ขออภัยค่ะ พิมพ์หัวข้อผิด จริงๆ หมายถึงกระบวนการเลือก สว
1.
กระบวนการเลือก สว ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ไม่มีการอภิปราย ระดมสมอง
ให้คนเจน XY มาช่วยคิด แล้วหาข้อสรุป จริงๆ เรามีเวลาคิดเรื่องนี้มากกว่า 1 ปี
แต่เรากลับได้ทราบเรื่องที่เป็นข้อสรุปมาเรียบร้อยแล้วว่าจะเลือกอย่างไร ก่อนการเลือก สว เพียง 2 เดือน
2.
ระบบที่ออกมาแบบมา ไม่ยึดโยงของประชาชน ประชาชนอายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่มีสิทธิเป็นผู้เลือก
ทั้งที่พวกเขาคือ คนครึ่งหนึ่งของประเทศ การเลือก สว ครั้งนี้ เป็นระบบที่ผู้สมัคร สมัครเป็นตัวแทนประชนชนตามกลุ่มอาชีพ
แล้วเลือกกันเองระหว่างผู้สมัครหลายขั้นตอน พอเลือก กันไปรอบลึกๆ แบบนางงาม ไม่มีกรรมการเลือก
แต่ให้นางงามเลือกกันเองว่าใครควรเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย เลือกข้ามอาชีพได้ด้วย เช่น
เป็นตัวแทนกลุ่มนางงามอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ยกมือเลือกให้นางงามจากกลุ่มอาชีพทหารก็ได้
3.
กระบวนการที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเช่นนี้ ถือว่า ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
เราได้บทเรียนจากการออกแบบ ให้ สว เป็นผู้เลือกนายก สว 1 คน มีน้ำหนักเสียงเท่ากว่าประชาชนกี่แสนเสียง
ต่อไป สว ไม่มีสิทธิเลือก นายก แต่ยังคงเป็นผู้ยกมือเห็นชอบ กม ... สมมุติ สส เสนอ กม
เปลี่ยนระบบเกณฑ์ทหาร แต่ สว ที่เข้าไป ไม่ยกมือให้ ระบบเผด็จการรัฐสภาก็ซ้ำรอยเก่า
4.
ง่ายต่อการซื้อเสียง จากเดิม ต้องซื้อประชาชนเป็นล้านคน
ตอนนี้ซื้อเฉพาะไม่กี่คนที่เข้าไปยกมือเลือก สว ซึ่งอาจทำให้ได้ สว
ภายใต้กลุ่มคนที่ต้องการกุมอำนาจและกำหนดทิศทาง กม
5.
ความเชยในวิธีการจัดการ กกต ยังไม่ใช้ดิจิทัลและเอไอในการจัดการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ
ที่นำระบบการคำนวณ และการประมวลผลที่เร็วกว่ามนุษย์ ผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์
การเลือกตั้งยังเป็นระบบกา-หย่อนบัตร ซึ่งโกงง่ายกว่า เช่น ขโมยหีบระหว่างการลำเลียงจากต่างประเทศ
เปลี่ยนบัตรในหีบได้ ถ้าเริ่มที่จุดยืนทำงานให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ วิธีการทำงานก็จะต่างออกไป
เน้นการสื่อสารต่อประชาชน ต่อสื่อมวลชน กางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
6.
