ตามพระไตรปิฎกนั้นพระพุทธองค์ทรงห้ามทำน้ำมนต์เนื่องจากเป็นเดรัจฉานวิชา แต่ในอรรถกถานั้นทำได้ หากมีผู้ร้องขอและต้องสวดพระปริตรด้วยทุกครั้งที่มีการรดน้ำมนต์ ประเด็นที่ผมสนใจคือเราควรจะต้องตีความว่าอรรถกถานั้นผิด หรือเป็นข้อยกเว้นครับ เพราะเอาเข้าจริงพระวินัยนั้นมีข้อยกเว้นหลายข้อมากๆ ผมจึงอยากรู้ว่าเราควรจะต้องตรความอรรถกถาข้อนี้อย่างไร ระหว่าง
1.อรรถกถาข้อนี้ผิด เนื่องจากขัดต่อพระไตรปิฎก
2.เป็นข้อยกเว้น ที่บัญญัติเพิ่มเติม เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้นมา เนื่องจากดูจากบทบัญญัติในพระวินัยหลายข้อ คือ พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติวินัยข้อนั้นขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีเหตุการที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น เช่น ชาวบ้านติฉินนินทา ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพราะมองในอีกมุมหนึ่งการรดน้ำมนต์ก็ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเกิดความรู้สึกสบายใจขึ้นมา เพราะส่วนตัวเจ้าของกระทู้เองเคยเรียนกฎหมายมา ซึ่งกฎหมายเองก็มีบทบัญญัติหลัก และอนุบัญญัติ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก็จะมีบทบัญญัติหลัก คือ มาตรา 420 และมีอนุบัญญัติที่อธิบายขยายความเพิ่มเติมจากหรือเป็นข้อยกเว้นจากตัวบทหลัก ซึ่งก็คือ มาตรา 421 มาตรา 422 มาตรา 423 มาตรา 424
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
มาตรา 421 “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย”
มาตรา 422 “ ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด“
มาตรา 423 “ ผู้ใดกล่าวหรือไข ข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อ ความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือ เกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสีย หายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของ เขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้อง ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความ เสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่ หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่า เป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับ ข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้น ด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหม ทดแทนไม่”
มาตรา 424 " ในการพิพากษาคดี ข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่า สินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้อง ดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับ โทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้ กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทาง อาญา"
เราควรจะต้องตีความอรรถกถาข้อนี้อย่างไรครับ
ปล. กระทู้นี้มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความแตกแยกในทางพระพุทธศาสนา หากแต่ต้องการศึกษาทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดแจ้ง และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความน่าเลื่อมใส ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และธำรงไว้ซึ่งบทบัญญัติในพระวินัย และพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
การทำน้ำมนต์ในพระไตรปิฎกกับในอรรถกถา
1.อรรถกถาข้อนี้ผิด เนื่องจากขัดต่อพระไตรปิฎก
2.เป็นข้อยกเว้น ที่บัญญัติเพิ่มเติม เมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆขึ้นมา เนื่องจากดูจากบทบัญญัติในพระวินัยหลายข้อ คือ พระพุทธองค์จะทรงบัญญัติวินัยข้อนั้นขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีเหตุการที่ไม่ดี ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น เช่น ชาวบ้านติฉินนินทา ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพราะมองในอีกมุมหนึ่งการรดน้ำมนต์ก็ทำให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเกิดความรู้สึกสบายใจขึ้นมา เพราะส่วนตัวเจ้าของกระทู้เองเคยเรียนกฎหมายมา ซึ่งกฎหมายเองก็มีบทบัญญัติหลัก และอนุบัญญัติ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ก็จะมีบทบัญญัติหลัก คือ มาตรา 420 และมีอนุบัญญัติที่อธิบายขยายความเพิ่มเติมจากหรือเป็นข้อยกเว้นจากตัวบทหลัก ซึ่งก็คือ มาตรา 421 มาตรา 422 มาตรา 423 มาตรา 424
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เราควรจะต้องตีความอรรถกถาข้อนี้อย่างไรครับ
ปล. กระทู้นี้มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความแตกแยกในทางพระพุทธศาสนา หากแต่ต้องการศึกษาทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดแจ้ง และเพื่อรักษาไว้ซึ่งความน่าเลื่อมใส ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และธำรงไว้ซึ่งบทบัญญัติในพระวินัย และพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์