกงกางใบใหญ่และโกงกางใบเล็ก พี่เขาเล่าว่ากิ่งก้านของมันจะล่วงลงไปปักปักตรงไหนต้นโกงกางก็จะโตที่นั่น เปลือกของต้นโกงกางนำไปทำผ้าบาติกย้อมสี ต้นของมันนำไปเผาถ่าน และหลังจากนั้นก็มีการปลูกทดแทนด้วย จะมีแหล่งเพาะต้นโกงกางอยู่
เห็นปูก้ามดาบด้วย ชาวประมงจะออกมาจับปูตอนกลางคืนโดยใช้ไซตอนกลางคืนปูจะออกมาตรงต้นโกงกางแล้วปูจะเข้ามาติดในไซ
มาถึงบ่อน้ำพุร้อนเค็มบ่อหินแล้วเป็นบ่อน้ำพุที่ชาวบ้านพบเจอกจากการที่มาหาหอยปูปลาแถวนั้นแล้วเจอ
เรามาตอนช่วงที่น้ำน้อยน้ำจะร้อนเป็นพิเศษ ถ้าเรามาตอนช่วงที่น้ำเยอะกว่านี้จะมาไม่เห็นปากบ่อแบบนี้และน้ำจะอุ่นขึ้นสามารถลงไปแช่ได้
โคลนที่นี่เอาพอกได้ช่วยบำรุงผิวให้ดีขึ้นบางคนพอกที่นี่แล้วก็ล้างที่นี่เลย แต่บางคนพอกแล้วก็ไปต่อที่ต่อไปเลย
หลังจากเพื่อนได้พอกโคลนสมใจก็ถึงเวลาที่เราจะไปกันต่อ และระหว่างทางเราก็ได้ถามพี่เขาว่าชาวบ้านเขาจับไรกินกัน พี่เขาบอกว่าในน้ำก็จะมี กุ้ง ปลา ปลาเก๋า ปลากระพง ปลากระบอก ปูม้า ปูดำ ปูก้ามดาบ หอยแครง หอยเพรียงอยู่ที่ชั้น และ หอยแมลงผู้ที่ชาวบ้านเขาเลี้ยงเอาไว้
จุดที่ตลิ่งมันพังเลยเลยเอาต้นโกงกางมาปลูกเอาไว้เพื่อทดแทนไม่ให้ตลิ่งมันพังเข้าไปเรื่อยๆ
ระหว่างทางจะเจอโคลงที่ดักโวยวาย โวยวายก็คือหมึกยักษ์โดยจะใช้เปลือกหอยมาตั้งไว้แล้วโวยวายมันจะเข้ามาในเปลือกหอย
มาถึงเวิ้งอ่าวบุญคงเข้าไปข้างในจะเป็นป่าโกงกางมีพื้นดินทรายมีหญ้าทะเล ปลาพะยูนก็จะเขามากินหญ้าทะเลในป่านี้ด้วย และด้านในจะมีภาพวาดโบราณด้วย แต่วันนั้นที่ไปพวกเราไม่สามารถนำเรือเข้าไปได้ เพราะมีลมตะวันตกเข้ามาทำให้น้ำตื้นมากตื้นจนสามารถเดินข้ามฝั่งได้เลย ถ้าเป็นลมตะวันออกน้ำจะเป็นสีเขียวกว่านี้
เรามีถึงที่เกาะหลอหลอ เหตุผลที่ชื่อเกาะหลอหลอเพราะว่าเพราะจะเห็นช่วงหลอที่ติดกัน เมื่อก่อนมีการสังฆทานรังนกด้วยแต่ตอนนี้ไม่ทำแล้ว
หาดเก็บตะวันบรรยากาศสวยมากเหมือนในหนังเรื่อง DUNE เลย ซึ่งอีกฝั่งของหาดเก็ฐตะวันนี้เราจะเรียกว่าหาดกลองสน หาดเก็บตะวันนี้เกิดขึ้นหลังสึนามิปี 47 ที่มันพักของพัดกระจงปลิวหมดแล้วก่อตัวเป็นกองทราย
หาดเก็บตะวันจะได้เจอกับเจ้าปูหมุบหมิบด้วยที่ชื่อนี้เพราะถ้ามันโดนจับมันจะมุดทรายนี้ เจ้าปูหมุบหมิบนี้ไม่นิยมกินกันเพราะก้ามกระดองแข็งเกิน
หลังจากเยียมชมหาดเก็บตะวันเสร็จแล้วก็ถึงเวลาเดินทางกลับที่พักของพวกเราแล้ว
หลังจากเรากลับมาถึงที่พักพี่ๆที่บ่อหินฟาร์มสเตย์เขาก็ได้เตรียมอาหารมาให้เราทาน เป็นอาหารทะเลสดจากกระชังหน้าบ้านพัก ซึ่งเมนูในวันนี้น่ากินมากทุกเมนู และอร่อยมากด้วย
วันที่สอง เราต้องขอบคุณพี่บรรจงที่อาสามาพาพวกเราไปเที่ยวดู ศึกษาภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชน ที่แรกที่เราไปคือ กลุ่มผ้าบาติก บ้านพรุจูด ซึ่งเป็น OTOP Village และเราก็จะได้มาศึกษาวิธีการทำผ้าบาติก และผ้ามัดย้อมกันที่นี่
