สุขุมXนันทนาXศิโรตม์ ล้อมวงคุย ยุบก้าวไกลเท่ากับ 14 ล้านโดนโกง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4501414
รายการ สุขุมXนันทนาXศิโรตม์ สภากาแฟ โดย อ.
สุขุม นวลสกุล และ อ.
นันทนา นันทวโรภาส จากรายการเฮฮาสภากาแฟ และ
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ จาก มีเรื่องมาเคีลยร์ by
ศิโรตม์ ล้อมวงคุย ยุบก้าวไกลเท่ากับ 14 ล้านโดนโกง และการเมืองร้อนๆ ในรอบสัปดาห์
วิกฤต ฝุ่น PM 2.5 เครื่องบินขึ้น-ลง ลำบาก ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ หวั่นเกิดอุบัติเหตุ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8165474
เชียงใหม่ วิกฤต ฝุ่น PM 2.5 คัมแบ็ก ปกคลุมหนาแน่นมาก เครื่องบินขึ้น-ลง ลำบาก ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ หวั่นเกิดอุบัติเหตุ ส่วน ดอยสุเทพ ถูกหมอกควันกลืนหายวับอีกครั้ง
31 มี.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงาน พบ 2 ปัญหาหมอกควันไฟป่า พื้นที่ จ.เชียงใหม่ ปัญหาแรก ที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ จุดลงจอดของเครื่องบิน หรือเรียกว่า “
แลนด์ดิ้ง” “
ทัชดาวน์” หรือ “
สแปลชดาวน์”
สำหรับจุดแลนด์ดิ้งดังกล่าว ที่บริเวณบนสะพานลอย หน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ หน้าหมู่บ้านแกรนด์วิว-บ้านป่าเป้า หมู่ 10 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พบว่า จุดนี้เมื่อเครื่องบินกางล้อกำลังแลนด์ดิ้ง ลงจอด ด้วยสภาพอากาศปิด ทำให้สายตามองเห็นเครื่องบินในระยะใกล้เพียง 200-300 เมตรเท่านั้น
หรือหากนับ 1 ไม่ถึง 10 เครื่องบินจะหายไปกับหมอกควันพิษ ไม่สามารถมองเห็นเครื่องบินได้อีก เพราะวันนี้เกิดจากปัญหาหมอกควันที่มีจำนวนหนามากกว่าทุกวัน ระยะมองเห็นของผู้ขับขี่รถตามท้องถนนก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน นับว่าเป็นปัญหาของการบินในสนามบินเชียงใหม่ ที่ต้องยกเลิกสายการบินไปแล้วหลายเที่ยวบินก่อนหน้านั้น
ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่ หลายหน่วยงาน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าได้เลย ถึงแม้ว่า ในช่วงสัปดาห์นี้จะมีพายุฝนตกในหลายอำเภอใน จ.เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ ฝนที่ตกก็ยังไม่มากเท่าที่ควร ก็ยังเกิดไฟป่าและเกิดหมอกควันพิษจำนวนมากเช่นเดิม และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ในเช้าวันเดียวกัน ถนนทุกสายที่มุ่งหน้าเข้าหาดอยสุเทพ วันนี้จะไม่สามารถมองเห็นดอยสุเทพได้เลย เช่นถนนมหิดลมุ่งหน้าท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ ไม่เห็นดอยสุเทพเลยหายไปกับหมอกควันเช่นกัน
ส่วนปัญหาไฟป่า ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ใน อ.แม่วาง และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ สอบถามชาวบ้าน และจิตอาสาที่ลงพื้นที่ดับไฟป่า ก็ทราบปัญหาจำนวนมาก เช่น การสนับสนุนเรื่องของอาหารให้กับผู้ปฏิบัติงาน มีส่งมอบให้ แต่ไม่เพียงพอ น้ำมีพอให้ดื่มกิน แต่น้ำไม่เย็น เพราะลำบากในการแช่เย็น มีเพียงน้ำเป็นแพ๊กติดรถไว้ และนำไปกับตัวผู้ดับไฟ มีรวบรวมสิ่งของต่างๆ ไว้หลังรถยนต์ของจิตอาสาเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังพบจิตอาสาที่ดับไฟป่านอกจากมูลนิธิกระจกเงา บางคนจะเป็นคนนอกพื้นที่เชียงใหม่ มาจากอำเภออื่น และจังหวัดอื่น บางคนอาสามาดับไฟ เพราะครอบครัวบุตรหลานมีปัญหาสุขภาพ จึงอาสามาดับไฟ เพื่ออย่างน้อยๆ ครอบครัวที่ล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ จะช่วยให้สุขภาพเข้าดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อยก็ตาม
