จากกระทู้ที่แล้ว
https://ppantip.com/topic/38472804 ตอนนั้นผมต้องการปลั๊กพ่วงที่แปลงจากปลั๊กผนัง 2 ขาให้เป็นแบบ 3 ขาเพื่อเอาไว้ติดรถใช้งานในยามที่ต้องหอบโน๊ตบุ๊คและปริ๊นเตอร์ไปใช้ตามโรงแรมรีสอร์ทต่างๆ จะได้ไม่ต้องหักขากราวด์ทิ้งเหมือนใครหลายๆ คนทำกัน ตอนนี้ปลั๊กพ่วงตัวนี้ก็ประจำการอยู่ที่ท้ายรถพร้อมเครื่องปริ๊นเตอร์เครื่องเล็ก แต่กระทู้นี้ผมจะประกอบปลั๊กพ่วงไว้ใช้งานในบ้านเนื่องจากปลั๊กพ่วงตัวเก่าได้ยกไปให้แม่ใช้พ่วงเปิดพัดลมหน้าร้อน ปลั๊กพ่วงตัวนี้ผมจะจำกัดกระแสเอาไว้ที่ 10 แอมป์หรือใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไม่เกิน 2,300 วัตต์ อุปกรณ์ที่ใช้จำกัดกระแสก็คือเซอร์กิตเบรคเกอร์ตัวเล็กติดแท่นแบบเดียวกับที่ติดมากับปลั๊กพ่วงมาตรฐาน มอก. ถ้าใครจะใข้ปลั๊กพ่วงที่รองรับกระแสสูงกว่านี้ก็ใช้สายไฟขนาด 2.5 มิลลิเมตร และใช้เซอร์กิตเบรคเกอร์ขนาด 15 แอมป์ ซึ่งเป็นลิมิตสูงสุดของเต้ารับจะรองรับได้หากเครื่องใช้ไฟฟ้าใดที่ใช้กระแสมากกว่านี้ห้ามใช้ปลั๊ก+เต้ารับเด็ดขาด เราจึงเห็นเตาอบมาตรฐานเยอรมันหรือยุโรปที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสูงๆ เขาจะไม่ให้ปลั๊กมาด้วยจะให้แต่สายไฟ VCT มาแล้วให้เราต่อโดยตรงกับเบรคเกอร์
เริ่มกันเลย อุปกรณ์ที่ต้องใช้ดังนี้
1. เต้ารับ 3 ขาตัวคู่ มาตรฐาน มอก. 2 ตัว พร้อมหน้ากาก ผมเลือกยี่ห้อ วีน่า ของไทยเพราะราคาถูกแต่คุณภาพดี ตอนนี้ปลั๊กพ่วง มอก.ยี่ห้อดังก็ซื้อเต้ารับยี่ห้อนี้ไปประกอบขาย
2. กล่องบ็อกซ์คู่ ยี่ห้อ Leetech รุ่น BX 102 ถ้าใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้แต่จะต้องมีแผ่นปิด ถ้าใช้ยี่ห้อนี้รุ่นนี้มีรูเล็กๆ จึงไม่ต้องมีแผ่นปิดให้ยุ่งยาก
3. สายไฟ VCT 1.5 Sq.mm. x3 ผมซื้อยี่ห้อไทยยาซากิ สีดำ ยาว 7 เมตร ราคาเมตรละ 42 บาท ปลั๊กตัวผู้แบบ 3 ขา ผมซื้อขาแบบ US ราคา 35 บาท ถ้าเป็นแบบยุโรปหรือ มอก.ไทยจะเป็น 3 ขากลม ผมหาซื้อไม่ได้ก็เลยใช้แบบ US แทน
4. เบรกเกอร์ติดแท่นตัวเล็ก ขนาด 10 A. (เหมาะสมกับสายไฟ 1.5 Sq.mm. ถ้าใช้สาย 2.5 Sq.mm. ให้ใช้ขนาด 15 A) ราคาตัวละ 15 บาท หางปลาขนาดพอดีที่เสียบขาเบรกเกอร์ตัวนี้ได้ 2 ตัว ราคาตัวละ 2 บาท ถ้าหาซื้อไม่ได้ให้บัดกรีติดขาเบรกเกอร์เลยก็ได้โดยสอดสายไฟเข้าไปในรูแล้วงอปลายก่อนค่อยบัดกรี สังเกตุให้ดีที่ขาเบรกเกอร์จะมีบอกไว้ว่า Line และ Load ขา Line ให้ต่อไปยังขา Line ของปลั๊กตัวผู้ต้องต่อให้ถูกด้วย