ผลของความซับซ้อน ประชาชนอธิบายต่อกันไม่ได้ว่า วิธีการเป็นอย่างไร
อุปมาเหมือน วางเป้าหมาย ไปกรุงเทพ ไปอย่างไร ได้รับคำตอบว่า
นั่งมอไซต์ ต่อด้วยรถไฟ แล้วต่อด้วยแท็กซี่ ต่อเรือด่วนเจ้าพระยา แล้วโบกซาเล้ง
จึงจะถึงกรุงเทพฯ จริงๆ แค่นั่งเครื่องบินไปเที่ยวเดียวก็ถึง เวลาเราจ้างโปรแกรมเม่อร์
แล้วคิดโปรแกรมมา ให้ใช้ยาก แต่เราต้องจ่ายเวลา จ่ายงบประมาณมากขึ้น
ในราคาสูง ได้ผลงานก็ไม่ต่างจากวิธีง่ายๆ
การคิดซับซ้อนขนาดนี้ ไม่ใช่แค่สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณ
แต่ยังผลทำให้ประชาชนหันหลังให้กับการเลือก สว
เพราะฟังดูเป็นยากกว่าประดิษฐ์วัคซีนป้องกันโควิด
ยากพอๆ กับสูตร พายอาร์กำลังสอง ที่แค่ฟังก็ปวดหัว
ระดับ ดร อ่านสามรอบ ยังไม่เข้าใจนัก นับประสาอะไรกับ ประชาชนตาดำๆ
เหตุใดจึงออกแบบให้ยากจนเกิดเกราะปกปิด บัดบัง ซ่อนเร้น
ให้ซับซ้อนจนคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียนรู้และเข้าถึง
กลายเป็นเรื่อง privilege & exclusiveness เป็นความรู้เฉพาะทาง
เช่น ความรู้เรื่องขับเครื่องบิน ความรู้เรื่องผ่าตัด ที่คนธรรมดาๆ เรียนรู้ไม่ได้
ต้องไปเข้าคอสลงเรียนวิธีเลือก สว ทั้งที่ควรจะอธิบายได้ด้วย inforgraphic แผ่นเดียว
ประชาธิปไตยเป็นของคนไทยทั่วๆไปไม่ใช่หรือ?
เข้าใจว่า คนบ้า คนป่วย คนขาดวุฒิภาวะ เป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือจากสังคม
โดยพวกเขาไม่ต้องตัดสินใจทางสังคม
แต่สำหรับคนทั่วไป พวกเขามีสติพอที่จะกำหนดชะตาของประเทศ
และปฏิเสธไม่ได้ ว่า สว คือส่วนสำคัญ ที่ผลจากงานที่ทำมีผลต่อสังคมอย่างกว้างขวาง
7.
ข้อเสนอแนะ ให้แต่ละอาชีพ สมัครได้ กกต กลั่นกรอง เอาเฉพาะคนที่ผ่านคุณสมบัติ
สรุปว่ามีกี่คน แล้ว
ประชาชนใช้สิทธิเลือกตัวแทนกลุ่มอาชีพของตัวเอง
หากกลัวว่าผู้สมัครเยอะ ประชาชนตาลาย เลือกไม่ไหว ก็จัดการเลือกตั้งเป็นภาค/โซน เช่น
แบ่งเป็น
โซนละ 4 จังหวัด หรือ แบ่งเป็น 6 ภาค รวมภาคตะวันตก ตะวันออก
เพราะการเลือก 1 อาชีพต่อ 1 คน ต่อ 1 จังหวัด จะได้ สว มากกว่า 200 คน
เช่น ผู้เลือกตั้งเป็นข้าราชการอยู่ภาคใต้ ก็เลือก สว สาขาอาชีพของตนเองประจำภาคใต้
สัดส่วนตามจำนวนประชากรภาคใต้ เช่น คนใต้เลือกได้ 4 คน จากตัวแทนอาชีพข้าราชการ 20 คน
อีก 16 คนก็คือ ตัวแทนอาชีพข้าราชการจากภาคอื่นๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ชีวิตจะง่ายขึ้น
ประชาชนได้รับอำนาจในการเลือก สว เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ที่น่าห่วง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ขาดดิจิทัลมายด์เซ็ต
ไม่เปิดเกมส์พัฒนาการบริหารจัดการให้โปร่งใส ทรงประสิทธิภาพ
บุคลากรภาครัฐได้ขึ้นเงินเดือนทุกปี จริงๆ ควรขึ้นเงินเดือนก็ต่อเมื่อจัดการบริการประชาชนดีขึ้น
กกต 1 ทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะต้องตั้งธง สร้าง นวัตกรรม การจัดการเลือกตั้ง
จำได้ว่า เข้าคูหา กาเลือกตั้ง ทำมาตั้งแต่ประถมศึกษา หรือ เราจะทำแบบนี้ไปจนเกษียณ
ประเทศไทยมีทรัพยากรมากกว่าสิงคโปร์ มีคนเป็นมิตรมากกว่าสิงคโปร์ แต่สิ่งที่เรามีน้อยกว่าสิงคโปร์
คือ การทำงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ
วิธีเลือก สว ชมคลิป :
เลือก สว. กติกาใหม่ "สูตรพิสดาร" จับตา "วุฒิสภา" จำเป็น ? | ตอบโจทย์ | 6 พ.ค. 67 (youtube.com)
รู้สึกไหม วิธีเลือก สส ออกแบบให้ซับซ้อนเกินจำเป็น ?
