การใช้ double-tab tactic ในการโจมตีที่ประชุมใน Odessa

จากข่าวการโจมตีที่  Odessa  เมื่อ  15  มี.ค.  ที่ผ่านมา
เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวม  21 คน   มีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง

เนื้อหากล่าวถึงการยิงขีปนาวุธ Iskander  เข้าใส่อาคารพลเรือนหลังหนึ่ง
ถัดมา ก็มีการระเบิดอีกครั้ง บริเวณเดียวกัน  
ทำให้ผู้ที่กำลังช่วยเหลือผู้ประสบเหตุแรก   บาดเจ็บเสียชีวิตไปด้วย

ข่าวที่เป็นทางการจากเมือง Odessa  ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก   
เน้นไปที่ ภาพการบาดเจ็บ-เสียชีวิต ของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งหลัง
รวมถึง ปธน เซเลนสกี    ที่แถลงการณ์อย่างเกรี้ยวกราด กับ  double-tab tactic  ที่โหดร้ายของรัสเซีย

ถัดมา  การแถลงข่าวตามวงรอบของ กห.รัสเซีย     
กล่าวสั้นๆตอนท้ายเพียงว่า  ได้โจมตีสถานที่ประชุมระดับผู้บังคับการของยูเครน      ไม่บอกวันเวลาสถานที่

..

ในที่สุดเมื่อรายชื่อผู้เสียชีวิตถูกเปิดเผย      ก็เข้าใจได้เลยว่าทำไมรัสเซียจึงต้องทำ  double-tab   

เพราะปกติการโจมตีทั่วไป  ถ้าถูกต้องตามเป้าที่กำหนด   ไม่จำเป็นต้องซ้ำให้เปลืองกระสุน
เข้าเป้าแล้ว เท่ากับข้าศึกหมดศักยภาพไปแล้ว    ไม่ตายก็บาดเจ็บ รบต่อไม่ได้

แต่เป้าหมายครั้งนี้สำคัญ    การทำยิงซ้ำ  จึงเป็นการขัดขวางกระบวนการช่วยเหลือ   
รวมๆคือ ทำให้เป้าหมายมีโอกาสรอดยากมากขึ้นไปอีก

.. ความเห็นส่วนตัว  ยิงครั้งหลังไม่น่าจะเป็น  Iskander    เพราะถ้าใช่ความเสียหายจะมากกว่านี้   คนตายมากกว่านี้

ซ้ายบน  ขวาบน  ซ้ายล่าง  คือตึก 3 ชั้นที่เกิดเหตุ (ซึ่งในข่าวหลักของยูเครนไม่มี)           
ขวาล่างคือหนึ่งในบ้านใกล้เคียงที่เสียหาย  
_____


..

ผู้เสียชีวิตที่เปิดเผยแล้ว   
-  ผบ.กองพันสึนามิ  ผู้โด่งดัง   (Tsunami battalion)  -  Alexander Gostishchev
-  อดีตรองนายกเทศมนตรีโอเดสซา  ลาออกมาเป็นทหารจับปืนรบเมื่อ  พ.ย.66    -  Sergiy Tetyukhin
-  รองกิจกรรมป้องกันภูมิภาคโอเดสซา -  Dmitro Abramenko
-  ตำรวจโอเดสซาระดับสูง  3 นาย
-  สื่อรัสเซีย  แจ้งว่ามี   ผบ.กองพัน  “Lyut”  -  Andrei  Ilyushin  ด้วย

อ้างอิง  Kyiv Post

..  แน่นอนว่าสื่อบอกได้ไม่หมด   นอกเหนือจาก จนท.ยูเครนที่เสียชีวิตแล้ว   จะมี จนท.ต่างชาตินาโต้ อีกด้วยหรือไม่   

ที่แน่ๆ อีกอย่างคือ  ข่าวรั่ว    .. และชัดเจนว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศภูมิภาคโอเดสซา ไม่ทำงานแล้ว

R.I.P.  กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ ที่ต้องสูญเสียไปด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่