เทเลอร์ สวิฟ สะเทือนอาเซียน ถอดรหัสดีลยักษ์ไม่เลือกไทย
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/219562
6 รอบสะเทือนอาเซียน กับ คอนเสิร์ตเทเลอร์ สวิฟ ที่มีเพียงสิงคโปร์หนี่งเดียวที่ได้ไป ตั้งคำถาม แล้วไทยทำได้ไหม ดีลและดึงศิลปินระดับแนวหน้าของโลก Money Trick กับอิ๊งค์ กชพรรณ พาไปถอดรหัสดีลนี้กัน
คอนเสิร์ต
เทเลอร์ สวิฟ สร้างพลังและตำนานทุกรอบ แต่ผลพลอยได้ไม่ใช่แค่ การมาทัวร์คอนเสิร์ต หลังจากนั้นหากต่างคือสิ่งที่จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่สิงคโปร์ได้ไปเต็มๆ
ซึ่ง
"Taylor Swift" The Eras Tour ที่จัดแสดง ณ ประเทศสิงคโปร์ 6 รอบเต็มๆ โดยมีการคาดการณ์กันว่า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสิงคโปร์
Edwin Tong รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชนของสิงคโปร์ ประเมินผลประโยชน์ของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากการมาเยือนของ
Taylor Swift ว่า สามารถสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจสิงคโปร์ 350-500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือราวประมาณเกือบ 9,315,524,400 -13,307,227,500 บาท)
ขณะที่ สำนักข่าว Bloomberg ได้มีการคาดการณ์ว่า การแสดงคอนเสิร์ต 6 รอบของ The Ears Tour กระตุ้น GDP ของประเทศขยายตัวถึง 2.9% จากแรงหนุนของนักท่องเที่ยวและสวิฟตี้ ที่เดินทางเข้าไปทั้งท่องเที่ยวและชมคอนเสริต์
เพราะการมาดูคอนเสริต์ของแต่ละคน เฉลี่ยใช้เงินหลักหมื่นจนถึงแสนบาท ซึ่งคนที่มาไม่ใช่แค่คนไทย เพราะเหล่าสวิฟตี้ มีทั่วโลก ทุกคนมาค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากแค่ซื้อบัตรคอนเสริต ไม่ว่าจะเป็นค่าโรงแรม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่ากิน ค่าช้อปปิ้ง ค่าเดินทางในระบบขนส่งมวลชน พูดง่ายๆ หลายคนมาทั้งดูคอนเสริต และท่องเที่ยวไปเลย
อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด มองว่า หากประเทศไทยจะทำแบบสิงคโปร์ ก็สามารถทำได้ เพราะปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของเราไม่ได้ยิ่งหย่อน ชัยภูมิเหมาะสม เราอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เป็นฮับของเอเชีย และการันตีความพร้อมเพราะเราเคยจัดคอนเสิร์ตขนาดใหญ่มาแล้วหลายงาน
แต่โอกาสที่ไทยจะเห็นคอนเสิร์ตระดับโลกแบบนี้ยังยาก เพราะสิ่งสำคัญเลยคือสถานการณ์ทางการเมืองต้องมั่นคง นานาชาติต้องมั่นใจในการมาประเทศของเรา การันตีว่าจะไม่เกิดความขัดแย้ง ไม่มีการชุมนุมประท้วง รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเรามีความพร้อมหรือไม่ ไม่ว่าจะสถานที่ใหญ่ ๆ อย่างราชมังคลากีฬาสถาน หรืออิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งคมนาคมพร้อมแล้วหรือยัง
พิธา เห็นแย้ง ทักษิณชี้วิกฤตกว่าต้มยำกุ้ง ยันสถานการณ์ไม่เหมือนกันแล้ว หวั่นรบ.จ่ายยาผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4476487