จิตอาสาดับไฟป่าบางคน ลงทุนซื้อเครื่องมือดับไฟป่าเอง เช่นเครื่องเป่าลม และนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าดับไฟป่าอีกด้วย
จิตอาสาคนหนึ่ง บอกว่า การดับไฟป่า หากพบไฟป่าที่เกิดขึ้นแล้วเผาไหม้เป็นระยะทางยาวๆ พื้นที่กว้างมากๆนั้น การเข้าไปดับโดยใช้คนเข้าไปในกองไฟนั้น จะอันตรายมาก เพราะไฟจะล้อมและเผาคนเข้าไปดับไฟเสียเอง
จึงต้องดับไฟโดยเผาป่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อชนกับไฟที่อยู่ในป่า เพื่อให้ดับไปพร้อมๆ กัน ที่เรียกว่า การใช้แบบ “ไฟชนไฟ” จึงเกิดไฟไหม้ป่าเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่ามากขึ้นตามมานั้นเอง
จึงส่งผลกระทบเกิดหมอกควันไฟป่าเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้รับผิดชอบดูแลแก้ไขปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่หลายภาคส่วนไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าได้ มาจนถึงทุกวันนี้ จิตอาสาคนหนึ่งกล่าว
EV จีนทุบ รถสันดาป-ชิ้นส่วน เต็นท์มือ 2 ระสํ่า จี้รัฐทำงานเชิงรุก
https://www.thansettakij.com/columnist/exclusive-area/592273
จีนบุกไทยเต็มสูบ ตบเท้าเข้ามาปักฐานลงทุนในไทยในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มีรัฐบาลไทยให้การส่งเสริมและสนับสนุน หวังกระตุ้นการลงทุนโดยเฉพาะการเปิดประตูส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV
ทั้งนี้รถ EV จีนมีทั้งการนำเข้ารถสำเร็จรูปและยึดไทยเป็นฐานผลิต จนเป็นกระแสนิยมทางเลือกใหม่มาตั้งแต่ปี 2566 ต่อเนื่องปัจจุบัน และอีกไม่เกิน 2-3 ปี ไทยจะมีฐานผลิตรถ EVจากจีนเปิดไลน์ผลิตได้เป็นลำดับถัดไปอย่างน่าจับตา
“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์ นาย
โกวิทย์ ว่องกลกิจศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคาลโซนิค จำกัด และอุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย หนึ่งในกูรูวงการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อฉายภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ และมุมมองในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการจากทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทยในยุคที่อุตสาหกรรมเคยบูมสุดขีด จนมาสู่ยุคที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่
• EV จีน สะเทือนรถสันดาป-ชิ้นส่วน
นาย
โกวิทย์ กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปี 2567 ต้องจับตาให้ดี เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบมีความปั่นป่วนมาก มีต้นเหตุจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ในแง่ปัจจัยภายใน เศรษฐกิจภาพใหญ่เริ่มกระทบตั้งแต่ตั้งรัฐบาลล่าช้า และทำให้งบประมาณรายจ่ายปี 2567 มีความล่าช้า กระทบการลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามแผน
อีกทั้งมีปัญหาหนี้เสียจากการบริโภครถยนต์และที่อยู่อาศัย ที่จะเป็นปัญหาโยงถึงยอดการซื้อรถยนต์ใหม่ในปี 2567 จะแย่ลง ถ้าไล่ดูจะเห็นว่าปี 2566 จะมีรถ EV จากจีนเข้ามาประมาณ 70,000 คันที่ขายได้ ทดแทนตลาดรถสันดาป พอปลายปี 2566 มีเรื่องหนี้เสียเกิดขึ้นไฟแนนซ์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยกู้ ฉะนั้นในปี 2567 คาดจะทำให้ภาพรวมยอดขายรถหายไป 25-30%
