สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
- WFH ไม่ได้แปลว่าให้ไปนั่งทำงานอยู่ ตปท
- ต่อให้เป็น Work from Anywhere คุณก็ต้องคุยเงื่อนไขให้ชัดว่า ทำจาก ตปท ได้ไหม
- HR ทราบ หัวหน้าทราบ แต่ decision ขององค์กรอยู่ที่ระดับ management ถ้าเขาให้กลับ คุณก็ต้องกลับ
- ทุกๆองค์กร การให้นโยบาย WFH คือเขารับความเสี่ยงกับลูกจ้างอยู่ ว่าจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ถ้าไปอยู่ ตปท ยิ่งมีโอกาสขึ้นอีก เพราะอาจถูกมองว่าไปเที่ยว
- ต่อให้เป็น Work from Anywhere คุณก็ต้องคุยเงื่อนไขให้ชัดว่า ทำจาก ตปท ได้ไหม
- HR ทราบ หัวหน้าทราบ แต่ decision ขององค์กรอยู่ที่ระดับ management ถ้าเขาให้กลับ คุณก็ต้องกลับ
- ทุกๆองค์กร การให้นโยบาย WFH คือเขารับความเสี่ยงกับลูกจ้างอยู่ ว่าจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ถ้าไปอยู่ ตปท ยิ่งมีโอกาสขึ้นอีก เพราะอาจถูกมองว่าไปเที่ยว
ความคิดเห็นที่ 35
ไม่มีคำว่า 'ลา' สันนิษฐานว่าไม่ได้ทำเรื่องลา อาศัยโอกาสที่ WFH เดินทางไปต่างประเทศ บริษัททราบเรื่องหลังเหตุเกิด พอเป็นเรื่องเป็นราวจึงเพิ่งเจรจาขอลา ฯลฯ บริษัทปฏิเสธคำขอ ออกใบเตือน และมีคำสั่งให้เดินทางกลับมาโดยเร็ว เมื่อไม่เป็นผลก็ไปสู่มาตรการขั้นสุดท้ายคือไล่ออก
เท่าที่ฟังดูฝั่งบริษัทก็มีลำดับการดำเนินการ คิดว่าฟ้องกรมแรงงานก็อาจจะไม่ชนะ
เท่าที่ฟังดูฝั่งบริษัทก็มีลำดับการดำเนินการ คิดว่าฟ้องกรมแรงงานก็อาจจะไม่ชนะ
ความคิดเห็นที่ 1
โห่ ทำไมไม่คุยกับหัวหน้าก่อนครับ ถ้าบริษัทมีกฎขนาดนั้น ก็ถือว่าเราทำผิดกฎนะครับ
1. ทำไมไปต่างประเทศถึงไม่ใช่วันลาพักร้อนก่อน? ผมก็เคยไปต่างประเทศนาน ๆ ผมก็ใช้วันลาพักร้อน+ขอ WFH 1 วีค หัวหน้าผมก็ให้นะครับ แต่ผมแจ้งล่วงหน้าเป้นเดือนนะ
2. พอโดยใบเตือนคุณถึงพึ่งจะมาขอใช้วันลาพักร้อน ซึ่งตามมารยาทแล้วปกติลาพักร้อนต้องขอและแจ้งล่วงหน้านะครับ อย่างต่ำ ๆ ก็เป็นอาทิตย์
3. การขอ Leave Without Pay หรือขอลาพักร้อน ถ้าเข้าใจไม่ผิดตามกฎหมาย ขึ้นอยู่กับบริษัทล้วน ๆ เลยครับว่าจะอนุมัติไหม เพราะกฎหมายกำหนดให้บริษัทจัดสรรวันหยุดพักร้อนให้พนักงาน 1 ปี ไม่น้อยกว่า 6 วัน แต่จะให้หยุดพักร้อนวันไหนได้บ้างนั้นเป้นสิทธิ์ของบริษัทที่จะอนุมัติครับ