‘พิธา’ เห็นแย้ง ’ทักษิณ‘ ชี้ขณะนี้วิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง หวั่น รัฐบาลจ่ายยาผิด อย่ามองแค่ GDP จนละเลยความเหลื่อมล้ำ แนะออกโร้ดแมป เพื่อถกได้มากกว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ท
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ จ.เชียงใหม่ นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า วิกฤตของประเทศไทยตอนนี้หนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 จะเป็นตัวเร่งให้รัฐบาลเร่งผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ทเร็วขึ้นหรือไม่ ทั้งที่ยังไม่มีที่มาของเงินชัดเจน
นาย
พิธากล่าวว่า คำว่าเศรษฐกิจไม่ดีมีหลายระดับ ตั้งแต่เศรษฐกิจซึม จนถึงเศรษฐกิจแบบวิกฤต เช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤตโควิด มีนิยามวิกฤตเหล่านี้ในระดับสากลอยู่ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจ และการเงิน เกี่ยวข้องกันทั่วโลกอยู่แล้ว แล้วจะมีนิยามออกมาว่าวิกฤตไหน GDP ต้องถอยเท่าไหร่งานวิจัยต้องหายเท่าไร หรือค่าเงินต้องหายเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเคยเล่าให้ฟังแล้ว
นาย
พิธากล่าวต่อว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไม่ดี โตช้าจริง และการฟื้นฟูหลังจากผ่านสถานการณ์
โควิด-19 ก็ยังช้าและแย่มากเป็นอันดับท้ายๆ ของโลก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาโครงสร้างทั้งหมด ไม่ใช่ว่าวิกฤตแล้วเศรษฐกิจหายไป 20 เปอร์เซนต์ หรือตลาดหุ้นหายไปเกินครึ่งเหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือค่าเงินบาทปรับเป็น 50 บาทจาก 25 บาท ตอนนี้สถานการณ์ไม่เหมือนกันแล้ว พอสถานการณ์ไม่เหมือนกัน เราดันไปบอกว่าเหมือนกัน เราจ่ายยาผิดทันทีนะ คุณจะจ่ายยาผิด เพราะคุณวินิจฉัยอาการผิดตอนนี้เศรษฐกิจมันซึม แล้วมันซึมยาว ซึมยาวมาเป็นปี และซึมมาเป็น 10 ปี แต่ปัญหาโครงสร้างในการส่งออกยังเหมือนเดิม เรื่องเกี่ยวกับภาคการผลิตยังเหมือนเดิม
นาย
พิธากล่าวว่า ปีนี้งบประมาณล่าช้า แต่ยังรู้สึกว่าเมื่องบประมาณผ่านแล้วภาครัฐตั้งใจที่จะอัดโครงการที่เป็นประโยชน์ออกไปจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่สัมมนาหรือซื้อผ้าม่าน มีการอัดฉีดลงทุนในโครงสร้างเข้าไป ก็จะทำให้ GDP โตขึ้น
แต่สำคัญที่สุดที่อยากจะชวนรัฐบาลหรือนาย
ทักษิณด้วย คือเวลาวัดเศรษฐกิจ ถ้าวัดผิดก็จะเป็นเข็มทิศที่ผิด ถ้าไปวัดแค่ GDP ว่าโตเท่าไหร่ มันไม่ได้วัดความเหลื่อมล้ำ จึงอยากขอให้ลองหาตัววัดเศรษฐกิจใหม่ๆ ในการดูแล เช่น การเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจตอนนี้เป็นอย่างไร หรือการวัดความร่ำรวยของประชาชน (GDP per capita) ไม่ได้ดูแค่ระดับประเทศ แต่ดูระดับในจังหวัด ก็จะทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เพราะเราเชื่อว่าไม่ใช่เป็นการบริหารเศรษฐกิจแบบน้ำหยดอย่างที่เคยชิน แต่เป็นการบริหารเศรษฐกิจแบบฐานรากขึ้นมา จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตและเท่าเทียม
