วัยทำงานเป็นช่วงวัยที่ต้องแบกรับภาระและสร้างตัวไปพร้อม ๆ กัน จนทำให้ไม่มีเวลาได้คิดทบทวนว่าชีวิตที่มีความสุขในแบบที่เราต้องการคืออะไรกันแน่ “Self-Concept” เป็นอีกหนึ่งทฤษฎีในการนิยามตัวเอง ที่ช่วยให้เราเข้าใจตัวตนของเราเอง และกำหนดเป้าหมายในชีวิตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จักแนวคิด Self-Concept
Self-Concept คือ แนวคิดภาพสะท้อนที่เรามีต่อตัวเราเอง เหมือนกับการยืนส่องกระจกแล้วถามตัวเองว่า คนในกระจกที่เราเห็นเป็นคนแบบไหน ฟังแล้วก็ดูเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก แต่ในความเป็นจริงเราสามารถสังเกตได้จากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของตัวเอง รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวเรา
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็อาจจะเป็นสิ่งที่เราชอบทำในชีวิตประจำวันจนติดเป็นนิสัย แต่ตัวเราเองอาจไม่รู้ตัวว่านั่นคือนิสัยของเรา เช่น ถ้าเรามีเวลาว่างในวันหยุดถึงเหนื่อยจากการทำงาน แต่เราเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าการอยู่บ้าน นี่อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ทีบอกได้ว่าเรามีนิสัยชอบผจญภัยเพื่อพบเจอกับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะหมายถึง เราเป็นคน Extrovert ที่รู้สึกมีความสุขเมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากสิ่งใหม่ ๆ มากกว่าอยู่คนเดียว
อีกส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจตัวเองได้มากขึ้นก็คือ ภาพที่คนอื่นมองเราจากบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันไป เช่น ในบทบาทของเพื่อนร่วมงาน เราดูเป็นคนจริงจังและเคร่งเครียดตลอดเวลา แต่ในบทบาทของสมาชิกในครอบครัว เราอาจดูเป็นคนที่อ่อนโยน ใส่ใจคนในครอบครัวเป็นอย่างดี ทั้งหมดที่ว่ามานี้เป็นสิ่งที่เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริง ๆ แล้ว อุปนิสัย วิธีคิด และการแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างที่เรามี แบบไหนคือสิ่งที่เราเป็นจริง ๆ
องค์ประกอบของ Self-Concept ตามทฤษฎีของ Carl R. Rogers
การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีกฎเกณฑ์อาจจะทำให้เราทุกคนมีวิธีในการแสดงออกที่แตกต่างกันไป บางคนเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่บางคนก็ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างที่ตัวเองต้องการ ถ้าจะหยิบยกทฤษฎีมาอธิบายเรื่อง Self-Concept ได้ดีที่สุด ก็คงหนี้ไม่พ้นทฤษฎีตัวตน (Self-Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์ ที่แบ่งการมีตัวตนของคนเราออกเป็น 3 แบบ คือ ตัวตนที่มองเห็น ตัวตนตามที่รับรู้ และตัวตนตามอุดมคติ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้
Self-Image
Self-Image เป็นการที่เรามองตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เช่น เรารู้สึกว่าเราเป็นคนฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ ใส่ใจในรายละเอียด หรือชอบเรื่องที่ท้าทายกรอบความคิด อาจเป็นสิ่งที่เราคิดว่านั่นเป็นตัวตน และนิสัยที่แท้จริงของเรา แต่อาจเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวเท่านั้น และผิดจากที่คนอื่นมองเราก็เป็นได้
Real-Self
คือตัวตนที่เราเป็นจริง ๆ ทั้งความคิด การกระทำ และการแสดงออกที่เกิดขึ้นจากบุคลิกนิสัย จะมีความแตกต่างกับตัวตนที่เรามองว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร ซึ่งจะรับรู้ได้ผ่านการทบทวนตัวเอง หรือจากคนรอบข้างที่มีปฏิสัมพันธ์กับเรา
Ideal-Self
ตัวตนในอุดมคติ คือ สิ่งที่เราอยากจะเป็น แต่ยังไม่สามารถเป็นได้ เหมือนเป็นภาพในอุดมคติที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่าง เช่น เราเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาในที่ประชุมได้ แต่สิ่งที่เราอยากจะเป็น คือ คนที่กล้าแสดงออก พูดคุยได้อย่างไม่เคอะเขินในที่ประชุม เพราะจะช่วยให้เราได้มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานได้มากกว่าการเป็นคนเงียบ