5. เศษสายไฟแกนเดี่ยว ขนาด 1.5 Sq.mm ปอกเอาจากสายไฟบ้าน(ถ้ามี) แต่ผมใช้สายไฟอ่อนตีเกลียวปอกมาจากสาย VCT ที่ซื้อมาแล้วบัดกรีปลายสายด้วยตะกั่วให้แข็ง อื่นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ท่อหดขนาด 12 มิล ยาว 2 นิ้วเอาไว้รัดสาย VCT บริเวณรูร้อยสายป้องกันไม่ให้ส่ายไฟขีดข่วน ท่อหดขนาด 3 มิล ยาว 2 นิ้วเอาไว้รัดหางปลา สายเคเบิ้ลไทร์เล็ก 1 เส้นเอาไว้รัดสายไฟป้องกันถูกดึงสาย
6. เครื่องมือได้แก่ ไขควงแขก หัวแร้ง (ถ้าไม่มีใช้คีมหนีบสายเอาก็ได้) คีม สว่านไฟฟ้า+ดอกเจาะ (ถ้าไม่มีใช้เหล็กแหลมเผาไฟเจาะรูแทนได้)
การประกอบ เริ่มจากเจาะรูกล่องบ็อกซ์ BX 102 ผมเจาะที่ด้านข้างเมื่อมองจากตำแหน่งติดตั้งหน้ากากยึดเต้ารับ เจาะ 2 รูตรงข้ามกันสำหรับสอดสายไฟและติดตั้งเบรกเกอร์ หากรูขนาดไม่พอดีก็ใช้กรรไกคว้านให้พอดีซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะเป็นพลาสติกเนื้ออ่อน จากนั้นบัดกรีสายไฟสีน้ำตาล (สาย L) เข้ากับหางปลาจะมีตำแหน่งให้บัดกรีใส่ตะกั่วเพียงเล็กน้อยจากนั้นใช้คืมหนีบย้ำให้แข็งแรงรัดท่อหดเฉพาะส่วนหางก่อนแล้วใช้ไฟลนให้ท่อหดร้อนจะรัดแน่นดึงไม่ออก ปลายสายไฟอีก 2 สายขาวและดำที่เหลือที่เหลือให้ปอกออกยาวประมาณ 1 เซ็นติเมตรแล้วเคลือบตะกั่วที่ปลายสายจะได้แข็งคัวประกอบง่ายแน่นหนากระแสไฟฟ้าไหลสะดวก
ก่อนเสียบหางปลาเข้ากับขาเบรกเกอร์ รัดท่อหดอีกชั้นครั้งนี้รัดหางปลาทั้งหมดไม่ให้เห็นทองแดงที่เปลือยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้หาฃปลาที่ทำจากโลหะทองเหลืองโดนอากาศทำให้มีอายุการใช้งานจะยาวนานขึ้น ผมใช้ท่อหดสอดเข้าหางปลาก่อนเสียบเข้าขาเบรกเกอร์แล้วใช้ไฟลนรัดไว้แน่นดึงด้วยมือเปล่าไม่ออก
จากนั้นร้อยสายไฟเข้ารูที่เจาะไว้ อย่าลืมสวมท่อหด 12 มิลเข้าสายไฟ VCT ก่อนด้วยป้องกันสายขีดข่วนชำรุดเมื่อใช้งานนานหลายปี จากนั้นก็โยงสายไฟเข้าด้วยกัน เริ่มจากสาย Line สีน้ำตาลจากขา 2 (Load) ของเบรกเกอร์เข้ามาที่ขา L ของเต้ารับที่ 1 แล้วโยงไปขา L ของเต้ารับตัวที่ 2 โดยปอกปลายสายประมาณ 1 เซ็นติเมตร แล้วเคลือบตะกั่วให้แข็งก่อนใส่เข้าไปแล้วขันสกรูให้แน่น จากนั้นก็โยงสาย N หรือ Neutral สีขาวมาจากสายไฟเข้าเต้ารับที่ขา N ของตัวที่ 1 แล้วโยงไปขา N เต้ารับตัวที่ 2 จากนั้นก็โยงขา G (Ground) สายสีดำด้านบนต่อเหมือนสาย N เมื่อโยงเสร็จก็ประกอบเต้ารับให้ลงล็อกจะมีเสียงดังแค็รกให้ได้ยิน
