“ฟิลิปปินส์” อดีตประเทศ อนาคตสดใส ที่โดน ประเทศไทย แซงหน้า | MONEY LAB
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นภาพของชาวฟิลิปปินส์ ที่ต้องหลับนอนในสุสาน เนื่องจากความแออัดของพื้นที่ หรือความยากจน จนต้องนำเศษอาหารจากถังขยะ มาทำเป็นอาหารที่ชื่อว่า “ปักปัก” กินเพื่อประทังชีวิต
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้าที่ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ จะมีสภาพความเป็นอยู่แบบนี้ ในปี 1960 ประเทศฟิลิปปินส์ เคยมีรายได้ต่อหัวที่มากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า
และถ้าหากคุณสงสัย ว่าเพราะเหตุใด ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เคยรุ่งเรืองอย่างฟิลิปปินส์ ต้องกลายเป็นประเทศยากจนแบบนี้ ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
ฟิลิปปินส์ถูกปกครองโดยสเปน นานถึง 333 ปี ซึ่งด้วยตำแหน่งที่ตั้งของฟิลิปปินส์ ที่อยู่ระหว่างลาตินอเมริกากับทวีปเอเชีย ก็ทำให้ฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรือง จากการเป็นศูนย์กลางทางการค้า
จนเมื่อปี 1898 สเปนได้พ่ายแพ้สงครามที่ทำกับสหรัฐอเมริกา จนส่งผลให้สเปนจำใจต้องมอบฟิลิปปินส์ ให้กับสหรัฐอเมริกา
การมาถึงของสหรัฐอเมริกา ทำให้ฟิลิปปินส์ ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการศึกษา ที่ได้สหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยวางรากฐานให้
เห็นได้จากในปี 1925 งบประมาณของรัฐกว่าครึ่งหนึ่งของฟิลิปปินส์ ถูกเทให้กับระบบการศึกษาโดยเฉพาะ นั่นจึงทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้มากขึ้น
ฟิลิปปินส์อยู่กับสหรัฐอเมริกามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1946 ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชในที่สุด
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1950 ถึงปี 1960 เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ๆ จากนโยบายการควบคุมสินค้านำเข้า ทำให้ภาคอุตสาหกรรมในฟิลิปปินส์ พัฒนาขึ้นอย่างมาก
จนเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เติบโตเฉลี่ยถึง 6.4% ต่อปี
อนาคตของฟิลิปปินส์ จึงดูสดใสมาก เพราะมีทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดี จากระบบการศึกษาแบบอเมริกัน และอุตสาหกรรม ที่เริ่มมีการพัฒนา มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้อนาคตที่สดใสของฟิลิปปินส์ดับวูบลง จนกลายเป็นประเทศที่ยากจน และพัฒนาได้อย่างเชื่องช้า ก็มาจากปัญหา 3 อย่างนี้
1.การบริหารประเทศที่ผิดพลาด
Ferdinand Marcos ถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1965 และอีกครั้งในปี 1969
จนกระทั่งถึงปี 1972 ที่เขาต้องหมดวาระการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 แล้ว แต่ Marcos กลับไม่ยอมลงจากตำแหน่ง เขากลับใช้กฎอัยการศึก เป็นข้ออ้างให้เขาได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปอย่างไม่จำกัด
โดยนโยบายเศรษฐกิจของ Marcos คือการเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และใช้อำนาจรัฐที่มี เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนที่ใกล้ชิด จนเกิดธุรกิจผูกขาดขึ้นมามากมาย
โดยช่วงปี 1970 ถึงปี 1980 นั้น แม้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะเติบโตอย่างร้อนแรง ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 17% ต่อปี
แต่ถึงอย่างนั้น ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ไม่ได้กระจายมาถึงคนทั่วไปแม้แต่น้อย สะท้อนจาก กลุ่มคนที่รวยที่สุด 20% แรกในฟิลิปปินส์ มีรายได้มากกว่าคนที่ยากจนที่สุดถึง 15 เท่า ในปี 1971
