JJNY : พิธาระบุรบ.แก้ศก.ไม่ตรงจุด│เท่าพิภพเปิดตัวอย่างฉลากใหม่│ศก.ไทยมีปัญหาไม่วิกฤต│ชาวรัสเซียเริ่มใช้สิทธิเลือกตั้ง

พิธา ระบุ รบ.แก้ศก.ไม่ตรงจุด เมินเรื่องโครงสร้างทั้งที่เป็นต้นตอปัญหา ชง 3F ขับเคลื่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442794

พิธา ชี้ รบ.เศรษฐา แก้ปัญหาศก.ไม่ตรงจุด ไม่ลงลึกเรื่องโครงสร้างที่เป็นต้นตอ เน้นแก้ปัญหาระยะสั้น  นโยบายการเงิน-การคลังสวนทางกัน ชวนคนตั้งคำถามให้ไกลกว่าวิวาทะรัฐบาล-แบงก์ชาติ เสนอ “3F” เสริมเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่
 
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่รร.ท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่วมบรรยายในหัวข้อ “เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ในอีก 5 ปีข้างหน้า” ซึ่งจัดโดยกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าจ.พิษณุโลก (YEC)

โดยนายพิธา กล่าวว่า ประเทศไทยมีคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 3.6 เปอร์เซนต์ และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ 17,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นกัน ดังนั้น เมื่อถามว่าตนอยากเห็นทิศทางเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไร คงตอบได้ว่าอยากเห็นเศรษฐกิจที่ “คนไทยเท่าเทียมกัน ประเทศไทยเท่าทันโลก” แต่คำถามต่อมาคือจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดวงจรอุบาทว์ทางเศรษฐกิจ และจะพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจให้ไปไกลได้มากกว่านี้อย่างไรบ้าง

เมื่อย้อนกลับไปดูประเทศที่เติบโตขึ้นมาส่วนใหญ่นั้นเริ่มต้นด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่ Low Tech – Low Touch เช่น อินเดีย จีน บราซิล ซึ่งอาจจะเป็นไปได้เพราะมีการผลิตที่รวดเร็ว จำนวนมาก มีต้นทุนที่ถูก มีตลาดที่กว้างขวาง ทำให้สามารถทำสินค้าและบริการดังกล่าวได้ แต่ปัญหาคือประเทศไทยไม่สามารถสู้กับต่างชาติด้วยวิธีนี้ได้อีกแล้ว เราไม่สามารถและไม่ควรกดค่าแรงให้ถูกเท่าประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น ทิศทางที่เป็นไปได้อย่างเดียวคือการเน้นอุตสาหกรรมสินค้าและบริการ High Tech – High Touch ที่มองว่าประเทศที่อยู่ระดับกลางๆ อย่างเช่นประเทศไทยจะต้องเดินเส้นทางนี้
 
แต่ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา กลับพบว่าวิวาทะกันในหน้าสื่อเป็นเพียงแค่คำถามว่าวิกฤตหรือไม่ GDP จะโตเท่าไหร่ จะคงหรือจะลดอัตราดอกเบี้ย นี่คือปัญหาการเมืองหรือปัญหาเศรษฐกิจกันแน่ ฯลฯ โดยมีการแสดงออกผ่านทวิตเตอร์และการให้ข่าวสื่อมวลชนกันไปมา
 
นายพิธากล่าวว่า ตนมองว่าจุดอ่อนของรัฐบาลที่นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็คือการไม่แตะที่ต้นตอโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นปัญหา เน้นการแก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการลดดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นมาตรการทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้กำหนด โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพ แต่รัฐกลับไม่ยอมใช้มาตรการทางการคลังที่ยังมีช่องว่างให้พอทำได้ และถือเป็นอำนาจโดยแท้ของรัฐบาลที่จะสามารถทำได้
 