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิธีการแก้ไขเฉพาะหน้าที่จะรวดเร็วที่สุด ที่จะเป็นทางออกให้กับประเทศคืออะไร นาย
พิธากล่าวว่า ในตอนนี้ต้องลงรายละเอียดในเรื่องที่เปราะบางที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน เป็นเรื่องสำคัญจะต้องเร่งผ่านงบประมาณให้เศรษฐกิจเดินต่อ, เรื่องภาคการผลิตมีปัญหา โดยเฉพาะภาค SME ก็ต้องหามาตรการที่ลดต้นทุนใน SME ลดค่าไฟ ลดค่าวัตถุดิบ สามารถทำให้ SME สามารถเข้าถึงเวทีโลกได้ เรื่องการเกษตรต่างๆ แม้ผลผลิตจากราคาสูงขึ้น แต่ต้องเข้าไปดูว่าเรามีผลผลิตพอหรือไม่ บางเรื่องราคาลงขึ้นมาเพราะมีการแอบนำเข้า เช่น การนำเข้าปลากะพงจากมาเลเซีย ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง ดังนั้นต้องมีหลายมาตรการเข้าไปแก้ไข
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมี Road Map ให้เห็นว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ คนที่จะเข้าไปช่วย คนที่จะเข้าไปตรวจสอบ ต้องไปตรวจสอบใคร แต่ในขณะนี้ถ้าไม่มีอะไรนอกจากดิจิทัลวอลเล็ทมันก็เถียงกันในเรื่องแบบนี้ตลอดเวลา ภาพใหญ่กลายเป็นการโต้กันไปโต้กันมา มันไม่สามารถจะแนะนำอะไรไปได้มากกว่าที่ทำอยู่ แต่ถ้ามีแผนอย่างชัดเจนก็น่าจะทำได้
"พิธา" ถาม "นายกฯ" ชี้แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ต้องกางไทม์ไลน์ออกมาก่อน
https://ch3plus.com/news/political/morning/391696
วันนี้ (17 มี.ค. 2567) นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการที่นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ว่า เมื่อวานได้อ่านข่าวนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีอะไรจะฝากก็ให้ฝากไปได้ จึงอยากใช้โอกาสนี้ สอบถามไทม์ไลน์ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ 2-3 วันที่ผ่านมา ถ้าเราดูจะเห็นว่าแย่ที่สุดในโลก วันนี้ดีขึ้น ขยับเป็นอันดับ 3 แสดงว่ามันยังไม่ดีขึ้น ก็เลยอยากจะฝากถามนายกรัฐมนตรีว่าไทม์ไลน์ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น โดยเฉพาะภาคเหนือ สัปดาห์นี้คิดว่าต้องแก้อะไร เดือนหน้า (เม.ย.) จะเป็นเดือนที่ค่าฝุ่นสูงที่สุด หากดูสถิติจะแก้อย่างไร ปีหน้าจะแก้อย่างไร ถ้าเกิดมีไทม์ไลน์แบบนี้ ฝ่ายค้านอย่างพวกตนจึงสามารถฝากได้ เพราะถ้าไม่มีไทม์ไลน์มาให้ ก็ไม่รู้จะฝากอย่างไร รวมถึงข้าราชการและภาคประชาชน ชาวบ้านที่อยากมีส่วนร่วม
“
เพราะเขาไม่รู้ว่าจะทำอะไรยังไง สิ่งที่ฉันเรียนรู้มาในอดีต วิธีแก้ไขก็คือเอาไฟชนไฟมาช่วยกัน เพราะไม่มีการบูรณาการกัน ทุกคนก็ขยับไม่ถูก” นาย
พิธา กล่าว
นาย