ก่อนปิดกล่องผมงอขาเบรคเกอร์เพื่อไม่ให้สายไฟที่ขาเบรกเกอร์ชิดกันกับสายที่เข้าเต้ารับเกินไปเพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรมากขึ้น สายไฟ VCT ด้านในจัดให้ท่อหดอยู่กึ่งกลางรูที่เจาะร้อยสายแล้วลนไฟให้รัดตัวจากนั้นใช้เคเบิ้ลไทร์รัดสายไฟให้แน่นด้านในของกล่องป้องกันการดึงสายไฟ ตัดสายเคเบิ้ลไทร์ส่วนที่เหลือทิ้งจากนั้นขันสกรูทั้ง 4 ตัวยึดหน้ากากเข้ากับบอกซ์ ใส่แผ่นปิดหน้ากากให้เรียบร้อยจะมีทิศทางบอกให้สังเกตุจากตัวอักษรให้ไปทางเดียวกันเราอ่านได้ไม่กลับหัวกลับหางเป็นใช้ได้
ที่สายไฟอีกด้านปลายสายทั้ง 3 สายให้จะปอกยาว 1.5 เซ็นติเมตร แล้วเคลือบตะกั่วบัดกรีให้แข็งตัว จากนั้น คีมบีบใส่ไขควงเล็กให้โค้งเป็นวงกลมจากนั้นบัดกรีที่ปลายงวงกลมให้เป็นห่วงแล้วขันติดที่ขาปลั๊ก เทคนิคนี้จะทำให้งานประกอบแน่นหนาดึงไม่หลุดและไม่ต้องใช้แผ่นโลหะประกับข้างยึดสายไฟให้เกะกะรุงรัง
ขันสกรูปลั๊กตัวผู้เข้าไปก็เสร็จแล้ว ปลั๊กตัวนี้ไม่มีตำแหน่งมาร์กบอกต้องหมุนหาตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนรูสกรูยึดตรงทั้ง 3 รู เมื่อขันสกรูปลั๊กตัวผู้เข้าหัวปลั๊กก็เป็นอันเสร็จไม่ยากเลย
ผมใช้เวลาประกอบประมาณ 45 นาที ก็ได้ปลั๊กพ่วงระดับเดียวกับมาตรฐาน มอก.ไว้ใช้งาน ราคาถูกกว่ายี่ห้อดังๆ ที่เขาประกอบขายสำเร็จแต่คุณภาพไม่เป็นรองมีระบบป้องกันการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดและป้องกันการลัดวงจรด้วย ตัวนี้ผมลงทุนไป 420 บาท (ของบางอย่างมีอยู่แล้วไม่ได้ซื้อ) เลือกใช้แต่ของคุณภาพสูงใช้งานได้ทนทานหลายปี มีอะไหล่ซ่อมเมื่อชำรุดเพราะใช้อุปกรณ์เดียวกันกับเต้ารับที่ใช้ในบ้านหาซื้อได้ทั่วไป
ถ่ายรูปคู่กันกับตัวเก่ากระทู้ที่แล้ว ซึ่งผมแก้ไขนิดหน่อยเพิ่มสวิทช์ปิดเปิดเข้าไป แต่สวิชท์ตัวนี้จะปิดเปิดเฉพาะเต้ารับที่ติดกันเท่านั้น เต้ารับอีกตัวต่อปกติไม่สามารถปิดเปิดได้