วิธีพัฒนา Self-Concept ให้ใจตัวเองแข็งแรง
การไม่พอใจในจุดที่เป็นอยู่ของชีวิต เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องเจอในช่วงค้นหาตัวตน แต่การหาจุดที่พอดีในชีวิตให้เจอได้เร็วที่สุดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะยิ่งเข้าใจถึงอุปนิสัย ความชอบ และความต้องการในชีวิตได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใกล้ชีวิตในแบบที่เราพึงพอใจได้เร็วขึ้นเท่านั้น
สำรวจตัวเอง: รู้จักตัวเองให้มากขึ้น ทั้งด้านบวกและด้านลบ
สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้ในทันที คือการสำรวจตัวเองทั้งในแง่ดี และแง่ที่ไม่ดี จากการคิดทบทวนถึงสิ่งที่เราเป็นมาโดยตลอด ทั้งการกระทำ คำพูด และผลกระทบที่เกิดกับคนรอบข้างในชีวิต เพื่อที่จะได้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า ที่ผ่านมาเราเป็นคนแบบไหน มีด้านไหนบ้างที่เรารู้สึกว่าดีอยู่แล้ว และด้านไหนบ้างที่เรารู้สึกว่าอยากจะปรับปรุงให้ดีขึ้น
ตั้งเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ชัดเจน
มีคนเคยพูดว่าคนเรามักจะเปลี่ยนทุก 3-5 ปี ทั้งในด้านนิสัยใจคอ ความชอบ และมุมมองในการใช้ชีวิต ทั้งหมดนี้ก็จะเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ และสิ่งที่เราเสพจากความสนใจส่วนตัวในช่วงนั้น การมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรในชีวิตทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยาว จะช่วยทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องงาน เราอยากจะไปถึงในตำแหน่งที่ต้องการภายในระยะเวลากี่ปี ถ้าเรามีเป้าหมายแบบนี้แล้ว เราก็จะเริ่มหาหนทางในการพัฒนาตัวเองให้ไปถึงเป้าได้แบบเป็นรูปธรรมมากขึ้น และการเลือกงานที่ตรงกับนิสัย และความต้องการก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ทำงานมีความสุข และมีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ลงมือทำ: ลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เมื่อตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้แล้ว สิ่งต่อมาก็คือการลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คนเราเมื่อมีเป้าหมายก็จะมีความอดทนในการทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้เดินไปถึงเป้าหมายได้อย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งเป้าหมายที่ว่านั้นอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ในชีวิตที่ไม่ต้องยิ่งใหญ่ก็ได้ เช่น การตื่นก่อน 7 โมงเช้าเพื่อออกไปวิ่ง การพยายามเก็บเงิน เพื่อไปเที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์ เป้าหมายเล็ก ๆ พวกนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และนิสัยของเราให้มีวินัยขึ้นได้ แม้ว่าจะไม่ใช่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นการขยับเข้าใกล้สิ่งที่เราต้องการในชีวิตทีละก้าวก็ยังดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย
ยอมรับตัวเอง: เรียนรู้ที่จะยอมรับในสิ่งที่เป็นตัวเอง
เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวเองมีนิสัยยังไงจากการสำรวจพฤติกรรมและการกระทำที่ผ่านมา รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีการวางเป้าหมาย และลงมือทำแล้ว เราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ว่าสิ่งที่เราทำลงไปจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม การยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยไม่ฝืน เพราะเราไม่สามารถเป็นคนที่เพอร์เฟกต์ทั้งต่อตัวเราเอง หรือคนรอบข้างได้ตลอดเวลา
