สมัครชิงส.ว. วันแรกคึกคัก ผู้ประสงค์ยื่นขอใบรับสมัคร ทั่วประเทศเกือบ 2 พันคน
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4569804
ยอดวันแรก ผู้ประสงค์ลงชิงส.ว. ยื่นขอใบรับสมัครทั่วประเทศ 1,933 คน
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไปขอรับใบสมัคร (สว.2) พร้อมแบบข้อมูลแนะนำตัว (สว.3) และหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4) ด้วยตนเอง ได้ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอทุกแห่ง และสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
มีรายงานว่ายอดรวมวันแรกมีผู้มาขอใบสมัครทั่วประเทศ รวม 1,933 คน ทั้งนี้ เมื่อ กกต.ประกาศประกาศวันรับสมัครแล้ว ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. ต้องยื่นเอกสารใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเอง ณ สถานที่สมัครที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอที่ประสงค์จะสมัครกำหนดไว้
ติวเข้ม! ภาคปชช.ซ้อมเฟ้น ’ส.ว.ชุดใหม่’ เทสต์เลือกไขว้สาย หวังกันล็อกโหวต
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4569731
ติวเข้ม! ภาคประชาชน ซ้อมเฟ้น ’ส.ว.ชุดใหม่’ จำลองโหวตกลุ่ม-ไขว้สาย หวังกันระบบล็อกโหวต
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ (BACC) เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดกิจกรรม “แสดงตนทุกคนเป็น ส.ว.” โดย จำลองการเลือก ส.ว. 2567 เพื่อให้ประชาชน หรือ ผู้ประสงค์สมัครเพื่อคัดเลือกเป็น ส.ว.ชุดใหม่ เกิดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการเลือก ส.ว.ซึ่งมาจากการเลือกกันเองภายใน 20 กลุ่มอาชีพ
เวลา 15.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ประชาชน ตลอดจนว่าที่ผู้สมัครส.ว.ชุดใหม่ และนักเคลื่อนไหวทางสังคม เดิมทางหลั่งไหลมาร่วมกิจกรรมมากมาย อาทิ นาง
จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ร่วมก่อตั้งสื่อประชาไท, รศ.ดร.
นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก, นาย
ศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ศิลปินชื่อดัง, นาง
นภัสสร บุญรีย์ หรือ ป้านก ผู้ร่วมชุมนุมและผู้ต้องหาคดีทางการเมือง, รศ.ดร.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พร้อมด้วย นาย
ธีระวัฒน์ มุลวิไล ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ผู้ก่อตั้งคณะละคร B-Floor, นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เนตเพื่อกหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw), นาง
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว. และผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ดวงประทีป, นาย
เอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมทางการเมือง, นาย
อรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิคนพิการ, น.ส.
ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และนาย
วรัญชัย โชคชนะ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนาย
ประกิต กอบกิจวัฒนา ศิลปินและครีเอทีฟชื่อดัง เป็นต้น
ต่อมา 15.50 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเริ่มเดินทางทยอยเข้าห้องประชุมและแยกไปนั่งตามกลุ่มต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ กกต.จำลอง คอยแนะนำวิธีการและแจกเอกสาร ชี้แจงกติกาของแต่ละกลุ่ม รวมถึงการเปิดคลิปวีรกรรมสมาชิก ส.ว.ชุดเก่า และมีการอธิบายกติกาการเลือก ส.ว.จากผู้จัดกิจกรรม
