JJNY : 5in1 ปิยบุตรเล่าเบื้องหลัง│‘รอมฎอน’ชี้ไม่หนักแน่น│ท้วงวุ่น เบญจาอภิปราย│ชี้แจกหมื่นควรทำให้เร็ว│ซิมบับเวประกาศภัย

ปิยบุตร เล่าเบื้องหลัง-เปิดราคา ธนาธร ซื้อบ้านปรีดี พนมยงค์ ในฝรั่งเศส
https://www.matichon.co.th/politics/news_4510245
 
 
ปิยบุตร เล่าเบื้องหลัง-เปิดราคา ธนาธร ซื้อบ้านปรีดี พนมยงค์ ในฝรั่งเศส
 
จากกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตส.ส.พรรคอนาคตใหม่ และประธานคณะก้าวหน้า ได้ซื้อบ้าน ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส และอดีตนายกรัฐมนตรีไทย ในประเทศฝรั่งเศสนั้น

เมื่อวันที่ 4 เมษายน นายปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์ข้อความและคลิปผ่าน ทวิตเตอร์ (X) ระบุว่า
 
“เล่าเบื้องหลัง! ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และภรรยาซื้อบ้าน อ.ปรีดี พนมยงค์ ที่เคยอาศัยอยู่ขณะลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศสจนถึงเสียชีวิตได้อย่างไร?
ต้องขอชื่นชมคุณธนาธรในความกล้าหาญที่ช่วยเก็บรักษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและคณะราษฎรเอาไว้”
 
โดยนายปิยบุตร เล่าเบื้องหลังว่า ช่วงหลังรัฐประหาร ประมาณปี 2016 ตอนนั้นมีนักเรียนไทยหลุ่มหนึ่ง สนใจประวัติศาสตร์เรื่องคณะราษฎร ก็ชอบไปสืบ ไปค้น ไปดูว่าบุคลากร สมาชิกคณะราษฎรที่ไปอยู่ประเทศฝรั่งเศส เขาไปอยู่กันตรงไหน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมตัวก่อตั้งคณะราษฎรอยู่แถวไหน
นักเรียนไทยในฝรั่งเศส ก็ไปสืบค้นรูปที่คณะราษฎรที่เขานั่งกัน นั่งอยู่ตรงไหน รวมถึงบ้านที่ อ.ปรีดี พนมยงค์ ไปอยู่ช่วงท้ายของชีวิต ตอนที่ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส ปรากฎว่าในบันทึกของ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา อ.ปรีดี พนมยงค์ เขาบอกว่าไปอยู่บ้านพักที่ อองโตนี ฝรั่งเศส
 
ปรากฎว่านักเรียนไทยกลุ่มนี้ ช่วงแรกที่ไปก็หลงๆกัน สุดท้ายเจอ เมื่อเจอปุ๊ปก็มีความคิดว่า ถ้าบ้านหลังนี้ตกอยู่ในมือประเทศไทย ตกอยู่ในมือของรัฐบาลไทยก็คนดี เพราะใครเคยไปต่างประเทศจะเห็นป้ายติดไว้ว่า บ้านหลังนี้ บุคคลที่มีชื่อเสียงชื่อนั้นชื่อนี้เคยอยู่ในช่วงปีไหน เขาจะติดป้ายไว้เต็มไปหมด
 
ดังนั้น บุคคลสำคัญในประวัติศาสตรืจะได้รับการยกย่อง ดังนั้น เราก็สงสัยกันว่าแล้วทำไมในประเทศไทยไม่มีเลย ทั้งๆที่ คณะบุคคลสำคัญที่ก่อการอภิวัฒน์สยาม เป็นนักเรียนไทยในฝรั่งเศส และยุโปรจำนวนมาก  และที่คิดก่อการ อภิวัฒน์สยาม ก็ตั้งกันที่ฝรั่งเศส ที่ปารีสแห่งนี้ แต่ทำไมไม่มีป้ายอะไรติด
เป็นเรื่งอที่น่าสนใจ ทำไมรัฐบาลไทยทำไมไม่สนใจเรื่องเหล่านี้ เช่น ถ้ารัฐบาลไทยให้ความสัมพันธ์ในระดับชาติกับรัฐบาลฝรั่งเศสว่าที่นี่มีความสำคัญ ช่วยติดป้ายหน่อย
 
