รู้จัก ‘Pathological Lying ‘และวิธีรับมือกับคน ‘ขี้จุ๊’
.
ใครที่ชอบฟัง TED Talks อาจเคยได้ยินเรื่อง Liespotting ที่ Pamela Meyer เคยพูดว่า เอาเข้าจริงๆ คนเราโดนโกหกเฉลี่ยวันละ 10-200 ครั้งอยู่แล้ว!
.
เศร้า แต่จริง😭
.
เรื่องจริงก็คือ ใครๆก็เคยโกหก
แม้แต่คนที่เกลียดคนโกหก ก็เคยโกหกอยู่ดี
.
แต่โกหกแค่ไหนล่ะ ถึงเป็นปัญหา?
.
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า การโกหกที่ทำจนเคยชิน และสร้างปัญหาในเชิงจิตวิทยามีอยู่ 2 แบบคือ
1. การโกหกหลอกลวงตัวเอง (Pathological Liar) ....เป็นภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้มักเกิดจากการขาดความเชื่อมั่น ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า จึงชอบแต่งเรื่องราวจินตนาการขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือเพิ่มคุณค่าในตนเอง
จากการศึกษาทางจิตวิทยา ของคณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย พบว่า คนที่ชอบหลอกตัวเอง มักมีอาการอยากหลบหนีความจริง จึงสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกตัวเองซ้ำๆ จนบางครั้งก็เข้าใจว่าเรื่องมโนเหล่านั้นเป็นเรื่องจริง
2. การโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar)
อันนี้เป็นการโกหกแบบรู้ตัว แต่ก็ยังตั้งใจหลอกลวง บิดเบือนเรื่องราวต่างๆ
นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า เราอาจสังเกตอาการโกหกด้วยสัญญาณต่อไปนี้ร่วมด้วยก็ได้
– พูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มแห้งๆ ไม่ธรรมชาติ
– อธิบายเรื่องยาว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
– พูดด้วยสีหน้านิ่งหรือเกร็งเกินเหตุ
– หายใจถี่และแรงขึ้น
– พูดติด ๆ ขัด ๆ เนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
– จับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะพูด
– ย่ำเท้าซ้ำ ๆ หรือขยับตัวบ่อยๆ
– กัดริมฝีปากหรือเม้มปาก
– กะพริบตาถี่กว่าปกติ
การโกหกอาจทำให้สูญเสียทุกอย่างทั้งความไว้ใจ มิตรภาพ และความสัมพันธ์ ดังนั้น หากรู้ตัวและอยากแก้ไข อาจจะต้องเริ่มจากการปรับใจให้เลิกวิจารณ์หรือเข้มงวดกับตัวเองมากเกินไป หรือขอคำแนะนำจากจิตแพทย์น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในทางกลับกัน หากต้องอยู่ร่วมกับคนชอบโกหกบ่อยๆ วิธีแก้ก็คือ ทำใจและให้ความจริงใจ พูดคุยอย่างตรงไปตรงมา
การจะเปลี่ยนใครคนหนึ่งให้เลิกโกหกอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อย เราก็อาจจะช่วยให้เค้ามีพื้นที่ปลอดภัยไว้ได้ เพื่อที่วันหนึ่ง เค้าอาจจะรู้สึกดีมากพอที่จะพูดความจริงออกมาค่ะ
Much love
Tip
ที่มา:
https://www.psychologytoday.com/us/blog/women-who-stray/201701/6-reasons-people-lie-when-they-don-t-need
https://www.goodtherapy.org/blog/psychpedia/compulsive-lying
https://www.healthline.com/health/pathological-liar
https://www.everydayhealth.com/emotional-health/understanding-people-who-lie/
https://www.cleverism.com/why-people-lie-and-how-to-stop-them/
#DigitalTips #MorningThoughts #ข้อคิด #หลักการใช้ชีวิต #แรงบันดาลใจ
Cr. Digital Tips Academy
จิตวิทยา คนชอบโกหก
.