และที่สำคัญ การเติบโตของเศรษฐกิจอันร้อนแรงนี้ มีเบื้องหลังคือ เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ โดยจำนวนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ ในช่วงปี 1972 ถึงปี 1982 ที่ Marcos ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ได้เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า
ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ มีปัญหาในการจ่ายหนี้เหล่านี้ เพราะฟิลิปปินส์ ไม่ได้มีรายได้จากการส่งออกมากนัก เนื่องจากภาคการผลิตของประเทศ เต็มไปด้วยธุรกิจผูกขาด ที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เริ่มถดถอยลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1982 สวนทางกันกับประเทศไทย ที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยนโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศ จนทำให้รายได้ต่อหัวของประเทศไทย แซงหน้าฟิลิปปินส์ได้ในที่สุด
ทำให้สุดท้าย Marcos ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในปี 1985 และไม่เคยกลับมาที่ฟิลิปปินส์อีกเลย แต่ถึงอย่างนั้น การเมืองของฟิลิปปินส์ ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับการคอร์รัปชัน มาจนถึงปัจจุบัน
2.เกิดภาวะสมองไหล
จากปัญหาทางเศรษฐกิจข้างต้นนี้เอง ทำให้ชาวฟิลิปปินส์หลั่งไหลออกไปทำงานในต่างประเทศ ที่ให้ค่าแรงมากกว่า เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนก็เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ตามโรงเรียนในประเทศไทย หรือพยาบาลชาวฟิลิปปินส์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ จึงพึ่งพาเงินโอนกลับจากแรงงานเหล่านี้เป็นอย่างมาก สะท้อนจากจำนวนเงิน ที่แรงงานชาวฟิลิปปินส์โอนกลับบ้านในปี 2022 ซึ่งมากถึง 1.36 ล้านล้านบาท
แต่ถึงแม้ชาวฟิลิปปินส์ จะส่งเงินกลับบ้านได้มากมายเพียงใด การเสียประชากรคุณภาพ อย่างเช่น ครู หรือบุคลากรทางการแพทย์ ออกไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ก็ส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวเป็นอย่างมาก
เพราะเมื่อไม่มีครู ที่มีความรู้ความสามารถในระบบ การศึกษาของฟิลิปปินส์ก็ถดถอยลงไป เห็นได้จากคะแนนสอบ PISA ในปี 2022 ที่ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับท้าย ๆ ของทุกวิชา
3.ประชากรล้นเกิน
ฟิลิปปินส์ มีอัตราการเกิดของประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ กลับไม่เอื้อต่อการทำการเกษตร เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงปากท้องผู้คนมากนัก
จากการที่ฟิลิปปินส์เป็นเกาะ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวงแหวนภูเขาไฟ ทำให้ต้องพบเจอทั้งแผ่นดินไหว และพายุฝนอยู่บ่อย ๆ
ฟิลิปปินส์ จึงกลายเป็นประเทศ ที่ขาดแคลนอาหารเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ต้องนำเข้าอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ขาดดุลการค้าอยู่ตลอด
และการที่มีประชากรหนาแน่นแบบนี้ ก็ได้ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โรคระบาดมากที่สุด สะท้อนจาก GDP ในปี 2020 ที่หดตัวมากถึง 9.5% ซึ่งมากที่สุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน
นั่นจึงทำให้เวียดนาม ที่เศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ แม้ในช่วงโรคระบาด ก็กลายเป็นอีกประเทศต่อจากไทย ที่มีรายได้ต่อหัวแซงหน้าฟิลิปปินส์
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้เอง ก็ได้ทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีปัจจัยพร้อมสำหรับการขยับขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมที่พัฒนามาก่อนคนอื่น แถมระบบการศึกษาก็ยังมีคุณภาพ
แต่กลับต้องกลายมาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องนั่งมองประเทศเพื่อนบ้าน วิ่งแซงตัวเองไปเรื่อย ๆ อย่างเช่นวันนี้..