จากนั้นเวลา 16.15 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 8 กลุ่ม เริ่มพูดแนะนำตัวเองต่อผู้สมัครคนอื่นๆ ภายในกลุ่มเพื่อทำความรู้จักกันก่อนลงคะแนนในการจำลองการเลือกกันเองภายในกลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่ได้อธิบายกติกาการเลือกกันเองภายในกลุ่ม ซึ่งจำลองมาจากกฎการเลือกจริงในระดับอำเภอ พร้อมอธิบายสีของบัตรเลือกแต่ละประเภท ‘
บัตรสีชมพู’ สำหรับใช้เลือกกันเอง และ ‘
บัตรสีเขียว’ สำหรับใช้เลือกไขว้ ก่อนที่ยกตัวอย่างบัตรดีบัตรเสียให้กับผู้ร่วมกิจกรรมได้รับชมเป็นตัวอย่าง โดยเน้นย้ำในส่วนของการเขียนตัวเลข ผู้สมัครที่เลือกลงคะแนนเป็นเลขอารบิก และห้ามแก้ไข ขีดซ้ำ จนทำให้เกิดบัตรเสีย
จากนั้นเวลา 16.40 น.ทางผู้จัดได้ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้จำลอง ‘เลือกกันเองภายในกลุ่ม’ ตามกฎกติกาที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ และให้ทาง กกต.จำลองเก็บบัตรคะแนนเข้าคูหา หลังจากเสร็จแล้วทางเจ้าหน้าที่ กกต.จำลอง จะเริ่มนับคะแนนเพื่อหาผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 คนภายในกลุ่มไปจับฉลากแบ่งสายเลือกไขว้ หากมีผู้ที่ได้รับคะแนนเท่ากัน จะมีการจับฉลากหาผู้เข้ารอบก่อนจะนำไปสู่การจำลองการเลือกไขว้
เวลา 17.00 น. ตัวแทนผู้ชนะของแต่ละกลุ่มเริ่มจับฉลากเพื่อเข้าสาย ไปเลือกไขว้ โดยในวันนี้มีการแบ่งกลุ่มในการเลือกไขว้ทั้งหมด 2 สาย แบ่งเป็นสาย ดังนี้
สาย ก. ได้แก่ กลุ่ม 1.ข้าราชการ กฏหมาย การศึกษา กลุ่ม 3.SMES ผู้ประกอบการ กลุ่ม 4. ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ กลุ่ม 5.สตรี ผู้สูงอายุ
สายข. ได้แก่ กลุ่ม 2.สาธารณสุข ทำนา ทำสวน ลูกจ้าง กลุ่ม 6. ศิลปะ อื่นๆ กลุ่ม 7. ประชาสังคม สื่อสารมวลชน กลุ่ม 8.อิสระ ซึ่งหลักการคัดเลือกบัตรดีบัตรเสียจะเหมือนกับการเลือกกันเองภายในกลุ่ม
โดยทาง กกต.จำลอง จะมีการแจกรายชื่อของผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากกลุ่มอื่นให้ทุกคนในสายเดียวกัน ซึ่งจะมีเพียงชื่อ เบอร์ และกลุ่ม ของผู้สมัครของกลุ่มอื่นเพียงเท่านั้น หลังจากนั้นให้ผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละสายทำการลงคะแนนโดยเลือกเบอร์และกลุ่มของผู้ร่วมกิจกรรมคนอื่นเพื่อหาผู้ชนะไปสู่ระดับจังหวัด
ทั้งนี้ ผู้จัดงานกล่าวถึงวัตถุประสงค์ครั้งนี้ว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะจำลองการเลือกในวันจริง ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การรับสมัคร ส.ว.ช่วยเข้าร่วมสมัคร เข้าไปโหวตผู้สมัครท่านอื่นเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความสามารถและเป็นการกันการล็อกผล จากผู้ที่ต้องการเลือกพวกเดียวกันเข้าไปทำงานในรัฐสภา
สภานายจ้างฯ แถลงการณ์ กังวลเรื่อง 'ปรับค่าแรงขั้นต่ำ'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8226048
สภานายจ้างฯ แถลงการณ์ กังวลเรื่อง ‘ปรับค่าแรงขั้นต่ำ’ ชี้ในอดีต มีความเป็นเหตุเป็นผลจากการพิจารณาร่วมกัน มีความเป็นอิสระ ปราศจากพรรคการเมืองแทรกแซง
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ระบุว่า มีความกังวลและเป็นห่วงว่าการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยจากอดีตที่ผ่านมา มีความเป็นเหตุเป็นผลจากการพิจารณาร่วมกันของไตรภาคี คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
ซึ่งในการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากอดีตที่ผ่านมาได้คำนึงถึงค่าครองชีพ แรงงานที่มีฝีมือกับแรงงานที่ไม่มีฝีมือ ประกอบภาวะเศรษฐกิจและภาระค่าจ้างของนายจ้างเป็นสำคัญ
