มาแบบฉับพลันทันด่วน ค่าแรง 400 บาท/วันทั่วประเทศ
หลายคนบอกว่า ได้เกิน 400 บาท/วัน มานานแล้ว. ค่าครองชีพแซงรายได้โน่นนี่
ข้อเท็จจริงก็อย่างนั้น แต่การปรับค่าแรง 400 บาท/วัน แบบฉับพลันทันด่วน ไม่มีเวลาให้เตรียมพร้อมแบบนี้ มันช๊อค!!!!!!... เพราะการปรับค่าแรงขั้นต่ำ คือการยกระดับค่าแรงของทั้งองค์กร. คนที่ได้ค่าแรงมากกว่า 400 บาท ก็ต้องได้ปรับขึ้นด้วย
ต้นปีที่ผ่านมา ปรับฐานค่าแรงไปแล้ว 2 รอบ. รอบแรกปรับค่าแรงขั้นต่ำตอนต้นปี ต่อมาปรับค่าแรงตามการปรับประจำปีตอนเดือนมีนาคม.... นี่อยู่ๆ มาอีกรอบ. แทบสลบ. แต่ก็ต้องทำตาม.....
ตอนนี้สถานการณ์ SME รุมเล้า.. มั่นใจว่าตัวเองก็คงรอดนั่นแหละ. แต่.. จะมีเจ้าของกิจการต่างๆ ไปไม่รอดเป็นจำนวนมาก..
เคยนำเสนอ สัดส่วนการจ้างงาน ระหว่าคนไทย กับคนต่างด้าวเอาไว้ ใครมีสัดส่วนแรงงานไทยมากจ่ายภาษีน้อย. ใครมีสัดส่วนแรงงานไทยน้อยจ่าบภาษีมาก. นายจ้างจะได้จ่ายให้แรงงานไทย มากกว่า เพื่อรักษาสัดส่วนแรงงาน. ได้ทั้งการปรับให้แรงงานไทยไปสู่สกิลที่สูงกว่า และแรงงานต่างด้าวที่ยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขั้นของกิจการ
เอาเถอะ.. อยากทำอะไร ทำไป.. ขึ้นค่าแรงเท่าไหร่ ทำไป.. ธุรกิจก็มีทั้งรอดและไม่รอด. นายจ้าง ก็ต้องเอาตัวรอดในแบบฉบับตัวเอง... แต่..มีกฎหมายข้อนึง ที่เป็นภาระหนักอึ้งของนายจ้าง คือการจ่ายชดเชยเมื่อตอนลูกจ้างเกษียณที่กฎหมายระบุไว้ที่ขั้นสูงสุดที่ 400 วันในอัตรค่าจ้างสุดท้ายเมื่อทำงานมามากกว่า 20 ปี. ค่าใช้จ่าย ที่อยู่ๆ พุ่งขึ้นแบบนี้ ไม่ใช่เล่นๆ... ดังนั้นมั่นใจได้ บริษัทที่แบกผู้ใกล้เกษียณ และกำลังเกษียณ..มีสิทธิ์พังแน่นอน.... ขอนำเสนอให้
1.) เงินที่จ่ายสำหรับเกษียณสำหรับพนักงานสามารถหักภาษีเป็นค่าใช้จ่าย 3 เท่าของมูลค่าจริง
2.) ออกผลิตภัณฑ์ RMF หรือ SSF สำหรับให้บริษัทเก็บออมและลงทุนเพื่อใช้จ่ายสำหรับภาระการจ่ายเงินสำหรับเกษียณอายุ โดยนำมาหักภาษีได้
รับรองต้องมีคนไม่รอด เพราะทุกอย่างต้องแข่งกันทั้งโลก.. แต่คิดอีกที ถ้าเงินบาทยังอยู่ในระดับอ่อนค่าแบบนี้ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในรูป USD ก็ไม่เท่าไหร่... ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด... ตั้งแต่อัตรดอกเบี้ยนโยบายยัน เศรษฐกิจโลก.. แต่
ผมขอโยน ทุกอย่าง ให้ผู้มีความรู้สูงสุด คือ กนง.ที่ดูอัตราดอกเบี้ย และ ธปท. ที่ดูอัตราแลกเปลี่ยนก็แล้วกัน. เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มันขึ้นกับที่ผีเสื้อขยับปีกทั้งนั้น... ผลเกิดจากเหตุ และมีความสำพันธ์ทั่วกันไปหมด... ผู้ที่นั่งบนภู ไม่ยี่หระและมีความรู้ภูมิปัญญาสูงที่ขาดการถ่วงดุล และปราศจากความรับผิด รับชอบ อย่างรอบด้าน. รวมถึงขาดการประมินผลงานที่จับต้องได้นั่นแหละ คือ เหตุแห่งผลที่เกิดขึ้น.. ซึ่ง มันก็เป็นไปตามกฎทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์อยู่อย่างนั้น
ของขวัญแรงงาน ทุกข์ของผู้ประกอบการ
หลายคนบอกว่า ได้เกิน 400 บาท/วัน มานานแล้ว. ค่าครองชีพแซงรายได้โน่นนี่
ข้อเท็จจริงก็อย่างนั้น แต่การปรับค่าแรง 400 บาท/วัน แบบฉับพลันทันด่วน ไม่มีเวลาให้เตรียมพร้อมแบบนี้ มันช๊อค!!!!!!... เพราะการปรับค่าแรงขั้นต่ำ คือการยกระดับค่าแรงของทั้งองค์กร. คนที่ได้ค่าแรงมากกว่า 400 บาท ก็ต้องได้ปรับขึ้นด้วย
ต้นปีที่ผ่านมา ปรับฐานค่าแรงไปแล้ว 2 รอบ. รอบแรกปรับค่าแรงขั้นต่ำตอนต้นปี ต่อมาปรับค่าแรงตามการปรับประจำปีตอนเดือนมีนาคม.... นี่อยู่ๆ มาอีกรอบ. แทบสลบ. แต่ก็ต้องทำตาม.....
