คอนโดอายุ 23 ปี ค่าส่วนกลาง ตรม.ละ 25 บาท (ไม่สามารถขึ้นได้เพราะองค์ประชุมไม่ครบตาม พรบ.กำหนด)
คอนโด มีการประชุมเจ้าของร่วมโดยระบุเป็นวาระหลัก เรียกเก็บเงินเพื่อมาตรา 40(3) เพื่อเปลี่ยนท่อน้ำประปาจากเหล็กอาบสังกะสี ที่ผุ สนิมแน่ น้ำเป็นสีน้ำตาลปนสนิม และน้ำรั่วใส่ห้องลูกบ้านแทบทุกอาทิตย์เพราะท่อผุมาก ลูกบ้านก็ร้องเรียนนิติฯ ตลอดเวลา กรรมการจึงประชุมหาSupplier 3 บ. ใหญ่ๆ มาพรีเซนงานให้กรรมการ และได้ซักถาม เพื่อเปลี่ยนเป็นท่อ PPR
ในการประชุมเจ้าฯมี TOR, BOQ และ ใบเสนอราคา 3 บริษัท และ มีบริษัทมาพรีเซนให้ลูกบ้านได้ซักถามด้วย จบที่ราคา 1.29 ล้านต่อตึก( คอนโด9ชั้น ) เปลี่ยนทั้งแต่มิเตอร์ประปา - แท๊งค์น้ำดาดฟ้า
ผลโหวตในที่ประชุม "เห็นชอบ" ให้เปลี่ยนท่อน้ำประปา
ในระหว่างการทำงาน ก็มีลูกบ้านคิดต่าง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเจ้าของร่วมสูงวัยที่ไม่อยากเสียเงินเพิ่มและเจ้าของร่วมที่ปล่อยเช่า ไม่ได้พักอาศัยโจมตีโครงการนี้ต่างๆ นานาๆ
และถึงเวลางานส่งมอบ100% ระบบน้ำประปาใช้งานมีคุณภาพ น้ำแรงกว่าเดิม เสียงน้ำในท่อก็ไม่มี ไม่มีความเดือดร้อนใด
***แต่มีพวกหัวหมอไม่จ่ายและมาเล่นพรรคเล่นพวกโดยมี ทนายเป็นหัวโจก"มาประชุมแสดงตัวว่าเขาเป็นทนาย (กรรมการเก่าปล่อยเช่า) และข่มขู่ว่าจะฟ้องว่ากรรมการ แสดงกิริยาในที่ประชุมเหมือนกำลังว่าความในศาล ชี้หน้าพวกเราว่าทำผิดกฎหมาย การประชุมวิสามัญไม่ชอบด้วยกฎหมาย และค่าใช้จ่าย มาตรา40 จะมีค่าปรับไม่ได้ ***
(ทั้งที่ทุกอย่าง ทีมกรรมการได้มีที่ปรึกษาเป็นทนายและปรึกษานักกฎหมายประจำกรมที่ดิน ก่อนจัดการประชุม)
ซึ่งเราได้อ่านข้อบังคับคอนโดว่า ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกัน เป็นหนี้บุริมสิทธิเหมือนมาตรา 18 (ค่าส่วนกลาง)
อยากขอรบกวนขอความรู้นักกฎหมายว่า การประชุมเจ้าของร่วมได้ถูกจัดขึ้นตาม พรบ. ทุกประการ - มีวาระหลัก - เอกสารประกอบการประชุมครบ ลูกบ้านโหวตเห็นชอบให้เปลี่ยนท่อน้ำ ในกรณีลูกบ้านไม่ชำระหรือชำระล่าช้า นิติฯ สามารถมีค่าปรับตามกฎหมาย ได้หรือไม่คะ
ขอบคุณค่ะ
ค่าซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนกลางคอนโด มาตรา 40(3) ในกรณีลูกบ้านไม่ชำระในระยะเวลากำหนดสามารถเรียกเก็บค่าปรับตาม พรบ.
คอนโด มีการประชุมเจ้าของร่วมโดยระบุเป็นวาระหลัก เรียกเก็บเงินเพื่อมาตรา 40(3) เพื่อเปลี่ยนท่อน้ำประปาจากเหล็กอาบสังกะสี ที่ผุ สนิมแน่ น้ำเป็นสีน้ำตาลปนสนิม และน้ำรั่วใส่ห้องลูกบ้านแทบทุกอาทิตย์เพราะท่อผุมาก ลูกบ้านก็ร้องเรียนนิติฯ ตลอดเวลา กรรมการจึงประชุมหาSupplier 3 บ. ใหญ่ๆ มาพรีเซนงานให้กรรมการ และได้ซักถาม เพื่อเปลี่ยนเป็นท่อ PPR
ในการประชุมเจ้าฯมี TOR, BOQ และ ใบเสนอราคา 3 บริษัท และ มีบริษัทมาพรีเซนให้ลูกบ้านได้ซักถามด้วย จบที่ราคา 1.29 ล้านต่อตึก( คอนโด9ชั้น ) เปลี่ยนทั้งแต่มิเตอร์ประปา - แท๊งค์น้ำดาดฟ้า
ผลโหวตในที่ประชุม "เห็นชอบ" ให้เปลี่ยนท่อน้ำประปา
ในระหว่างการทำงาน ก็มีลูกบ้านคิดต่าง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเจ้าของร่วมสูงวัยที่ไม่อยากเสียเงินเพิ่มและเจ้าของร่วมที่ปล่อยเช่า ไม่ได้พักอาศัยโจมตีโครงการนี้ต่างๆ นานาๆ
และถึงเวลางานส่งมอบ100% ระบบน้ำประปาใช้งานมีคุณภาพ น้ำแรงกว่าเดิม เสียงน้ำในท่อก็ไม่มี ไม่มีความเดือดร้อนใด
***แต่มีพวกหัวหมอไม่จ่ายและมาเล่นพรรคเล่นพวกโดยมี ทนายเป็นหัวโจก"มาประชุมแสดงตัวว่าเขาเป็นทนาย (กรรมการเก่าปล่อยเช่า) และข่มขู่ว่าจะฟ้องว่ากรรมการ แสดงกิริยาในที่ประชุมเหมือนกำลังว่าความในศาล ชี้หน้าพวกเราว่าทำผิดกฎหมาย การประชุมวิสามัญไม่ชอบด้วยกฎหมาย และค่าใช้จ่าย มาตรา40 จะมีค่าปรับไม่ได้ ***
(ทั้งที่ทุกอย่าง ทีมกรรมการได้มีที่ปรึกษาเป็นทนายและปรึกษานักกฎหมายประจำกรมที่ดิน ก่อนจัดการประชุม)
ซึ่งเราได้อ่านข้อบังคับคอนโดว่า ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ส่วนกลาง เจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกัน เป็นหนี้บุริมสิทธิเหมือนมาตรา 18 (ค่าส่วนกลาง)
อยากขอรบกวนขอความรู้นักกฎหมายว่า การประชุมเจ้าของร่วมได้ถูกจัดขึ้นตาม พรบ. ทุกประการ - มีวาระหลัก - เอกสารประกอบการประชุมครบ ลูกบ้านโหวตเห็นชอบให้เปลี่ยนท่อน้ำ ในกรณีลูกบ้านไม่ชำระหรือชำระล่าช้า นิติฯ สามารถมีค่าปรับตามกฎหมาย ได้หรือไม่คะ
ขอบคุณค่ะ