นอกจากนี้ยังไม่มีการพูดคุยกับธปท.อย่างจริงจังเพื่อแสวงหาความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับทิศทางนโยบายในการแก้ไขปัญหาระยะยาวเชิงโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้กุมนโยบายการเงินและการคลังไม่ได้เห็นทิศทางตรงกันหรือเดินไปในทางเดียวกัน จึงกลายเป็นวิวาทะที่ปรากฏอยู่ในหน้าสื่อเท่านั้น ยิ่งทำให้สังคมไม่มั่นใจในเศรษฐกิจไทย โดยความกังวลสองประเด็นหลักของนักลงทุนคือความไม่สอดคล้องกันของนโยบายการเงิน-การคลัง และความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทย
 
นายพิธา กล่าวว่า ถ้าเราสนใจตัวชี้วัดแค่ GDP ว่าจะต้องโตเท่าไหร่ ดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นเท่าไหร่ แต่ไม่ได้กำหนดตัวชี้วัดอื่น ๆ ให้ไปสู่ “เศรษฐกิจที่ดี” ประเทศไทยก็จะไม่สามารถไปไกลกว่านี้ได้อีกแล้ว เราควรตั้งคำถามให้ไกลและลึกมากกว่านั้นโดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง เช่น จะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างไรให้สามารถแข่งขันได้ โครงสร้างต้นทุนพลังงานเป็นธรรมหรือไม่ การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประชาชนดำเนินการธุรกิจได้ง่ายจะต้องแก้อะไรบ้าง การกระจายรายได้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะไปไกลมากกว่าการกระจุกแค่ 5 จังหวัดท่องเที่ยวได้หรือไม่และทำอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะเก็บภาษีสินค้าจากต่างประเทศให้เสมอภาคเป็นธรรมกับแม่ค้าในประเทศ ไม่ให้เกิดเหตุ “แพลตฟอร์มโต แม่ค้าตาย” ฯลฯ
 
นายพิธากล่าวต่อไปว่า ตัวอย่างข้อเสนอ High Tech ของก้าวไกล คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สมมติว่าเราตั้งโจทย์การสร้างเศรษฐกิจใหม่จากปัญหาของคนพิษณุโลก เช่นกรณีน้ำประปาทั้งประเทศ ที่มีการสูญเสียในระบบกว่า 52 เปอร์เซนต์ และหลายแห่งมีระบบท่ออายุมากกว่า 70 ปี นำมาสู่ข้อเสนอของก้าวไกลคือการสร้างระบบน้ำประปาดื่มได้ทั่วประเทศ พร้อมระบบเซ็นเซอร์ สมาร์ตมิเตอร์ ออกบิลเก็บเงินผู้ใช้โดยอัตโนมัติ สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่น้ำประปาที่มีคุณภาพดี สะอาด ดื่มได้ แต่ยังสามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก เช่น การผลิตน้ำสะอาดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตชิป แผงวงจร เพื่อนำไปใช้ต่อในโทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ฯลฯ
 
ส่วนประเด็นเรื่อง High Touch ในเมื่อรัฐบาลผลักดัน Soft Power มีกางเกงประจำจังหวัดแล้ว Soft Power ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ แต่สิ่งที่สำคัญมากก็คือเสรีภาพ ความหลากหลาย กฎหมายที่ไม่ปิดกั้นควมคิดสร้างสรรค์ และหากสังเกตจากดัชนีตัวเลขประเทศที่มีความแข็งแกร่งทาง Soft Power มากที่สุดในโลก ก็พบว่าส่วนใหญ่มาจากการเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงสิ่งที่ทิ้งไม่ได้เลยคือสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

นายพิธากล่าวว่า พรรคก้าวไกลเสนอ “3F” ได้แก่ Firm Ground วางรากฐานเศรษฐกิจไทยให้มั่นคง, Fair Game สร้างกติกาและกลไกภาครัฐเพื่อเศรษฐกิจที่เป็นธรรม, และ Fast Growth เสริมเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่


 
สายปาร์ตี้ว่าไง? เท่าพิภพ เปิดตัวอย่าง ฉลากใหม่คุม ‘เหล้า-เบียร์’ หวังลดการดื่มคอทองแดง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4442932