ในขณะเดียวกันรัฐบาลไม่สนใจ ไม่คิดว่าสำคัญ ถ้ารัฐไม่ทำเอกชนก็ต้องทำ และคนที่จะมีกำลังในการซ์้อ ต้องเป็นคนที่มีเงิน เป็นเศรษฐี แล้ว เศรษฐีมีกี่คน? ซึ่งผมเคยได้ยินพี่ๆที่เคยอยู่ในรัฐบาลไทยรัฐไทย เคยบอกว่าว่าเคยมีการไปเสนอเช่นกันว่า ทำไมคุณทักษิณ ไม่เอาล่ะ? แต่ก็เงียบหายไป
ผมก็มานั่งคิด เศรษฐีไทยทำไมไม่มีคนสนใจเลยล่ะ อาจจะเป็นไปได้ว่ากลัวว่าจะเป็นของร้อน เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยม จะทำลายความชอบธรรมของอภิวัฒน์สยาม 2457 ตลอด ดังนั้นเศรษฐีคนไหนที่ซื้ออาจจะโดนกากหัวก็ได้
 
แล้วรู้ได้ยังไงว่าขาย ตอนนั้นปี 2016 ผมก็ตามนักเรียนไทยกลุ่มนี้ไป ตอนนั้นทราบว่า เมื่อ อ.ปรีดีเสียชีวิต ท่านผู้หญิงพูนศุข ก็เลยขาย เพราะจะพาครอบครัวกลับประเทศแล้ว เรื่องนี้มีนียยะ เพราะแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวพนมยงค์กลับบ้านได้ เพราะอ.ปรีดีตาย ถ้ายังไม่ตายก็คงยังกลับไม่ได้

หลังจาก อ.ปรีดีเสียชีวิต คนที่ซื้อ คือ ชาวเวียดนาม ชาวเวียดนามก็อยู่มากเรื่อยๆ ซึ่งวันนี้ที่คณะนักเรียนไทยไปนั้น ผมก็ตามไปด้วย เจอคุณยายเวียดนามคนหนึ่ง ตอนนั้นสุขภาพแข็งแรง สุดท้ายเราก็เล่าให้แกฟัง แกก็ใจดีเปิดในเราเข้าไปดู
 
เราก็แอบถามว่ามีโอกาสที่จะขายบ้างไหม แกบอกว่าไม่ขาย เพราะแกรักบ้านหลังนี้มาก ลูกหลาน อยากให้ขาย เพราะแกแก่มากแล้ว ดูแลตัวเองไม่ไหว และบ้านหลังใหญ่ ควรจะขายเอาเงินและย้ายไปอยู่อเมริกา คุณยายไม่ยอมขายเพราะมีความทรงจำอยู่ที่นี้ คุณยายบอกว่า “ถ้านับเวลาการอยู่บ้านหลังนี้ ฉันอยู่นานกว่าครอบครัวพนงยงค์นะ” 
 
เรื่องก็จบด้วยฉะนี้ คือแกไม่ยอมขาย อยู่วันหนึ่ง “ธนาธร” ก็มาบอกผม อาจารย์ถ้าไม่มีใครซื้อผมซื้อเอง แต่ผมตอบว่า “เขาไม่ขาย”
 
แต่ประมาณ 2 ปีที่แล้ว  2022 ตนได้รับการแจ้งมาว่า มี คุณไรท์ คนไทยลาว-ฝรั่งเศสคนหนึ่ง ที่รู้จักครอบครัว พนมยงค์ และเขารู้จักกับคนเวียดนามคนนี้ด้วย ว่า วันนี้เขาพร้อมขาย เพราะคุณยายแก่มากแล้ว ช่วยตนเองไม่ไหว ช่วยตนเองไม่ได้แล้ว
 
ผมเลยกลับมาบอก ธนาธร วันนั้น ธนาธรกับภรรยาก็เลยไปปารีสด้วยกัน ก็ไปตกลงซื้อ และต่อรองราคากัน กันไปกันมา โดยเสนอว่าให้คุณยายอยู่ต่อได้ ทำไมต้องรีบเสนอราคาก่อน เพราะตอนนั้มีเจ้าของโครงการคอนโด-อพาร์ทเม้นท์ อยู่ด้านขาวและซ้าย ของบ้านหลังนี้ ซึ่งเขาต้องการซื้อบ้านหลังนี้ แล้วจะทุบทิ้งเพื่อขึ้นคอนโด
 