คณะกรรมการค่าจ้างที่ประกอบด้วย 3 ฝ่ายต้องมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากนโยบายของพรรคการเมือง ที่ต้องการเพียงคะแนนนิยมจากการเลือกตั้ง และจะทำให้ดุลยภาพของการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำเสียหายซึ่งกระทบต่อบรรยากาศที่จะส่งเสริมการของการลงทุนของประเทศในระยะยาว
ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำควรคำนึงถึงหลักการพื้นฐานข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาวต่อสภาพการจ้างงานและภาระค่าจ้างของนายจ้างโดยเฉพาะ SME และบรรยากาศการลงทุนในอนาคต
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับสภาองค์การนายจ้างและสมาคมนายจ้างในระบบไตรภาคี เตรียมจัดเสวนาหัวข้อ
“ค่าจ้างขั้นต่ำ การเมืองหรือการพัฒนาประเทศ” เพื่อชี้ประเด็นให้เห็นถึงหลักการสากลเพื่อพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ พร้อมวิเคราะห์ให้เห็นพัฒนาการการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศในอดีตที่ผ่านมา ผลกระทบการเมืองกับการพัฒนาค่าจ้างขั้นต่ำ สร้างปัญหาหรือแก้ปัญหาของประเทศ ในวันที่ 24 พ.ค. 2567
ไทยเผชิญวิกฤต บ้านว่าง พุ่ง 1.3 ล้านหลัง มูลค่า 2.6 ล้านล้าน แนะเก็บภาษี-ประมูลขายใหม่
https://www.matichon.co.th/economy/news_4568955
ไทยเผชิญวิกฤต บ้านว่าง-ร้าง พุ่ง 1.3 ล้านหลัง มูลค่า 2.6 ล้านล้าน แนะเก็บภาษี เปิดประมูลขายใหม่
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นาย
โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) เปิดเผยว่า ด้วยประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ “
ผู้สูงวัย” แล้ว ขณะนี้จำนวนบ้านเกิดใหม่เพิ่มขึ้นตลอด แต่จำนวนประชากรกลับเพิ่มขึ้นน้อยมากและเริ่มจะลดลงทำให้เกิดปัญหา “
บ้านว่าง” ถึงขณะนี้ประมาณ 1.3 ล้านหน่วย รวมมูลค่า 2.6 ล้านล้านบาท
“
ได้นำข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง มาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาบ้านว่าง พบว่าประเทศไทยมีบ้านว่างอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ บ้านว่างหมายถึงบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัย หรือเคยมีผู้เข้าอยู่อาศัยแล้ว แต่ย้ายออก บ้านว่างมีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว และห้องชุด” นาย
โสภณกล่าว
นาย
โสภณกล่าวว่า โดยบ้านว่างเหล่านี้บางส่วนมีผู้ใช้สอยเช่นกัน แต่น้อยมาก เช่น ใช้ไฟฟ้าเพียงไม่ถึง 15 หน่วยต่อเดือน อาจจะเข้ามาทำความสะอาดเป็นครั้งคราว ยิ่งกว่านั้นยังมีบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่แม้แต่มิเตอร์ไฟฟ้าก็ถูกถอดทิ้งไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม “บ้านว่าง” คงไม่ได้หมายเฉพาะถึง “บ้านร้าง” หรือบ้านที่ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยมานาน แบบ “บ้านผีสิง” หรือซากของอาคาร เพราะส่วนใหญ่เพียงแต่ปิดทิ้งไว้เท่านั้น
“
จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง พบว่าในเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ มีบ้านว่างอยู่ประมาณ 500,000 หน่วย แต่หากนับรวมทั้งเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วย จะมีบ้านว่างรวมกันถึง 617,923 หน่วย ถือว่ามีจำนวนมากทีเดียว ทั้งนี้ บ้านทุกประเภทในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีอยู่ 4,654,370 หน่วย จึงเท่ากับว่าบ้านว่างมีสัดส่วนถึง 13.3% ของบ้านทั้งหมด หรือบ้านทุกๆ 8 หน่วยจะมีบ้านว่างอยู่ 1 หน่วย นับว่าสูงมาก” นาย