พิธา กล่าวต่อว่า ตนขอฝากตุ๊กตาให้นายกรัฐมนตรีก็แล้วกัน ตอนนี้มันสายเกินป้องกันแล้ว คงต้องไปดูว่าสิ่งสำคัญที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินแบบนี้ เช่น หน้ากาก N95 เครื่องฟอกอากาศราคาถูกที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ โดยไม่ได้นำเข้าจากต่างประเทศ อาชีวะบ้านเรามีความสามารถประกอบเองได้ตั้งเยอะ เท่าที่ได้ยินมาจากปีที่แล้ว โรงเรียนเด็กเล็กและโรงพยาบาล ต้องการเครื่องกรองอากาศ ซึ่งสัปดาห์นี้สามารถทำได้เลย สามารถเพิ่มสรรพกำลังของคนที่มาช่วยในการดับไฟป่าอย่างที่ตนไปมาเมื่อวาน
ส่วนเดือนหน้าที่ค่าฝุ่นจะสูงที่สุดในทุกปี สิ่งที่ทำได้เลยคือนายกรัฐมนตรีลองไปดูข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) หรือของกรมอุตุนิยมวิทยา
“
เอาแผนที่ดาวเทียมมาทับซ้อนกัน 5 ปี คุณจะรู้เลยว่าปีนี้โอกาสไฟไหม้ป่าอยู่ที่ไหนบ้าง สามารถที่จะรุกก่อน สร้างธนาคารน้ำเป็นสถานีน้ำให้เหยี่ยวไฟเข้าไปพร้อมที่จะช่วย เพราะฉะนั้น เดือนหน้าแทนที่มันจะหนัก ก็อาจจะทุเลากว่าปีที่ย้อนหลังมา เพราะสถิติมันบอกเราว่ามันไหม้ซ้ำซาก แล้วพอถึงปีหน้าก็มีเวลาแก้ไขในระยะยาวมากขึ้น” นาย
พิธา กล่าว
นาย
พิธา กล่าวว่า เราเข้าใจข้อจำกัดทางกฎหมายและงบกลาง และเข้าใจว่าทำไมผู้ว่าราชการจังหวัดถึงไม่ประกาศเป็นพื้นที่ฉุกเฉิน ต้องฝากนายกฯรัฐมนตรีลองดูว่าทำไมผู้ว่าราชการจังหวัดถึงไม่ประกาศทั้งที่รุนแรงระดับโลก
“
มันเป็น KPI ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ ที่บอกว่าพอประกาศเขตฉุกเฉินแล้ว ผู้ว่าฯไม่กล้าที่จะใช้หรือเปล่า แต่ขอจบตรงนี้ว่าข้าราชการที่นี่ รวมถึง สิ่งที่คนเล่าให้ฟังว่าผู้ว่าฯที่อยู่แถวนี้ ก็ทำงานถึงสามทุ่มสี่ทุ่ม เพื่อที่จะช่วยกันทำให้ไฟป่าดับ แต่มันเกาไม่ถูกที่คัน” นาย
พิธา กล่าว
นาย
พิธา กล่าวอีกว่า อย่างน้อยถ้ายังแก้ไม่ได้ ก็ต้องมาไล่ว่าตอนนี้ทำอะไร เดือนหน้าทำอะไร ปีหน้าทำอะไร รับรองได้ว่ามันจะผ่อนหนักเป็นเบา
“
ถ้าจะพูดกับนายกรัฐมนตรีตรงๆ มันคือปัญหาโลจิสติกส์ ไม่ได้เป็นปัญหาทางเทคนิค จะเป็นปัญหาการลำเลียงน้ำ การลำเลียงคนดับไฟป่าให้ถึงจุด … มันคือการที่เข้าใจรูปแบบของไฟ แล้วมี Economies of Speed ไปให้ถึงก่อนที่ไฟจะลาม กับ Economies of Scale คือการขยายทีมในการแก้ไขให้ครบทุกจุดในเวลาที่พร้อมกัน เมื่อเสาร์แก้ปัญหานี้ได้จะกลายเป็นเศรษฐกิจในการแก้ไขปัญหาไฟป่าที่เอาไปทำต่อในประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่มีปัญหาแบบนี้ได้ เราจะกลายเป็นมหาอำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ … เหมือนที่หลายประเทศแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ก็เอามาขายประเทศไทย” นาย
พิธา กล่าว
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีและโฆษกรัฐบาลออกมาชี้แจงว่ามีการใช้งบกลางในการแก้ไขปัญหาแล้ว มีเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาด้วย นาย
พิธา กล่าวว่า อย่างนี้เรื่อง พ.ร.บ.การเกิดภัยพิบัติก็ไม่ต้องมี ก็เป็นดุลยพินิจว่าจะใช้ได้หรือไม่ได้ แล้วความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ปกติกับสถานการณ์ฉุกเฉินมันมีความแตกต่างกัน ซึ่งสถานการณ์ก็ไม่คลี่คลายลง
นาย
พิธา ยังกล่าวว่า งบกลางมี 2 แบบ อย่างของ พล.ต.อ.