“ในอดีตลูกค้า 100 ราย แบงก์ปล่อยกู้ให้ 70 ราย ตอนนี้จะเหลือเพียง 50 ราย ที่น่าติดตามคือรถสันดาปมือสองราคาดิ่งลงมาก เต้นท์รถมือสองระสํ่า ยิ่งทำให้วงจรรถใหม่ที่จะออกมาขายมีปัญหา ตรงนี้ตอบโจทย์ชัดถึงความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในปีนี้แน่นอน”
ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น คือสินค้าจากจีนทะลักเข้ามาไทยจำนวนมากและมีความหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเม็ดพลาสติก กระจก เหล็ก อีกทั้งรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปจากจีนที่คนแห่ให้ความสนใจตั้งแต่ปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
“ภาครัฐบาลจะต้องมองเป็นภาพใหญ่ทั้งหมด เฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มยานยนต์สันดาปก็กระทบไปหลายส่วน บางรายต้องลดกำลังการผลิตลงเพราะแข่งขันกับรถไฟฟ้าหรือรถอีวีจีนไม่ไหว ยอมรับว่าชิ้นส่วนยานยนต์ยอดผู้ผลิตไทยลดลงและกำลังอยู่ในโหมดการปรับตัวขนานใหญ่”
ประการต่อมา ยังต้องติดตามเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หากแย่ลงก็หมายความว่าการซื้อสินค้าของอเมริกาจากทั่วโลกจะลดลงตามไปด้วย และจะกระทบถึงไทยด้วย ตรงนี้ต้องรอดูสถานการณ์อีก 2 เดือนจะเห็นภาพชัด ฉะนั้นตลอดปี 2567 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะเกิดการผันผวนมาก
• กระทุ้งรัฐทำงานเชิงรุก
เมื่อถามว่าผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรถึงจะรักษาฐานการผลิตไว้ได้ นายโกวิทย์ กล่าวว่า เราต้องกลับไปทบทวนและเลือกยึดหลักการเดิมคือ
1. ถอดโมเดลที่ปรับตัวและใช้ในช่วงวิกฤตโควิด บริหารความเสี่ยงทุกด้าน
2. หันไปนำเข้าวัตถุดิบผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากจีนมากขึ้นในระยะสั้นเป็นการชั่วคราวเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ผลิตในประเทศในระยะยาว
3. หาทางเปิดตลาดใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถสันดาปมากขึ้น
4. รัฐบาลจะต้องมองภาพรวมให้เห็นว่าไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าอะไรบ้างที่จีนส่งเข้ามาขายและควรจะรับมืออย่างไรให้รวดเร็ว และมองมาตรการจัดการในระดับประเทศต่อประเทศ
5. รัฐบาลต้องคิดรับมือด้วยมาตรการตอบโต้รูปแบบต่าง ๆ
6. รัฐบาลต้องลงมาช่วยภาคเอกชนหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น และหารือกับภาคเอกชนให้มากขึ้นเพื่อรับมือกับจีน และหาแนวทางช่วย ไม่ใช่รอให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำเสนอว่าต้องการให้รัฐช่วยอะไรบ้าง
• กระแสความนิยมรถไฟฟ้ามาแรง
นาย
โกวิทย์ ยอมรับว่า เวลานี้กระแสนิยมรถยนต์ไฟฟ้ารุนแรงเพราะราคาถูก ค่าไฟฟ้าถูกกว่าค่าน้ำมันยิ่งทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้รถยนต์คันแรกตรงนี้ต้องบอกว่ามันเกิดความนิยมรุนแรงเกินกว่าปกติ ทั้งหลายทั้งมวลคิดว่ารัฐบาลใส่มาตรการช่วยเหลือมาตรการกระตุ้นรถอีวีจากจีนมากเกินไป ซึ่งนอกจากไทยเปิดช่องให้ภาษีนำเข้ารถอีวีเป็นศูนย์แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนอาจให้การสนับสนุนรถอีวีส่งออกอีกด้วย ถ้าใช่ก็หมายความว่ารถอีวีจากจีนได้รับการสนับสนุนหลายเด้งในเวลานี้ ในขณะที่รถสันดาปก็ต้องปรับตัวไปซักพัก ในแง่ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ต้องรุกหนักในการหาตลาดส่งออก