“ฟิลิปปินส์” อดีตประเทศ อนาคตสดใส ที่โดน ประเทศไทย แซงหน้า
หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นภาพของชาวฟิลิปปินส์ ที่ต้องหลับนอนในสุสาน เนื่องจากความแออัดของพื้นที่ หรือความยากจน จนต้องนำเศษอาหารจากถังขยะ มาทำเป็นอาหารที่ชื่อว่า “ปักปัก” กินเพื่อประทังชีวิต
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้าที่ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ จะมีสภาพความเป็นอยู่แบบนี้ ในปี 1960 ประเทศฟิลิปปินส์ เคยมีรายได้ต่อหัวที่มากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า
และถ้าหากคุณสงสัย ว่าเพราะเหตุใด ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เคยรุ่งเรืองอย่างฟิลิปปินส์ ต้องกลายเป็นประเทศยากจนแบบนี้ ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
ฟิลิปปินส์ถูกปกครองโดยสเปน นานถึง 333 ปี ซึ่งด้วยตำแหน่งที่ตั้งของฟิลิปปินส์ ที่อยู่ระหว่างลาตินอเมริกากับทวีปเอเชีย ก็ทำให้ฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรือง จากการเป็นศูนย์กลางทางการค้า
จนเมื่อปี 1898 สเปนได้พ่ายแพ้สงครามที่ทำกับสหรัฐอเมริกา จนส่งผลให้สเปนจำใจต้องมอบฟิลิปปินส์ ให้กับสหรัฐอเมริกา
การมาถึงของสหรัฐอเมริกา ทำให้ฟิลิปปินส์ ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของระบบการศึกษา ที่ได้สหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยวางรากฐานให้
เห็นได้จากในปี 1925 งบประมาณของรัฐกว่าครึ่งหนึ่งของฟิลิปปินส์ ถูกเทให้กับระบบการศึกษาโดยเฉพาะ นั่นจึงทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้มากขึ้น
ฟิลิปปินส์อยู่กับสหรัฐอเมริกามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1946 ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชในที่สุด
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในช่วงปี 1950 ถึงปี 1960 เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ๆ จากนโยบายการควบคุมสินค้านำเข้า ทำให้ภาคอุตสาหกรรมในฟิลิปปินส์ พัฒนาขึ้นอย่างมาก
จนเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เติบโตเฉลี่ยถึง 6.4% ต่อปี
อนาคตของฟิลิปปินส์ จึงดูสดใสมาก เพราะมีทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดี จากระบบการศึกษาแบบอเมริกัน และอุตสาหกรรม ที่เริ่มมีการพัฒนา มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้อนาคตที่สดใสของฟิลิปปินส์ดับวูบลง จนกลายเป็นประเทศที่ยากจน และพัฒนาได้อย่างเชื่องช้า ก็มาจากปัญหา 3 อย่างนี้
1.การบริหารประเทศที่ผิดพลาด
Ferdinand Marcos ถูกเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1965 และอีกครั้งในปี 1969
จนกระทั่งถึงปี 1972 ที่เขาต้องหมดวาระการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 แล้ว แต่ Marcos กลับไม่ยอมลงจากตำแหน่ง เขากลับใช้กฎอัยการศึก เป็นข้ออ้างให้เขาได้อยู่ในตำแหน่งต่อไปอย่างไม่จำกัด
โดยนโยบายเศรษฐกิจของ Marcos คือการเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และใช้อำนาจรัฐที่มี เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนที่ใกล้ชิด จนเกิดธุรกิจผูกขาดขึ้นมามากมาย
โดยช่วงปี 1970 ถึงปี 1980 นั้น แม้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์จะเติบโตอย่างร้อนแรง ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 17% ต่อปี
แต่ถึงอย่างนั้น ประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ไม่ได้กระจายมาถึงคนทั่วไปแม้แต่น้อย สะท้อนจาก กลุ่มคนที่รวยที่สุด 20% แรกในฟิลิปปินส์ มีรายได้มากกว่าคนที่ยากจนที่สุดถึง 15 เท่า ในปี 1971
