ผมเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับการใช้ PSU ของคอมพิวเตอร์เก่ามาเป็นแหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์ไว้ใช้งาน กระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/42319261 แต่ในกระทู้นั้นเป็น PSU รุ่นเก่าประสิทธิภาพต่ำเพราะไม่มี Active PFC เมื่อเปิดเครื่องนานๆ แม้ไม่ได้จ่ายกระแสก็เกิดความร้อนจับดูจะอุ่นจนรู้สึกได้ อีกทั้ง PSU ตัวนั้นมีอายุเกิน 10 ปีแม้จะผ่านการซ่อมเปลี่ยนตัวเก็บประจุตัวใหญ่มาแล้วแต่ตัวเก็บประจุที่เหลือและชิ้นส่วนอื่นๆ ย่อมเสื่อมตามกาลเวลา
เมื่อปีที่แล้ว PC และ Notebook ของผม HDD เสียในเวลาไล่เลี่ยกัน ผมก็ได้ถือโอกาสเปลี่ยนเป็น SSD และซื้อ Notebook เครื่องใหม่จึงมี PC ที่ไม่ได้ใช้งาน 1 เครื่อง ทิ้งไว้ก็เปล่าประโยชน์จะขายก็ไม่ได้ราคาผมก็เลยถอดเอา PSU ซึ่งใช้งานได้ดีมาใช้ประโยชน์ ซึ่ง PSU ตัวนี้ดีกว่าตัวเก่ามากมายเพราะเป็น PSU ของ Dell เครื่องแบรนด์เนมและมี Active PFC ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมเปิดเครื่องโดยไม่ต่อโหลดกินไฟน้อยมากเปิดทั้งวันก็ไม่มีความร้อนเลย

เนื่องจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ยังใหม่อายุ 5 ปีกว่าและยังใช้งานได้หากจะใช้ก็แค่ใส่ HDD หรือ SSD แล้วลงวินโดวส์ใหม่ก็ใช้ได้แล้ว ผมต้องการเก็บไว้เป็นเครื่องสำรองกรณีเครื่องอื่นๆ พังก็อาจนำกลับมาใช้ใหม่ การดัดแปลงนี้จึงไม่มีการตัดสายไฟแต่จะบัดกรีออกเป็นชุดแล้วนำของเดิมไปเก็บไว้ จากนั้นบัดกรีสายไฟใหม่ต่อเข้ากับแผ่นปริ๊นโดยแยกสีสายไฟให้เป็นไปตามมาตรฐานเดิมเพื่อให้ง่ายกับการตรวจซ่อมภายหลัง

เมื่อบัดกรีสายไฟเข้าแผ่นปริ๊นแล้วสายไฟอีกด้านตัดให้สั้นพอดีแต่ระวังไม่ให้สั้นเกินไปจนประกอบยาก จากนั้นตีเกลียวสายไฟแยกชุดกัน 3.3V 5V -12V และ 12V ชุดที่ 1 จ่ายกระแสได้ 9A ผมใส่หางปลาแบบเสียบเข้ากับท้ายแจ็คบานาน่าตัวเมียแบบขันติดแท่นโดยแยกสีสายไฟและสีของแจ็คเพื่อไม่ให้สับสนขณะใช้งาน ส่วน 12V ชุดที่ 2 ซึ่งจ่ายกระแสได้ 19A และไฟ Common 0V ผมใช้หางปลาแบบวงแหวนขันเข้ากับไบโพดิงโพสแบบติดแท่น สายสีเขียวและสีดำต่อเข้าสวิทช์ขนาดเล็กเพื่อใช้ปิดเปิดเครื่องก็ใช้หางปลาแบบเสียบเพื่อความสะดวกในการประกอบ ควรรัดท่อหดป้องกันขาสวิตช์ช็อตกับแท่นที่เป็นเหล็กด้วย ถ้าช็อตไม่อันตรายแต่จะปิดเครื่องไม่ได้หากนำไปทดสอบอุปกรณ์อื่นๆ อาจทำให้อุปกรณ์นั้น ๆเสียหายได้