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตนเข้าใจว่ามีการผ่านงบร้อยกว่าล้านบาท เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย แต่มันก็สายเกินไปแล้ว กว่าจะเบิกจ่าย กว่าจะเอาไปใช้ และไม่ทราบว่าได้อุปกรณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ กลับอีกก้อนหนึ่งที่เป็นงบกลาง ในส่วนของภัยพิบัติโดยเฉพาะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำมาใช้ได้ พวกเราที่อยู่ในที่นี้ตนเชื่อว่าสามารถเข้าถึงได้ แต่พี่น้องที่อยู่สถานเด็กเล็กเชียงดาวเข้าไม่ถึง
JJNY : เทเลอร์ สวิฟ สะเทือนอาเซียน│พิธาหวั่นรบ.จ่ายยาผิด│"พิธา"ชี้แก้ PM 2.5 ต้องกางไทม์ไลน์ก่อน│อิตาลีเตือนนาโตส่งทหาร
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/219562
6 รอบสะเทือนอาเซียน กับ คอนเสิร์ตเทเลอร์ สวิฟ ที่มีเพียงสิงคโปร์หนี่งเดียวที่ได้ไป ตั้งคำถาม แล้วไทยทำได้ไหม ดีลและดึงศิลปินระดับแนวหน้าของโลก Money Trick กับอิ๊งค์ กชพรรณ พาไปถอดรหัสดีลนี้กัน
คอนเสิร์ต เทเลอร์ สวิฟ สร้างพลังและตำนานทุกรอบ แต่ผลพลอยได้ไม่ใช่แค่ การมาทัวร์คอนเสิร์ต หลังจากนั้นหากต่างคือสิ่งที่จะเกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่สิงคโปร์ได้ไปเต็มๆ
ซึ่ง "Taylor Swift" The Eras Tour ที่จัดแสดง ณ ประเทศสิงคโปร์ 6 รอบเต็มๆ โดยมีการคาดการณ์กันว่า สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสิงคโปร์ Edwin Tong รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชนของสิงคโปร์ ประเมินผลประโยชน์ของเศรษฐกิจสิงคโปร์จากการมาเยือนของ Taylor Swift ว่า สามารถสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจสิงคโปร์ 350-500 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (หรือราวประมาณเกือบ 9,315,524,400 -13,307,227,500 บาท)
ขณะที่ สำนักข่าว Bloomberg ได้มีการคาดการณ์ว่า การแสดงคอนเสิร์ต 6 รอบของ The Ears Tour กระตุ้น GDP ของประเทศขยายตัวถึง 2.9% จากแรงหนุนของนักท่องเที่ยวและสวิฟตี้ ที่เดินทางเข้าไปทั้งท่องเที่ยวและชมคอนเสริต์
เพราะการมาดูคอนเสริต์ของแต่ละคน เฉลี่ยใช้เงินหลักหมื่นจนถึงแสนบาท ซึ่งคนที่มาไม่ใช่แค่คนไทย เพราะเหล่าสวิฟตี้ มีทั่วโลก ทุกคนมาค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากแค่ซื้อบัตรคอนเสริต ไม่ว่าจะเป็นค่าโรงแรม ค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่ากิน ค่าช้อปปิ้ง ค่าเดินทางในระบบขนส่งมวลชน พูดง่ายๆ หลายคนมาทั้งดูคอนเสริต และท่องเที่ยวไปเลย
อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด มองว่า หากประเทศไทยจะทำแบบสิงคโปร์ ก็สามารถทำได้ เพราะปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของเราไม่ได้ยิ่งหย่อน ชัยภูมิเหมาะสม เราอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เป็นฮับของเอเชีย และการันตีความพร้อมเพราะเราเคยจัดคอนเสิร์ตขนาดใหญ่มาแล้วหลายงาน
แต่โอกาสที่ไทยจะเห็นคอนเสิร์ตระดับโลกแบบนี้ยังยาก เพราะสิ่งสำคัญเลยคือสถานการณ์ทางการเมืองต้องมั่นคง นานาชาติต้องมั่นใจในการมาประเทศของเรา การันตีว่าจะไม่เกิดความขัดแย้ง ไม่มีการชุมนุมประท้วง รวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเรามีความพร้อมหรือไม่ ไม่ว่าจะสถานที่ใหญ่ ๆ อย่างราชมังคลากีฬาสถาน หรืออิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งคมนาคมพร้อมแล้วหรือยัง