1. กระบวนการเลือก สว ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ไม่มีการอภิปราย ระดมสมอง
ให้คนเจน XY มาช่วยคิด แล้วหาข้อสรุป จริงๆ เรามีเวลาคิดเรื่องนี้มากกว่า 1 ปี
แต่เรากลับได้ทราบเรื่องที่เป็นข้อสรุปมาเรียบร้อยแล้วว่าจะเลือกอย่างไร ก่อนการเลือก สว เพียง 2 เดือน
2. ระบบที่ออกมาแบบมา ไม่ยึดโยงของประชาชน ประชาชนอายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่มีสิทธิเป็นผู้เลือก
ทั้งที่พวกเขาคือ คนครึ่งหนึ่งของประเทศ การเลือก สว ครั้งนี้ เป็นระบบที่ผู้สมัคร สมัครเป็นตัวแทนประชนชนตามกลุ่มอาชีพ
แล้วเลือกกันเองระหว่างผู้สมัครหลายขั้นตอน พอเลือก กันไปรอบลึกๆ แบบนางงาม ไม่มีกรรมการเลือก
แต่ให้นางงามเลือกกันเองว่าใครควรเข้ารอบ 20 คนสุดท้าย เลือกข้ามอาชีพได้ด้วย เช่น
เป็นตัวแทนกลุ่มนางงามอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ยกมือเลือกให้นางงามจากกลุ่มอาชีพทหารก็ได้
3. กระบวนการที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนเช่นนี้ ถือว่า ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
เราได้บทเรียนจากการออกแบบ ให้ สว เป็นผู้เลือกนายก สว 1 คน มีน้ำหนักเสียงเท่ากว่าประชาชนกี่แสนเสียง
ต่อไป สว ไม่มีสิทธิเลือก นายก แต่ยังคงเป็นผู้ยกมือเห็นชอบ กม ... สมมุติ สส เสนอ กม
เปลี่ยนระบบเกณฑ์ทหาร แต่ สว ที่เข้าไป ไม่ยกมือให้ ระบบเผด็จการรัฐสภาก็ซ้ำรอยเก่า
4. ง่ายต่อการซื้อเสียง จากเดิม ต้องซื้อประชาชนเป็นล้านคน
ตอนนี้ซื้อเฉพาะไม่กี่คนที่เข้าไปยกมือเลือก สว ซึ่งอาจทำให้ได้ สว
ภายใต้กลุ่มคนที่ต้องการกุมอำนาจและกำหนดทิศทาง กม
5. ความเชยในวิธีการจัดการ กกต ยังไม่ใช้ดิจิทัลและเอไอในการจัดการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ
ที่นำระบบการคำนวณ และการประมวลผลที่เร็วกว่ามนุษย์ ผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์
การเลือกตั้งยังเป็นระบบกา-หย่อนบัตร ซึ่งโกงง่ายกว่า เช่น ขโมยหีบระหว่างการลำเลียงจากต่างประเทศ
เปลี่ยนบัตรในหีบได้ ถ้าเริ่มที่จุดยืนทำงานให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ วิธีการทำงานก็จะต่างออกไป
เน้นการสื่อสารต่อประชาชน ต่อสื่อมวลชน กางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน
6. ผลของความซับซ้อน ประชาชนอธิบายต่อกันไม่ได้ว่า วิธีการเป็นอย่างไร
อุปมาเหมือน วางเป้าหมาย ไปกรุงเทพ ไปอย่างไร ได้รับคำตอบว่า
นั่งมอไซต์ ต่อด้วยรถไฟ แล้วต่อด้วยแท็กซี่ ต่อเรือด่วนเจ้าพระยา แล้วโบกซาเล้ง
จึงจะถึงกรุงเทพฯ จริงๆ แค่นั่งเครื่องบินไปเที่ยวเดียวก็ถึง เวลาเราจ้างโปรแกรมเม่อร์
แล้วคิดโปรแกรมมา ให้ใช้ยาก แต่เราต้องจ่ายเวลา จ่ายงบประมาณมากขึ้น
ในราคาสูง ได้ผลงานก็ไม่ต่างจากวิธีง่ายๆ
การคิดซับซ้อนขนาดนี้ ไม่ใช่แค่สิ้นเปลืองเวลา งบประมาณ
แต่ยังผลทำให้ประชาชนหันหลังให้กับการเลือก สว
เพราะฟังดูเป็นยากกว่าประดิษฐ์วัคซีนป้องกันโควิด
ยากพอๆ กับสูตร พายอาร์กำลังสอง ที่แค่ฟังก็ปวดหัว
ระดับ ดร อ่านสามรอบ ยังไม่เข้าใจนัก นับประสาอะไรกับ ประชาชนตาดำๆ
เหตุใดจึงออกแบบให้ยากจนเกิดเกราะปกปิด บัดบัง ซ่อนเร้น
ให้ซับซ้อนจนคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียนรู้และเข้าถึง
กลายเป็นเรื่อง privilege & exclusiveness เป็นความรู้เฉพาะทาง
เช่น ความรู้เรื่องขับเครื่องบิน ความรู้เรื่องผ่าตัด ที่คนธรรมดาๆ เรียนรู้ไม่ได้
ต้องไปเข้าคอสลงเรียนวิธีเลือก สว ทั้งที่ควรจะอธิบายได้ด้วย inforgraphic แผ่นเดียว
ประชาธิปไตยเป็นของคนไทยทั่วๆไปไม่ใช่หรือ?