“ถ้ามีการสนับสนุนรถอีวีแบบนี้ก็ต้องยอมรับสภาพไป ก่อนเกิดวิกฤตโควิดเราขายรถยนต์ในประเทศได้ประมาณ 1 ล้านคันต่อปี ส่งออกก็ประมาณ 1 ล้านคันต่อปี พอปี 2566 ตลาดในประเทศขายได้ 775,000 คันและในจำนวนนี้ก็เป็นรถอีวี75,000 คัน และเป็นรถยนต์สันดาป700,000 คัน รถอีวีเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งไป ยอดขายรถยนต์สันดาปในประเทศหายไปตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดไปทั่วโลก ถึงวันนี้ก็ยังไม่กลับมาสู่สภาวะปกติ
•
ค่ายรถสันดาปญี่ปุ่นในไทยยังไปได้
วันนี้ถึงแม้กระแสรถยนต์อีวีจะมาแรงไปทั่วโลก แต่ก็ยังมีกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนายังต้องการใช้รถยนต์สันดาปอยู่ เช่นโซนอัฟริกา ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะยึดหลักคล้ายกันคือ จะใช้โรงงานผลิตในไทยซึ่งมีฐานอยู่แล้วจำนวนมากเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถสันดาปผลิตเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ตรงนี้ในแง่รัฐบาลจะต้องจับมือกับภาคเอกชนช่วยกันหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพราะบางประเทศจำเป็นต้องมีรัฐบาลช่วยนำร่อง ถึงจะเข้าไปเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น ในขณะที่บางฐานการผลิตในยุโรป อ เมริกาก็จะปรับเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อีวีไป
“สาเหตุทำไมชิ้นส่วนรถอีวีไม่ผลิตในไทย ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงให้หันมาใช้รถยนต์อีวีจุดเริ่มต้นมันเป็นกระแสที่รุนแรงที่จีน และยุโรปแต่ยังไม่ใช่เอเชีย เพราะที่จีนประสบปัญหาเรื่องมลพิษเยอะมาก ขณะที่ยุโรปและอเมริกา มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการผลิตรถอีวี และมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมมากกว่า”
• ย้ำไทยยังเป็นฐานผลิตสำคัญ
เมื่อถามว่าภาพรวมประเทศไทยยังเหมาะที่จะเป็นฐานการผลิตยานยนต์ต่อไปหรือไม่ นายโกวิทย์ ย้ำว่า ไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เพียงแต่รัฐบาลยังต้องช่วยสนับสนุน เพราะที่ ผ่านมากลุ่มทุนญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนก่อนแล้วจำนวนมาก เมื่อวันนี้มีการแข่งขันสูง รัฐบาลก็ต้องดูแลทุนญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย โดยมองว่าขาอีกข้างรัฐบาลต้องรักษาไว้คือกลุ่มทุนเดิมที่เข้ามาอยู่ก่อนจำนวนมาก ซึ่งทุนจากญี่ปุ่นจะเป็นกลุ่มทุนหลักที่ยึดไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญมาอย่างต่อเนื่องมายาวนาน วันนี้กลุ่มทุนจีนที่เข้ามาก็เป็นคู่แข่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
ส่วนที่มองกันว่าอุตสาหกรรมหลายอย่างถูกเวียดนามตามทันและพัฒนาแซงหน้าไปแล้วนั้น โดยส่วนตัวมองว่ายานยนต์น่าจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่มองเห็นชัดเจนว่ายากมากที่เวียดนามจะปาดหน้าเราในระยะ 5 ปีจากนี้ไป เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะสูง และมีซัพพลายเชนจำนวนมาก และประเทศไทยก็สร้างอุตสาหกรรมนี้มานาน 60-70 ปี สั่งสมประสบการณ์มายาวนานและได้รับการยอมรับจนกลายเป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจและถูกจับตามอง
จึงต้องตอกย้ำว่ารัฐบาลไทยต้องรักษาฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไว้ให้ดีโดยเฉพาะกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนอยู่ก่อนแล้วจำนวนมาก บางรายย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเข้ามาปักห
