15 พ.ค.2567 - ที่กรมราชทัณฑ์ จ.นนทบุรี นายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์, นางอาจารี ศรีสุนาครัว ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง, และนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ร่วมแถลงข่าวกรณีนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมืองที่เสียชีวิตวานนี้ (14พ.ค.) ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นการเสียชีวิตขณะอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมราชทัณฑ์
โดยนายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากกรณีเสียชีวิตดังกล่าวรัฐบาลต้องขอแสดงความเสียใจสุดซึ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับตัวนางสาวเนติพรมาควบคุมตัวไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันที่ 26 มกราคม โดยขณะนั้นนางสาวเนติพร ได้อดอาหารอยู่แล้ว ซึ่งทัณฑสถานหญิงกลางได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพบว่ามีอาการอ่อนเพลียจากภาวะอดอาหารจึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันตสถานหญิงกลาง
ต่อมาวันที่ 29 กุมภาพันธ์- 8 มีนาคม ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ จากอาการอ่อนเพลีย จากนั้นวันที่ 8 มีนาคม-4 เมษายน ได้ย้ายตัวนางสาวเนติพร ไปรักษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เป็นเวลา 27 วัน และมีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จึงได้มีหนังสือส่งตัวนางสาวเนติพรกลับมารักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากเห็นว่าสามารถรักษาต่อได้
โดยหลังจากที่นางสาวเนติพร ได้กลับมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แล้วสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ ทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้จัดให้พักในห้องผู้ป่วยรวมที่มีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทพักอยู่ด้วย ยืนยันว่าแพทย์และพยาบาลได้เฝ้าตรวจรักษาอาการอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นพบว่านางสาวเนติพร รู้สึกตัวดีมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จนกระทั่งวันเหตุคือวันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 06.00 น. นางสาวเนติพร ได้เกิดอาการวูบและหมดสติไปขณะกำลังพูดคุยกับนางสาวทานตะวัน เจ้าหน้าที่จึงได้ให้การช่วยเหลือและกระตุ้นหัวใจทันที พร้อมประสานส่งตัวไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จนกระทั่งมีข่าวว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา
“ยืนยันว่ากระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ได้ให้ความสำคัญตามหลักสิทธิมนุษยชนสิทธิขั้นพื้นฐานและหลักนิติธรรม เฝ้าระวังและดูแลรักษาอาการของนางสาวนิติพลอย่างใกล้ชิด และเพื่อความโปร่งใสกระทรวงยุติธรรมได้ในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของนางสาวเนติพร ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตจะชี้แจงให้ทราบเมื่อผลการชันสูตรออกมาอย่างชัดเจน”นายแพทย์สมภพ กล่าว
สำหรับอาการของนางสาวเนติพรนั้น นายแพทย์สมภพ กล่าวว่า ก่อนจะเกิดภาวะช็อก นางสาวเนติพรมีอาการปกติทุกอย่าง และขณะที่นางสาวธิติพรรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ก็มีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น และในเช้าวันเกิดเหตุก็ยังสามารถคุยกับนางสาวทานตะวันได้ตามปกติ กล่าวเพียงว่ามีอาการปวดหัว
สำหรับแนวทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังที่มีเจตนารมณ์อดอาหารนั้น นายแพทย์สมภพ กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจะส่งนักจิตวิทยาเข้าไปพูดคุยและโน้มน้าว แต่หากผู้ต้องขังยังยืนยันเจตนาเดิม ทางกรมราชทัณฑ์ก็จะใช้แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ ทั้งด้านจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์เข้าประเมินร่างกาย หากพบว่าเกิดภาวะที่มองว่าน่าจะเกิดอันตราย เกินศักยภาพของสถานพยาบาลเรือนจำก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
ด้านนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กล่าวว่า
ตั้งแต่หลังวันที่ 4 เมษายน ที่กลับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ นางสาวเนติพรยังคงมีอาการอ่อนเพลียสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ เช่น ข้าวต้ม ไข่เจียว โดยจัดหาอาหารให้ทั้ง 3 มื้อ และยืนยันว่าที่ผ่านมาได้มีการแนะนำกับนางสาวเนติพรโดยตลอดว่า ว่าการอดอาหารอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ซึ่งนางสาวเนติพรรับทราบอย่างต่อเนื่องแต่ยังยืนยันในแนวทางเดิม โดยมีเจตจำนงที่จะปฏิเสธรับเกลือแร่หรือวิตามิน ยืนยันว่าให้การรักษาและดูแลตามมาตรฐาน ก่อนเกิดเหตุไม่มีภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตาม ในการนำตัวนางสาวเนติพรไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์นั้นไม่ได้ใช้ เครื่อง AED หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะไม่มีข้อบ่งชี้