เข้าใจว่า คนบ้า คนป่วย คนขาดวุฒิภาวะ เป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือจากสังคม
โดยพวกเขาไม่ต้องตัดสินใจทางสังคม
แต่สำหรับคนทั่วไป พวกเขามีสติพอที่จะกำหนดชะตาของประเทศ
และปฏิเสธไม่ได้ ว่า สว คือส่วนสำคัญ ที่ผลจากงานที่ทำมีผลต่อสังคมอย่างกว้างขวาง
7. ข้อเสนอแนะ ให้แต่ละอาชีพ สมัครได้ กกต กลั่นกรอง เอาเฉพาะคนที่ผ่านคุณสมบัติ
สรุปว่ามีกี่คน แล้วประชาชนใช้สิทธิเลือกตัวแทนกลุ่มอาชีพของตัวเอง
หากกลัวว่าผู้สมัครเยอะ ประชาชนตาลาย เลือกไม่ไหว ก็จัดการเลือกตั้งเป็นภาค/โซน เช่น
แบ่งเป็น โซนละ 4 จังหวัด หรือ แบ่งเป็น 6 ภาค รวมภาคตะวันตก ตะวันออก
เพราะการเลือก 1 อาชีพต่อ 1 คน ต่อ 1 จังหวัด จะได้ สว มากกว่า 200 คน
เช่น ผู้เลือกตั้งเป็นข้าราชการอยู่ภาคใต้ ก็เลือก สว สาขาอาชีพของตนเองประจำภาคใต้
สัดส่วนตามจำนวนประชากรภาคใต้ เช่น คนใต้เลือกได้ 4 คน จากตัวแทนอาชีพข้าราชการ 20 คน
อีก 16 คนก็คือ ตัวแทนอาชีพข้าราชการจากภาคอื่นๆ ถ้าเป็นแบบนี้ ชีวิตจะง่ายขึ้น
ประชาชนได้รับอำนาจในการเลือก สว เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ที่น่าห่วง เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ขาดดิจิทัลมายด์เซ็ต
ไม่เปิดเกมส์พัฒนาการบริหารจัดการให้โปร่งใส ทรงประสิทธิภาพ
บุคลากรภาครัฐได้ขึ้นเงินเดือนทุกปี จริงๆ ควรขึ้นเงินเดือนก็ต่อเมื่อจัดการบริการประชาชนดีขึ้น
กกต 1 ทศวรรษที่ผ่านมา น่าจะต้องตั้งธง สร้าง นวัตกรรม การจัดการเลือกตั้ง
จำได้ว่า เข้าคูหา กาเลือกตั้ง ทำมาตั้งแต่ประถมศึกษา หรือ เราจะทำแบบนี้ไปจนเกษียณ
ประเทศไทยมีทรัพยากรมากกว่าสิงคโปร์ มีคนเป็นมิตรมากกว่าสิงคโปร์ แต่สิ่งที่เรามีน้อยกว่าสิงคโปร์
คือ การทำงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ
วิธีเลือก สว ชมคลิป :
เลือก สว. กติกาใหม่ "สูตรพิสดาร" จับตา "วุฒิสภา" จำเป็น ? | ตอบโจทย์ | 6 พ.ค. 67 (youtube.com)