ผมเข้าใจจากหลักทรัพย์เจ้าหนึ่ง (ซื่งแต่ละเจ้าอาจแตกต่างกัน)
A) KIKO (Knock in - Knock Out) เป็นการลงทุนประเภทหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง โดยผู้ออกหุ้นกู้จะให้ดอกเบี้ย (ที่ดึงดูดมาก ประมาณ 6-10% ต่อปี) เดือนละครั้งตลอดอายุสัญญาเช่น 6 เดือน หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิง (underlying asset เช่นราคาหุ้นตัวนึงหรือหลายตัว) ไม่ต่ำกว่ากรอบล่าง เช่น 80% (Knock in) และไม่สูงเกินกรอบบน เช่น 105% (Knock Out) โดยหากระหว่างสัญญา ราคาหุ้นนั้นเกินกรอบบน ณ. วันสังเกตุการณ์ เราจะได้ดอกเบี้ยเดือนนั้นพร้อมเงินต้นคืนทันทีโดยไม่รอให้หมดอายุสัญญา แต่หากวันใดวันหนึ่งราคาหุ้นหล่นต่ำกว่ากรอบล่าง ต้องรอดูวันครบสัญญาว่าขึ้นมาเหนือ exercise price หรือไม่ ถ้าถึง ก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย ถ้าไม่ถึง จะได้ดอกเบี้ยแต่เงินต้นจะคืนเป็นหุ้น ณ.ราคา exercise price ที่ตกลงกันไว้
B) BELN (Basket Equity Linked Note) จะค่อนข้างเสี่ยงกว่าแบบแรก โดยจะเป็นตราสารหนี้ที่อ้างอิงราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเช่นกัน แต่จะไม่มีกรอบการแกว่งของราคาให้ (ไม่มีกรอบล่าง กรอบบน) จะมีราคาเดียวคือราคาตกลงกัน (exercise price) และไม่มีวันสังเกตุการณ์ระหว่างทาง แต่จะดูกันวันเดียวเลย ณ. วันสิ้นสุดสัญญา เช่น 3 เดือนว่าราคาสูงเกินที่ตกลงกันไหม ถ้าเท่ากันหรือสูงกว่า จะได้รับเงินต้นหรือดอกเบี้ยซึ่งสูงมากๆๆๆ (ถ้าคิด annualized อาจสูงเกือบ 40% ต่อปี) แต่ถ้าต่ำกว่า จะไม่ได้รับดอกเบี้ยเลยแถมชวดเงินต้นแต่ได้รับเป็นหุ้นแทน
คำถามผมคือ
1. หาก บ.หลักทรัพย์ ที่ออกผลิตภัณฑ์แบบนี้ ได้รับ credit rating ที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ทำไมไม่ออกหุ้นกู้ไปตรงๆ ซึ่งดอกเบี้ยน่าจะน้อยกว่าผลิตภัณฑ์แบบนี้
2. ผมอยากทราบว่าบ.หลักทรัพย์ ทำอย่างไรกับเงินของเรา เช่น นำไปลงทุนในหุ้นเอง หรือนำไปใช้ในการทำสัญญาล่วงหน้าบางอย่าง แล้วเค้าเสี่ยงแค่ไหนทำไมถึงกล้าให้ดอกเบี้ยสูงขนาดนี้ (เช่นกรณี BELN)
3. อย่างในกรณี BELN นักลงทุนทุกคนคงต้องภาวนาให้ราคา ณ. วันสิ้นสุดสัญญาเท่ากับหรือสูงกว่าที่ตกลงกัน ผมอยากทราบว่า บ.หลักทรัพย์เค้า bet ในทิศทางตรงข้ามเราหรือไม่ หรือเค้าได้ประโยชน์ทั้งสองทาง
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ หากข้อมูลผมผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
ใครเคยลงทุนผลิตภัณฑ์ประเภท KIKO หรือ BELN รบกวนสอบถามหน่อยครับ
A) KIKO (Knock in - Knock Out) เป็นการลงทุนประเภทหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง โดยผู้ออกหุ้นกู้จะให้ดอกเบี้ย (ที่ดึงดูดมาก ประมาณ 6-10% ต่อปี) เดือนละครั้งตลอดอายุสัญญาเช่น 6 เดือน หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิง (underlying asset เช่นราคาหุ้นตัวนึงหรือหลายตัว) ไม่ต่ำกว่ากรอบล่าง เช่น 80% (Knock in) และไม่สูงเกินกรอบบน เช่น 105% (Knock Out) โดยหากระหว่างสัญญา ราคาหุ้นนั้นเกินกรอบบน ณ. วันสังเกตุการณ์ เราจะได้ดอกเบี้ยเดือนนั้นพร้อมเงินต้นคืนทันทีโดยไม่รอให้หมดอายุสัญญา แต่หากวันใดวันหนึ่งราคาหุ้นหล่นต่ำกว่ากรอบล่าง ต้องรอดูวันครบสัญญาว่าขึ้นมาเหนือ exercise price หรือไม่ ถ้าถึง ก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย ถ้าไม่ถึง จะได้ดอกเบี้ยแต่เงินต้นจะคืนเป็นหุ้น ณ.ราคา exercise price ที่ตกลงกันไว้
B) BELN (Basket Equity Linked Note) จะค่อนข้างเสี่ยงกว่าแบบแรก โดยจะเป็นตราสารหนี้ที่อ้างอิงราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเช่นกัน แต่จะไม่มีกรอบการแกว่งของราคาให้ (ไม่มีกรอบล่าง กรอบบน) จะมีราคาเดียวคือราคาตกลงกัน (exercise price) และไม่มีวันสังเกตุการณ์ระหว่างทาง แต่จะดูกันวันเดียวเลย ณ. วันสิ้นสุดสัญญา เช่น 3 เดือนว่าราคาสูงเกินที่ตกลงกันไหม ถ้าเท่ากันหรือสูงกว่า จะได้รับเงินต้นหรือดอกเบี้ยซึ่งสูงมากๆๆๆ (ถ้าคิด annualized อาจสูงเกือบ 40% ต่อปี) แต่ถ้าต่ำกว่า จะไม่ได้รับดอกเบี้ยเลยแถมชวดเงินต้นแต่ได้รับเป็นหุ้นแทน
คำถามผมคือ
1. หาก บ.หลักทรัพย์ ที่ออกผลิตภัณฑ์แบบนี้ ได้รับ credit rating ที่ค่อนข้างดีอยู่แล้ว ทำไมไม่ออกหุ้นกู้ไปตรงๆ ซึ่งดอกเบี้ยน่าจะน้อยกว่าผลิตภัณฑ์แบบนี้
2. ผมอยากทราบว่าบ.หลักทรัพย์ ทำอย่างไรกับเงินของเรา เช่น นำไปลงทุนในหุ้นเอง หรือนำไปใช้ในการทำสัญญาล่วงหน้าบางอย่าง แล้วเค้าเสี่ยงแค่ไหนทำไมถึงกล้าให้ดอกเบี้ยสูงขนาดนี้ (เช่นกรณี BELN)
3. อย่างในกรณี BELN นักลงทุนทุกคนคงต้องภาวนาให้ราคา ณ. วันสิ้นสุดสัญญาเท่ากับหรือสูงกว่าที่ตกลงกัน ผมอยากทราบว่า บ.หลักทรัพย์เค้า bet ในทิศทางตรงข้ามเราหรือไม่ หรือเค้าได้ประโยชน์ทั้งสองทาง
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ หากข้อมูลผมผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