ปกติ คลิปโต มี 2 FA ไม่ใช่หรือ บางคนก็มี Key ต่างหากอีก งงกับเคสนี้
"นาวิน ตาร์" นักร้องชื่อดัง แค่เผลอกดลิงก์ในมือถือ ก็ถูกคนร้ายดูดเงินดิจิทัลในบัญชีมูลค่ากว่า 8 ล้านบาท หายวับทั้งที่ระวังตัว รู้ไหมคนร้ายใช้วิธีไหน แล้วมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
ยังคงเป็นภัยทางไซเบอร์ ที่มีผู้คนตกเป็นเหยื่อกันรายวัน โดยเฉพาะภัยจากมิจฉาชีพ ที่มาทางโทรศัพท์มือถือ โดดคนร้ายสามารถดูดเงินจากแอปบัญชีธนาคาร หรือแม้กระทั่ง Cryptocurrency เงินสกุลดิจิทัล จากบัญชีของเหยื่อ เพียงแค่หลงกดลิงก์ ที่คนร้ายส่งมาให้เท่านั้น
เหยื่อรายล่าสุด ที่ออกมาเปิดเผยในเรื่องนี้ และสร้างความตกใจให้กับผู้คนในสังคมคือ “นาวิน ต้าร์” หรือ ดร.นาวิน เยาวพลกุล นักธุรกิจอดีตนักร้องชื่อดัง ที่เปิดเผยว่า ตัวได้เผลอไปกดลิงก์ในกล่องข้อความ ทำให้เงินในบัญชี เด้งหายไปทันที 5 ล้านบาท พร้อมฝากเตือนทุกคน เพราะว่าขนาดเซฟตัวเองแล้วก็ยังพลาด ต้องเสียเงินมากขนาดนี้
และ "นาวิน ตาร์" ได้อธิบายอย่างละเอียดภายหลัง ผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ระบุว่า ที่เผลอกดลิงก์ไป เป็นการโอนเหรียญคริปโต 40 เหรียญ "อีเธอเรียม" หรือประมาณ 8 ล้านบาท
สิ่งที่ทำให้สังคมตั้งคำถามคือ เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพพัฒนาถึงขนาดขโมยเงินสกุลดิจิทัลได้แล้วหรือ? เพราะปกติเคยได้ยินแต่ มิจฉาชีพส่งลิงก์ให้เหยื่อกด เพื่อเข้าไปดูดเงินในแอปบัญชีธนาคารเท่านั้น แล้วสิ่งที่ "นาวิน ตาร์" โดนนั้นคืออะไร?
ทั้งนี้เว็บไซต์ techsauce ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กรณีดังกล่าวเป็น หนึ่งในความเสี่ยงของการลงทุน crypto วิธีการคือ คนร้ายจะเข้าไปขโมย crypto ผ่านการติดตั้ง Malware หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย มีหลายประเภท เช่น ไวรัสที่สร้างความเสียหายที่ประสงค์ร้าย สปายแวร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และแรนซัมแวร์ที่กักขังเครื่องของเหยื่อไว้
โดยมัลแวร์หลายประเภท ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อจุดประสงค์ในการขโมย crypto โปรแกรมเหล่านี้ สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าบัญชี และขโมยกระเป๋าเงิน crypto หรือเข้าสู่บัญชี ในขณะที่เหยื่ออยู่ในระหว่างการทำธุรกรรม
และที่สำคัญ ความเสี่ยงจากการถูก Hack หรือขโมยคริปโตนั้น ถือเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะแม้ Developer จะพัฒนาตลอดเวลา เพื่อปิดช่องว่าง แต่ Hacker ก็พยายามหาทางเจาะเข้าไปตลอดเวลาเหมือนกัน ที่สำคัญปัจจุบัน cryptocurrencies ยังไม่ได้รับการควบคุม ทั้งรัฐบาลและธนาคารกลาง
สำหรับลักษณะของภัยไซเบอร์ ด้วยการหลอกให้กดเข้าไปในลิงก์ปลอมต่าง ๆ เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของเหยื่อ รวมถึงทำให้เราติดตั้งแอปฯ หรือมัลแวร์ต่าง ๆ ลงในอุปกรณ์มือถืออย่างไม่รู้ตัวนั้น เรียกว่าการ Phishing
