มาดัดแปลง PSU คอมพ์เก่าที่ไม่ได้ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์ไว้ใช้งานกันครับ

ผมมี PSU คอมพิวเตอร์เก่าที่ไม่ได้ใช้งานจะเอาไปทิ้งก็เสียดายเพราะมันยังใช้งานได้แต่จะเก็บไว้เฉยๆ ก็รกบ้าน  ประกอบกับงานอดิเรกของผมคือซ่อม/สร้างนั่นนี่โน่นไปเรื่อย  ในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างหากจ่ายไฟบ้านเข้าไปโดยตรงจะอันตรายและยุ่งยาก  ในการซ่อมเพราะบางครั้งเราต้องการทดสอบวงจรส่วนใดส่วนหนึ่งว่ายังใช้งานได้หรือไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอกมาจ่ายให้วงจรทำงานวัดผลที่ได้แล้ววิเคราะห์แยกเป็นส่วนๆ ไปจะทำให้การซ่อมง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น  เครื่องจ่ายไฟสำหรับการทดสอบก็มีขายมีฟังค์ชั่นปรับแรงดันปรับกระแสได้ มีวงจรป้องกันการช็อตด้วยหากมีไว้ใช้งานก็เหมาะสมดีสำหรับช่างมืออาชีพ  แต่สำหรับมือสมัครเล่นแล้วการไปซื้อแหล่งจ่ายไฟแบบนั้นมันสิ้นเปลืองเกินกว่าเหตุก็เลยเป็นที่มาของโปรเจ็คนี้



PSU คอมพิวเตอร์เก่าผมตัดสายไฟส่วนเกินออกไปเหลือไว้แต่สายไฟสีดำ 0V 5 เส้น  สายไฟสีส้ม 3.3V 3 เส้น สายไฟสีแดง 5V 3 เส้น สายไฟสีเหลือง 12V 4 เส้นจากนั้นนำไปวางในกล่องพลาสติก ABS ขนาด 170*125*80mm เจาะรูด้านซ้ายข้างกล่อง 12mm 2 รูเพื่อใส่แจ็คบานาน่าตัวเมียสำหรับจ่ายไฟ 3.3V และ 5V  ด้านหน้ากล่องเจาะรู 9mm 1 รูด้านหน้าทางด้านซ้ายมือสำหรับติดตั้งไบดิ้งโพสสีดำ 0V เจาะรู 3mm จำนวน 5 รูเพื่อให้อากาศเข้าไประบายความร้อน เจาะรู 12mm สำหรับติดตั้งบานาน่าแจ็คของไฟที่ปรับแรงดันได้และรู 9mm สำหรับติดตั้งไบดิ้งโพสสีแดงจ่ายไฟ 12V และเจารู 12mm สำหรับติดตั้งแจ็ค DC ตัวเมียแบบติดแท่นจ่ายไฟ 12V ด้านหลังเจาะรูสีเหลี่ยมติดตั้งสวิชต์ปิดเปิดโดยต่อสายไฟสีเขียวและสีดำเข้าสวิชต์ เจาะรูนาด 3mm เพื่อติดตั้งหลอด LED ไฟแสดงสถานะ เจาะรูวงกรม 2 นี้วครึ่งสำหรับติดตั้งพัดลมและเจาะรูสำหรับติดตั้งซ็อกเก็ตไฟ AC แบบ C-14 ตามมาตรฐานของ PSU คอมพ์ทั่วไป  ในส่วนของไฟที่ปรับแรงดันได้ผมใช้ Buck Converter ตัวเล็กจ่ายกระแสได้ 3A ถ้าจะใช้แรงดันสูงกว่า 12V ผมก็มี Buck Converter สเตปอัพ 300W ใส่กล่องไว้อีกกล่องโดยต่อไฟจากชุดไบดิ้งโพสสีดำ-แดงชุดนี้เข้าไปเท่านี้ก็ได้แหล่งจ่ายไฟเอนกประสงค์ที่ใช้งานได้หลากหลาย   PSU คอมพิวเตอร์มาตรฐาน ATX มีวงจรป้องกันการช็อตในตัวด้วยดีกว่าเพาเวอร์ซัพพลายที่มีขายทั่วไปเสียอีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่