สายปาร์ตี้ว่าไง? เท่าพิภพ เปิดตัวอย่าง ฉลากใหม่คุม ‘เหล้า-เบียร์’ หวังลดการดื่มคอทองแดง
 
จากกรณี ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. ที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกรมควบคุมโรค เปิดรับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ 12-29 กุมภาพันธ์ 2567
 
โดยมีสาระสำคัญ คือกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก และข้อความคำเตือนของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า ดังนี้
 
1. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาชนะบรรจุต้องมีปริมาณบรรจุสุทธิไม่น้อยกว่า 175 มิลลิลิตร
2. กำหนดให้บรรจุภัณฑ์และฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะต้องไม่ใช้ข้อความตามที่กฎหมายกำหนด
3. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนบนภาชนะบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. กำหนดให้มีข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บนภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งให้จัดทำเป็นรูปภาพ 4 สี 9 แบบ สับเปลี่ยนกันไปตามลำดับในอัตรา 1 แบบ ต่อ 1,000 ภาชนะบรรจุและหีบห่อบรรจุ
5. กำหนดขนาดของข้อความคำเตือนถึงโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น โดยให้ประกาศมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.)  โพสต์ข้อความผ่านเพจ “เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร – Taopiphop Limjittrakorn” ระบุว่า
 
[ ฉลากเบียร์น่ากลัว #SoftPower ไหม ]
 
ตัวอย่างฉลากที่คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ที่มีอำนาจออกกฎห้ามขายเวลา วัน และออนไลน์)พยายามออกข้อบังคับใช้ให้ติดบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทุกประเภท
 
ฉลากต้องใส่รูปน่ากลัว 30% ของพื้นที่ขวด ทางสมาคมคราฟท์เบียร์ ลองทำตัวอย่างตามกฎหมายมาสภาพจะออกมาประมาณในภาพครับ
ตอนนี้ร่างรอหมอชลน่านเซ็นรับรองเเละบังคับใช้ได้เลย
 
ทุกท่านคิดเห็นว่าไงครับ
 
#สุราก้าวหน้า #ก้าวไกล
 
หลังจากโพสต์ข้อความไปไม่นาน มีคนเข้ามาแดสงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น
 
• “คิดว่าฉลากไม่มีผลสำหรับคนดื่มแอลกอฮอลล์ครับ คนไม่ดื่มคือยังไงก็ไม่ดื่ม ส่วนคนดื่มติดภาพน่ากลัวขนาดไหน ก็ดื่มอยู่ดี เหมือนบุหรี่”
• “หน้าซองบุหรี่ก็เห็นทำมานาน ถามว่าช่วยทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลงไหม? ก็ไม่ แต่เป็นข้อบังคับก็ต้องทำอะเนาะ”
• “ตกลงมันเขาผลิตมาให้คนดื่มหรือเอาไปฉีดฆ่าวัชพืชครับ”
• “ติดไว้หน้าซองบุหรี่ ก็เห็นสูบกันพรึบพรับ คนเค้าเห็นทุกวันมันชิน”
• “ผมเห็นฉลากแล้ว จะอ้วกคือ อาจจะหยุดดื่มได้เลยครับ”
• “ตัวอย่างที่ล้มเหลว เช่น บุหรี่ ยอดลูกค้าเพิ่มทุกปี ต่อให้ราคาเพิ่ม ลูกค้าก็เหนี่ยวแน่น แถมได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ๆเพิ่มอีก สุราก็น่าจะล้มเหลวเช่นกัน ต้องแก้ไขที่คนดื่ม ปลุกฝังให้มีความรับผิดชอบ”


 
ศก.ไทยมีปัญหา ไม่วิกฤต คลังเร่งเติมเงินโด๊ปGDP
https://www.innnews.co.th/video/hot-clips/news_681727/

เศรษฐกิจไทย วิกฤตจริงหรือไม่ ยังคงเป็นร้อนแรงที่ถกเถียงกันอยู่ โดย “นายกฯเศรษฐา” บอกว่า “วิกฤต” ขณะที่ “ผู้ว่าแบงก์ชาติ” สวนกลับบอก ” ไม่วิกฤต”
 