JJNY : ยุบก้าวไกลเท่ากับ 14 ล.โดนโกง│วิกฤต PM 2.5 เครื่องบินขึ้น-ลงลำบาก│EV จีนทุบรถ เต็นท์มือ2 ระสํ่า│ชาวจีนเรือล่ม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4501414
รายการ สุขุมXนันทนาXศิโรตม์ สภากาแฟ โดย อ.สุขุม นวลสกุล และ อ.นันทนา นันทวโรภาส จากรายการเฮฮาสภากาแฟ และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ จาก มีเรื่องมาเคีลยร์ by ศิโรตม์ ล้อมวงคุย ยุบก้าวไกลเท่ากับ 14 ล้านโดนโกง และการเมืองร้อนๆ ในรอบสัปดาห์
วิกฤต ฝุ่น PM 2.5 เครื่องบินขึ้น-ลง ลำบาก ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ หวั่นเกิดอุบัติเหตุ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8165474
เชียงใหม่ วิกฤต ฝุ่น PM 2.5 คัมแบ็ก ปกคลุมหนาแน่นมาก เครื่องบินขึ้น-ลง ลำบาก ทัศนวิสัยการมองเห็นต่ำ หวั่นเกิดอุบัติเหตุ ส่วน ดอยสุเทพ ถูกหมอกควันกลืนหายวับอีกครั้ง
31 มี.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงาน พบ 2 ปัญหาหมอกควันไฟป่า พื้นที่ จ.เชียงใหม่ ปัญหาแรก ที่ท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ จุดลงจอดของเครื่องบิน หรือเรียกว่า “แลนด์ดิ้ง” “ทัชดาวน์” หรือ “สแปลชดาวน์”
สำหรับจุดแลนด์ดิ้งดังกล่าว ที่บริเวณบนสะพานลอย หน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ หน้าหมู่บ้านแกรนด์วิว-บ้านป่าเป้า หมู่ 10 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พบว่า จุดนี้เมื่อเครื่องบินกางล้อกำลังแลนด์ดิ้ง ลงจอด ด้วยสภาพอากาศปิด ทำให้สายตามองเห็นเครื่องบินในระยะใกล้เพียง 200-300 เมตรเท่านั้น
หรือหากนับ 1 ไม่ถึง 10 เครื่องบินจะหายไปกับหมอกควันพิษ ไม่สามารถมองเห็นเครื่องบินได้อีก เพราะวันนี้เกิดจากปัญหาหมอกควันที่มีจำนวนหนามากกว่าทุกวัน ระยะมองเห็นของผู้ขับขี่รถตามท้องถนนก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน นับว่าเป็นปัญหาของการบินในสนามบินเชียงใหม่ ที่ต้องยกเลิกสายการบินไปแล้วหลายเที่ยวบินก่อนหน้านั้น
ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่ หลายหน่วยงาน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าได้เลย ถึงแม้ว่า ในช่วงสัปดาห์นี้จะมีพายุฝนตกในหลายอำเภอใน จ.เชียงใหม่ และอีกหลายจังหวัดในภาคเหนือ ฝนที่ตกก็ยังไม่มากเท่าที่ควร ก็ยังเกิดไฟป่าและเกิดหมอกควันพิษจำนวนมากเช่นเดิม และแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ในเช้าวันเดียวกัน ถนนทุกสายที่มุ่งหน้าเข้าหาดอยสุเทพ วันนี้จะไม่สามารถมองเห็นดอยสุเทพได้เลย เช่นถนนมหิดลมุ่งหน้าท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ ไม่เห็นดอยสุเทพเลยหายไปกับหมอกควันเช่นกัน
ส่วนปัญหาไฟป่า ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ใน อ.แม่วาง และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ สอบถามชาวบ้าน และจิตอาสาที่ลงพื้นที่ดับไฟป่า ก็ทราบปัญหาจำนวนมาก เช่น การสนับสนุนเรื่องของอาหารให้กับผู้ปฏิบัติงาน มีส่งมอบให้ แต่ไม่เพียงพอ น้ำมีพอให้ดื่มกิน แต่น้ำไม่เย็น เพราะลำบากในการแช่เย็น มีเพียงน้ำเป็นแพ๊กติดรถไว้ และนำไปกับตัวผู้ดับไฟ มีรวบรวมสิ่งของต่างๆ ไว้หลังรถยนต์ของจิตอาสาเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังพบจิตอาสาที่ดับไฟป่านอกจากมูลนิธิกระจกเงา บางคนจะเป็นคนนอกพื้นที่เชียงใหม่ มาจากอำเภออื่น และจังหวัดอื่น บางคนอาสามาดับไฟ เพราะครอบครัวบุตรหลานมีปัญหาสุขภาพ จึงอาสามาดับไฟ เพื่ออย่างน้อยๆ ครอบครัวที่ล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ จะช่วยให้สุขภาพเข้าดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อยก็ตาม
