ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พูดแบบนี้ฟังดูเหมือนอดีตที่ยาวไกลมาก ที่จริงก็คือช่วงปี 1995 – 2000 แค่นี้เอง ในตอนนั้น วงการนักวิทยาศาสตร์กำลังตื่นเต้นกับการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่มีขนจากประเทศจีน เป็นเหมือนกับ Missing Link ระหว่างไดโนเสาร์กับนก เนื่องจากกระแสความคลั่งไคล้ FOMO หรืออะไรก็แล้วแต่ทำให้เกิดเรื่องราวที่ทำให้นิตยสาร National Geographic ในตอนนั้นต้องรู้สึกอับอายเสียหน้าเป็นอย่างมาก
เรื่องราวเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา เดือนกุมภาพันธ์ 1999 เมื่อมีฟอสซิลจากมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีนชิ้นหนึ่งถูกนำไปจัดแสดงที่งานฟอสซิลโชว์ที่ Tucson รัฐอริโซนา และมีผู้สนใจซื้อไป เจ้าของฟอสซิลรายนี้บังเอิญรู้จักกับ Phil Currie ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ก็เลยชักชวนมาศึกษา ความเป็นไปได้ ที่จะเขียนบทความวิชาการเป็นไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ของโลก ส่วน Currie ก็ติดต่อไปยังบรรณาธิการของ National Geographic เพื่อที่จะตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ลงในนิตยสารด้วย Archaeoraptor คือชื่อของว่าที่ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกรายนี้

ฟอสซิล Archaeoraptor ปลอม
หลังจากการพูดคุยทุกฝ่าย ตกลงกันว่าการจะตีพิมพ์บทความเผยแพร่ ฟอสซิลชิ้นนี้ควรจะกลับไปเก็บไว้ที่ประเทศจีนเพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้เห็น มีการติดต่อให้ Xu Xing ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดโนเสาร์จากจีนมาตรวจสอบ แต่ระหว่างนั้น มีการเอาฟอสซิลชิ้นนั้นมาทำ CT-Scan แล้วพบว่าเป็นการเอาชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาจากชิ้นเดียวกันมาปะติดปะต่อ Currie เริ่มสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของฟอสซิล Archaeoraptor แต่ทางเจ้าของฟอสซิลยังเดินหน้าต่อ ทั้งวารสาร Nature และ Science ซึ่งเป็นวารสารตีพิมพ์ Journal วิชาการ ก็ปฏิเสธที่จะตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ แต่ทาง National Geographic ตัดสินใจตีพิมพ์บทความลงในวารสารฉบับเดือนพฤศจิกายน 1999

วารสาร National Geographic พฤศจิกายน 1999
ต้นปี 2000 Xu Xing ยืนยันว่าฟอสซิล Archaeoraptor ชิ้นนี้เป็นของปลอมที่เกิดจากการเอาส่วนหัวกับส่วนหางของสิ่งมีชีวิตคนละชนิดกันมาต่อกัน การทำ CT-Scan ซ้ำอย่างละเอียดอีกครั้งก็ยืนยันตามนั้นเช่นกัน ทาง National Geographic ก็ทำการสอบสวนรายละเอียด และลงบทความชี้แจงขออภัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวารสารฉบับเดือนตุลาคม 2000

