ภาพจาก : Rebecca Picciotto (2023). India’s toxic smog season shuts down schools, revives ‘odd-even’ vehicle limits : CNBC
การเพิ่มขึ้นของหมอกควันในเมืองเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กำลังให้ความสนใจและวิตกกังวลจะว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวก็ถูก เพราะอากาศที่มีมลพิษนั้นถูกเราหายใจเข้าไป จะว่าเป็นเรื่องไกลตัวก็ใช่ เนื่องจากกระบวนการเกิดหมอกควันพิษและการควบคุม ผู้คนส่วนใหญ่จะไม่รู้กัน แล้วหมอกควันพิษ PM 2.5 ที่เราเผชิญอยู่นี้คืออะไร เรามาทำความรู้จักกันครับ
PM 2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (0.0025 มิลลิเมตร) ประกอบด้วยสสารของแข็ง (ฟูม) และหยดของเหลวที่ลอยอยู่ในอากาศ (ละออง) พิษเหล่านี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายอย่าง รวมถึง ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) แอมโมเนีย (NH3) สารอินทรีย์ โลหะระเหย (ปรอท) ดินหรือฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ (ละอองเกสรหรือเชื้อรา) มลพิษนี้เมื่อเกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญของการมองเห็นที่ลดลงในเมืองใหญ่ ซึ่งนั่นคือผลกระทบอันดับแรกที่เราสามารถรู้สึกได้ทันที ส่วนผลกระทบอันดับสองที่ต้องใช้เวลาถึงจะรู้ได้นั่นก็คือผลกระทบของมลพิษ PM 2.5 ต่อสุขภาพของมนุษย์เช่นระบบทางเดินหายใจที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
แล้ว PM 2.5 เกิดจากแหล่งใด 1) เกิดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งควันรถยนต์ที่อยู่ตามท้องถนน พวกนี้ส่วนใหญ่จะปล่อย SOx, NOx, NH3 และสารประกอบอินทรีย์ระเหย (VOCs) ออกมา 2)เกิดจากอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิตปูนซีเมนต์ การเผาไหม้โดยใช้ถ่านหิน 3) การเผาไร่ นา ป่าไม้ 4) อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร การเกิดขึ้นทั้งของ PM 10 และ PM 2.5 ในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมานานแล้วเพียงแต่เกิดขึ้นเป็นระยะสั้นๆ เนื่องจากมีการกระจายตัวของลมบนพัดพามลพิษเหล่านี้ให้เจือจางลง อีกทั้งเมื่อถึงฤดูฝน ฝุ่นควันพิษเหล่านี้ก็จะลดลง แต่เมื่อไม่ใช่ฤดูฝน อีกทั้งลมบนนิ่งสงบ อาการที่เมืองถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันพิษจึงปรากฏชัดเจนขึ้นมา
การแก้ปัญหาจึงควรจัดการที่ต้นกำเนิดของมลพิษพิษเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม PM 2.5 เกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลายอย่าง หน่วยงานราชการและรัฐบาล โดยเฉพาะนักการเมืองผู้กำหนดนโยบาย จะต้องไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมการปล่อยควันและฝุ่นละอองแต่จะต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อควบคุมองค์ประกอบของมลพิษเหล่านั้นอย่างมีชั้นเชิง นั่นก็คือการควบคุมแบบบูรณาการ เช่นการควบคุมหลายจุด การควบคุมในระดับภูมิภาค การหามิตรและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ความจริงใจของภาครัฐ สนับสนุนการวิจัยหาพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษที่น้อยที่สุด การควบคุมและวิจัยนวัตกรรมการปล่อยควันเสียของยานพาหนะ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้งานได้เพื่อลดมลพิษ การสร้างจิตสำนึกในการรักษาสภาพอากาศด้วยการไม่เผา ความสอดคล้องของนโยบาย การปฏิบัติตามและการบังคับใช้ กฎระเบียบของรัฐบาลที่เพียงพอ การรับรู้ของสาธารณะ
การทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคและการปฏิบัติตามกฎระเบียบอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการควบคุมมลพิษและหมอกควัน PM 2.5 และมลพิษทางอากาศอื่นๆ
กลยุทธ์การควบคุมมลพิษ PM 2.5
PM 2.5 เป็นมลพิษทางอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (0.0025 มิลลิเมตร) ประกอบด้วยสสารของแข็ง (ฟูม) และหยดของเหลวที่ลอยอยู่ในอากาศ (ละออง) พิษเหล่านี้ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายอย่าง รวมถึง ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) แอมโมเนีย (NH3) สารอินทรีย์ โลหะระเหย (ปรอท) ดินหรือฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ (ละอองเกสรหรือเชื้อรา) มลพิษนี้เมื่อเกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญของการมองเห็นที่ลดลงในเมืองใหญ่ ซึ่งนั่นคือผลกระทบอันดับแรกที่เราสามารถรู้สึกได้ทันที ส่วนผลกระทบอันดับสองที่ต้องใช้เวลาถึงจะรู้ได้นั่นก็คือผลกระทบของมลพิษ PM 2.5 ต่อสุขภาพของมนุษย์เช่นระบบทางเดินหายใจที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
แล้ว PM 2.5 เกิดจากแหล่งใด 1) เกิดจากอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งควันรถยนต์ที่อยู่ตามท้องถนน พวกนี้ส่วนใหญ่จะปล่อย SOx, NOx, NH3 และสารประกอบอินทรีย์ระเหย (VOCs) ออกมา 2)เกิดจากอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิตปูนซีเมนต์ การเผาไหม้โดยใช้ถ่านหิน 3) การเผาไร่ นา ป่าไม้ 4) อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร การเกิดขึ้นทั้งของ PM 10 และ PM 2.5 ในประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่และเขตอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมานานแล้วเพียงแต่เกิดขึ้นเป็นระยะสั้นๆ เนื่องจากมีการกระจายตัวของลมบนพัดพามลพิษเหล่านี้ให้เจือจางลง อีกทั้งเมื่อถึงฤดูฝน ฝุ่นควันพิษเหล่านี้ก็จะลดลง แต่เมื่อไม่ใช่ฤดูฝน อีกทั้งลมบนนิ่งสงบ อาการที่เมืองถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันพิษจึงปรากฏชัดเจนขึ้นมา
การแก้ปัญหาจึงควรจัดการที่ต้นกำเนิดของมลพิษพิษเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม PM 2.5 เกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลายอย่าง หน่วยงานราชการและรัฐบาล โดยเฉพาะนักการเมืองผู้กำหนดนโยบาย จะต้องไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมการปล่อยควันและฝุ่นละอองแต่จะต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อควบคุมองค์ประกอบของมลพิษเหล่านั้นอย่างมีชั้นเชิง นั่นก็คือการควบคุมแบบบูรณาการ เช่นการควบคุมหลายจุด การควบคุมในระดับภูมิภาค การหามิตรและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ความจริงใจของภาครัฐ สนับสนุนการวิจัยหาพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษที่น้อยที่สุด การควบคุมและวิจัยนวัตกรรมการปล่อยควันเสียของยานพาหนะ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศและพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้งานได้เพื่อลดมลพิษ การสร้างจิตสำนึกในการรักษาสภาพอากาศด้วยการไม่เผา ความสอดคล้องของนโยบาย การปฏิบัติตามและการบังคับใช้ กฎระเบียบของรัฐบาลที่เพียงพอ การรับรู้ของสาธารณะ
การทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคและการปฏิบัติตามกฎระเบียบอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการควบคุมมลพิษและหมอกควัน PM 2.5 และมลพิษทางอากาศอื่นๆ