พิธา เห็นแย้ง ทักษิณชี้วิกฤตกว่าต้มยำกุ้ง ยันสถานการณ์ไม่เหมือนกันแล้ว หวั่นรบ.จ่ายยาผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4476487
‘พิธา’ เห็นแย้ง ’ทักษิณ‘ ชี้ขณะนี้วิกฤตหนักกว่าต้มยำกุ้ง หวั่น รัฐบาลจ่ายยาผิด อย่ามองแค่ GDP จนละเลยความเหลื่อมล้ำ แนะออกโร้ดแมป เพื่อถกได้มากกว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ท
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ที่ จ.เชียงใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า วิกฤตของประเทศไทยตอนนี้หนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 จะเป็นตัวเร่งให้รัฐบาลเร่งผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ทเร็วขึ้นหรือไม่ ทั้งที่ยังไม่มีที่มาของเงินชัดเจน
นายพิธากล่าวว่า คำว่าเศรษฐกิจไม่ดีมีหลายระดับ ตั้งแต่เศรษฐกิจซึม จนถึงเศรษฐกิจแบบวิกฤต เช่น เหตุการณ์ต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤตโควิด มีนิยามวิกฤตเหล่านี้ในระดับสากลอยู่ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจ และการเงิน เกี่ยวข้องกันทั่วโลกอยู่แล้ว แล้วจะมีนิยามออกมาว่าวิกฤตไหน GDP ต้องถอยเท่าไหร่งานวิจัยต้องหายเท่าไร หรือค่าเงินต้องหายเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเคยเล่าให้ฟังแล้ว
นายพิธากล่าวต่อว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไม่ดี โตช้าจริง และการฟื้นฟูหลังจากผ่านสถานการณ์
โควิด-19 ก็ยังช้าและแย่มากเป็นอันดับท้ายๆ ของโลก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาโครงสร้างทั้งหมด ไม่ใช่ว่าวิกฤตแล้วเศรษฐกิจหายไป 20 เปอร์เซนต์ หรือตลาดหุ้นหายไปเกินครึ่งเหมือนตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือค่าเงินบาทปรับเป็น 50 บาทจาก 25 บาท ตอนนี้สถานการณ์ไม่เหมือนกันแล้ว พอสถานการณ์ไม่เหมือนกัน เราดันไปบอกว่าเหมือนกัน เราจ่ายยาผิดทันทีนะ คุณจะจ่ายยาผิด เพราะคุณวินิจฉัยอาการผิดตอนนี้เศรษฐกิจมันซึม แล้วมันซึมยาว ซึมยาวมาเป็นปี และซึมมาเป็น 10 ปี แต่ปัญหาโครงสร้างในการส่งออกยังเหมือนเดิม เรื่องเกี่ยวกับภาคการผลิตยังเหมือนเดิม
นายพิธากล่าวว่า ปีนี้งบประมาณล่าช้า แต่ยังรู้สึกว่าเมื่องบประมาณผ่านแล้วภาครัฐตั้งใจที่จะอัดโครงการที่เป็นประโยชน์ออกไปจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่สัมมนาหรือซื้อผ้าม่าน มีการอัดฉีดลงทุนในโครงสร้างเข้าไป ก็จะทำให้ GDP โตขึ้น
แต่สำคัญที่สุดที่อยากจะชวนรัฐบาลหรือนายทักษิณด้วย คือเวลาวัดเศรษฐกิจ ถ้าวัดผิดก็จะเป็นเข็มทิศที่ผิด ถ้าไปวัดแค่ GDP ว่าโตเท่าไหร่ มันไม่ได้วัดความเหลื่อมล้ำ จึงอยากขอให้ลองหาตัววัดเศรษฐกิจใหม่ๆ ในการดูแล เช่น การเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจตอนนี้เป็นอย่างไร หรือการวัดความร่ำรวยของประชาชน (GDP per capita) ไม่ได้ดูแค่ระดับประเทศ แต่ดูระดับในจังหวัด ก็จะทำให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น เพราะเราเชื่อว่าไม่ใช่เป็นการบริหารเศรษฐกิจแบบน้ำหยดอย่างที่เคยชิน แต่เป็นการบริหารเศรษฐกิจแบบฐานรากขึ้นมา จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตและเท่าเทียม