โสภณกล่าว
นาย
โสภณกล่าวว่า ยิ่งหากพิจารณาจากขอบเขตทั่วประเทศ ประมาณการว่าจะมีบ้านว่างรวมกันถึง 1,309,551 หน่วย จากที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 27,708,635 หน่วย หรือประมาณ 4.7% นั่นหมายความว่าในทั่วประเทศมีบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 หลังในทุกๆ 21 หลัง อย่างไรก็ตามจำนวนบ้านว่าง 1,309,551 หน่วยในไทยนี้ยังนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น โดยข่าวจาก Nikkei รายงานว่ามีบ้านว่างอยู่ 8.5 ล้านหน่วย จากทั้งหมด 80 ล้านหน่วย เป็นสัดส่วนบ้านว่างถึง 10% หรือมากกว่าไทยถึง 6 เท่า ญี่ปุ่นมีประชากร 125 ล้านคน แสดงว่าบ้านแต่ละหลังมีคนอยู่เพียง 1.56 คนเท่านั้น
นาย
โสภณกล่าวว่า อย่างไรก็ตามในกรณีกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ บางส่วนในเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง พบว่าในเดือนมกราคม 2564 มีบ้านว่าง 525,889 หน่วย แต่ในเดือนมกราคม 2565 บ้านว่างกลับลดลงเหลือ 505,062 หน่วย แสดงว่าสถานการณ์ไม่ได้ย่ำแย่ลง แต่กลับดีขึ้นที่มีผู้กลับมาใช้สอยบ้านว่างมากขึ้น
“
เมื่อคิดจำนวนบ้านว่าง 1.3 ล้านหน่วย หากราคาเฉลี่ยหน่วยละ 2 ล้านบาท เท่ากับมีมูลค่ารวมกัน 2.6 ล้านล้านบาท หรือเกือบเท่างบประมาณแผ่นดินไทย หากปีหนึ่งเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ทั่วประเทศ 200,000 หน่วย เท่ากับว่าแทบไม่ต้องเปิดโครงการใหม่ 6 ปี ยังมีอุปทานที่อยู่อาศัยเพียงพอแก่ผู้สนใจซื้อ การปล่อยบ้านว่างทิ้งไว้เฉยๆ โดยที่กระบวนการขายทอดตลาดค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพ เท่ากับปล่อยให้ที่อยู่อาศัยเหล่านี้เป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ” นาย
โสภณกล่าว
JJNY : 5in1 ชิงส.ว.วันแรก│ภาคปชช.ซ้อมเฟ้น ’ส.ว.ชุดใหม่’│สภานายจ้างฯ กังวล│ไทย บ้านว่างพุ่ง│จีนระบุขับไล่เรือพิฆาตสหรัฐ
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4569804
ยอดวันแรก ผู้ประสงค์ลงชิงส.ว. ยื่นขอใบรับสมัครทั่วประเทศ 1,933 คน
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แจ้งให้ผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ไปขอรับใบสมัคร (สว.2) พร้อมแบบข้อมูลแนะนำตัว (สว.3) และหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4) ด้วยตนเอง ได้ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอทุกแห่ง และสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
มีรายงานว่ายอดรวมวันแรกมีผู้มาขอใบสมัครทั่วประเทศ รวม 1,933 คน ทั้งนี้ เมื่อ กกต.ประกาศประกาศวันรับสมัครแล้ว ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. ต้องยื่นเอกสารใบสมัครและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเอง ณ สถานที่สมัครที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอที่ประสงค์จะสมัครกำหนดไว้
ติวเข้ม! ภาคปชช.ซ้อมเฟ้น ’ส.ว.ชุดใหม่’ เทสต์เลือกไขว้สาย หวังกันล็อกโหวต
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4569731
ติวเข้ม! ภาคประชาชน ซ้อมเฟ้น ’ส.ว.ชุดใหม่’ จำลองโหวตกลุ่ม-ไขว้สาย หวังกันระบบล็อกโหวต
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ (BACC) เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดกิจกรรม “แสดงตนทุกคนเป็น ส.ว.” โดย จำลองการเลือก ส.ว. 2567 เพื่อให้ประชาชน หรือ ผู้ประสงค์สมัครเพื่อคัดเลือกเป็น ส.ว.ชุดใหม่ เกิดความรู้และความเข้าใจในกระบวนการเลือก ส.ว.ซึ่งมาจากการเลือกกันเองภายใน 20 กลุ่มอาชีพ