ซึ่งคุณไรท์ พูดมาคำหนึ่งว่า ตอนที่ อ.ปรีดี เสียชีวิต และท่านผู้หญิงพูนศุขจะขายบ้าน เคยบอกกับคนเวียดนามที่จะซื้อต่อไปว่า “ถ้าวันข้างหน้าคิดจะขาย ลองถามคนไทยก่อน” เมื่อไปก็ต่อรองราคา ตอนแรกจะของ 1.4 ล้านยูโร ผู้ขายไม่ยอม เพราะ คอนโดให้ราคา 1.6 ล้านยูโร ถ้าชั้นขายให้ไปก็ขาดทุน
และจบที่ 1.6 ล้านยูโร เลยเตรียมสัญญาณจะซื้อจะขาย โดยการซื้อขายที่ฝรั่งเศสนั้นต้องทำผ่านหน่วยงานหนึ่ง โดยเขาไปถามคุณยาย ซึ่งคุณยายก็ตอบผิดๆ ถูกๆ ทางนั้นเลยขายให้ไม่ได้ บอกว่าต้องไปตั้งผู้ปกครอง เพื่อให้ทำารขาย สุดท้ายวันนั้นก็ไม่ได้เซ็นสัญญาจะซื้อจะขาย คว้าน้ำเหลวกลับบ้าน
1 เดือนถัดมา คุณญายเสียชีวิต บ้านหลังนี้ตกอยู่ที่น้องชาย น้องชายคุณยายเลยจัดการแทน ก็เลยได้เรียบร้อย รอบนี้ก็บินไปเซ็น ภรรยายคุณธนาธรไปเซ็นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ซื้อมาเรียบร้อยในราคา 1.6 ล้านยูโร
 
เรื่องนี้ต้องนับถือคุณธนาธร เพราะเขาซื้อมาก็ทำอะไรไม่ได้ แต่เขายอมเสียเงินก้อนนี้เพื่อเก็บประวัติศาสตร์การเมืองที่สำคัญของประเทศไทยเอาไว้ 
แล้วจะมีโอกาสที่จะเปิดให้คนไทยเข้าชมหรือเปล่านั้น จากที่คุยกันเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนพนงยงค์ เพระา อ.ปรีดี ก็เกิดและตายเดือนนี้ ท่านผู้หญิงพูนสุขก็เกิดเดือนนี้ เราก็คิดอ่านกันว่า ไปแถลงข่าวกันที่บ้านอองโตนี้ และเชิงผู้อาวุโส ที่เคยมีประวัติศาสตร์อยู่ที่นี่ นั้นก็คือ ลูกทายาทตระกูลพนงยงค์ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่เคยเจอ อ.ปรีดี ที่บ้านหลังนี้ไป  ซึ่งทั้งหมดตอบรับว่าจะไปด้วย
 
หลังจากนั้นเชื่อว่า พี่น้องชาวไทยที่ติดตามประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังจากที่ไปเที่ยวปารีส อาจจะเป้นมุดหมายหนึ่งที่นักท่องเที่ยวแวะมา
 
https://twitter.com/Piyabutr_FWP/status/1775832201604800977
 


‘รอมฎอน’ ชี้ ‘เศรษฐา’ ไม่หนักแน่นแก้ไฟใต้ หวั่นประเมินปัญหาผิดพลาด สุมไฟให้ปะทุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4510122

‘รอมฎอน’ ชี้ ‘เศรษฐา’ ไม่หนักแน่นแก้ไฟใต้ หวั่นประเมินปัญหาผิดพลาด สุมไฟให้ปะทุ
 
เมื่อวันที่ 4 เมษายน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริง หรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เป็นวันที่ 2
 
เมื่อเวลา 15.35 น. วันที่ 4 เมษายน นายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายนโยบายการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการสร้างสันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่า ตนนิยามการทำงานของรัฐบาลในเรื่องนี้ว่า “สันติภาพเปราะบาง นิติธรรมปวกเปียก และภาวะการนำบกพร่อง” สืบเนื่องจากการทำงาน 6-7 เดือนที่ผ่านมา ประเทศสูญเสียโอกาสสำคัญต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ รัฐบาลไม่มีความแน่วแน่ไม่มุ่งมั่นมากพอที่จะแก้ปัญหาด้วยแนวทางการเมือง ขณะนี้มีสัญญาณความรุนแรงเกิดขึ้น ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการก่อเหตุหลายสิบจุด และมีการนำไปเชื่อมโยงเดือนรอมฎอน นี่คือสัญญาณเตือนอย่างเป็นแบบแผน ซึ่งเป็นการสื่อสารด้วยการใช้กำลัง จึงเกิดคำถามว่ากระบวนการสันติภาพที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่กำลังประสบปัญหาหรือไม่
 