และที่สำคัญ การเติบโตของเศรษฐกิจอันร้อนแรงนี้ มีเบื้องหลังคือ เงินกู้ยืมจากต่างประเทศ โดยจำนวนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ ในช่วงปี 1972 ถึงปี 1982 ที่ Marcos ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ได้เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า
ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ มีปัญหาในการจ่ายหนี้เหล่านี้ เพราะฟิลิปปินส์ ไม่ได้มีรายได้จากการส่งออกมากนัก เนื่องจากภาคการผลิตของประเทศ เต็มไปด้วยธุรกิจผูกขาด ที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ เริ่มถดถอยลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1982 สวนทางกันกับประเทศไทย ที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยนโยบายเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศ จนทำให้รายได้ต่อหัวของประเทศไทย แซงหน้าฟิลิปปินส์ได้ในที่สุด
ทำให้สุดท้าย Marcos ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งในปี 1985 และไม่เคยกลับมาที่ฟิลิปปินส์อีกเลย แต่ถึงอย่างนั้น การเมืองของฟิลิปปินส์ ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับการคอร์รัปชัน มาจนถึงปัจจุบัน
2.เกิดภาวะสมองไหล
จากปัญหาทางเศรษฐกิจข้างต้นนี้เอง ทำให้ชาวฟิลิปปินส์หลั่งไหลออกไปทำงานในต่างประเทศ ที่ให้ค่าแรงมากกว่า เป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนก็เช่น ครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ตามโรงเรียนในประเทศไทย หรือพยาบาลชาวฟิลิปปินส์ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ จึงพึ่งพาเงินโอนกลับจากแรงงานเหล่านี้เป็นอย่างมาก สะท้อนจากจำนวนเงิน ที่แรงงานชาวฟิลิปปินส์โอนกลับบ้านในปี 2022 ซึ่งมากถึง 1.36 ล้านล้านบาท
แต่ถึงแม้ชาวฟิลิปปินส์ จะส่งเงินกลับบ้านได้มากมายเพียงใด การเสียประชากรคุณภาพ อย่างเช่น ครู หรือบุคลากรทางการแพทย์ ออกไปเรื่อย ๆ แบบนี้ ก็ส่งผลเสียต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวเป็นอย่างมาก
เพราะเมื่อไม่มีครู ที่มีความรู้ความสามารถในระบบ การศึกษาของฟิลิปปินส์ก็ถดถอยลงไป เห็นได้จากคะแนนสอบ PISA ในปี 2022 ที่ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับท้าย ๆ ของทุกวิชา
3.ประชากรล้นเกิน
ฟิลิปปินส์ มีอัตราการเกิดของประชากรที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก แต่สภาพทางภูมิศาสตร์ กลับไม่เอื้อต่อการทำการเกษตร เพื่อผลิตอาหารเลี้ยงปากท้องผู้คนมากนัก
จากการที่ฟิลิปปินส์เป็นเกาะ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับวงแหวนภูเขาไฟ ทำให้ต้องพบเจอทั้งแผ่นดินไหว และพายุฝนอยู่บ่อย ๆ
ฟิลิปปินส์ จึงกลายเป็นประเทศ ที่ขาดแคลนอาหารเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ต้องนำเข้าอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ขาดดุลการค้าอยู่ตลอด
และการที่มีประชากรหนาแน่นแบบนี้ ก็ได้ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์โรคระบาดมากที่สุด สะท้อนจาก GDP ในปี 2020 ที่หดตัวมากถึง 9.5% ซึ่งมากที่สุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน
นั่นจึงทำให้เวียดนาม ที่เศรษฐกิจยังเติบโตอยู่ แม้ในช่วงโรคระบาด ก็กลายเป็นอีกประเทศต่อจากไทย ที่มีรายได้ต่อหัวแซงหน้าฟิลิปปินส์
จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้เอง ก็ได้ทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีปัจจัยพร้อมสำหรับการขยับขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมที่พัฒนามาก่อนคนอื่น แถมระบบการศึกษาก็ยังมีคุณภาพ
แต่กลับต้องกลายมาเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องนั่งมองประเทศเพื่อนบ้าน วิ่งแซงตัวเองไปเรื่อย ๆ อย่างเช่นวันนี้..