เวลา 15.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า ประชาชน ตลอดจนว่าที่ผู้สมัครส.ว.ชุดใหม่ และนักเคลื่อนไหวทางสังคม เดิมทางหลั่งไหลมาร่วมกิจกรรมมากมาย อาทิ นางจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ร่วมก่อตั้งสื่อประชาไท, รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก, นายศิรศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ ศิลปินชื่อดัง, นางนภัสสร บุญรีย์ หรือ ป้านก ผู้ร่วมชุมนุมและผู้ต้องหาคดีทางการเมือง, รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พร้อมด้วย นายธีระวัฒน์ มุลวิไล ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ผู้ก่อตั้งคณะละคร B-Floor, นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการโครงการอินเตอร์เนตเพื่อกหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw), นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีต ส.ว. และผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ดวงประทีป, นายเอกชัย หงส์กังวาน นักกิจกรรมทางการเมือง, นายอรรถพล ศรีชิษณุวรานนท์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิคนพิการ, น.ส.ธนพร วิจันทร์ แกนนำเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และนายวรัญชัย โชคชนะ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายประกิต กอบกิจวัฒนา ศิลปินและครีเอทีฟชื่อดัง เป็นต้น
ต่อมา 15.50 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเริ่มเดินทางทยอยเข้าห้องประชุมและแยกไปนั่งตามกลุ่มต่างๆ ที่ลงทะเบียนไว้ โดยมีเจ้าหน้าที่ กกต.จำลอง คอยแนะนำวิธีการและแจกเอกสาร ชี้แจงกติกาของแต่ละกลุ่ม รวมถึงการเปิดคลิปวีรกรรมสมาชิก ส.ว.ชุดเก่า และมีการอธิบายกติกาการเลือก ส.ว.จากผู้จัดกิจกรรม
จากนั้นเวลา 16.15 น. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 8 กลุ่ม เริ่มพูดแนะนำตัวเองต่อผู้สมัครคนอื่นๆ ภายในกลุ่มเพื่อทำความรู้จักกันก่อนลงคะแนนในการจำลองการเลือกกันเองภายในกลุ่ม โดยเจ้าหน้าที่ได้อธิบายกติกาการเลือกกันเองภายในกลุ่ม ซึ่งจำลองมาจากกฎการเลือกจริงในระดับอำเภอ พร้อมอธิบายสีของบัตรเลือกแต่ละประเภท ‘บัตรสีชมพู’ สำหรับใช้เลือกกันเอง และ ‘บัตรสีเขียว’ สำหรับใช้เลือกไขว้ ก่อนที่ยกตัวอย่างบัตรดีบัตรเสียให้กับผู้ร่วมกิจกรรมได้รับชมเป็นตัวอย่าง โดยเน้นย้ำในส่วนของการเขียนตัวเลข ผู้สมัครที่เลือกลงคะแนนเป็นเลขอารบิก และห้ามแก้ไข ขีดซ้ำ จนทำให้เกิดบัตรเสีย
จากนั้นเวลา 16.40 น.ทางผู้จัดได้ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้จำลอง ‘เลือกกันเองภายในกลุ่ม’ ตามกฎกติกาที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ และให้ทาง กกต.จำลองเก็บบัตรคะแนนเข้าคูหา หลังจากเสร็จแล้วทางเจ้าหน้าที่ กกต.จำลอง จะเริ่มนับคะแนนเพื่อหาผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 คนภายในกลุ่มไปจับฉลากแบ่งสายเลือกไขว้ หากมีผู้ที่ได้รับคะแนนเท่ากัน จะมีการจับฉลากหาผู้เข้ารอบก่อนจะนำไปสู่การจำลองการเลือกไขว้
เวลา 17.00 น. ตัวแทนผู้ชนะของแต่ละกลุ่มเริ่มจับฉลากเพื่อเข้าสาย ไปเลือกไขว้ โดยในวันนี้มีการแบ่งกลุ่มในการเลือกไขว้ทั้งหมด 2 สาย แบ่งเป็นสาย ดังนี้
สาย ก. ได้แก่ กลุ่ม 1.ข้าราชการ กฏหมาย การศึกษา กลุ่ม 3.SMES ผู้ประกอบการ กลุ่ม 4. ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ กลุ่ม 5.สตรี ผู้สูงอายุ
