ขีดแข่งขันไทยขยับ ติดอันดับ 31 โลก สะท้อนพื้นฐานเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
แม้เผชิญปัญหาการเมือง
เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม เผยแพร่รายงานดัชนีขีดความสามารถด้านการแข่งขันโลก
ประจำปี 2557-2558
โดยไทยติดอันดับที่ 31 จากอันดับที่ 37 ในปี 2556
ขณะสวิตเซอร์แลนด์ รั้งอันดับ 1 ประเทศที่มีขีดแข่งขันสูงสุดในโลกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
ขณะสิงคโปร์ ผงาดอันดับ 2 ติดอันดับสูงสุดในเอเชีย
รายงานประจำปีของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ระบุว่า
ถึงแม้ไทย จะประสบกับวิกฤติทางการเมืองที่ยืดเยื้อ
แต่ก็สามารถไต่อันดับประเทศที่มีขีดความสามารถ
ในการแข่งขันขึ้นมาได้ 6 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ในอันดับที่ 31 ในปีนี้
โดยมีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคดีขึ้น 12 อันดับ
มาอยู่ในอันดับที่ 19 ในปัจจุบัน
ในปี 2556 ไทย เกือบมีงบประมาณสมดุลและลดอัตราเงินเฟ้อให้เหลือ 2%
ขณะที่หนี้สาธารณะยังคงทรงตัว และอัตราการออมยังคงอยู่ในระดับสูง
ในปีนี้ ไทยยังคงทำได้ดีในการพัฒนาทางการเงิน ติดอยู่ในอันดับที่ 34
และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการตลาดให้มีความแข็งแกร่งได้ดี
ปรับขึ้นมา 4 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 30
แต่การแข่งขันในตลาดของไทยยังคงมีข้อจำกัด
เนื่องจากอุปสรรคต่างๆในการรุกเข้าตลาดไทย
โดยเฉพาะในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของต่างชาติ
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาความท้าทายต่างๆที่ยังคงมีอยู่ในการดำเนินธุรกิจในไทย
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ธรรมาภิบาล การเมือง และเสถียรภาพด้านนโยบาย
ความล่าช้าของระบบราชการที่ยังมีอยู่มาก
ปัญหาคอร์รัปชัน ความวิตกเรื่องความมั่นคงในประเทศ
และความไม่แน่นอนของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
โดยอยู่อันดับที่ 93 ลดลงมา 8 อันดับ
ความเชื่อมั่นนักการเมืองต่ำสุดในโลก
ส่วนระดับความเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองของไทยถือว่าอยู่ในอันดับต่ำสุดในโลก
คืออันดับ 129
ส่วนเรื่องที่น่าวิตกกังวลอื่นๆ คือ คุณภาพด้านการศึกษาของไทย
ที่ปีนี้อยู่ในอันดับ 87 ลดลงจากปีก่อน 9 อันดับ
ขณะด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยีของไทย ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
คืออันดับที่ 65 แม้ว่าไทยจะมีคะแนนในส่วนนี้ดีขึ้นคือปรับขึ้นมา 13 อันดับ
แต่การประเมินครั้งนี้ กระทำก่อนที่จะมีการปฏิวัติเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
........................................................................................
credit : bangkokbiznews 4/09/2557
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านข้อมูลเต็ม กดลิงค์ค่ะ
://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20140904/602689/%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%8831%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A8%E0%B8%81.%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.html
<><> ขีดแข่งขันไทยขยับขึ้นเป็นอันดับที่ 31 ของโลก <><>
แม้เผชิญปัญหาการเมือง
เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม เผยแพร่รายงานดัชนีขีดความสามารถด้านการแข่งขันโลก
ประจำปี 2557-2558
โดยไทยติดอันดับที่ 31 จากอันดับที่ 37 ในปี 2556
ขณะสวิตเซอร์แลนด์ รั้งอันดับ 1 ประเทศที่มีขีดแข่งขันสูงสุดในโลกเป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน
ขณะสิงคโปร์ ผงาดอันดับ 2 ติดอันดับสูงสุดในเอเชีย
รายงานประจำปีของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ระบุว่า
ถึงแม้ไทย จะประสบกับวิกฤติทางการเมืองที่ยืดเยื้อ
แต่ก็สามารถไต่อันดับประเทศที่มีขีดความสามารถ
ในการแข่งขันขึ้นมาได้ 6 อันดับจากปีก่อน มาอยู่ในอันดับที่ 31 ในปีนี้
โดยมีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคดีขึ้น 12 อันดับ
มาอยู่ในอันดับที่ 19 ในปัจจุบัน
ในปี 2556 ไทย เกือบมีงบประมาณสมดุลและลดอัตราเงินเฟ้อให้เหลือ 2%
ขณะที่หนี้สาธารณะยังคงทรงตัว และอัตราการออมยังคงอยู่ในระดับสูง
ในปีนี้ ไทยยังคงทำได้ดีในการพัฒนาทางการเงิน ติดอยู่ในอันดับที่ 34
และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการตลาดให้มีความแข็งแกร่งได้ดี
ปรับขึ้นมา 4 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 30
แต่การแข่งขันในตลาดของไทยยังคงมีข้อจำกัด
เนื่องจากอุปสรรคต่างๆในการรุกเข้าตลาดไทย
โดยเฉพาะในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของต่างชาติ
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาความท้าทายต่างๆที่ยังคงมีอยู่ในการดำเนินธุรกิจในไทย
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ธรรมาภิบาล การเมือง และเสถียรภาพด้านนโยบาย
ความล่าช้าของระบบราชการที่ยังมีอยู่มาก
ปัญหาคอร์รัปชัน ความวิตกเรื่องความมั่นคงในประเทศ
และความไม่แน่นอนของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
โดยอยู่อันดับที่ 93 ลดลงมา 8 อันดับ
ความเชื่อมั่นนักการเมืองต่ำสุดในโลก
ส่วนระดับความเชื่อมั่นในตัวนักการเมืองของไทยถือว่าอยู่ในอันดับต่ำสุดในโลก
คืออันดับ 129
ส่วนเรื่องที่น่าวิตกกังวลอื่นๆ คือ คุณภาพด้านการศึกษาของไทย
ที่ปีนี้อยู่ในอันดับ 87 ลดลงจากปีก่อน 9 อันดับ
ขณะด้านความพร้อมด้านเทคโนโลยีของไทย ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
คืออันดับที่ 65 แม้ว่าไทยจะมีคะแนนในส่วนนี้ดีขึ้นคือปรับขึ้นมา 13 อันดับ
แต่การประเมินครั้งนี้ กระทำก่อนที่จะมีการปฏิวัติเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา
........................................................................................
credit : bangkokbiznews 4/09/2557
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้