ปล. ถ่ายรูปไม่ครบเพราะทำเพลินๆ ลืมถ่ายรูปก็เลยใช้รูปถ่ายจากกระทู้เก่ามาประกอบด้วยเพื่อให้เห็นขั้นตอนครบถ้วน และมีสมาชิกสอบถามเรื่องการต่อวงจรของเบรกเกอร์และการโยงสายไฟ ผมก็เลยแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดให้ แต่ขอเตือนคนที่จะทำตามจะต้องมีพื้นฐานมาบ้างโดยใช้แนวคิดนี้ไปปรับปรุงเพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ส่วนคนที่ไม่มีพื้นฐานเลยหรือไม่มีเครื่องมือก็ไปซื้อที่เขาประกอบสำเร็จขายได้เลย ราคาไม่ได้ต่างจากที่เราประกอบเองมากนักจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายจากไฟฟ้าครับ
DIY มาทำปลั๊กพ่วงระดับเดียวกันกับมาตรฐาน มอก. ใช้เอง 2
เริ่มกันเลย อุปกรณ์ที่ต้องใช้ดังนี้
1. เต้ารับ 3 ขาตัวคู่ มาตรฐาน มอก. 2 ตัว พร้อมหน้ากาก ผมเลือกยี่ห้อ วีน่า ของไทยเพราะราคาถูกแต่คุณภาพดี ตอนนี้ปลั๊กพ่วง มอก.ยี่ห้อดังก็ซื้อเต้ารับยี่ห้อนี้ไปประกอบขาย
2. กล่องบ็อกซ์คู่ ยี่ห้อ Leetech รุ่น BX 102 ถ้าใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้แต่จะต้องมีแผ่นปิด ถ้าใช้ยี่ห้อนี้รุ่นนี้มีรูเล็กๆ จึงไม่ต้องมีแผ่นปิดให้ยุ่งยาก
3. สายไฟ VCT 1.5 Sq.mm. x3 ผมซื้อยี่ห้อไทยยาซากิ สีดำ ยาว 7 เมตร ราคาเมตรละ 42 บาท ปลั๊กตัวผู้แบบ 3 ขา ผมซื้อขาแบบ US ราคา 35 บาท ถ้าเป็นแบบยุโรปหรือ มอก.ไทยจะเป็น 3 ขากลม ผมหาซื้อไม่ได้ก็เลยใช้แบบ US แทน
4. เบรกเกอร์ติดแท่นตัวเล็ก ขนาด 10 A. (เหมาะสมกับสายไฟ 1.5 Sq.mm. ถ้าใช้สาย 2.5 Sq.mm. ให้ใช้ขนาด 15 A) ราคาตัวละ 15 บาท หางปลาขนาดพอดีที่เสียบขาเบรกเกอร์ตัวนี้ได้ 2 ตัว ราคาตัวละ 2 บาท ถ้าหาซื้อไม่ได้ให้บัดกรีติดขาเบรกเกอร์เลยก็ได้โดยสอดสายไฟเข้าไปในรูแล้วงอปลายก่อนค่อยบัดกรี สังเกตุให้ดีที่ขาเบรกเกอร์จะมีบอกไว้ว่า Line และ Load ขา Line ให้ต่อไปยังขา Line ของปลั๊กตัวผู้ต้องต่อให้ถูกด้วย
5. เศษสายไฟแกนเดี่ยว ขนาด 1.5 Sq.mm ปอกเอาจากสายไฟบ้าน(ถ้ามี) แต่ผมใช้สายไฟอ่อนตีเกลียวปอกมาจากสาย VCT ที่ซื้อมาแล้วบัดกรีปลายสายด้วยตะกั่วให้แข็ง อื่นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น ท่อหดขนาด 12 มิล ยาว 2 นิ้วเอาไว้รัดสาย VCT บริเวณรูร้อยสายป้องกันไม่ให้ส่ายไฟขีดข่วน ท่อหดขนาด 3 มิล ยาว 2 นิ้วเอาไว้รัดหางปลา สายเคเบิ้ลไทร์เล็ก 1 เส้นเอาไว้รัดสายไฟป้องกันถูกดึงสาย