ผู้สื่อข่าวถามว่า วิธีการแก้ไขเฉพาะหน้าที่จะรวดเร็วที่สุด ที่จะเป็นทางออกให้กับประเทศคืออะไร นายพิธากล่าวว่า ในตอนนี้ต้องลงรายละเอียดในเรื่องที่เปราะบางที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน เป็นเรื่องสำคัญจะต้องเร่งผ่านงบประมาณให้เศรษฐกิจเดินต่อ, เรื่องภาคการผลิตมีปัญหา โดยเฉพาะภาค SME ก็ต้องหามาตรการที่ลดต้นทุนใน SME ลดค่าไฟ ลดค่าวัตถุดิบ สามารถทำให้ SME สามารถเข้าถึงเวทีโลกได้ เรื่องการเกษตรต่างๆ แม้ผลผลิตจากราคาสูงขึ้น แต่ต้องเข้าไปดูว่าเรามีผลผลิตพอหรือไม่ บางเรื่องราคาลงขึ้นมาเพราะมีการแอบนำเข้า เช่น การนำเข้าปลากะพงจากมาเลเซีย ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลง ดังนั้นต้องมีหลายมาตรการเข้าไปแก้ไข
แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมี Road Map ให้เห็นว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ คนที่จะเข้าไปช่วย คนที่จะเข้าไปตรวจสอบ ต้องไปตรวจสอบใคร แต่ในขณะนี้ถ้าไม่มีอะไรนอกจากดิจิทัลวอลเล็ทมันก็เถียงกันในเรื่องแบบนี้ตลอดเวลา ภาพใหญ่กลายเป็นการโต้กันไปโต้กันมา มันไม่สามารถจะแนะนำอะไรไปได้มากกว่าที่ทำอยู่ แต่ถ้ามีแผนอย่างชัดเจนก็น่าจะทำได้
วันนี้ (17 มี.ค. 2567) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ว่า เมื่อวานได้อ่านข่าวนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีอะไรจะฝากก็ให้ฝากไปได้ จึงอยากใช้โอกาสนี้ สอบถามไทม์ไลน์ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ 2-3 วันที่ผ่านมา ถ้าเราดูจะเห็นว่าแย่ที่สุดในโลก วันนี้ดีขึ้น ขยับเป็นอันดับ 3 แสดงว่ามันยังไม่ดีขึ้น ก็เลยอยากจะฝากถามนายกรัฐมนตรีว่าไทม์ไลน์ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น โดยเฉพาะภาคเหนือ สัปดาห์นี้คิดว่าต้องแก้อะไร เดือนหน้า (เม.ย.) จะเป็นเดือนที่ค่าฝุ่นสูงที่สุด หากดูสถิติจะแก้อย่างไร ปีหน้าจะแก้อย่างไร ถ้าเกิดมีไทม์ไลน์แบบนี้ ฝ่ายค้านอย่างพวกตนจึงสามารถฝากได้ เพราะถ้าไม่มีไทม์ไลน์มาให้ ก็ไม่รู้จะฝากอย่างไร รวมถึงข้าราชการและภาคประชาชน ชาวบ้านที่อยากมีส่วนร่วม
“เพราะเขาไม่รู้ว่าจะทำอะไรยังไง สิ่งที่ฉันเรียนรู้มาในอดีต วิธีแก้ไขก็คือเอาไฟชนไฟมาช่วยกัน เพราะไม่มีการบูรณาการกัน ทุกคนก็ขยับไม่ถูก” นายพิธา กล่าว
นายพิธา กล่าวต่อว่า ตนขอฝากตุ๊กตาให้นายกรัฐมนตรีก็แล้วกัน ตอนนี้มันสายเกินป้องกันแล้ว คงต้องไปดูว่าสิ่งสำคัญที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินแบบนี้ เช่น หน้ากาก N95 เครื่องฟอกอากาศราคาถูกที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ โดยไม่ได้นำเข้าจากต่างประเทศ อาชีวะบ้านเรามีความสามารถประกอบเองได้ตั้งเยอะ เท่าที่ได้ยินมาจากปีที่แล้ว โรงเรียนเด็กเล็กและโรงพยาบาล ต้องการเครื่องกรองอากาศ ซึ่งสัปดาห์นี้สามารถทำได้เลย สามารถเพิ่มสรรพกำลังของคนที่มาช่วยในการดับไฟป่าอย่างที่ตนไปมาเมื่อวาน
