กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ ถกปัญหาขาดดุลดิจิทัล
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_674820/
กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ ถกปัญหาขาดดุลดิจิทัล หลังแพลตฟอร์มค้าออนไลน์แย่งตลาดผู้ประกอบการไทย ทำรายย่อยแข่งขันลำบาก พบช่องว่างทางกฎหมาย สินค้านำเข้าต่ำ 1,500 บาทไม่ต้องเสียภาษี
นาย
สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ เปิดเผยผลการประชุม กมธ. กรณีผลกระทบของการขาดดุลจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ และนโยบายการรับมือที่เหมาะสม ว่า กมธ. ได้รับข้อร้องเรียนจากภาคเอกชนถึงผลกระทบของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อผู้ประกอบการไทย เนื่องจากนับวันการค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ประชาชนซื้อจากออนไลน์เพิ่มขึ้น บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์จากต่างประเทศครองส่วนเเบ่งทางการตลาดในไทยมากถึง 41% ขณะที่ตลาดของอี-คอมเมิร์ซจากต่างประเทศครองส่วนเเบ่งในไทยมากกว่า 50% ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบ ปัญหาอยู่ที่ปัจจุบันมีช่องว่างทางกฎหมายหลายอย่างที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบหรือถูกเอาเปรียบจากผู้ค้าต่างประเทศ
จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตลอดจนภาคเอกชน สิ่งที่พบคือ ช่องว่างการจัดเก็บภาษีของแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่โดยปกติแล้วการดำเนินธุรกิจที่มีรายได้ในประเทศไทยจำเป็นต้องจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ แต่ธุรกิจแฟลตฟอร์มออนไลน์ส่วนมากมีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ ทำให้หลายธุรกรรมทางการเงินถูกส่งไปต่างประเทศ แต่รายได้ไม่ถูกบันทึกในไทย จึงไม่เกิดกระบวนการจัดเก็บภาษีในประเทศ
นาย
สิทธิพล กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง สื่อโซเชียลมีเดีย ในต่างประเทศสามารถจัดเก็บภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริการอิเล็กทรอนิกส์ชื่อว่า VAT for Electronics Service หรือ VES โดยปัญหาที่ กมธ. สอบถาม แต่ยังไม่ได้ตำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่ชี้แจง คือปัจจุบันมีกระบวนการที่เพียงพอในการให้บริษัทภาคเอกชนขึ้นทะเบียนกับภาครัฐหรือยัง รวมถึงรายได้ที่นำส่งให้รัฐ เต็มเม็ดเต็มหน่วยครบถ้วน ภาครัฐตรวจสอบได้หรือไม่
การเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังส่งผลต่อการเข้ามาของสินค้าต่างประเทศ ที่กลับได้รับสิทธิประโยชน์เหนือสินค้าของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะการได้รับยกเว้นภาษีสำหรับสินค้านำเข้าที่ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก
ในวันที่การสั่งสินค้าออนไลน์ทำได้ง่าย สั่งแล้วส่งได้ทันทีหรือส่งได้รวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการไทย นอกจากแข่งขันยาก ต้นทุนสูง ยังเผชิญภาษีที่ไม่เป็นธรรม หนำซ้ำมีสินค้าจากหลายประเทศมาตั้งคลังสินค้าในประเทศไทย อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้ยิ่งส่งสินค้าจากต่างประเทศจากคลังสินค้าที่เรียกว่า free trade store ส่งถึงบ้านเรือนประชาชนง่ายขึ้น หากเราไม่มีแนวทางการกำกับสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเท่าทัน นับวันจะทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ลำบากมากขึ้น
ดังนั้น เรื่องนี้สำคัญ หากเราไม่ทำอะไรในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจะอยู่ลำบาก นับวันจะค้าขายยากขึ้น เงินทุกบาทที่คนไทยช็อปปิ้งออนไลน์จะไหลไปอยู่ต่างประเทศทั้งหมด กระทบต่อการจ้างงาน ต่อการลงทุนในประเทศ วันนี้ กมธ. จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับไปหารือกันอย่างเร่งด่วนว่าจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ สิ่งที่ควรออกมาเป็นมาตรการให้ชัดเจนคือ สำหรับสินค้าที่มูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาทจากต่างประเทศ จะทำอย่างไรให้สินค้าไทยไม่เผชิญความเสียเปรียบจากช่องว่างทางภาษี รวมถึงประเด็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โดย กมธ. ตั้งเวลาไว้ที่ 30-60 วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมาชี้แจงใน กมธ. นอกจากนี้จะตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเด็นนี้โดยเฉพาะเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการและประชาชน
“อมรัตน์” จี้ยกเลิก-ล้าง “มรดกบาป” ยุครบ.คสช.