เรื่องที่สะท้อนภาพการทำงานของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ดีที่สุดคือการลงพื้นที่ช่วงวันที่ 27-29 ก.พ.67 นายกฯมาโปรโมตเศรษฐกิจ แต่ท่านมองไม่เห็นเลยว่ามีอุปสรรคขวางทางอยู่ นั่นคือกฎหมายความมั่นคงที่บังคับใช้อยู่ในพื้นที่ มีการจับจ้อง สอดส่อง ชีวิตของประชาชนตลอด ซึ่งในพื้นที่มีด่านความมั่นคงมากถึง 2,392 จุด ไม่รู้ว่าท่านทราบหรือไม่ สิ่งที่ท่านสะท้อนผ่านการลงพื้นที่แทบไม่เห็นการสถาปนาหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งตรงไหน การตั้งงบประมาณก็ไม่เห็นถึงการให้ความสำคัญตรงนี้ นอกจากนี้ นายกฯไม่ค่อยพูดเรื่องความยุติธรรมและสันติภาพ แต่บอกให้เราลืมอดีตยกโทษให้กัน คำถามคือจะให้ลืมอดีตอะไร ท่านอ้างเดือนรอมฎอนแล้วเรียกร้องให้เราให้อภัย ท่านพูดถึงเหตุการณ์ตากใบใช่หรือไม่ ท่านถือดีอะไรที่อ้างเดือนรอมฎอนเพื่อให้เราให้อภัย
 
นายรอมฎอนกล่าวด้วยว่า การเลือกตั้งปี’66 คนในพื้นที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงมาก แต่สิ่งที่เจอคือนิติธรรมที่ปวกเปียก เช่น พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ต่อมาแล้ว 3 ครั้ง ที่สำคัญเรากำลังเข้าสู่ช่วงครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ตากใบในช่วงเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งมีความพยายามจะให้รื้อฟื้น กระทั่งเราทราบว่าสำนวนหายไป ตำรวจ และอัยการ ชี้แจงว่าในคดีเดิมสำนวนเหล่านั้นถูกงดไม่ให้มีการสอบสวน แต่เมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา สภ.หนองจิก ได้ฟื้นคดีขึ้นมา เรื่องใหญ่ขนาดนี้กลับเงียบมาก และขณะนี้ทราบว่าเตรียมมีการยื่นฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายโดยตรง อีกไม่กี่วันน่าจะมีความชัดเจนเรื่องนี้
 
นายรอมฎอนกล่าวว่า การใช้นิติสงครามฟ้องร้องดำเนินคดียังมีอยู่ ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา มีการแจ้งความดำเนินคดีนักกิจกรรมที่แต่งชุดมลายู โดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่มีนายกฯปฏิบัติหน้าที่ ผอ.กอ.รมน. นายกฯทราบหรือไม่ว่าลูกน้องท่านแจ้งความปิดปากคนในพื้นที่ไปทั่ว ตกลงว่าท่านจะให้ประชาชนสะท้อนความเห็นผ่านกระบวนการสาธารณะหรือไม่
 
นายกฯมีภาวะผู้นำบกพร่อง การแก้ปัญหาต้องการผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีเจตจำนงหนักแน่น เพราะเรามีกติกาในการหาข้อยุติ แต่จะยิ่งมีความขัดแย้ง ถ้าไม่มีผู้นำที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ก็คงแก้ไขไม่ได้” นายรอมฎอนกล่าว
 
นายรอมฎอนกล่าวต่อว่า ตนมี 3 สมมุติฐานที่ทำให้นายกฯไม่มุ่งมั่นแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ คือ 

1. นายกฯเชื่อจริงๆ ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง ท่านไร้เดียงสาขนาดนั้นจริงๆ เพราะกรณีจังหวัดชายแดนใต้ทุกคนรู้แก่ใจว่าเป็นเรื่องอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ และเป็นเรื่องการต้องการความยุติธรรม 

2. นายกฯอาจคิดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ แต่จงใจไม่เข้าไปแก้ไข หรือนี่เป็นดีลอะไรบางอย่างหรือไม่ 

และ 3. นายกฯได้ข้อสรุปจากบทเรียนในอดีต ว่าหากเข้าไปยุ่งจะนำมาซึ่งหายนะแบบที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลทักษิณ เป็นบทเรียนที่คำนวณแล้วว่าไม่ควรไปยุ่ง เป็นการเลี่ยงไม่พูดถึงความมั่นคงอย่างจงใจ รัฐบาลเศรษฐาอาจรู้สึกว่าถ้าทำแบบในอดีตอาจเจอรัฐประหารหรือเหยีบเท่าใคร ท่านเลยมั่นใจว่าจะไม่แตะ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะทั้ง 3 สมมุติฐาน คือการเซ็นเช็คเปล่าให้กองทัพ เพื่อทำให้ชะตากรรมคนในพื้นที่ถูกจำกัด โดยอ้างภัยคุกคามด้านความมั่นคง และสร้างความเข้มแข็งให้กองทัพ ทำให้วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดเข้มแข็งขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่