ในช่วงเวลาที่ยากลำบากมนุษย์นั้นมักหาทางแก้ปัญหาเสมอ แน่นอนว่าในสงครามก็ไม่เว้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแก้ปัญหาสนามเพลาะด้วยรถถัง สงครามโลกครั้งที่สองมีกลยุทธ์ต่างๆที่ช่วยเอาชนะกลยุทธ์จากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เวียดนามทหารแอบในป่าก็เผาทิ้งให้หมด ฯลฯ
มาในสงครามรัสเซียยูเครน ปัญหาโดยเฉพาะในตอนนี้คือ "ทิ้งระเบิดยังไงไม่ให้โดนขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานฝ่ายตรงข้ามยิงตก", รัสเซียมีระเบิดจำนวนนับไม่ถ้วนอยู่ในคลังแต่ทว่ากลับเอามันมาใช้ไม่ได้เลย ทว่าปัญหานี้นั้นถูกแก้ไปนานแล้ว เพื่อที่จะเห็นวิธีแก้ปัญหานี้เราต้องย้อนกลับไปที่สงครามอ่าว (Gulf War)
จุดเรื่มต้นของชุดระเบิดร่อน
สำหรับใครหลายๆคนที่รู้เรื่องยุทโธปกรณ์บ้างก็น่าจะเห็นความคล้ายคลึงระหว่าง JDAM กับ UMPK, นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญครับแต่ปัญหาที่อเมริกาเจอนั้นก็ไม่เป็นปัญหาเฉิงเดียวกับที่รัสเซียเจอเหมิอนกัน
อเมริกาในช่วงนั้นไม่มีระเบิดนำวิถิที่ใช้ได้ในทุกสภาพอากาศ เลเซอร์ที่ใช้นำวิถิกับอาวุธนั้นแม่นในสภาพอากาศที่ดี ทว่าในเชิงปฏิบัตินั้น เมฆ, ฝุ่น, ควันและหมอกนั้นป้องกันให้เลเซอร์ไม่สามารถให้ตำแหน่งที่แม่นยำให้กับระเบิดได้เลยมีทฤษฎีว่าจะใช้ระบบ GPS เป็นตัวนำวิถิแทน
ผมจะขอข้ามประวัติการใช้งานเพราะมันค้อนข้างยาวแต่ว่าในช่วงทดสอบนั้น ระเบิดที่มีชุด JDAM ติดตั้งไว้นั้นมีความแม่นยำอย่างตํ่าอยู่ที่ประมาณ 5 เมตรถ้ามีสัญญาน GPS และประมาณ 30 เมตรถ้าสัญญานขาดหายไป
ด้วยเหตุผลที่ว่า JDAM นั้นเป็นชุดแปลงระเบิดที่มีอยู่แล้วไม่ใช้ระเบิดซะเอง ราคาของชุดแปลงนี้ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับอาวุธนำวิถิอื่นๆ (
US $21,000–$36,000 ต่อหน่วย)
แน่นอนครับว่าความสามารถและประสิทธิภาพเบบนี้ก็เตะตารัสเซียได้ไม่น้อย
รัสเซียส่องหาอาวุธเคียบเคียง
Note : ประวัติ UMPK ช่วงเริ่มต้นนั้นหาค่อนข้างยากเพราะฉะนั้นข้อมูลที่ผมพูดตรงนี้อาจจะไม่ตรง
ในปี 2003 หนึ่งในบริษัทผลิตอาวุธของรัสเซีย NPO Bazalt เสนออุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งบนระเบิดที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มระยะและความแม่นยำ (ก็คือ JDAM ดีๆนี่เอง) ตัวต้นแบบถูกโชว์ในงาน Aero India 2003 และก็ยังถูกเสนอจนปี 2007
รัสเซียนั้นหันไปหางคอมพิวเตอร์คำนวณทิ้งระเบิดอย่าง SVP-24 น่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า SVP-24 นั้นจำเป็นต้องแค่ติดตั้งกับตัวเครื่องบินเท่านั้นระหว่างที่ตัว UMPK (สมัยก่อนเรียกแค่ MPK) เป็นของใช้แล้วทิ้ง (สถานการณ์เศรษฐกิจในรัสเซียช่วงนั้นก็คงเป็นเหตุให้เลือก SVP-24 แหละ)