จิตอาสาดับไฟป่าบางคน ลงทุนซื้อเครื่องมือดับไฟป่าเอง เช่นเครื่องเป่าลม และนำรถยนต์ส่วนตัวเข้าดับไฟป่าอีกด้วย
จิตอาสาคนหนึ่ง บอกว่า การดับไฟป่า หากพบไฟป่าที่เกิดขึ้นแล้วเผาไหม้เป็นระยะทางยาวๆ พื้นที่กว้างมากๆนั้น การเข้าไปดับโดยใช้คนเข้าไปในกองไฟนั้น จะอันตรายมาก เพราะไฟจะล้อมและเผาคนเข้าไปดับไฟเสียเอง
จึงต้องดับไฟโดยเผาป่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อชนกับไฟที่อยู่ในป่า เพื่อให้ดับไปพร้อมๆ กัน ที่เรียกว่า การใช้แบบ “ไฟชนไฟ” จึงเกิดไฟไหม้ป่าเพิ่มขึ้น และเกิดปัญหาหมอกควันไฟป่ามากขึ้นตามมานั้นเอง
จึงส่งผลกระทบเกิดหมอกควันไฟป่าเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้รับผิดชอบดูแลแก้ไขปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่หลายภาคส่วนไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาไฟป่าได้ มาจนถึงทุกวันนี้ จิตอาสาคนหนึ่งกล่าว
EV จีนทุบ รถสันดาป-ชิ้นส่วน เต็นท์มือ 2 ระสํ่า จี้รัฐทำงานเชิงรุก
https://www.thansettakij.com/columnist/exclusive-area/592273
จีนบุกไทยเต็มสูบ ตบเท้าเข้ามาปักฐานลงทุนในไทยในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มีรัฐบาลไทยให้การส่งเสริมและสนับสนุน หวังกระตุ้นการลงทุนโดยเฉพาะการเปิดประตูส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า หรือรถ EV
ทั้งนี้รถ EV จีนมีทั้งการนำเข้ารถสำเร็จรูปและยึดไทยเป็นฐานผลิต จนเป็นกระแสนิยมทางเลือกใหม่มาตั้งแต่ปี 2566 ต่อเนื่องปัจจุบัน และอีกไม่เกิน 2-3 ปี ไทยจะมีฐานผลิตรถ EVจากจีนเปิดไลน์ผลิตได้เป็นลำดับถัดไปอย่างน่าจับตา
“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์ นายโกวิทย์ ว่องกลกิจศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคาลโซนิค จำกัด และอุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย หนึ่งในกูรูวงการชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อฉายภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ และมุมมองในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการจากทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในไทยในยุคที่อุตสาหกรรมเคยบูมสุดขีด จนมาสู่ยุคที่ต้องปรับตัวครั้งใหญ่
• EV จีน สะเทือนรถสันดาป-ชิ้นส่วน
นายโกวิทย์ กล่าวว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปี 2567 ต้องจับตาให้ดี เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบมีความปั่นป่วนมาก มีต้นเหตุจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ในแง่ปัจจัยภายใน เศรษฐกิจภาพใหญ่เริ่มกระทบตั้งแต่ตั้งรัฐบาลล่าช้า และทำให้งบประมาณรายจ่ายปี 2567 มีความล่าช้า กระทบการลงทุนภาครัฐไม่เป็นไปตามแผน
อีกทั้งมีปัญหาหนี้เสียจากการบริโภครถยนต์และที่อยู่อาศัย ที่จะเป็นปัญหาโยงถึงยอดการซื้อรถยนต์ใหม่ในปี 2567 จะแย่ลง ถ้าไล่ดูจะเห็นว่าปี 2566 จะมีรถ EV จากจีนเข้ามาประมาณ 70,000 คันที่ขายได้ ทดแทนตลาดรถสันดาป พอปลายปี 2566 มีเรื่องหนี้เสียเกิดขึ้นไฟแนนซ์เริ่มเข้มงวดในการปล่อยกู้ ฉะนั้นในปี 2567 คาดจะทำให้ภาพรวมยอดขายรถหายไป 25-30%