ข่าวดี้ดี 4.0 'ราชทัณฑ์' แถลงยัน 'บุ้ง' กลับมากินข้าวต้ม ไข่เจียว แต่ไม่รับอาหารเสริมเกลือแร่
โดยนายแพทย์สมภพ สังคุตแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากกรณีเสียชีวิตดังกล่าวรัฐบาลต้องขอแสดงความเสียใจสุดซึ้งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า กรมราชทัณฑ์ได้รับตัวนางสาวเนติพรมาควบคุมตัวไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันที่ 26 มกราคม โดยขณะนั้นนางสาวเนติพร ได้อดอาหารอยู่แล้ว ซึ่งทัณฑสถานหญิงกลางได้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพบว่ามีอาการอ่อนเพลียจากภาวะอดอาหารจึงได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลทันตสถานหญิงกลาง
ต่อมาวันที่ 29 กุมภาพันธ์- 8 มีนาคม ได้ส่งตัวเข้ารับการรักษาที่ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ จากอาการอ่อนเพลีย จากนั้นวันที่ 8 มีนาคม-4 เมษายน ได้ย้ายตัวนางสาวเนติพร ไปรักษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เป็นเวลา 27 วัน และมีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จึงได้มีหนังสือส่งตัวนางสาวเนติพรกลับมารักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เนื่องจากเห็นว่าสามารถรักษาต่อได้
โดยหลังจากที่นางสาวเนติพร ได้กลับมาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แล้วสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ ทางโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้จัดให้พักในห้องผู้ป่วยรวมที่มีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทพักอยู่ด้วย ยืนยันว่าแพทย์และพยาบาลได้เฝ้าตรวจรักษาอาการอยู่ตลอดเวลา ขณะนั้นพบว่านางสาวเนติพร รู้สึกตัวดีมีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จนกระทั่งวันเหตุคือวันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 06.00 น. นางสาวเนติพร ได้เกิดอาการวูบและหมดสติไปขณะกำลังพูดคุยกับนางสาวทานตะวัน เจ้าหน้าที่จึงได้ให้การช่วยเหลือและกระตุ้นหัวใจทันที พร้อมประสานส่งตัวไปที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ จนกระทั่งมีข่าวว่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา
“ยืนยันว่ากระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ได้ให้ความสำคัญตามหลักสิทธิมนุษยชนสิทธิขั้นพื้นฐานและหลักนิติธรรม เฝ้าระวังและดูแลรักษาอาการของนางสาวนิติพลอย่างใกล้ชิด และเพื่อความโปร่งใสกระทรวงยุติธรรมได้ในการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของนางสาวเนติพร ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตจะชี้แจงให้ทราบเมื่อผลการชันสูตรออกมาอย่างชัดเจน”นายแพทย์สมภพ กล่าว
สำหรับอาการของนางสาวเนติพรนั้น นายแพทย์สมภพ กล่าวว่า ก่อนจะเกิดภาวะช็อก นางสาวเนติพรมีอาการปกติทุกอย่าง และขณะที่นางสาวธิติพรรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ก็มีรายงานว่าปฏิเสธการรับสารอาหาร ยาบำรุงเลือดต่างๆด้วยเช่นกัน และยังอยู่ในภาวะทั่วไปที่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงมองว่าไม่น่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น และในเช้าวันเกิดเหตุก็ยังสามารถคุยกับนางสาวทานตะวันได้ตามปกติ กล่าวเพียงว่ามีอาการปวดหัว
สำหรับแนวทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังที่มีเจตนารมณ์อดอาหารนั้น นายแพทย์สมภพ กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มต้นจะส่งนักจิตวิทยาเข้าไปพูดคุยและโน้มน้าว แต่หากผู้ต้องขังยังยืนยันเจตนาเดิม ทางกรมราชทัณฑ์ก็จะใช้แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ ทั้งด้านจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์เข้าประเมินร่างกาย หากพบว่าเกิดภาวะที่มองว่าน่าจะเกิดอันตราย เกินศักยภาพของสถานพยาบาลเรือนจำก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย
ด้านนายแพทย์พงศ์ภัค อารียาภินันท์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กล่าวว่า ตั้งแต่หลังวันที่ 4 เมษายน ที่กลับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ นางสาวเนติพรยังคงมีอาการอ่อนเพลียสามารถรับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ เช่น ข้าวต้ม ไข่เจียว โดยจัดหาอาหารให้ทั้ง 3 มื้อ และยืนยันว่าที่ผ่านมาได้มีการแนะนำกับนางสาวเนติพรโดยตลอดว่า ว่าการอดอาหารอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ซึ่งนางสาวเนติพรรับทราบอย่างต่อเนื่องแต่ยังยืนยันในแนวทางเดิม โดยมีเจตจำนงที่จะปฏิเสธรับเกลือแร่หรือวิตามิน ยืนยันว่าให้การรักษาและดูแลตามมาตรฐาน ก่อนเกิดเหตุไม่มีภาวะวิกฤต อย่างไรก็ตาม ในการนำตัวนางสาวเนติพรไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์นั้นไม่ได้ใช้ เครื่อง AED หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะไม่มีข้อบ่งชี้