“สิทธิบัตรทอง” เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยค่อนข้างสูง หรือไม่

ข้อมูลจาก Word Bank Group ปี 2021
อายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศไทย
อยู่ที่ 78.72 ปี สูงเป็นอันดับที่ 43 ของโลก
จากทั้งหมด 201 ประเทศทั่วโลก
https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_life_expectancy

และไทย เป็นประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ยของประชากร
สูงอันดับต้นๆ ในบรรดากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก แต่อันดับแค่ตามหลังหลายๆประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น

ไม่แค่นี้เท่านั้น สถิติอื่นๆ เช่น
อัตราการเสียของเด็กทารก (อายุต่ำกว่า 1 ปี)
และอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ของประเทศไทยเราเอง อัตราก็ต่ำด้วยเช่นกัน
https://en.m.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_infant_and_under-five_mortality_rates

แต่ที่เราอยากรู้จริงๆว่า
ที่อายุขัยเฉลี่ยของประชากรไทยเรา ในปัจจุบันนี้
สูงอันดับต้นๆในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
เป็นเพราะสิทธิบัตรทอง หรือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคหรือไม่
เพราะเป็นสิทธิที่คนสูงอายุและคนรายได้น้อย ตามชนบท ตจว. เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น

หรือสิทธิประกันสังคมด้วยเช่นกัน ที่คนวัยทำงานทุกระดับ ก็สามารถใช้สิทธิรักษาหลายๆโรคด้วย
พอๆกับสิทธิบัตรทองเลย

ซึ่งเขาว่ากันในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศทั่วโลก
สิทธิรักษาพยาบาล ไม่ค่อยครอบคลุมดีเท่าไหร่นัก
มีหลายโรคที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง และจ่ายเยอะด้วย
ซึ่งนี่ทำให้ปัจจุบันนี้ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศทั่วโลก มีอายุขัยเฉลี่ยของประชากรไม่ค่อยสูงนัก (อันดับตามหลังไทยเลย)

แต่ยังไงก็ตาม ปัจจุบันนี้จำนวนคนเสียชีวิตอายุต่ำกว่า 60 ปี ของไทยโดยรวมก็ยังมีอัตราที่ดูเหมือนจะเยอะอยู่ด้วยเช่นกัน  



ซึ่งถ้าหากจำนวนและอัตราคนเสียชีวิตต่ำกว่า 60 ปี
ของไทยเราต่ำกว่านี้ มีแนวโน้มสูงมากๆ
ที่อายุขัยเฉลี่ยของคนไทย จะแตะที่ 80.00 ปี

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่