อุปกรณ์ชิ้นนี้แทบไม่ได้เห็นแสงท้องฟ้าเลยจะถึงปี 2023
Wikipedia ที่ไปเอาข้อมูลมา
ลักษณะและประสิทธิภาพ
ติดกับระเบิดลูกปราย RBK-500
พูดง่ายๆก็คิอระเบิดติดปืกนั่นแหละ คล้ายๆ JDAM เจ้า UMPK ใช้ระบบ GLONASS แทน GPS เป็นระบบนำทางระเบิด ระยะหวังผลอยู่ประมาณ 60km ถ้าทิ้งจากความสูง 12km ความแม่นยำอยู่ราวประมาณ 10-15 เมตรโดยเฉลื่ย ติดตั้งได้กับ FAB-250, FAB-500, FAB-1500, RBK-500, ODAB-1500 และระเบิดไม่ทราบชนิด
ไส้ในของ UMPK
ตามที่ Redditor ที่รู้เรื่องมากกว่าผมว่าไว้
ตัวกระทู้ถ้าใครอยากไปอ่านเอง
การออกสนามของ UMPK
คนที่ติดตามสงครามตั้งแต่ตันตงจะรู้ว่าช่วงต้นสงครามนั้นกองทัพอากาศรัสเซียไม่ค่อยมีผลงานมากเท่าไรเมื่อเทียบกับทัพบก (ขีปนาวุธกับปืนใหญ่คือเรื่องถนัดของฝั่งนั้น) และด้วยความเสื่ยงที่จะถูกยิงตกเหมือนเฮลิคอปเตอร์ต่างๆในช่วงต้นสงครามทำให้กองทัพอากาศรัสเซียหลังช่วงนั้นถือได้ว่า AFK ไปเลย
S-300 ตัวดีนี่แหละ
ในช่วงมีนาคมปี 2023 นั้นเริ่มมีรายงานจากฝั่งยูเครนว่ามีการทิ้งระเบิดจากรัสเซียโดยระเบิดนั้นน่าจะเป็น FAB-500 ติดชุดร่อนทิ้งมาจาก 10 กิโลเมตรหลังแนวหน้านอกระยะอาวุธต่อต้านอากาศยาน นี่คือครั้งแรกๆที่ UMPK ถูกออกนำมาใช้
แน่นอนว่า UMPK ก็ถูกเอามาใช้ในการรุกโต้กลับของยูเครนตอนเดือนมิถุนาเช่นกันโดยส่วนใหญ่จะเน้นเล็งไปที่คลังสรรพาวุธ, เป้าหมายไม่เคลี่อนที่อย่างเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานและจุดรวมกลุ่มของทหาร ด้วยเหตุนี้ยูเครนจำเป็นต้องเอาเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานมาไว้แนวหน้าเพื่อสกัด Su-34 ที่ทิ้งระเบิดมา (ก็ยิงตกซัก 3-4 ลำจากที่เห็นและพิสูจน์ได้)
ทว่าการที่เอาเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานมาไว้แนวหน้านั้นก็เปิดโอกาสให้รัสเซียสอยอาวุธพวกนี้ทิ้งด้วยขีปนาวุธของตนเอง
ด้วยเหตุนี้เองช่วงหลังๆมาความถี่ของการทื้งระเบิดก็ทวีคูณจากต้นปี 2023
ภาพบ่งชี้ที่ๆ UMPK ตกใส่ในช่วง 22:30น ถึง 00:00น ของเดือนที่แล้ว FAB-500 ราวๆ 26 ลูกตกใส่ในบริเวณนี้ที่เมือง Avdiivka
เขียนต่อ 1 : ไหนๆคนก็ขอมาละ จะเขียนต่ออีกซักอย่างละกัน
ความก้าวหน้าและการพัฒนาต่อไปของ UMPK
1. การใส่พิกัดของระเบิดระหว่างบินแทนการใส่พิกัดตอนอยู่บนสนามบิน
สังเกตท่อทองเหลืองเหนือระเบิด
ทาง blogger การทหารฝั่งรัสเซียเชื่อว่านี่เป็นท่อที่ต่อ UMPK กับคอมพิวเตอร์ของผู้ช่วยนักบิน Su-34 ซึ่งจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้ผู้ช่วยนักบินสามารถป้อนพิกัดให้ UMPK ในระหว่างที่บินอยู่ได้แทนที่จะต้องตั้งมาตั้งแต่ที่สนามบินอยู่แล้ว