สายข. ได้แก่ กลุ่ม 2.สาธารณสุข ทำนา ทำสวน ลูกจ้าง กลุ่ม 6. ศิลปะ อื่นๆ กลุ่ม 7. ประชาสังคม สื่อสารมวลชน กลุ่ม 8.อิสระ ซึ่งหลักการคัดเลือกบัตรดีบัตรเสียจะเหมือนกับการเลือกกันเองภายในกลุ่ม
โดยทาง กกต.จำลอง จะมีการแจกรายชื่อของผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจากกลุ่มอื่นให้ทุกคนในสายเดียวกัน ซึ่งจะมีเพียงชื่อ เบอร์ และกลุ่ม ของผู้สมัครของกลุ่มอื่นเพียงเท่านั้น หลังจากนั้นให้ผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละสายทำการลงคะแนนโดยเลือกเบอร์และกลุ่มของผู้ร่วมกิจกรรมคนอื่นเพื่อหาผู้ชนะไปสู่ระดับจังหวัด
ทั้งนี้ ผู้จัดงานกล่าวถึงวัตถุประสงค์ครั้งนี้ว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้นอกจากจะจำลองการเลือกในวันจริง ยังเป็นการเชิญชวนให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การรับสมัคร ส.ว.ช่วยเข้าร่วมสมัคร เข้าไปโหวตผู้สมัครท่านอื่นเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความสามารถและเป็นการกันการล็อกผล จากผู้ที่ต้องการเลือกพวกเดียวกันเข้าไปทำงานในรัฐสภา
สภานายจ้างฯ แถลงการณ์ กังวลเรื่อง 'ปรับค่าแรงขั้นต่ำ'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8226048
สภานายจ้างฯ แถลงการณ์ กังวลเรื่อง ‘ปรับค่าแรงขั้นต่ำ’ ชี้ในอดีต มีความเป็นเหตุเป็นผลจากการพิจารณาร่วมกัน มีความเป็นอิสระ ปราศจากพรรคการเมืองแทรกแซง
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ระบุว่า มีความกังวลและเป็นห่วงว่าการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยจากอดีตที่ผ่านมา มีความเป็นเหตุเป็นผลจากการพิจารณาร่วมกันของไตรภาคี คือ ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง
ซึ่งในการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำจากอดีตที่ผ่านมาได้คำนึงถึงค่าครองชีพ แรงงานที่มีฝีมือกับแรงงานที่ไม่มีฝีมือ ประกอบภาวะเศรษฐกิจและภาระค่าจ้างของนายจ้างเป็นสำคัญ
คณะกรรมการค่าจ้างที่ประกอบด้วย 3 ฝ่ายต้องมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากนโยบายของพรรคการเมือง ที่ต้องการเพียงคะแนนนิยมจากการเลือกตั้ง และจะทำให้ดุลยภาพของการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำเสียหายซึ่งกระทบต่อบรรยากาศที่จะส่งเสริมการของการลงทุนของประเทศในระยะยาว
ทั้งนี้ กระบวนการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำควรคำนึงถึงหลักการพื้นฐานข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระยะยาวต่อสภาพการจ้างงานและภาระค่าจ้างของนายจ้างโดยเฉพาะ SME และบรรยากาศการลงทุนในอนาคต
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับสภาองค์การนายจ้างและสมาคมนายจ้างในระบบไตรภาคี เตรียมจัดเสวนาหัวข้อ “ค่าจ้างขั้นต่ำ การเมืองหรือการพัฒนาประเทศ” เพื่อชี้ประเด็นให้เห็นถึงหลักการสากลเพื่อพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ พร้อมวิเคราะห์ให้เห็นพัฒนาการการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศในอดีตที่ผ่านมา ผลกระทบการเมืองกับการพัฒนาค่าจ้างขั้นต่ำ สร้างปัญหาหรือแก้ปัญหาของประเทศ ในวันที่ 24 พ.ค. 2567
ไทยเผชิญวิกฤต บ้านว่าง พุ่ง 1.3 ล้านหลัง มูลค่า 2.6 ล้านล้าน แนะเก็บภาษี-ประมูลขายใหม่
https://www.matichon.co.th/economy/news_4568955
ไทยเผชิญวิกฤต บ้านว่าง-ร้าง พุ่ง 1.3 ล้านหลัง มูลค่า 2.6 ล้านล้าน แนะเก็บภาษี เปิดประมูลขายใหม่
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) เปิดเผยว่า ด้วยประเทศไทยเข้าสู่ภาวะ “ผู้สูงวัย” แล้ว ขณะนี้จำนวนบ้านเกิดใหม่เพิ่มขึ้นตลอด แต่จำนวนประชากรกลับเพิ่มขึ้นน้อยมากและเริ่มจะลดลงทำให้เกิดปัญหา “บ้านว่าง” ถึงขณะนี้ประมาณ 1.3 ล้านหน่วย รวมมูลค่า 2.6 ล้านล้านบาท