https://siamrath.co.th/n/513343
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.67 นาง
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต สส.พรรคก้าวไกล และที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความใน X ว่า
พรรคก้าวไกลยื่นร่างยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช. ไปนานแล้ว เรียกร้องนายกฯ เซ็นรับรองโดยเร็ว
ยุครัฐบาล คสช. มีการออกประกาศคำสั่งกว่าร้อยฉบับที่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทั้งในแง่สิทธิเสรีภาพ ผังเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จนวันนี้ “มรดกบาป” เหล่านั้นยังหลงเหลือ แม้ที่ผ่านมามีความพยายามยกเลิกผ่านกลไกสภาฯ แต่ไม่สำเร็จ เพราะเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ
ล่าสุดต้นสัปดาห์ (5 ก.พ.) สส. จากพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันอย่างพรรคภูมิใจไทย ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.ฯ เข้าสู่สภาฯ ซึ่ง รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล มองว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการล้างมรดกบาป คสช. แต่ขณะเดียวกัน ต้องเรียกร้องไปถึงเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เซ็นรับรองร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่พรรคก้าวไกลยื่นเข้าสภาฯ ตั้งแต่ปีที่แล้วด้วย
https://twitter.com/AmaratJeab/status/1756110410502336865
‘โลกร้อน’ ไม่หยุด อุณหภูมิเฉลี่ยรอบปีสูงขึ้น 1.5°C เกินกว่า ‘ข้อตกลงปารีส’
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112550
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! “ภาวะโลกร้อน” ทำอุณหภูมิเฉลี่ยโลกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส แตะลิมิตอุณหภูมิสูงขึ้นตามข้อตกลงปารีส ตามข้อมูลล่าสุดของอียู นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็น “คำเตือนสำคัญสำหรับมวลมนุษยชาติ”
องค์กรติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป หรือ C3S เผยข้อมูลสุดตะลึง เมื่อพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 จนถึงมกราคม 2024 อยู่ที่ 15.02 องศาเซลเซียส สูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม (1850-1900) ถึง 1.52 องศาเซลเซียส
ระดับอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในข้อตกลงปารีสปี 2015 ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ หรือ COP ครั้งที่ 21 เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
“
อุณหภูมิเพียง 1.5 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องเผชิญกับน้ำท่วมทั้งใหญ่ ความแห้งแล้ง คลื่นความร้อนและไฟป่าทั่วโลก” ศ.