4. เคสนี้เท่ากับว่าคุณโดนไล่ออก เหตุผลเพราะไม่ได้ไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดใช่ไหมครับ ล้วคุณขาดงานไปกี่วันหรอครับ ถ้าจำไม่ผิดถ้าไม่ไปทำงาน 3 วัน บริษัทก้มีสิทธิ์เลิกจ้างได้ตามกฎหมาย
5. เรื่องเงินชดเชย+ค่าตกใจ เคสนี้น่าจะต้องไปสู้กันในศาลแหละครับ และโอกาสแพ้หรือชนะน่าจะพอ ๆ กัน เพราะเป้นคุณที่ทำผิดกฎเอง ลองปรึกษากรมฯแรงงานดูครับ และหาทนายเก่ง ๆ จะดีกว่า
1. ทำไมไปต่างประเทศถึงไม่ใช่วันลาพักร้อนก่อน? ผมก็เคยไปต่างประเทศนาน ๆ ผมก็ใช้วันลาพักร้อน+ขอ WFH 1 วีค หัวหน้าผมก็ให้นะครับ แต่ผมแจ้งล่วงหน้าเป้นเดือนนะ
2. พอโดยใบเตือนคุณถึงพึ่งจะมาขอใช้วันลาพักร้อน ซึ่งตามมารยาทแล้วปกติลาพักร้อนต้องขอและแจ้งล่วงหน้านะครับ อย่างต่ำ ๆ ก็เป็นอาทิตย์
3. การขอ Leave Without Pay หรือขอลาพักร้อน ถ้าเข้าใจไม่ผิดตามกฎหมาย ขึ้นอยู่กับบริษัทล้วน ๆ เลยครับว่าจะอนุมัติไหม เพราะกฎหมายกำหนดให้บริษัทจัดสรรวันหยุดพักร้อนให้พนักงาน 1 ปี ไม่น้อยกว่า 6 วัน แต่จะให้หยุดพักร้อนวันไหนได้บ้างนั้นเป้นสิทธิ์ของบริษัทที่จะอนุมัติครับ
4. เคสนี้เท่ากับว่าคุณโดนไล่ออก เหตุผลเพราะไม่ได้ไปทำงานตามที่บริษัทกำหนดใช่ไหมครับ ล้วคุณขาดงานไปกี่วันหรอครับ ถ้าจำไม่ผิดถ้าไม่ไปทำงาน 3 วัน บริษัทก้มีสิทธิ์เลิกจ้างได้ตามกฎหมาย
5. เรื่องเงินชดเชย+ค่าตกใจ เคสนี้น่าจะต้องไปสู้กันในศาลแหละครับ และโอกาสแพ้หรือชนะน่าจะพอ ๆ กัน เพราะเป้นคุณที่ทำผิดกฎเอง ลองปรึกษากรมฯแรงงานดูครับ และหาทนายเก่ง ๆ จะดีกว่า
แสดงความคิดเห็น
โดนไล่ออกเพราะไปต่างประเทศนานเกินไป สามารถทำอะไรได้บ้างไหมครับ
พอดีมีโอกาสมาต่างประเทศ เลยมาอยู่1เดือน
ทางHRและหัวหน้าก็ทราบเรื่องปกติ
พอมาอยู่ได้ 10 วัน โดนใบเตือน เพราะบริษัทห้ามไม่ให้มาทำงานที่ต่างประเทศ
เลยจะขอ Leave Without Pay ก็ไม่ได้รับอนุมัติ
เลยจะขอลาพักร้อนแทนทั้งหมด12วัน (ปกติลาได้ 14 วัน) เพราะว่าซื้อตั๋วกลับไปแล้ว
แต่ว่าบริษัทก็ไม่อนุมัติ ไม่ให้ลาเยอะขนาดนี้รวดเดียว
เลยมีคำสั่งมาว่าจะทิ้งตั๋วที่ซื้อไปแล้ว ให้ซื้อใหม่แล้วกลับทันทีหรือโดนไล่ออก
สรุปว่าถ้าผมโดนไล่ออก จะสามารถฟ้องกรมแรงงาน หรือเรียกร้องใดๆได้บ้างไหมครับ
เพราะได้รับเอกสารแล้วแต่ยังไม่ได้เซ็นอะไรเลยครับ