เปิดโผหุ้นถูก “ชอร์ตเซล” มากที่สุดในเดือน ก.พ.

ทั้งนี้สำหรับหุ้นที่ถูก Short มากที่สุดในเดือนนี้ ประกอบด้วย
PTT 12.6% (21 ก.พ. 67) 0.7% (YTD)
AOT 13.8% (21 ก.พ. 67) 6.3% (YTD)
BDMS 10.6% (21 ก.พ. 67) 2.7% (YTD)
OR 11.2% (21 ก.พ. 67) 2.1% (YTD)
TTB 11.2% (21 ก.พ. 67) 11.4% (YTD)
MINT 12% (21 ก.พ. 67) 4.2% (YTD)
KTC 10.4% (21 ก.พ. 67) 0.6% (YTD)
BTS 12.7% (21 ก.พ. 67) -25.5% (YTD)
RATCH 10.3% (21 ก.พ. 67) -5.6% (YTD)
BANPU 11.6% (21 ก.พ. 67) -12.5 (YTD)
CENTEL 12% (21 ก.พ. 67) -2.3% (YTD)
COM7 10.2% (21 ก.พ. 67) -8% (YTD)
KKP 11.8% (21 ก.พ. 67) -1.5% (YTD)
BTG 11.2% (21 ก.พ. 67) -11.7% (YTD)
SPALI 11.2% (21 ก.พ. 67) 11.8% (YTD)

อย่างไรก็ตามเกณฑ์กำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยมาตรการยกระดับความเชื่อมั่นเรื่อง Short Selling และ Program Trading โดยมีรายละเอียด 3 ข้อ ดังนี้

1.Short selling ปรับคุณสมบัติหุ้นที่สามารถขาย Short ได้ เพิ่มระดับมูลค่าตลาด เป็น 7.5 พันล้านบาท จากเดิม 5 พันล้านบาท และเพิ่มเกณฑ์สภาพคล่อง โดยหุ้นที่จะ Short ได้ ต้องมีสัดส่วนปริมาณซื้อขายหุ้นต่อเดือน/ปริมาณหุ้นจดทะเบียน (Monthly Turnover) มากกว่า 2%

2.Program trading สำหรับการขาย Short หุ้นที่ราคาปรับลงมากกว่า 10% ของวัน ก่อนหน้า กำหนดให้ราคาขาย Short ต้องสูงกว่าราคาล่าสุด (Uptick Rule) และกำหนดเพดานสูงสุดในการขาย Short รายหลักทรัพย์ในแต่ละวัน อีกทั้งยังเปิดเผยข้อมูลรายวันของยอดสะสมปริมาณขาย Short ที่ยังไม่ได้ซื้อคืน

3.มาตรการเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชน อาทิ ส่งข้อมูลผู้ลงทุนที่มีพฤติกรรมการส่งคำสั่งซื้อขายไม่เหมาะสมให้แก่บริษัทสมาชิก, เปิดเผยรายชื่อผู้ถือ NVDR ตั้งแต่ 0.5% แต่ไม่น้อยกว่า 10 ราย

ซึ่งกระบวนการถัดไปคือ การรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่ได้ระบุวัน-เวลา ที่แน่ชัด ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องติดตามประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ส่วนหุ้นที่ได้ประโยชน์จากประเด็นดังกล่าวมี 2 กลุ่ม คือ 1.หุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องไม่สูงมาก AOT, INTUCH, DELTA, BJC, CPAXT, BDMS, AEONTS, MBK, SCC, OR

2.หุ้นที่ถูก Short เยอะในก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงตั้งแต่ต้นปี (YTD) ลุ้นมี โอกาสถูก Cover Short ได้ในระยะถัดไป อาทิ BTS, BANPU, BTG, COM7, RATCH เป็นต้น

สรุปตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียกความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นไทย หลังออกแนวทางแก้ไขปัญหา การ Short selling และ Program trading ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนุนให้โฟลว์ต่างชาติไหลเข้า หุ้นไทยในระยะถัดไป (สังเกตจากที่ซื้อสุทธิมาแล้ว 2 วันติดต่อกันราว 1 หมื่นล้านบาท)

สำหรับความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย เริ่มกลับมาคึกคักขึ้นในช่วง 2 วันที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าซื้อขาย 5-6 หมื่นล้านบาท/วัน พร้อมกับฟันด์โฟลว์ที่ไหลเข้าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท หนุน SET กลับมายืนเหนือ 1,400 จุด ได้อีกครั้ง โดยมีแรงผลักดันหลัก ๆ มาจาก คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นชอบมาตรการยกระดับความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน 3 ส่วน คือ Short selling, Program trading รวมถึงมาตรการเพิ่มการ เปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณชน

และยังมีประเด็นบวกจากนายกฯ ได้เปิด 8 วิสัยทัศน์ Thailand Vision ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ดีต่อหุ้น AOT, CENTEL, BCH, BDMS, BA, AAV, CK, STEC, SJWD, EA, GPSC, NEX, GULF, ADVANC, BBIK, BE8, INSET, BCPG

ทั้ง 2 ประเด็น น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน หนุน Momentum มูลค่าซื้อขายและฟันด์โฟลว์ให้กลับเข้ามาในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง
ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ตัวเลขส่งออกไทย เดือน ม.ค. 2567 ตลาดคาด เติบโตถึง +8.8% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) (เดือนก่อน +4.7%) น่าจะเป็นบรรยากาศที่ดีต่อหุ้นส่งออก อย่าง KCE, HANA, CPF, ITC, TU, GFPT และประเมิน SET เคลื่อนไหว ในกรอบ 1,390-1,412 จุด หุ้นเด่นเลือก IVL, CRC, BEM

Cr. https://www.prachachat.net/finance/news-1508506

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่