โดย Phishing เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า Fishing ซึ่งหมายถึงการตกปลา เนื่องจากการหลอกลวงดังกล่าว เหมือนการตกปลา ปลาหลงกลเหยื่อล่อ ที่นำมาใช้ในการตกปลา จนติดเบ็ดในที่สุด นี่คือกลวิธีที่มิจฉาชีพ ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ
การ Phishing นับเป็นการหลอกลวงที่ใช้ศิลปะชวนให้เชื่อ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่าย โดยอาจจะมาในรูปของอีเมลแจ้งเตือนต่าง ๆ ทั้งจากธนาคาร หรือจากแพลตฟอร์มโซเชียล ที่เราใช้งานกันเป็นประจำ
เมื่อเราหลงเข้ากดลิงก์ที่แนบมาด้วย คนร้ายก็จะพาเราไปยังหน้าเว็บอื่น หรือเป็นการกดตกลงติดตั้งมัลแวร์ ที่สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการโดยอัตโนมัติ
เหยื่อจะยิ่งไม่เอะใจ เพราะคิดว่าไม่ได้กรอกข้อมูลอะไรผ่านลิงก์นั้น แต่มัลแวร์จะสามารถสอดแนม ติดตาม หรือแม้กระทั่งควบคุมอุปกรณ์เรา จากระยะไกล และแอบทำงานตอนที่เราไม่รู้ตัว ลักษณะก็คือการที่มิจฉาชีพ สามารถโอนเงินออกไปจากบัญชีได้ โดยที่เราไม่ได้ทำธุรกรรมเอง หรือกว่าจะรู้ตัวก็คือ ยอดเงินในบัญชีเกลี้ยงแล้ว
ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ Phishing
สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยมีการแจ้งเตือนภัย อย่ารีบคลิกลิงก์ที่แนบมากับข้อความ ที่ส่งมาทาง SMS หรือทางไลน์ หรือโซเซียลมีเดียต่าง ๆ เพราะอาจเป็นลิงก์หลอก ถ้ากดเข้าไปจะถูกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินในโทรศัพท์มือถือเรา ที่เชื่อมไปยังโทรศัพท์มือถือของมิจฉาชีพ จนเกลี้ยงบัญชี
Cr
https://www.nationtv.tv/news/social/378940612
"นาวิน ตาร์" แค่กดลิงก์ในมือถือ สูญเงินดิจิทัล 8 ล้าน รู้ไหมคนร้ายทำอย่างไร
"นาวิน ตาร์" นักร้องชื่อดัง แค่เผลอกดลิงก์ในมือถือ ก็ถูกคนร้ายดูดเงินดิจิทัลในบัญชีมูลค่ากว่า 8 ล้านบาท หายวับทั้งที่ระวังตัว รู้ไหมคนร้ายใช้วิธีไหน แล้วมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
ยังคงเป็นภัยทางไซเบอร์ ที่มีผู้คนตกเป็นเหยื่อกันรายวัน โดยเฉพาะภัยจากมิจฉาชีพ ที่มาทางโทรศัพท์มือถือ โดดคนร้ายสามารถดูดเงินจากแอปบัญชีธนาคาร หรือแม้กระทั่ง Cryptocurrency เงินสกุลดิจิทัล จากบัญชีของเหยื่อ เพียงแค่หลงกดลิงก์ ที่คนร้ายส่งมาให้เท่านั้น
เหยื่อรายล่าสุด ที่ออกมาเปิดเผยในเรื่องนี้ และสร้างความตกใจให้กับผู้คนในสังคมคือ “นาวิน ต้าร์” หรือ ดร.นาวิน เยาวพลกุล นักธุรกิจอดีตนักร้องชื่อดัง ที่เปิดเผยว่า ตัวได้เผลอไปกดลิงก์ในกล่องข้อความ ทำให้เงินในบัญชี เด้งหายไปทันที 5 ล้านบาท พร้อมฝากเตือนทุกคน เพราะว่าขนาดเซฟตัวเองแล้วก็ยังพลาด ต้องเสียเงินมากขนาดนี้
และ "นาวิน ตาร์" ได้อธิบายอย่างละเอียดภายหลัง ผ่านรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ระบุว่า ที่เผลอกดลิงก์ไป เป็นการโอนเหรียญคริปโต 40 เหรียญ "อีเธอเรียม" หรือประมาณ 8 ล้านบาท
สิ่งที่ทำให้สังคมตั้งคำถามคือ เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพพัฒนาถึงขนาดขโมยเงินสกุลดิจิทัลได้แล้วหรือ? เพราะปกติเคยได้ยินแต่ มิจฉาชีพส่งลิงก์ให้เหยื่อกด เพื่อเข้าไปดูดเงินในแอปบัญชีธนาคารเท่านั้น แล้วสิ่งที่ "นาวิน ตาร์" โดนนั้นคืออะไร?