ตอนนี้สถานการณ์ SME รุมเล้า.. มั่นใจว่าตัวเองก็คงรอดนั่นแหละ. แต่.. จะมีเจ้าของกิจการต่างๆ ไปไม่รอดเป็นจำนวนมาก..
เคยนำเสนอ สัดส่วนการจ้างงาน ระหว่าคนไทย กับคนต่างด้าวเอาไว้ ใครมีสัดส่วนแรงงานไทยมากจ่ายภาษีน้อย. ใครมีสัดส่วนแรงงานไทยน้อยจ่าบภาษีมาก. นายจ้างจะได้จ่ายให้แรงงานไทย มากกว่า เพื่อรักษาสัดส่วนแรงงาน. ได้ทั้งการปรับให้แรงงานไทยไปสู่สกิลที่สูงกว่า และแรงงานต่างด้าวที่ยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขั้นของกิจการ
เอาเถอะ.. อยากทำอะไร ทำไป.. ขึ้นค่าแรงเท่าไหร่ ทำไป.. ธุรกิจก็มีทั้งรอดและไม่รอด. นายจ้าง ก็ต้องเอาตัวรอดในแบบฉบับตัวเอง... แต่..มีกฎหมายข้อนึง ที่เป็นภาระหนักอึ้งของนายจ้าง คือการจ่ายชดเชยเมื่อตอนลูกจ้างเกษียณที่กฎหมายระบุไว้ที่ขั้นสูงสุดที่ 400 วันในอัตรค่าจ้างสุดท้ายเมื่อทำงานมามากกว่า 20 ปี. ค่าใช้จ่าย ที่อยู่ๆ พุ่งขึ้นแบบนี้ ไม่ใช่เล่นๆ... ดังนั้นมั่นใจได้ บริษัทที่แบกผู้ใกล้เกษียณ และกำลังเกษียณ..มีสิทธิ์พังแน่นอน.... ขอนำเสนอให้
1.) เงินที่จ่ายสำหรับเกษียณสำหรับพนักงานสามารถหักภาษีเป็นค่าใช้จ่าย 3 เท่าของมูลค่าจริง
2.) ออกผลิตภัณฑ์ RMF หรือ SSF สำหรับให้บริษัทเก็บออมและลงทุนเพื่อใช้จ่ายสำหรับภาระการจ่ายเงินสำหรับเกษียณอายุ โดยนำมาหักภาษีได้
รับรองต้องมีคนไม่รอด เพราะทุกอย่างต้องแข่งกันทั้งโลก.. แต่คิดอีกที ถ้าเงินบาทยังอยู่ในระดับอ่อนค่าแบบนี้ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นในรูป USD ก็ไม่เท่าไหร่... ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด... ตั้งแต่อัตรดอกเบี้ยนโยบายยัน เศรษฐกิจโลก.. แต่
ผมขอโยน ทุกอย่าง ให้ผู้มีความรู้สูงสุด คือ กนง.ที่ดูอัตราดอกเบี้ย และ ธปท. ที่ดูอัตราแลกเปลี่ยนก็แล้วกัน. เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มันขึ้นกับที่ผีเสื้อขยับปีกทั้งนั้น... ผลเกิดจากเหตุ และมีความสำพันธ์ทั่วกันไปหมด... ผู้ที่นั่งบนภู ไม่ยี่หระและมีความรู้ภูมิปัญญาสูงที่ขาดการถ่วงดุล และปราศจากความรับผิด รับชอบ อย่างรอบด้าน. รวมถึงขาดการประมินผลงานที่จับต้องได้นั่นแหละ คือ เหตุแห่งผลที่เกิดขึ้น.. ซึ่ง มันก็เป็นไปตามกฎทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์อยู่อย่างนั้น