ส่วนเดือนหน้าที่ค่าฝุ่นจะสูงที่สุดในทุกปี สิ่งที่ทำได้เลยคือนายกรัฐมนตรีลองไปดูข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) หรือของกรมอุตุนิยมวิทยา
“เอาแผนที่ดาวเทียมมาทับซ้อนกัน 5 ปี คุณจะรู้เลยว่าปีนี้โอกาสไฟไหม้ป่าอยู่ที่ไหนบ้าง สามารถที่จะรุกก่อน สร้างธนาคารน้ำเป็นสถานีน้ำให้เหยี่ยวไฟเข้าไปพร้อมที่จะช่วย เพราะฉะนั้น เดือนหน้าแทนที่มันจะหนัก ก็อาจจะทุเลากว่าปีที่ย้อนหลังมา เพราะสถิติมันบอกเราว่ามันไหม้ซ้ำซาก แล้วพอถึงปีหน้าก็มีเวลาแก้ไขในระยะยาวมากขึ้น” นายพิธา กล่าว
นายพิธา กล่าวว่า เราเข้าใจข้อจำกัดทางกฎหมายและงบกลาง และเข้าใจว่าทำไมผู้ว่าราชการจังหวัดถึงไม่ประกาศเป็นพื้นที่ฉุกเฉิน ต้องฝากนายกฯรัฐมนตรีลองดูว่าทำไมผู้ว่าราชการจังหวัดถึงไม่ประกาศทั้งที่รุนแรงระดับโลก
“มันเป็น KPI ของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ ที่บอกว่าพอประกาศเขตฉุกเฉินแล้ว ผู้ว่าฯไม่กล้าที่จะใช้หรือเปล่า แต่ขอจบตรงนี้ว่าข้าราชการที่นี่ รวมถึง สิ่งที่คนเล่าให้ฟังว่าผู้ว่าฯที่อยู่แถวนี้ ก็ทำงานถึงสามทุ่มสี่ทุ่ม เพื่อที่จะช่วยกันทำให้ไฟป่าดับ แต่มันเกาไม่ถูกที่คัน” นายพิธา กล่าว
นายพิธา กล่าวอีกว่า อย่างน้อยถ้ายังแก้ไม่ได้ ก็ต้องมาไล่ว่าตอนนี้ทำอะไร เดือนหน้าทำอะไร ปีหน้าทำอะไร รับรองได้ว่ามันจะผ่อนหนักเป็นเบา
“ถ้าจะพูดกับนายกรัฐมนตรีตรงๆ มันคือปัญหาโลจิสติกส์ ไม่ได้เป็นปัญหาทางเทคนิค จะเป็นปัญหาการลำเลียงน้ำ การลำเลียงคนดับไฟป่าให้ถึงจุด … มันคือการที่เข้าใจรูปแบบของไฟ แล้วมี Economies of Speed ไปให้ถึงก่อนที่ไฟจะลาม กับ Economies of Scale คือการขยายทีมในการแก้ไขให้ครบทุกจุดในเวลาที่พร้อมกัน เมื่อเสาร์แก้ปัญหานี้ได้จะกลายเป็นเศรษฐกิจในการแก้ไขปัญหาไฟป่าที่เอาไปทำต่อในประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่มีปัญหาแบบนี้ได้ เราจะกลายเป็นมหาอำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ … เหมือนที่หลายประเทศแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ก็เอามาขายประเทศไทย” นายพิธา กล่าว
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีและโฆษกรัฐบาลออกมาชี้แจงว่ามีการใช้งบกลางในการแก้ไขปัญหาแล้ว มีเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาด้วย นายพิธา กล่าวว่า อย่างนี้เรื่อง พ.ร.บ.การเกิดภัยพิบัติก็ไม่ต้องมี ก็เป็นดุลยพินิจว่าจะใช้ได้หรือไม่ได้ แล้วความแตกต่างระหว่างสถานการณ์ปกติกับสถานการณ์ฉุกเฉินมันมีความแตกต่างกัน ซึ่งสถานการณ์ก็ไม่คลี่คลายลง
นายพิธา ยังกล่าวว่า งบกลางมี 2 แบบ อย่างของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตนเข้าใจว่ามีการผ่านงบร้อยกว่าล้านบาท เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีการให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย แต่มันก็สายเกินไปแล้ว กว่าจะเบิกจ่าย กว่าจะเอาไปใช้ และไม่ทราบว่าได้อุปกรณ์ที่ถูกต้องหรือไม่ กลับอีกก้อนหนึ่งที่เป็นงบกลาง ในส่วนของภัยพิบัติโดยเฉพาะ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำมาใช้ได้ พวกเราที่อยู่ในที่นี้ตนเชื่อว่าสามารถเข้าถึงได้ แต่พี่น้องที่อยู่สถานเด็กเล็กเชียงดาวเข้าไม่ถึง