เมื่อประกอบเสร็จจะได้แหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์แบบนี้ ข้อสังเกตุ แจ็คทั้งหลายจะไม่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางเพราะต้องหลบชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ดังนั้นก่อนเจาะรูต้องวัดระยะห่างของแจ็คและอุปกรณ์ภายในให้ดีจะได้ไม่เจาะพลาด อีกอย่างไบโพดิงโพสสีดำแดงที่ใช้ต่อไฟ 12V ควรใช้แบบเดียวกับในรูป ผมเคยใช้แบบอื่นแล้วต้องเปลี่ยนออกเพราะตอนใช้กับสายไฟเปลือยมักจะมีเศษสายไฟไปช็อตกับแท่นแม้เครื่องจะไม่เสียหายเพราะ PSU พวกนี้มีระบบโปรเท็คชั่นที่ดีแต่มันก็ทำให้เรารำคาญเพราะอยู่ดีๆ PSU ตัดขณะที่เรากำลังทดสอบอุปกรณ์อื่นทำให้เราหลงทางเสียเวลาหาสาเหตุ ผมก็เลยเปลี่ยนมาใช้แบบนี้ซึ่งมีแผ่นพลาสติกใหญ่ปัญหาการช็อตลงแท่นก็จบไป
การทำไม่มีสูตรตายตัวหากอยากให้สวยใช้งานปลอดภัยจากไฟดูดควรซื้อกล่องพลาสติกมาทำจะใส่มิเตอร์วัดโวลต์ วัดแอมป์หรือจะซื้อชุดโมดูลที่เขาทำขายมาต่อร่วมกันก็ได้ซึ่งจะสวยงามและสะดวกกว่านี้ เครื่องนี้ถ้าใช้กับปั๊ก 3 ขาก็จะไม่มีไฟรั่วแต่เมื่อใช้ปลั๊ก 2 ขาไฟก็รั่วเล็กน้อยตามปกติของ PSU หากเผลอก็จะโดนไฟดูดได้เป็นไฟอ่อนๆ ไม่ถึงตายแต่ทำให้ตกใจครับ
ดัดแปลง PSU เก่าที่ไม่ได้ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์ ครับ
เมื่อปีที่แล้ว PC และ Notebook ของผม HDD เสียในเวลาไล่เลี่ยกัน ผมก็ได้ถือโอกาสเปลี่ยนเป็น SSD และซื้อ Notebook เครื่องใหม่จึงมี PC ที่ไม่ได้ใช้งาน 1 เครื่อง ทิ้งไว้ก็เปล่าประโยชน์จะขายก็ไม่ได้ราคาผมก็เลยถอดเอา PSU ซึ่งใช้งานได้ดีมาใช้ประโยชน์ ซึ่ง PSU ตัวนี้ดีกว่าตัวเก่ามากมายเพราะเป็น PSU ของ Dell เครื่องแบรนด์เนมและมี Active PFC ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมเปิดเครื่องโดยไม่ต่อโหลดกินไฟน้อยมากเปิดทั้งวันก็ไม่มีความร้อนเลย
เนื่องจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ยังใหม่อายุ 5 ปีกว่าและยังใช้งานได้หากจะใช้ก็แค่ใส่ HDD หรือ SSD แล้วลงวินโดวส์ใหม่ก็ใช้ได้แล้ว ผมต้องการเก็บไว้เป็นเครื่องสำรองกรณีเครื่องอื่นๆ พังก็อาจนำกลับมาใช้ใหม่ การดัดแปลงนี้จึงไม่มีการตัดสายไฟแต่จะบัดกรีออกเป็นชุดแล้วนำของเดิมไปเก็บไว้ จากนั้นบัดกรีสายไฟใหม่ต่อเข้ากับแผ่นปริ๊นโดยแยกสีสายไฟให้เป็นไปตามมาตรฐานเดิมเพื่อให้ง่ายกับการตรวจซ่อมภายหลัง
เมื่อบัดกรีสายไฟเข้าแผ่นปริ๊นแล้วสายไฟอีกด้านตัดให้สั้นพอดีแต่ระวังไม่ให้สั้นเกินไปจนประกอบยาก จากนั้นตีเกลียวสายไฟแยกชุดกัน 3.3V 5V -12V และ 12V ชุดที่ 1 จ่ายกระแสได้ 9A ผมใส่หางปลาแบบเสียบเข้ากับท้ายแจ็คบานาน่าตัวเมียแบบขันติดแท่นโดยแยกสีสายไฟและสีของแจ็คเพื่อไม่ให้สับสนขณะใช้งาน ส่วน 12V ชุดที่ 2 ซึ่งจ่ายกระแสได้ 19A และไฟ Common 0V ผมใช้หางปลาแบบวงแหวนขันเข้ากับไบโพดิงโพสแบบติดแท่น สายสีเขียวและสีดำต่อเข้าสวิทช์ขนาดเล็กเพื่อใช้ปิดเปิดเครื่องก็ใช้หางปลาแบบเสียบเพื่อความสะดวกในการประกอบ ควรรัดท่อหดป้องกันขาสวิตช์ช็อตกับแท่นที่เป็นเหล็กด้วย ถ้าช็อตไม่อันตรายแต่จะปิดเครื่องไม่ได้หากนำไปทดสอบอุปกรณ์อื่นๆ อาจทำให้อุปกรณ์นั้น ๆเสียหายได้
เมื่อประกอบเสร็จจะได้แหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์แบบนี้ ข้อสังเกตุ แจ็คทั้งหลายจะไม่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางเพราะต้องหลบชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ภายใน ดังนั้นก่อนเจาะรูต้องวัดระยะห่างของแจ็คและอุปกรณ์ภายในให้ดีจะได้ไม่เจาะพลาด อีกอย่างไบโพดิงโพสสีดำแดงที่ใช้ต่อไฟ 12V ควรใช้แบบเดียวกับในรูป ผมเคยใช้แบบอื่นแล้วต้องเปลี่ยนออกเพราะตอนใช้กับสายไฟเปลือยมักจะมีเศษสายไฟไปช็อตกับแท่นแม้เครื่องจะไม่เสียหายเพราะ PSU พวกนี้มีระบบโปรเท็คชั่นที่ดีแต่มันก็ทำให้เรารำคาญเพราะอยู่ดีๆ PSU ตัดขณะที่เรากำลังทดสอบอุปกรณ์อื่นทำให้เราหลงทางเสียเวลาหาสาเหตุ ผมก็เลยเปลี่ยนมาใช้แบบนี้ซึ่งมีแผ่นพลาสติกใหญ่ปัญหาการช็อตลงแท่นก็จบไป
การทำไม่มีสูตรตายตัวหากอยากให้สวยใช้งานปลอดภัยจากไฟดูดควรซื้อกล่องพลาสติกมาทำจะใส่มิเตอร์วัดโวลต์ วัดแอมป์หรือจะซื้อชุดโมดูลที่เขาทำขายมาต่อร่วมกันก็ได้ซึ่งจะสวยงามและสะดวกกว่านี้ เครื่องนี้ถ้าใช้กับปั๊ก 3 ขาก็จะไม่มีไฟรั่วแต่เมื่อใช้ปลั๊ก 2 ขาไฟก็รั่วเล็กน้อยตามปกติของ PSU หากเผลอก็จะโดนไฟดูดได้เป็นไฟอ่อนๆ ไม่ถึงตายแต่ทำให้ตกใจครับ