ตัวเลือกในการป้อนพิกัดเป้าหมายในระหว่างบิน (ตรงข้ามกับก่อนขึ้นบิน) มีความสำคัญทางยุทธวิธีอย่างมาก ความสามารถนี้ทำให้ Su-34 ที่บินลาดตระเวนอยู่สามารถสนับสนุนทัพบกที่สามารถให้พิกัดได้
อ้างอิง
2. อัตราการผลิตที่เทียบไม่ติด
เนี่องจาก UMPK เป็นชุดใช้แปลงระเบิดที่มีอยู่แล้ว อุปกรณ์ชิ้นส่วนหลายๆอย่างจึงไม่ซับซ้อนมากเมื่อเทียบกับขีปนาวุธอื่นที่รัสเซียมีทำให้ราคาและอัตราการผลิตที่สูงพอสมควร
FAB-1500 ที่กำลังเตรียมใส่ UMPK
อ้างอิงข้อมูล (คนเขียนเป็นอดีตนักบินรัสเซีย)
แปลอังกฤษ
3. ความง่ายในการใช้งาน
ถ้าให้เทียบกันแล้ว การใช้ระเบิดนำวิถินั้นถือว่าง่ายกว่าใช้ระเบิดทิ้งเองเป็นหลายขุม การที่จะบินเข้าเป้าหมายในระดับที่ตํ่าและทื้งระเบิดระหว่างบินในแนวราบให้แม่นนั้นมีไม่กี่คนที่ทำได้
ขณะเดียวกัน นักบินเพิ่งจบใหม่ก็สามารถใช้ UMPK ได้อย่างคล่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกอะไรมากเมื่อเทียบกับทิ้งระเบิดธรรมดา
ตัวอย่างการทิ้งระเบิดในแนวราบ
ตัวอย่างทิ้ง UMPK (วิดิโอ)
อ้างอิงข้อมูล(เหมือนกับอันก่อน)
ถึงตรงนี้สำหรับผมก็ไม่น่าจะมีอะไรตกค้างแล้วละ ขอตัดจบตรงนี้ละกัน
ชุดระเบิดร่อน UMPK หนึ่งในอาวุธที่ชี้ชะตาสนามรบในยูเครน
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากมนุษย์นั้นมักหาทางแก้ปัญหาเสมอ แน่นอนว่าในสงครามก็ไม่เว้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งแก้ปัญหาสนามเพลาะด้วยรถถัง สงครามโลกครั้งที่สองมีกลยุทธ์ต่างๆที่ช่วยเอาชนะกลยุทธ์จากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เวียดนามทหารแอบในป่าก็เผาทิ้งให้หมด ฯลฯ
มาในสงครามรัสเซียยูเครน ปัญหาโดยเฉพาะในตอนนี้คือ "ทิ้งระเบิดยังไงไม่ให้โดนขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานฝ่ายตรงข้ามยิงตก", รัสเซียมีระเบิดจำนวนนับไม่ถ้วนอยู่ในคลังแต่ทว่ากลับเอามันมาใช้ไม่ได้เลย ทว่าปัญหานี้นั้นถูกแก้ไปนานแล้ว เพื่อที่จะเห็นวิธีแก้ปัญหานี้เราต้องย้อนกลับไปที่สงครามอ่าว (Gulf War)
จุดเรื่มต้นของชุดระเบิดร่อน
สำหรับใครหลายๆคนที่รู้เรื่องยุทโธปกรณ์บ้างก็น่าจะเห็นความคล้ายคลึงระหว่าง JDAM กับ UMPK, นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญครับแต่ปัญหาที่อเมริกาเจอนั้นก็ไม่เป็นปัญหาเฉิงเดียวกับที่รัสเซียเจอเหมิอนกัน
อเมริกาในช่วงนั้นไม่มีระเบิดนำวิถิที่ใช้ได้ในทุกสภาพอากาศ เลเซอร์ที่ใช้นำวิถิกับอาวุธนั้นแม่นในสภาพอากาศที่ดี ทว่าในเชิงปฏิบัตินั้น เมฆ, ฝุ่น, ควันและหมอกนั้นป้องกันให้เลเซอร์ไม่สามารถให้ตำแหน่งที่แม่นยำให้กับระเบิดได้เลยมีทฤษฎีว่าจะใช้ระบบ GPS เป็นตัวนำวิถิแทน