บ๊อบ วัตสัน อดีตประธานหน่วยงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ กล่าวกับสถานีวิทยุ BBC Radio 4
เป็นเวลา 9 เดือนแล้วที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเดือนมกราคม 2024 ถือเป็นเดือนที่ 8 ที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ โดยเซอร์
ไบรอัน ฮอสกินส์ ประธานสถาบันแกรนแธม สถาบันวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน กล่าวว่าข้อมูลนี้ถือเป็น “
คำเตือน” ให้พวกเราต้องเร่งแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน
• เดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์
ริชาร์ด เบตส์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยผลกระทบสภาพภูมิอากาศที่ศูนย์แฮดลีย์ ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร กล่าวว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงว่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างมาก
อุณหภูมิอากาศบนพื้นผิวเฉลี่ยของเดือนมกราคม 2024 อยู่ที่ 13.14 องศาเซลเซียส สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมากกว่าเดือนมกราคม 2020 ที่เคยร้อนที่สุดอยู่ 0.12 องศาเซลเซียส และยังอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยเดือนมกราคมช่วงปี 1850-1900 ซึ่งเป็นยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 1.66 องศาเซลเซียส อีกด้วย
ในเดือนมกราคม 2024 แต่ละพื้นที่ในโลกเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป โดยแคนาดาตะวันออก แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรปมีอุณหภูมิในเดือนมกราคมสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก
ขณะที่ในกลุ่มพื้นที่นอร์ดิก แคนาดาตะวันตก อเมริกากลาง และไซบีเรียตะวันออกส่วนใหญ่ กลับมาอุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และในบางพื้นที่ของสวีเดนและฟินแลนด์อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า -40 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม 2024
นอกจากนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป ฝั่งตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือและตะวันออก มีความชื้นมากกว่าค่าเฉลี่ย แต่ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ บางส่วนของสเปน สแกนดิเนเวียส่วนใหญ่ และคาบสมุทรบอลข่านตะวันออกกลับแห้งแล้งกว่าปรกต
ด้วยสภาพอากาศที่แห้งแล้งกว่าปกติในภูมิภาคจะงอยแอฟริกา คาบสมุทรอาหรับ เอเชียกลางตอนใต้ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ส่งผลให้เกิดไฟป่าในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ชิลีที่เกิดไฟป่าครั้งใหญ่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024
อีกทั้ง อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลกก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 20.97 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม 2024 ถือเป็นอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่เคยบันทึกไว้ในรอบเดือน โดยมีเพียงเดือนสิงหาคม 2566 เท่านั้นที่สูงกว่าด้วยอุณหภูมิ 20.98 องศาเซลเซียส
แต่เมื่อ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ได้ทำลายสถิติอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงสุดไปแล้วเรียบร้อย ด้วยอุณหภูมิแตะระดับ 21.12 องศาเซลเซียส
• เอลนีโญทำอุณหภูมิพุ่งสูง
ปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกร้อนขึ้น และทำให้ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรุนแรงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทำให้อุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงกว่าปรกติที่ประมาณ 0.2 องศาเซลเซียสเท่านั้น
อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั่วโลกเริ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเกือบทุกวันในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีปรากฏการณ์เอลนีโญเริ่ม และต่อเนื่องไปจนถึงปี 2024 อย่างไรก็ตามภาวะเอลนีโญคาดว่าจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิโลกคงที่ชั่วคราว จากนั้นจะลดลงเล็กน้อย โดยอาจกลับมาต่ำกว่าเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส
แต่ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อนในระยะยาว และเรายังคงต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างที่เราพบเจอกันมาตลอดปี 2023 ทั้งคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า และน้ำท่วมต่อไป
แม้ว่าอุณหภูมิที่ทำลายสถิติในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจะสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงปารีสล้มเหลวแล้ว นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าโลกจะไปอยู่ในจุดที่ “