บทความชี้แจงขออภัย : วารสาร National Geographic ฉบับภาษาญี่ปุ่น ตุลาคม 2000
*** ถ้าตัดประเด็นเรื่องของปลอมออกไป ประเทศจีนถือเป็นแหล่งฟอสซิลสำคัญแห่งหนึ่งของโลก สามารถพบสิ่งมีชีวิตโบราณได้ครบทุกยุคสมัย ไม่ด้อยไปกว่าแหล่งฟอสซิลจากประเทศไหนๆ บนโลกนี้ แต่อาจจะไม่ค่อยเป็นข่าวมากนัก งานวิจัยหลายเรื่องเป็นภาษาจีน ก็เลยรับรู้กันเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง นี่ถ้าวันนั้นไม่มีหนังเรื่อง Jurassic Park วันนี้ไดโนเสาร์จากจีนอาจจะเป็นที่รู้จักมากกว่าก็เป็นได้
ฟอสซิลปลอมกับเรื่องหน้าแตกของ NG
เรื่องราวเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา เดือนกุมภาพันธ์ 1999 เมื่อมีฟอสซิลจากมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีนชิ้นหนึ่งถูกนำไปจัดแสดงที่งานฟอสซิลโชว์ที่ Tucson รัฐอริโซนา และมีผู้สนใจซื้อไป เจ้าของฟอสซิลรายนี้บังเอิญรู้จักกับ Phil Currie ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ก็เลยชักชวนมาศึกษา ความเป็นไปได้ ที่จะเขียนบทความวิชาการเป็นไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ของโลก ส่วน Currie ก็ติดต่อไปยังบรรณาธิการของ National Geographic เพื่อที่จะตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ลงในนิตยสารด้วย Archaeoraptor คือชื่อของว่าที่ไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกรายนี้
ฟอสซิล Archaeoraptor ปลอม
หลังจากการพูดคุยทุกฝ่าย ตกลงกันว่าการจะตีพิมพ์บทความเผยแพร่ ฟอสซิลชิ้นนี้ควรจะกลับไปเก็บไว้ที่ประเทศจีนเพื่อให้สาธารณชนทั่วไปได้เห็น มีการติดต่อให้ Xu Xing ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไดโนเสาร์จากจีนมาตรวจสอบ แต่ระหว่างนั้น มีการเอาฟอสซิลชิ้นนั้นมาทำ CT-Scan แล้วพบว่าเป็นการเอาชิ้นส่วนที่ไม่ได้มาจากชิ้นเดียวกันมาปะติดปะต่อ Currie เริ่มสงสัยถึงความน่าเชื่อถือของฟอสซิล Archaeoraptor แต่ทางเจ้าของฟอสซิลยังเดินหน้าต่อ ทั้งวารสาร Nature และ Science ซึ่งเป็นวารสารตีพิมพ์ Journal วิชาการ ก็ปฏิเสธที่จะตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ แต่ทาง National Geographic ตัดสินใจตีพิมพ์บทความลงในวารสารฉบับเดือนพฤศจิกายน 1999
วารสาร National Geographic พฤศจิกายน 1999
ต้นปี 2000 Xu Xing ยืนยันว่าฟอสซิล Archaeoraptor ชิ้นนี้เป็นของปลอมที่เกิดจากการเอาส่วนหัวกับส่วนหางของสิ่งมีชีวิตคนละชนิดกันมาต่อกัน การทำ CT-Scan ซ้ำอย่างละเอียดอีกครั้งก็ยืนยันตามนั้นเช่นกัน ทาง National Geographic ก็ทำการสอบสวนรายละเอียด และลงบทความชี้แจงขออภัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวารสารฉบับเดือนตุลาคม 2000
บทความชี้แจงขออภัย : วารสาร National Geographic ฉบับภาษาญี่ปุ่น ตุลาคม 2000
*** ถ้าตัดประเด็นเรื่องของปลอมออกไป ประเทศจีนถือเป็นแหล่งฟอสซิลสำคัญแห่งหนึ่งของโลก สามารถพบสิ่งมีชีวิตโบราณได้ครบทุกยุคสมัย ไม่ด้อยไปกว่าแหล่งฟอสซิลจากประเทศไหนๆ บนโลกนี้ แต่อาจจะไม่ค่อยเป็นข่าวมากนัก งานวิจัยหลายเรื่องเป็นภาษาจีน ก็เลยรับรู้กันเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง นี่ถ้าวันนั้นไม่มีหนังเรื่อง Jurassic Park วันนี้ไดโนเสาร์จากจีนอาจจะเป็นที่รู้จักมากกว่าก็เป็นได้