การตั้งเป้าหมายในชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ และคนที่มีเป้าหมายในชีวิตมักเป็นคนที่เข้าใจตัวเองได้อย่างถ่องแท้ การเข้าใจเรื่อง Self-Concept ในเรื่องนิสัยใจคอและความต้องการในชีวิต เลยเป็นสิ่งสำคัญที่คนวัยทำงานไม่ควรจะมองข้าม
ใครที่กำลังรู้สึกสับสน รู้สึกว่างเปล่า มาทำความรู้จัก Self-Concept กัน
ทำความรู้จักแนวคิด Self-Concept
Self-Concept คือ แนวคิดภาพสะท้อนที่เรามีต่อตัวเราเอง เหมือนกับการยืนส่องกระจกแล้วถามตัวเองว่า คนในกระจกที่เราเห็นเป็นคนแบบไหน ฟังแล้วก็ดูเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก แต่ในความเป็นจริงเราสามารถสังเกตได้จากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของตัวเอง รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวเรา
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็อาจจะเป็นสิ่งที่เราชอบทำในชีวิตประจำวันจนติดเป็นนิสัย แต่ตัวเราเองอาจไม่รู้ตัวว่านั่นคือนิสัยของเรา เช่น ถ้าเรามีเวลาว่างในวันหยุดถึงเหนื่อยจากการทำงาน แต่เราเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าการอยู่บ้าน นี่อาจจะเป็นจุดเล็ก ๆ ทีบอกได้ว่าเรามีนิสัยชอบผจญภัยเพื่อพบเจอกับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะหมายถึง เราเป็นคน Extrovert ที่รู้สึกมีความสุขเมื่อได้รับแรงกระตุ้นจากสิ่งใหม่ ๆ มากกว่าอยู่คนเดียว
อีกส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราเข้าใจตัวเองได้มากขึ้นก็คือ ภาพที่คนอื่นมองเราจากบทบาททางสังคมที่แตกต่างกันไป เช่น ในบทบาทของเพื่อนร่วมงาน เราดูเป็นคนจริงจังและเคร่งเครียดตลอดเวลา แต่ในบทบาทของสมาชิกในครอบครัว เราอาจดูเป็นคนที่อ่อนโยน ใส่ใจคนในครอบครัวเป็นอย่างดี ทั้งหมดที่ว่ามานี้เป็นสิ่งที่เราต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า จริง ๆ แล้ว อุปนิสัย วิธีคิด และการแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างที่เรามี แบบไหนคือสิ่งที่เราเป็นจริง ๆ
องค์ประกอบของ Self-Concept ตามทฤษฎีของ Carl R. Rogers
การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีกฎเกณฑ์อาจจะทำให้เราทุกคนมีวิธีในการแสดงออกที่แตกต่างกันไป บางคนเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่บางคนก็ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างที่ตัวเองต้องการ ถ้าจะหยิบยกทฤษฎีมาอธิบายเรื่อง Self-Concept ได้ดีที่สุด ก็คงหนี้ไม่พ้นทฤษฎีตัวตน (Self-Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์ ที่แบ่งการมีตัวตนของคนเราออกเป็น 3 แบบ คือ ตัวตนที่มองเห็น ตัวตนตามที่รับรู้ และตัวตนตามอุดมคติ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้
Self-Image
Self-Image เป็นการที่เรามองตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร เช่น เรารู้สึกว่าเราเป็นคนฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ ใส่ใจในรายละเอียด หรือชอบเรื่องที่ท้าทายกรอบความคิด อาจเป็นสิ่งที่เราคิดว่านั่นเป็นตัวตน และนิสัยที่แท้จริงของเรา แต่อาจเป็นเพียงมุมมองส่วนตัวเท่านั้น และผิดจากที่คนอื่นมองเราก็เป็นได้
Real-Self
คือตัวตนที่เราเป็นจริง ๆ ทั้งความคิด การกระทำ และการแสดงออกที่เกิดขึ้นจากบุคลิกนิสัย จะมีความแตกต่างกับตัวตนที่เรามองว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร ซึ่งจะรับรู้ได้ผ่านการทบทวนตัวเอง หรือจากคนรอบข้างที่มีปฏิสัมพันธ์กับเรา
Ideal-Self
ตัวตนในอุดมคติ คือ สิ่งที่เราอยากจะเป็น แต่ยังไม่สามารถเป็นได้ เหมือนเป็นภาพในอุดมคติที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่าง เช่น เราเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาในที่ประชุมได้ แต่สิ่งที่เราอยากจะเป็น คือ คนที่กล้าแสดงออก พูดคุยได้อย่างไม่เคอะเขินในที่ประชุม เพราะจะช่วยให้เราได้มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานได้มากกว่าการเป็นคนเงียบ