“ในอดีตลูกค้า 100 ราย แบงก์ปล่อยกู้ให้ 70 ราย ตอนนี้จะเหลือเพียง 50 ราย ที่น่าติดตามคือรถสันดาปมือสองราคาดิ่งลงมาก เต้นท์รถมือสองระสํ่า ยิ่งทำให้วงจรรถใหม่ที่จะออกมาขายมีปัญหา ตรงนี้ตอบโจทย์ชัดถึงความผันผวนที่จะเกิดขึ้นในปีนี้แน่นอน”
ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น คือสินค้าจากจีนทะลักเข้ามาไทยจำนวนมากและมีความหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเม็ดพลาสติก กระจก เหล็ก อีกทั้งรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปจากจีนที่คนแห่ให้ความสนใจตั้งแต่ปีที่แล้วต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
“ภาครัฐบาลจะต้องมองเป็นภาพใหญ่ทั้งหมด เฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มยานยนต์สันดาปก็กระทบไปหลายส่วน บางรายต้องลดกำลังการผลิตลงเพราะแข่งขันกับรถไฟฟ้าหรือรถอีวีจีนไม่ไหว ยอมรับว่าชิ้นส่วนยานยนต์ยอดผู้ผลิตไทยลดลงและกำลังอยู่ในโหมดการปรับตัวขนานใหญ่”
ประการต่อมา ยังต้องติดตามเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หากแย่ลงก็หมายความว่าการซื้อสินค้าของอเมริกาจากทั่วโลกจะลดลงตามไปด้วย และจะกระทบถึงไทยด้วย ตรงนี้ต้องรอดูสถานการณ์อีก 2 เดือนจะเห็นภาพชัด ฉะนั้นตลอดปี 2567 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะเกิดการผันผวนมาก
• กระทุ้งรัฐทำงานเชิงรุก
เมื่อถามว่าผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรถึงจะรักษาฐานการผลิตไว้ได้ นายโกวิทย์ กล่าวว่า เราต้องกลับไปทบทวนและเลือกยึดหลักการเดิมคือ
1. ถอดโมเดลที่ปรับตัวและใช้ในช่วงวิกฤตโควิด บริหารความเสี่ยงทุกด้าน
2. หันไปนำเข้าวัตถุดิบผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากจีนมากขึ้นในระยะสั้นเป็นการชั่วคราวเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ผลิตในประเทศในระยะยาว
3. หาทางเปิดตลาดใหม่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถสันดาปมากขึ้น
4. รัฐบาลจะต้องมองภาพรวมให้เห็นว่าไทยได้รับผลกระทบจากสินค้าอะไรบ้างที่จีนส่งเข้ามาขายและควรจะรับมืออย่างไรให้รวดเร็ว และมองมาตรการจัดการในระดับประเทศต่อประเทศ
5. รัฐบาลต้องคิดรับมือด้วยมาตรการตอบโต้รูปแบบต่าง ๆ
6. รัฐบาลต้องลงมาช่วยภาคเอกชนหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้น และหารือกับภาคเอกชนให้มากขึ้นเพื่อรับมือกับจีน และหาแนวทางช่วย ไม่ใช่รอให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำเสนอว่าต้องการให้รัฐช่วยอะไรบ้าง
• กระแสความนิยมรถไฟฟ้ามาแรง
นายโกวิทย์ ยอมรับว่า เวลานี้กระแสนิยมรถยนต์ไฟฟ้ารุนแรงเพราะราคาถูก ค่าไฟฟ้าถูกกว่าค่าน้ำมันยิ่งทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ใช้รถยนต์คันแรกตรงนี้ต้องบอกว่ามันเกิดความนิยมรุนแรงเกินกว่าปกติ ทั้งหลายทั้งมวลคิดว่ารัฐบาลใส่มาตรการช่วยเหลือมาตรการกระตุ้นรถอีวีจากจีนมากเกินไป ซึ่งนอกจากไทยเปิดช่องให้ภาษีนำเข้ารถอีวีเป็นศูนย์แล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนอาจให้การสนับสนุนรถอีวีส่งออกอีกด้วย ถ้าใช่ก็หมายความว่ารถอีวีจากจีนได้รับการสนับสนุนหลายเด้งในเวลานี้ ในขณะที่รถสันดาปก็ต้องปรับตัวไปซักพัก ในแง่ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ต้องรุกหนักในการหาตลาดส่งออก