ผมจะขอข้ามประวัติการใช้งานเพราะมันค้อนข้างยาวแต่ว่าในช่วงทดสอบนั้น ระเบิดที่มีชุด JDAM ติดตั้งไว้นั้นมีความแม่นยำอย่างตํ่าอยู่ที่ประมาณ 5 เมตรถ้ามีสัญญาน GPS และประมาณ 30 เมตรถ้าสัญญานขาดหายไป
ด้วยเหตุผลที่ว่า JDAM นั้นเป็นชุดแปลงระเบิดที่มีอยู่แล้วไม่ใช้ระเบิดซะเอง ราคาของชุดแปลงนี้ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับอาวุธนำวิถิอื่นๆ (
US $21,000–$36,000 ต่อหน่วย)
แน่นอนครับว่าความสามารถและประสิทธิภาพเบบนี้ก็เตะตารัสเซียได้ไม่น้อย
รัสเซียส่องหาอาวุธเคียบเคียง
Note : ประวัติ UMPK ช่วงเริ่มต้นนั้นหาค่อนข้างยากเพราะฉะนั้นข้อมูลที่ผมพูดตรงนี้อาจจะไม่ตรง
ในปี 2003 หนึ่งในบริษัทผลิตอาวุธของรัสเซีย NPO Bazalt เสนออุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งบนระเบิดที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มระยะและความแม่นยำ (ก็คือ JDAM ดีๆนี่เอง) ตัวต้นแบบถูกโชว์ในงาน Aero India 2003 และก็ยังถูกเสนอจนปี 2007
รัสเซียนั้นหันไปหางคอมพิวเตอร์คำนวณทิ้งระเบิดอย่าง SVP-24 น่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า SVP-24 นั้นจำเป็นต้องแค่ติดตั้งกับตัวเครื่องบินเท่านั้นระหว่างที่ตัว UMPK (สมัยก่อนเรียกแค่ MPK) เป็นของใช้แล้วทิ้ง (สถานการณ์เศรษฐกิจในรัสเซียช่วงนั้นก็คงเป็นเหตุให้เลือก SVP-24 แหละ)
อุปกรณ์ชิ้นนี้แทบไม่ได้เห็นแสงท้องฟ้าเลยจะถึงปี 2023
Wikipedia ที่ไปเอาข้อมูลมา
ลักษณะและประสิทธิภาพ
ติดกับระเบิดลูกปราย RBK-500
พูดง่ายๆก็คิอระเบิดติดปืกนั่นแหละ คล้ายๆ JDAM เจ้า UMPK ใช้ระบบ GLONASS แทน GPS เป็นระบบนำทางระเบิด ระยะหวังผลอยู่ประมาณ 60km ถ้าทิ้งจากความสูง 12km ความแม่นยำอยู่ราวประมาณ 10-15 เมตรโดยเฉลื่ย ติดตั้งได้กับ FAB-250, FAB-500, FAB-1500, RBK-500, ODAB-1500 และระเบิดไม่ทราบชนิด
ไส้ในของ UMPK
ตามที่ Redditor ที่รู้เรื่องมากกว่าผมว่าไว้
ตัวกระทู้ถ้าใครอยากไปอ่านเอง
การออกสนามของ UMPK
คนที่ติดตามสงครามตั้งแต่ตันตงจะรู้ว่าช่วงต้นสงครามนั้นกองทัพอากาศรัสเซียไม่ค่อยมีผลงานมากเท่าไรเมื่อเทียบกับทัพบก (ขีปนาวุธกับปืนใหญ่คือเรื่องถนัดของฝั่งนั้น) และด้วยความเสื่ยงที่จะถูกยิงตกเหมือนเฮลิคอปเตอร์ต่างๆในช่วงต้นสงครามทำให้กองทัพอากาศรัสเซียหลังช่วงนั้นถือได้ว่า AFK ไปเลย
S-300 ตัวดีนี่แหละ
ในช่วงมีนาคมปี 2023 นั้นเริ่มมีรายงานจากฝั่งยูเครนว่ามีการทิ้งระเบิดจากรัสเซียโดยระเบิดนั้นน่าจะเป็น FAB-500 ติดชุดร่อนทิ้งมาจาก 10 กิโลเมตรหลังแนวหน้านอกระยะอาวุธต่อต้านอากาศยาน นี่คือครั้งแรกๆที่ UMPK ถูกออกนำมาใช้