วิธีพัฒนา Self-Concept ให้ใจตัวเองแข็งแรง
การไม่พอใจในจุดที่เป็นอยู่ของชีวิต เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะต้องเจอในช่วงค้นหาตัวตน แต่การหาจุดที่พอดีในชีวิตให้เจอได้เร็วที่สุดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะยิ่งเข้าใจถึงอุปนิสัย ความชอบ และความต้องการในชีวิตได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใกล้ชีวิตในแบบที่เราพึงพอใจได้เร็วขึ้นเท่านั้น
สำรวจตัวเอง: รู้จักตัวเองให้มากขึ้น ทั้งด้านบวกและด้านลบ
สิ่งแรกที่เราสามารถทำได้ในทันที คือการสำรวจตัวเองทั้งในแง่ดี และแง่ที่ไม่ดี จากการคิดทบทวนถึงสิ่งที่เราเป็นมาโดยตลอด ทั้งการกระทำ คำพูด และผลกระทบที่เกิดกับคนรอบข้างในชีวิต เพื่อที่จะได้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า ที่ผ่านมาเราเป็นคนแบบไหน มีด้านไหนบ้างที่เรารู้สึกว่าดีอยู่แล้ว และด้านไหนบ้างที่เรารู้สึกว่าอยากจะปรับปรุงให้ดีขึ้น
ตั้งเป้าหมาย: กำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ชัดเจน
มีคนเคยพูดว่าคนเรามักจะเปลี่ยนทุก 3-5 ปี ทั้งในด้านนิสัยใจคอ ความชอบ และมุมมองในการใช้ชีวิต ทั้งหมดนี้ก็จะเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ และสิ่งที่เราเสพจากความสนใจส่วนตัวในช่วงนั้น การมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าต้องการอะไรในชีวิตทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยาว จะช่วยทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น อย่างเช่นเรื่องงาน เราอยากจะไปถึงในตำแหน่งที่ต้องการภายในระยะเวลากี่ปี ถ้าเรามีเป้าหมายแบบนี้แล้ว เราก็จะเริ่มหาหนทางในการพัฒนาตัวเองให้ไปถึงเป้าได้แบบเป็นรูปธรรมมากขึ้น และการเลือกงานที่ตรงกับนิสัย และความต้องการก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ทำงานมีความสุข และมีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว
ลงมือทำ: ลงมือทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
เมื่อตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้แล้ว สิ่งต่อมาก็คือการลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คนเราเมื่อมีเป้าหมายก็จะมีความอดทนในการทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อให้เดินไปถึงเป้าหมายได้อย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งเป้าหมายที่ว่านั้นอาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ในชีวิตที่ไม่ต้องยิ่งใหญ่ก็ได้ เช่น การตื่นก่อน 7 โมงเช้าเพื่อออกไปวิ่ง การพยายามเก็บเงิน เพื่อไปเที่ยวในช่วงสุดสัปดาห์ เป้าหมายเล็ก ๆ พวกนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และนิสัยของเราให้มีวินัยขึ้นได้ แม้ว่าจะไม่ใช่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็เป็นการขยับเข้าใกล้สิ่งที่เราต้องการในชีวิตทีละก้าวก็ยังดีกว่าการไม่ทำอะไรเลย
ยอมรับตัวเอง: เรียนรู้ที่จะยอมรับในสิ่งที่เป็นตัวเอง
เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวเองมีนิสัยยังไงจากการสำรวจพฤติกรรมและการกระทำที่ผ่านมา รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีการวางเป้าหมาย และลงมือทำแล้ว เราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ว่าสิ่งที่เราทำลงไปจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม การยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยไม่ฝืน เพราะเราไม่สามารถเป็นคนที่เพอร์เฟกต์ทั้งต่อตัวเราเอง หรือคนรอบข้างได้ตลอดเวลา
การตั้งเป้าหมายในชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จได้ และคนที่มีเป้าหมายในชีวิตมักเป็นคนที่เข้าใจตัวเองได้อย่างถ่องแท้ การเข้าใจเรื่อง Self-Concept ในเรื่องนิสัยใจคอและความต้องการในชีวิต เลยเป็นสิ่งสำคัญที่คนวัยทำงานไม่ควรจะมองข้าม