ผ้ามัดย้อมที่นี่ก็จะใช้ทั้งสีสังเคราะห์และสีธรรมชาติ ตัวอย่างสีธรรมชาติที่ใช้ ก็จะมีพวก สีมังคุด สีสังกะสี เป็นต้น
ต่อมาคือผ้าบาติก วิธีการทำก็คือเราจะมีการนำผ้าไปร่างภาพที่เราจะเขียนมาก่อนด้วยดินสอ จากนั้นก็เอาผ้ามาขึงไว้กับโครง
จากนั้นเราจะเอาเทียนที่ต้มไว้มาใส่จันติ้ง (เห็นในรูปที่เหมือนปากกามั้ยครับ อันนั้นแหละจันติ้ง) แล้วเราก็เขียนออกมาตามแบบที่ร่างไว้ได้เลย สำหรับขั้นตอนนี้เค้าเรียกกันว่าการเดินเทียน
หลังเดินเทียนเสร็จก็ทำการลงสี จากนั้นนำผ้าไปต้มน้ำเดือด เพื่อให้เทียนที่เขียนลายเอาไว้ออกมาจากผ้าด้วยความร้อน ก็จะได้ผ้าบาติกที่มีลวดลายสีสันสวยงามมาแล้วครับ
ที่ต่อไปที่เราไปก็คือ ชุมชนกลุ่มจักรสานเตยปาหนัน ที่นี่ก็จะมีการนำใบเตยปาหนันมาทำเครื่องจักรสาน
ต่าง ๆ เช่น กระเป๋า ที่เก็บไม้จิ้มฟัน และอีกมากมาย เอ้อแล้วก็ มีเคสโทรศัพท์ด้วยแหละ ซึ่งกระเป๋าทำ
ออกมาสวยงามไม่แพ้แบรนด์ดัง ๆ เลย
หลังจากนั้นเราก็ได้เข้าพักที่บ้านพักที่จองไว้ในตัวเมือง แล้วก็ออกมาตลาดกันช่วงเย็น ๆ
ในช่วงเย็นนั้นพวกเราได้เดินทางกันออกมาหาของกินกัน โดยที่พวกเราเดินกันออกจากบ้านพักประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งที่แรกที่เราได้มาหาของกินนั้นก็คืออออ ตลาดเซ็นเตอร์พอยท์นั้นเอง ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดที่อยู่ติดกับวงเวียนปลาพะยูน เป็นตลาดคนเดิน มีของกินขายเยอะมาก ๆ แถมราคาไม่แพงเลย
ร้านไฮไลท์เด็ด ๆ ที่ถือว่ามาแล้วพลาดไม่ได้สำหรับพวกเรานั้นก็คือ ร้านน้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพร้านนี้เลย เป็นการเปิดโลกแบบใหม่เลยเพราะว่าไม่เคยกินน้ำเต้าหู้ที่ผสมกับน้ำชา หลังจากที่ได้ลองก็ทำให้รู้เลยว่าน้ำเต้าหู้และชานั้นเข้าได้ด้วยกันมาก ๆ 10/10 ไม่หักเลยครับ
ต่อมาที่เราไปก็คือตลาดชินตา เป็นตลาดที่เดินมาจากตลาดเซ็นเตอร์พอยท์ประมาณกิโลเศษ ๆ ครับ ซึ่งไฮไลท์ของที่นี่ก็คือจะมีโซนให้มาถ่ายรูป เหมือนว่าเราอยู่ที่ญี่ปุ่นเลย ยิ่งตอนดึกบรรยากาศสวยมาก ๆ
ช่วงรีวิวคาเฟ่ ในทริปนี้ในวันสุดท้ายระหว่างรอขึ้นไฟกลับกรุงเทพ เราก็ได้ไปค่าเฟ่ 2 ที่ ในตัวเมืองตรัง และคาเฟ่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟตรังครับ
คาเฟ่แรกที่เราไปกันชื่อว่า GRAY 18 CAFÉ เป็นคาเฟ่ที่เพื่อนที่เป็นคนตรังแนะนำมากๆ อยากให้เรามาลอง อยู่ในตัวเมืองตรังเลย ภายนอกตกแต่งแนว Industrial มีความ สนิมๆ หน่อย ค่อนข้างสวยถูกใจสายสตรีท ภายในมีหลายชั้น ที่นั่งค่อนข้างเยอะ ในวันที่ไปเป็นวันธรรมดาคนก็ค่อนข้างเยอะเลย ส่วนใหญ่จะเป็นคนมานั่งคุยหรือทำงานกัน
ต่อมาเป็นเรื่องของรสชาติ เราอาจจะอธิบายออกมาเท่าที่เราเข้าใจ เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่ก็ดื่มค่อนข้างบ่อย 5555 ก็ที่ไปลองทานได้ทาน Dirty ออกตัวก่อนเลยว่
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น