แน่นอนว่า UMPK ก็ถูกเอามาใช้ในการรุกโต้กลับของยูเครนตอนเดือนมิถุนาเช่นกันโดยส่วนใหญ่จะเน้นเล็งไปที่คลังสรรพาวุธ, เป้าหมายไม่เคลี่อนที่อย่างเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานและจุดรวมกลุ่มของทหาร ด้วยเหตุนี้ยูเครนจำเป็นต้องเอาเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานมาไว้แนวหน้าเพื่อสกัด Su-34 ที่ทิ้งระเบิดมา (ก็ยิงตกซัก 3-4 ลำจากที่เห็นและพิสูจน์ได้)
ทว่าการที่เอาเครื่องยิงขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานมาไว้แนวหน้านั้นก็เปิดโอกาสให้รัสเซียสอยอาวุธพวกนี้ทิ้งด้วยขีปนาวุธของตนเอง
ด้วยเหตุนี้เองช่วงหลังๆมาความถี่ของการทื้งระเบิดก็ทวีคูณจากต้นปี 2023
ภาพบ่งชี้ที่ๆ UMPK ตกใส่ในช่วง 22:30น ถึง 00:00น ของเดือนที่แล้ว FAB-500 ราวๆ 26 ลูกตกใส่ในบริเวณนี้ที่เมือง Avdiivka
เขียนต่อ 1 : ไหนๆคนก็ขอมาละ จะเขียนต่ออีกซักอย่างละกัน
ความก้าวหน้าและการพัฒนาต่อไปของ UMPK
1. การใส่พิกัดของระเบิดระหว่างบินแทนการใส่พิกัดตอนอยู่บนสนามบิน
สังเกตท่อทองเหลืองเหนือระเบิด
ทาง blogger การทหารฝั่งรัสเซียเชื่อว่านี่เป็นท่อที่ต่อ UMPK กับคอมพิวเตอร์ของผู้ช่วยนักบิน Su-34 ซึ่งจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้ผู้ช่วยนักบินสามารถป้อนพิกัดให้ UMPK ในระหว่างที่บินอยู่ได้แทนที่จะต้องตั้งมาตั้งแต่ที่สนามบินอยู่แล้ว
ตัวเลือกในการป้อนพิกัดเป้าหมายในระหว่างบิน (ตรงข้ามกับก่อนขึ้นบิน) มีความสำคัญทางยุทธวิธีอย่างมาก ความสามารถนี้ทำให้ Su-34 ที่บินลาดตระเวนอยู่สามารถสนับสนุนทัพบกที่สามารถให้พิกัดได้
อ้างอิง
2. อัตราการผลิตที่เทียบไม่ติด
เนี่องจาก UMPK เป็นชุดใช้แปลงระเบิดที่มีอยู่แล้ว อุปกรณ์ชิ้นส่วนหลายๆอย่างจึงไม่ซับซ้อนมากเมื่อเทียบกับขีปนาวุธอื่นที่รัสเซียมีทำให้ราคาและอัตราการผลิตที่สูงพอสมควร
FAB-1500 ที่กำลังเตรียมใส่ UMPK
อ้างอิงข้อมูล (คนเขียนเป็นอดีตนักบินรัสเซีย)
แปลอังกฤษ
3. ความง่ายในการใช้งาน
ถ้าให้เทียบกันแล้ว การใช้ระเบิดนำวิถินั้นถือว่าง่ายกว่าใช้ระเบิดทิ้งเองเป็นหลายขุม การที่จะบินเข้าเป้าหมายในระดับที่ตํ่าและทื้งระเบิดระหว่างบินในแนวราบให้แม่นนั้นมีไม่กี่คนที่ทำได้
ขณะเดียวกัน นักบินเพิ่งจบใหม่ก็สามารถใช้ UMPK ได้อย่างคล่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกอะไรมากเมื่อเทียบกับทิ้งระเบิดธรรมดา
ตัวอย่างการทิ้งระเบิดในแนวราบ
ตัวอย่างทิ้ง UMPK (วิดิโอ)
อ้างอิงข้อมูล(เหมือนกับอันก่อน)
ถึงตรงนี้สำหรับผมก็ไม่น่าจะมีอะไรตกค้างแล้วละ ขอตัดจบตรงนี้ละกัน