“ได้นำข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง มาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาบ้านว่าง พบว่าประเทศไทยมีบ้านว่างอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ บ้านว่างหมายถึงบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัย หรือเคยมีผู้เข้าอยู่อาศัยแล้ว แต่ย้ายออก บ้านว่างมีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว และห้องชุด” นายโสภณกล่าว
นายโสภณกล่าวว่า โดยบ้านว่างเหล่านี้บางส่วนมีผู้ใช้สอยเช่นกัน แต่น้อยมาก เช่น ใช้ไฟฟ้าเพียงไม่ถึง 15 หน่วยต่อเดือน อาจจะเข้ามาทำความสะอาดเป็นครั้งคราว ยิ่งกว่านั้นยังมีบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่แม้แต่มิเตอร์ไฟฟ้าก็ถูกถอดทิ้งไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม “บ้านว่าง” คงไม่ได้หมายเฉพาะถึง “บ้านร้าง” หรือบ้านที่ถูกทิ้งร้างไว้โดยไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยมานาน แบบ “บ้านผีสิง” หรือซากของอาคาร เพราะส่วนใหญ่เพียงแต่ปิดทิ้งไว้เท่านั้น
“จากข้อมูลของการไฟฟ้านครหลวง พบว่าในเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ มีบ้านว่างอยู่ประมาณ 500,000 หน่วย แต่หากนับรวมทั้งเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้วย จะมีบ้านว่างรวมกันถึง 617,923 หน่วย ถือว่ามีจำนวนมากทีเดียว ทั้งนี้ บ้านทุกประเภทในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีอยู่ 4,654,370 หน่วย จึงเท่ากับว่าบ้านว่างมีสัดส่วนถึง 13.3% ของบ้านทั้งหมด หรือบ้านทุกๆ 8 หน่วยจะมีบ้านว่างอยู่ 1 หน่วย นับว่าสูงมาก” นายโสภณกล่าว
นายโสภณกล่าวว่า ยิ่งหากพิจารณาจากขอบเขตทั่วประเทศ ประมาณการว่าจะมีบ้านว่างรวมกันถึง 1,309,551 หน่วย จากที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 27,708,635 หน่วย หรือประมาณ 4.7% นั่นหมายความว่าในทั่วประเทศมีบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 หลังในทุกๆ 21 หลัง อย่างไรก็ตามจำนวนบ้านว่าง 1,309,551 หน่วยในไทยนี้ยังนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่น โดยข่าวจาก Nikkei รายงานว่ามีบ้านว่างอยู่ 8.5 ล้านหน่วย จากทั้งหมด 80 ล้านหน่วย เป็นสัดส่วนบ้านว่างถึง 10% หรือมากกว่าไทยถึง 6 เท่า ญี่ปุ่นมีประชากร 125 ล้านคน แสดงว่าบ้านแต่ละหลังมีคนอยู่เพียง 1.56 คนเท่านั้น
นายโสภณกล่าวว่า อย่างไรก็ตามในกรณีกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ บางส่วนในเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง พบว่าในเดือนมกราคม 2564 มีบ้านว่าง 525,889 หน่วย แต่ในเดือนมกราคม 2565 บ้านว่างกลับลดลงเหลือ 505,062 หน่วย แสดงว่าสถานการณ์ไม่ได้ย่ำแย่ลง แต่กลับดีขึ้นที่มีผู้กลับมาใช้สอยบ้านว่างมากขึ้น
“เมื่อคิดจำนวนบ้านว่าง 1.3 ล้านหน่วย หากราคาเฉลี่ยหน่วยละ 2 ล้านบาท เท่ากับมีมูลค่ารวมกัน 2.6 ล้านล้านบาท หรือเกือบเท่างบประมาณแผ่นดินไทย หากปีหนึ่งเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ทั่วประเทศ 200,000 หน่วย เท่ากับว่าแทบไม่ต้องเปิดโครงการใหม่ 6 ปี ยังมีอุปทานที่อยู่อาศัยเพียงพอแก่ผู้สนใจซื้อ การปล่อยบ้านว่างทิ้งไว้เฉยๆ โดยที่กระบวนการขายทอดตลาดค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพ เท่ากับปล่อยให้ที่อยู่อาศัยเหล่านี้เป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ” นายโสภณกล่าว