ใครที่ชอบฟัง TED Talks อาจเคยได้ยินเรื่อง Liespotting ที่ Pamela Meyer เคยพูดว่า เอาเข้าจริงๆ คนเราโดนโกหกเฉลี่ยวันละ 10-200 ครั้งอยู่แล้ว!
.
เศร้า แต่จริง😭
.
เรื่องจริงก็คือ ใครๆก็เคยโกหก
แม้แต่คนที่เกลียดคนโกหก ก็เคยโกหกอยู่ดี
.
แต่โกหกแค่ไหนล่ะ ถึงเป็นปัญหา?
.
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า การโกหกที่ทำจนเคยชิน และสร้างปัญหาในเชิงจิตวิทยามีอยู่ 2 แบบคือ
1. การโกหกหลอกลวงตัวเอง (Pathological Liar) ....เป็นภาวะการโกหกที่ควบคุมไม่ได้มักเกิดจากการขาดความเชื่อมั่น ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า จึงชอบแต่งเรื่องราวจินตนาการขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือเพิ่มคุณค่าในตนเอง
จากการศึกษาทางจิตวิทยา ของคณะจิตเวชศาสตร์ Chandigarh University ประเทศอินเดีย พบว่า คนที่ชอบหลอกตัวเอง มักมีอาการอยากหลบหนีความจริง จึงสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกตัวเองซ้ำๆ จนบางครั้งก็เข้าใจว่าเรื่องมโนเหล่านั้นเป็นเรื่องจริง
2. การโกหกเป็นนิสัย (Compulsive Liar)
อันนี้เป็นการโกหกแบบรู้ตัว แต่ก็ยังตั้งใจหลอกลวง บิดเบือนเรื่องราวต่างๆ
นักจิตวิทยาได้กล่าวว่า เราอาจสังเกตอาการโกหกด้วยสัญญาณต่อไปนี้ร่วมด้วยก็ได้
– พูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มแห้งๆ ไม่ธรรมชาติ
– อธิบายเรื่องยาว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
– พูดด้วยสีหน้านิ่งหรือเกร็งเกินเหตุ
– หายใจถี่และแรงขึ้น
– พูดติด ๆ ขัด ๆ เนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
– จับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะพูด
– ย่ำเท้าซ้ำ ๆ หรือขยับตัวบ่อยๆ
– กัดริมฝีปากหรือเม้มปาก
– กะพริบตาถี่กว่าปกติ
การโกหกอาจทำให้สูญเสียทุกอย่างทั้งความไว้ใจ มิตรภาพ และความสัมพันธ์ ดังนั้น หากรู้ตัวและอยากแก้ไข อาจจะต้องเริ่มจากการปรับใจให้เลิกวิจารณ์หรือเข้มงวดกับตัวเองมากเกินไป หรือขอคำแนะนำจากจิตแพทย์น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด
ในทางกลับกัน หากต้องอยู่ร่วมกับคนชอบโกหกบ่อยๆ วิธีแก้ก็คือ ทำใจและให้ความจริงใจ พูดคุยอย่างตรงไปตรงมา
การจะเปลี่ยนใครคนหนึ่งให้เลิกโกหกอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อย เราก็อาจจะช่วยให้เค้ามีพื้นที่ปลอดภัยไว้ได้ เพื่อที่วันหนึ่ง เค้าอาจจะรู้สึกดีมากพอที่จะพูดความจริงออกมาค่ะ
Much love
Tip
ที่มา: https://www.psychologytoday.com/us/blog/women-who-stray/201701/6-reasons-people-lie-when-they-don-t-need
https://www.goodtherapy.org/blog/psychpedia/compulsive-lying
https://www.healthline.com/health/pathological-liar
https://www.everydayhealth.com/emotional-health/understanding-people-who-lie/
https://www.cleverism.com/why-people-lie-and-how-to-stop-them/
#DigitalTips #MorningThoughts #ข้อคิด #หลักการใช้ชีวิต #แรงบันดาลใจ
Cr. Digital Tips Academy