6. เครื่องมือได้แก่ ไขควงแขก หัวแร้ง (ถ้าไม่มีใช้คีมหนีบสายเอาก็ได้) คีม สว่านไฟฟ้า+ดอกเจาะ (ถ้าไม่มีใช้เหล็กแหลมเผาไฟเจาะรูแทนได้)
การประกอบ เริ่มจากเจาะรูกล่องบ็อกซ์ BX 102 ผมเจาะที่ด้านข้างเมื่อมองจากตำแหน่งติดตั้งหน้ากากยึดเต้ารับ เจาะ 2 รูตรงข้ามกันสำหรับสอดสายไฟและติดตั้งเบรกเกอร์ หากรูขนาดไม่พอดีก็ใช้กรรไกคว้านให้พอดีซึ่งทำได้ง่ายๆ เพราะเป็นพลาสติกเนื้ออ่อน จากนั้นบัดกรีสายไฟสีน้ำตาล (สาย L) เข้ากับหางปลาจะมีตำแหน่งให้บัดกรีใส่ตะกั่วเพียงเล็กน้อยจากนั้นใช้คืมหนีบย้ำให้แข็งแรงรัดท่อหดเฉพาะส่วนหางก่อนแล้วใช้ไฟลนให้ท่อหดร้อนจะรัดแน่นดึงไม่ออก ปลายสายไฟอีก 2 สายขาวและดำที่เหลือที่เหลือให้ปอกออกยาวประมาณ 1 เซ็นติเมตรแล้วเคลือบตะกั่วที่ปลายสายจะได้แข็งคัวประกอบง่ายแน่นหนากระแสไฟฟ้าไหลสะดวก
ก่อนเสียบหางปลาเข้ากับขาเบรกเกอร์ รัดท่อหดอีกชั้นครั้งนี้รัดหางปลาทั้งหมดไม่ให้เห็นทองแดงที่เปลือยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันไม่ให้หาฃปลาที่ทำจากโลหะทองเหลืองโดนอากาศทำให้มีอายุการใช้งานจะยาวนานขึ้น ผมใช้ท่อหดสอดเข้าหางปลาก่อนเสียบเข้าขาเบรกเกอร์แล้วใช้ไฟลนรัดไว้แน่นดึงด้วยมือเปล่าไม่ออก
จากนั้นร้อยสายไฟเข้ารูที่เจาะไว้ อย่าลืมสวมท่อหด 12 มิลเข้าสายไฟ VCT ก่อนด้วยป้องกันสายขีดข่วนชำรุดเมื่อใช้งานนานหลายปี จากนั้นก็โยงสายไฟเข้าด้วยกัน เริ่มจากสาย Line สีน้ำตาลจากขา 2 (Load) ของเบรกเกอร์เข้ามาที่ขา L ของเต้ารับที่ 1 แล้วโยงไปขา L ของเต้ารับตัวที่ 2 โดยปอกปลายสายประมาณ 1 เซ็นติเมตร แล้วเคลือบตะกั่วให้แข็งก่อนใส่เข้าไปแล้วขันสกรูให้แน่น จากนั้นก็โยงสาย N หรือ Neutral สีขาวมาจากสายไฟเข้าเต้ารับที่ขา N ของตัวที่ 1 แล้วโยงไปขา N เต้ารับตัวที่ 2 จากนั้นก็โยงขา G (Ground) สายสีดำด้านบนต่อเหมือนสาย N เมื่อโยงเสร็จก็ประกอบเต้ารับให้ลงล็อกจะมีเสียงดังแค็รกให้ได้ยิน