ดังนั้นตัวเลขเศรษฐกิจไทยจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จึงถูกจับตาอย่างใกล้ชิด
 
ก่อนหน้านี้ “สภาพัฒน์” ประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4 ปี 2566 ขยายตัว 1.7% ทั้งปีโต 1.9% พร้อมปรับเป้าเศรษฐกิจปีนี้ 2567 จากเดิมที่คาดว่า จะขยายตัวได้ในระดับ 2.7-3.7% หรือขยายตัวเฉลี่ย 3.2% เหลือเพียง 2.2 – 3.2% หรือขยายตัวเฉลี่ย 2.7% เท่านั้น
 
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ เผย ตัวเลขการส่งออกเดือนมกราคม 2567 โต 10% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือนติด โดยมองว่าการค้าโลกดีขึ้น ดังนั้นจึงคงเป้าหมายอัตราการเติบโตของภาคการส่งออกปีนี้ไว้ที่ 1-2%
 
ในมุมมองนักวิชาการคิดเห็นอย่างไรกับเศรษฐกิจไทยปีนี้ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.คุยกับ “รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์” นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง โดย “รศ.ดร.สมชาย” บอกว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีขึ้น เพราะเศรษฐกิจการค้าโลกดี การส่งออกขยายตัวดี ดังนั้นจีดีพีที่ 3-4% เป็นไปได้ ส่วนภาคการท่องเที่ยวก็คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยได้ 35 ล้านคน เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐ และเอกชนที่ทำได้ดี
 
เศรษฐกิจปีนี้น่าจะดีขึ้นเพราะว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัว IMF มีการปรับตัวเลขขึ้นมาที่ 3.1% การค้าโลกขยายตัวเป็น 3% เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจของอเมริกาที่ยังขยายตัวได้ 2.1% สหภาพยุโรปประมาณ 0.7% ทางด้านจีนถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวเลข 4.6% แต่คิดว่าปีนี้น่าจะถึง 5% เพราะฉะนั้นถ้าเป็นแบบนี้ส่งออกของเรา ถ้าทำการบ้านดีๆ น่าจะเป็นบวกแล้ว อาจจะเป็น 3% หรือ 4% ท่องเที่ยวอันนี้ผมเชื่อว่าเราทำได้ดีมาก จำนวนนักท่องเที่ยวเดือนสองเดือนเห็นพุ่งขึ้นมา แล้วจีนเองทำท่าจะเริ่มฟื้นขึ้นมาในด้านท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นถ้าเราทำดีๆ ท่องเที่ยวอาจจะขยายตัวได้ถึง 35 ล้านคน ตัวนี้ 2 ตัวนี้จะเป็นตัวช่วย
 
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อถาม “รศ.ดร.สมชาย” ว่าเศรษฐกิจไทยวันนี้วิกฤตหรือไม่ หลังจากนายกฯเศรษฐา ชี้ชัดว่าวิกฤต โดย “รศ.ดร.สมชาย” กล่าวว่า เรื่องวิกฤตแล้วแต่มุมมอง แต่ส่วนตัวมองเศรษฐกิจไทยวันนี้มีปัญหา เพราะโตต่ำสุดในอาเซียน
 
คำว่าวิกฤตของท่านนายกฯต้องตีความ หมายถึงเศรษฐกิจขยายตัวอัตราต่ำซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าหากมองว่า ไม่ได้ติดลบ ไม่มีวิกฤต อันนี้ก็เป็นข้อถกเถียง แต่ว่าถ้ามองในแง่นายกฯซึ่งผมคิดว่า ผมใช้คำว่ามีปัญหาก็แล้วกัน แต่ท่านนายกฯบอกว่าวิกฤต ก็มองในแง่ว่า เศรษฐกิจไทยแย่มาโดยตลอด 20-30 ปี ในช่วง 10 กว่าปี ตั้งแต่ 2010 จนถึง 2023 ปีที่แล้ว อัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 2% กว่าๆ ถ้าไม่รวมปีที่แล้ว อยู่ที่ 2.6% ถ้ารวมปีที่แ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่