คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
สมมติว่าโลกกลม คุณไปลังเลสงสัยว่าโลกอาจจะไม่กลม แล้วก็ตั้งทฤษฎีโลกไม่กลมขึ้นมา คิดว่ามันดีไหมละครับ
ถ้าเราไม่มีกิเลสเลย เราจะรู้สิ่งที่ถูกต้อง เห็นสิ่งที่ถูกต้อง และไม่ลังเลว่ามันถูกต้อง แต่พอเราไม่รู้ ไม่เห็น แล้วยังไปลังเลอีก ทำให้เราตั้งทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมา ถูกบ้าง ผิดบ้าง เกิดเป็นความเชื่อต่าง ๆ อย่างทุกวันนี้ แม้นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังเชื่อต่าง ๆ กันในบางเรื่อง เพราะไม่มีใครรู้สิ่งที่ถูกต้องแน่ชัด ความลังเลสงสัยเกิดพร้อมความไม่รู้แบบนี้ มันจึงไม่ดี
ความลังเลสงสัยในที่นี้ไม่ใช่การห้ามสงสัย เช่น ให้เชื่อว่าทฤษฎีนั้น ๆ เท่านั้นที่ถูก แต่หมายถึงการที่ความลังเลมันพาเราไปผิดทาง ไปสร้างทางใหม่ ๆ ที่ไม่ถูกต้องไปตามความจริง
เพราะหากธรรมในศาสนาพุทธเป็นจริง การลังเลสงสัยในธรรมย่อมเป็นความสงสัยที่ไม่เกิดประโยชน์ แต่การพยายามรู้ให้มาก รู้ให้จริง พิสูจน์ให้เห็นชัด ไม่ใช่ความลังเลสงสัย ถ้าสงสัยก็ต้องตัดความสงสัยด้วยการฟัง การศึกษา การทดลอง การรู้แจ้ง
หากยังสงสัยอยู่มันจะไปดีได้อย่างไร เพราะแม้นักวิทยาศาสตร์เองเกิดความสงสัย ก็ทดลองจนหมดความสงสัย ฉะนั้น การสิ้นสงสัยจึงเป็นเรื่องดี ถ้ายังสงสัยอยู่ย่อมไม่ดี
หรือถ้าเราจะขึ้นเครื่องบิน เรากลับสงสัยว่ามันจะพาเราไปจุดหมายได้ไหม สุดท้ายไม่ได้ขึ้นเครื่อง อย่างนี้ความลังเลสงสัยย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้น เมื่อเกิดความสงสัยเราก็ต้องตรวจสอบจนสิ้นสงสัย แล้วก้าวขึ้นเครื่องบินไปอย่างมั่นใจ นี่สิเพราะไม่สงสัยจึงจะไปได้ ไม่งั้นมันไปไม่ได้ เพราะมัวแต่สงสัยโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ส่วนคนที่ไม่สงสัยก้าวขึ้นเครื่องบินไป ยังไงก็ถึงจุดหมาย
เช่นเดียวกัน หากเราปฏิบัติธรรมแล้วเกิดความสงสัยว่ามันจะดีไหม เอาแต่สงสัยอย่างนั้นไม่เกิดความมั่นใจ ผลมันก็ไม่เกิด ถ้าเราศึกษาดีแล้วว่าทางนี้ดีแน่ ๆ ก็ไม่ต้องลังเลจึงจะดี ถ้ายังเดินไปทั้ง ๆ ที่ยังลังเล มันก็กลับไม่ได้ไปไม่ถึง
ถ้าเราไม่มีกิเลสเลย เราจะรู้สิ่งที่ถูกต้อง เห็นสิ่งที่ถูกต้อง และไม่ลังเลว่ามันถูกต้อง แต่พอเราไม่รู้ ไม่เห็น แล้วยังไปลังเลอีก ทำให้เราตั้งทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมา ถูกบ้าง ผิดบ้าง เกิดเป็นความเชื่อต่าง ๆ อย่างทุกวันนี้ แม้นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังเชื่อต่าง ๆ กันในบางเรื่อง เพราะไม่มีใครรู้สิ่งที่ถูกต้องแน่ชัด ความลังเลสงสัยเกิดพร้อมความไม่รู้แบบนี้ มันจึงไม่ดี
ความลังเลสงสัยในที่นี้ไม่ใช่การห้ามสงสัย เช่น ให้เชื่อว่าทฤษฎีนั้น ๆ เท่านั้นที่ถูก แต่หมายถึงการที่ความลังเลมันพาเราไปผิดทาง ไปสร้างทางใหม่ ๆ ที่ไม่ถูกต้องไปตามความจริง
เพราะหากธรรมในศาสนาพุทธเป็นจริง การลังเลสงสัยในธรรมย่อมเป็นความสงสัยที่ไม่เกิดประโยชน์ แต่การพยายามรู้ให้มาก รู้ให้จริง พิสูจน์ให้เห็นชัด ไม่ใช่ความลังเลสงสัย ถ้าสงสัยก็ต้องตัดความสงสัยด้วยการฟัง การศึกษา การทดลอง การรู้แจ้ง
หากยังสงสัยอยู่มันจะไปดีได้อย่างไร เพราะแม้นักวิทยาศาสตร์เองเกิดความสงสัย ก็ทดลองจนหมดความสงสัย ฉะนั้น การสิ้นสงสัยจึงเป็นเรื่องดี ถ้ายังสงสัยอยู่ย่อมไม่ดี
หรือถ้าเราจะขึ้นเครื่องบิน เรากลับสงสัยว่ามันจะพาเราไปจุดหมายได้ไหม สุดท้ายไม่ได้ขึ้นเครื่อง อย่างนี้ความลังเลสงสัยย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ ฉะนั้น เมื่อเกิดความสงสัยเราก็ต้องตรวจสอบจนสิ้นสงสัย แล้วก้าวขึ้นเครื่องบินไปอย่างมั่นใจ นี่สิเพราะไม่สงสัยจึงจะไปได้ ไม่งั้นมันไปไม่ได้ เพราะมัวแต่สงสัยโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ส่วนคนที่ไม่สงสัยก้าวขึ้นเครื่องบินไป ยังไงก็ถึงจุดหมาย
เช่นเดียวกัน หากเราปฏิบัติธรรมแล้วเกิดความสงสัยว่ามันจะดีไหม เอาแต่สงสัยอย่างนั้นไม่เกิดความมั่นใจ ผลมันก็ไม่เกิด ถ้าเราศึกษาดีแล้วว่าทางนี้ดีแน่ ๆ ก็ไม่ต้องลังเลจึงจะดี ถ้ายังเดินไปทั้ง ๆ ที่ยังลังเล มันก็กลับไม่ได้ไปไม่ถึง
แสดงความคิดเห็น
ทำไม ความลังเลสงสัย ถึงได้ถือเป็นกิเลสที่ไม่ดีครับ
ตัวนี้ถือเป็นกิเลส ที่ไม่ดี ที่ควรกำจัดเหรอครับ
ขอท่านผู้รู้อธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