ก่อนปิดกล่องผมงอขาเบรคเกอร์เพื่อไม่ให้สายไฟที่ขาเบรกเกอร์ชิดกันกับสายที่เข้าเต้ารับเกินไปเพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรมากขึ้น สายไฟ VCT ด้านในจัดให้ท่อหดอยู่กึ่งกลางรูที่เจาะร้อยสายแล้วลนไฟให้รัดตัวจากนั้นใช้เคเบิ้ลไทร์รัดสายไฟให้แน่นด้านในของกล่องป้องกันการดึงสายไฟ ตัดสายเคเบิ้ลไทร์ส่วนที่เหลือทิ้งจากนั้นขันสกรูทั้ง 4 ตัวยึดหน้ากากเข้ากับบอกซ์ ใส่แผ่นปิดหน้ากากให้เรียบร้อยจะมีทิศทางบอกให้สังเกตุจากตัวอักษรให้ไปทางเดียวกันเราอ่านได้ไม่กลับหัวกลับหางเป็นใช้ได้
ที่สายไฟอีกด้านปลายสายทั้ง 3 สายให้จะปอกยาว 1.5 เซ็นติเมตร แล้วเคลือบตะกั่วบัดกรีให้แข็งตัว จากนั้น คีมบีบใส่ไขควงเล็กให้โค้งเป็นวงกลมจากนั้นบัดกรีที่ปลายงวงกลมให้เป็นห่วงแล้วขันติดที่ขาปลั๊ก เทคนิคนี้จะทำให้งานประกอบแน่นหนาดึงไม่หลุดและไม่ต้องใช้แผ่นโลหะประกับข้างยึดสายไฟให้เกะกะรุงรัง
ขันสกรูปลั๊กตัวผู้เข้าไปก็เสร็จแล้ว ปลั๊กตัวนี้ไม่มีตำแหน่งมาร์กบอกต้องหมุนหาตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนรูสกรูยึดตรงทั้ง 3 รู เมื่อขันสกรูปลั๊กตัวผู้เข้าหัวปลั๊กก็เป็นอันเสร็จไม่ยากเลย
ผมใช้เวลาประกอบประมาณ 45 นาที ก็ได้ปลั๊กพ่วงระดับเดียวกับมาตรฐาน มอก.ไว้ใช้งาน ราคาถูกกว่ายี่ห้อดังๆ ที่เขาประกอบขายสำเร็จแต่คุณภาพไม่เป็นรองมีระบบป้องกันการใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดและป้องกันการลัดวงจรด้วย ตัวนี้ผมลงทุนไป 420 บาท (ของบางอย่างมีอยู่แล้วไม่ได้ซื้อ) เลือกใช้แต่ของคุณภาพสูงใช้งานได้ทนทานหลายปี มีอะไหล่ซ่อมเมื่อชำรุดเพราะใช้อุปกรณ์เดียวกันกับเต้ารับที่ใช้ในบ้านหาซื้อได้ทั่วไป
ถ่ายรูปคู่กันกับตัวเก่ากระทู้ที่แล้ว ซึ่งผมแก้ไขนิดหน่อยเพิ่มสวิทช์ปิดเปิดเข้าไป แต่สวิชท์ตัวนี้จะปิดเปิดเฉพาะเต้ารับที่ติดกันเท่านั้น เต้ารับอีกตัวต่อปกติไม่สามารถปิดเปิดได้
ปล. ถ่ายรูปไม่ครบเพราะทำเพลินๆ ลืมถ่ายรูปก็เลยใช้รูปถ่ายจากกระทู้เก่ามาประกอบด้วยเพื่อให้เห็นขั้นตอนครบถ้วน และมีสมาชิกสอบถามเรื่องการต่อวงจรของเบรกเกอร์และการโยงสายไฟ ผมก็เลยแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดให้ แต่ขอเตือนคนที่จะทำตามจะต้องมีพื้นฐานมาบ้างโดยใช้แนวคิดนี้ไปปรับปรุงเพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ส่วนคนที่ไม่มีพื้นฐานเลยหรือไม่มีเครื่องมือก็ไปซื้อที่เขาประกอบสำเร็จขายได้เลย ราคาไม่ได้ต่างจากที่เราประกอบเองมากนักจะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายจากไฟฟ้าครับ