“ถ้ามีการสนับสนุนรถอีวีแบบนี้ก็ต้องยอมรับสภาพไป ก่อนเกิดวิกฤตโควิดเราขายรถยนต์ในประเทศได้ประมาณ 1 ล้านคันต่อปี ส่งออกก็ประมาณ 1 ล้านคันต่อปี พอปี 2566 ตลาดในประเทศขายได้ 775,000 คันและในจำนวนนี้ก็เป็นรถอีวี75,000 คัน และเป็นรถยนต์สันดาป700,000 คัน รถอีวีเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งไป ยอดขายรถยนต์สันดาปในประเทศหายไปตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิดไปทั่วโลก ถึงวันนี้ก็ยังไม่กลับมาสู่สภาวะปกติ
• ค่ายรถสันดาปญี่ปุ่นในไทยยังไปได้
วันนี้ถึงแม้กระแสรถยนต์อีวีจะมาแรงไปทั่วโลก แต่ก็ยังมีกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนายังต้องการใช้รถยนต์สันดาปอยู่ เช่นโซนอัฟริกา ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะยึดหลักคล้ายกันคือ จะใช้โรงงานผลิตในไทยซึ่งมีฐานอยู่แล้วจำนวนมากเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนรถสันดาปผลิตเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ตรงนี้ในแง่รัฐบาลจะต้องจับมือกับภาคเอกชนช่วยกันหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพราะบางประเทศจำเป็นต้องมีรัฐบาลช่วยนำร่อง ถึงจะเข้าไปเปิดตลาดได้ง่ายขึ้น ในขณะที่บางฐานการผลิตในยุโรป อ เมริกาก็จะปรับเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อีวีไป
“สาเหตุทำไมชิ้นส่วนรถอีวีไม่ผลิตในไทย ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงให้หันมาใช้รถยนต์อีวีจุดเริ่มต้นมันเป็นกระแสที่รุนแรงที่จีน และยุโรปแต่ยังไม่ใช่เอเชีย เพราะที่จีนประสบปัญหาเรื่องมลพิษเยอะมาก ขณะที่ยุโรปและอเมริกา มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการผลิตรถอีวี และมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมมากกว่า”
• ย้ำไทยยังเป็นฐานผลิตสำคัญ
เมื่อถามว่าภาพรวมประเทศไทยยังเหมาะที่จะเป็นฐานการผลิตยานยนต์ต่อไปหรือไม่ นายโกวิทย์ ย้ำว่า ไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ เพียงแต่รัฐบาลยังต้องช่วยสนับสนุน เพราะที่ ผ่านมากลุ่มทุนญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนก่อนแล้วจำนวนมาก เมื่อวันนี้มีการแข่งขันสูง รัฐบาลก็ต้องดูแลทุนญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย โดยมองว่าขาอีกข้างรัฐบาลต้องรักษาไว้คือกลุ่มทุนเดิมที่เข้ามาอยู่ก่อนจำนวนมาก ซึ่งทุนจากญี่ปุ่นจะเป็นกลุ่มทุนหลักที่ยึดไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญมาอย่างต่อเนื่องมายาวนาน วันนี้กลุ่มทุนจีนที่เข้ามาก็เป็นคู่แข่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด
ส่วนที่มองกันว่าอุตสาหกรรมหลายอย่างถูกเวียดนามตามทันและพัฒนาแซงหน้าไปแล้วนั้น โดยส่วนตัวมองว่ายานยนต์น่าจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่มองเห็นชัดเจนว่ายากมากที่เวียดนามจะปาดหน้าเราในระยะ 5 ปีจากนี้ไป เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะสูง และมีซัพพลายเชนจำนวนมาก และประเทศไทยก็สร้างอุตสาหกรรมนี้มานาน 60-70 ปี สั่งสมประสบการณ์มายาวนานและได้รับการยอมรับจนกลายเป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจและถูกจับตามอง
จึงต้องตอกย้ำว่ารัฐบาลไทยต้องรักษาฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งระบบไว้ให้ดีโดยเฉพาะกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนอยู่ก่อนแล้วจำนวนมาก บางรายย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเข้ามาปักห