ทั้งนี้เว็บไซต์ techsauce ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กรณีดังกล่าวเป็น หนึ่งในความเสี่ยงของการลงทุน crypto วิธีการคือ คนร้ายจะเข้าไปขโมย crypto ผ่านการติดตั้ง Malware หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย มีหลายประเภท เช่น ไวรัสที่สร้างความเสียหายที่ประสงค์ร้าย สปายแวร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และแรนซัมแวร์ที่กักขังเครื่องของเหยื่อไว้
โดยมัลแวร์หลายประเภท ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อจุดประสงค์ในการขโมย crypto โปรแกรมเหล่านี้ สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าบัญชี และขโมยกระเป๋าเงิน crypto หรือเข้าสู่บัญชี ในขณะที่เหยื่ออยู่ในระหว่างการทำธุรกรรม
และที่สำคัญ ความเสี่ยงจากการถูก Hack หรือขโมยคริปโตนั้น ถือเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะแม้ Developer จะพัฒนาตลอดเวลา เพื่อปิดช่องว่าง แต่ Hacker ก็พยายามหาทางเจาะเข้าไปตลอดเวลาเหมือนกัน ที่สำคัญปัจจุบัน cryptocurrencies ยังไม่ได้รับการควบคุม ทั้งรัฐบาลและธนาคารกลาง
สำหรับลักษณะของภัยไซเบอร์ ด้วยการหลอกให้กดเข้าไปในลิงก์ปลอมต่าง ๆ เพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ของเหยื่อ รวมถึงทำให้เราติดตั้งแอปฯ หรือมัลแวร์ต่าง ๆ ลงในอุปกรณ์มือถืออย่างไม่รู้ตัวนั้น เรียกว่าการ Phishing
โดย Phishing เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า Fishing ซึ่งหมายถึงการตกปลา เนื่องจากการหลอกลวงดังกล่าว เหมือนการตกปลา ปลาหลงกลเหยื่อล่อ ที่นำมาใช้ในการตกปลา จนติดเบ็ดในที่สุด นี่คือกลวิธีที่มิจฉาชีพ ใช้ในการหลอกลวงเหยื่อ
การ Phishing นับเป็นการหลอกลวงที่ใช้ศิลปะชวนให้เชื่อ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อได้ง่าย โดยอาจจะมาในรูปของอีเมลแจ้งเตือนต่าง ๆ ทั้งจากธนาคาร หรือจากแพลตฟอร์มโซเชียล ที่เราใช้งานกันเป็นประจำ
เมื่อเราหลงเข้ากดลิงก์ที่แนบมาด้วย คนร้ายก็จะพาเราไปยังหน้าเว็บอื่น หรือเป็นการกดตกลงติดตั้งมัลแวร์ ที่สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการโดยอัตโนมัติ
เหยื่อจะยิ่งไม่เอะใจ เพราะคิดว่าไม่ได้กรอกข้อมูลอะไรผ่านลิงก์นั้น แต่มัลแวร์จะสามารถสอดแนม ติดตาม หรือแม้กระทั่งควบคุมอุปกรณ์เรา จากระยะไกล และแอบทำงานตอนที่เราไม่รู้ตัว ลักษณะก็คือการที่มิจฉาชีพ สามารถโอนเงินออกไปจากบัญชีได้ โดยที่เราไม่ได้ทำธุรกรรมเอง หรือกว่าจะรู้ตัวก็คือ ยอดเงินในบัญชีเกลี้ยงแล้ว
ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ Phishing
สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย เคยมีการแจ้งเตือนภัย อย่ารีบคลิกลิงก์ที่แนบมากับข้อความ ที่ส่งมาทาง SMS หรือทางไลน์ หรือโซเซียลมีเดียต่าง ๆ เพราะอาจเป็นลิงก์หลอก ถ้ากดเข้าไปจะถูกติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงินในโทรศัพท์มือถือเรา ที่เชื่อมไปยังโทรศัพท์มือถือของมิจฉาชีพ จนเกลี้ยงบัญชี
Cr https://www.nationtv.tv/news/social/378940612