กู่ไม่กลับ” เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีขึ้นไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
ถ้าหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกครึ่งองศา กลายเป็น 2 องศาเซลเซียส จะสร้าง “หายนะ” ทางสิ่งแวดล้อมได้ทันที แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกตะวันตกจะพังทลายลงอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดภัยพิบัติระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นตลอดหลายศตวรรษหลังจากนั้น
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ยังยืนว่าเรายังสามารถยังพอแก้ไขได้ทัน
ซาแมนธา เบอร์เกรส รองผู้อำนวยการ C3S เรียกร้องให้แต่ละประเทศดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพราะวิธีเดียวที่จะหยุดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นได้
ที่มา:
Aljazeera,
BBC, [url=https://www.ft.com/content/8927424e-2828-44
JJNY : กมธ.ถกปัญหาขาดดุลดิจิทัล│“อมรัตน์”จี้ยกเลิก-ล้าง“มรดกบาป” คสช.│‘โลกร้อน’ ไม่หยุด│“เอลนีโญ” ดันราคาโกโก้โลกแพง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_674820/
กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ ถกปัญหาขาดดุลดิจิทัล หลังแพลตฟอร์มค้าออนไลน์แย่งตลาดผู้ประกอบการไทย ทำรายย่อยแข่งขันลำบาก พบช่องว่างทางกฎหมาย สินค้านำเข้าต่ำ 1,500 บาทไม่ต้องเสียภาษี
นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ เปิดเผยผลการประชุม กมธ. กรณีผลกระทบของการขาดดุลจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ และนโยบายการรับมือที่เหมาะสม ว่า กมธ. ได้รับข้อร้องเรียนจากภาคเอกชนถึงผลกระทบของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อผู้ประกอบการไทย เนื่องจากนับวันการค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ประชาชนซื้อจากออนไลน์เพิ่มขึ้น บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์จากต่างประเทศครองส่วนเเบ่งทางการตลาดในไทยมากถึง 41% ขณะที่ตลาดของอี-คอมเมิร์ซจากต่างประเทศครองส่วนเเบ่งในไทยมากกว่า 50% ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบ ปัญหาอยู่ที่ปัจจุบันมีช่องว่างทางกฎหมายหลายอย่างที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบหรือถูกเอาเปรียบจากผู้ค้าต่างประเทศ
จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ได้แก่ กรมสรรพากร กรมศุลกากร กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตลอดจนภาคเอกชน สิ่งที่พบคือ ช่องว่างการจัดเก็บภาษีของแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่โดยปกติแล้วการดำเนินธุรกิจที่มีรายได้ในประเทศไทยจำเป็นต้องจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ แต่ธุรกิจแฟลตฟอร์มออนไลน์ส่วนมากมีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ ทำให้หลายธุรกรรมทางการเงินถูกส่งไปต่างประเทศ แต่รายได้ไม่ถูกบันทึกในไทย จึงไม่เกิดกระบวนการจัดเก็บภาษีในประเทศ
นายสิทธิพล กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง สื่อโซเชียลมีเดีย ในต่างประเทศสามารถจัดเก็บภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย สำหรับประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริการอิเล็กทรอนิกส์ชื่อว่า VAT for Electronics Service หรือ VES โดยปัญหาที่ กมธ. สอบถาม แต่ยังไม่ได้ตำตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่ชี้แจง คือปัจจุบันมีกระบวนการที่เพียงพอในการให้บริษัทภาคเอกชนขึ้นทะเบียนกับภาครัฐหรือยัง รวมถึงรายได้ที่นำส่งให้รัฐ เต็มเม็ดเต็มหน่วยครบถ้วน ภาครัฐตรวจสอบได้หรือไม่
การเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังส่งผลต่อการเข้ามาของสินค้าต่างประเทศ ที่กลับได้รับสิทธิประโยชน์เหนือสินค้าของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะการได้รับยกเว้นภาษีสำหรับสินค้านำเข้าที่ราคาต่ำกว่า 1,500 บาท ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศไทยต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่บาทแรก
ในวันที่การสั่งสินค้าออนไลน์ทำได้ง่าย สั่งแล้วส่งได้ทันทีหรือส่งได้รวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการไทย นอกจากแข่งขันยาก ต้นทุนสูง ยังเผชิญภาษีที่ไม่เป็นธรรม หนำซ้ำมีสินค้าจากหลายประเทศมาตั้งคลังสินค้าในประเทศไทย อาศัยช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้ยิ่งส่งสินค้าจากต่างประเทศจากคลังสินค้าที่เรียกว่า free trade store ส่งถึงบ้านเรือนประชาชนง่ายขึ้น หากเราไม่มีแนวทางการกำกับสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเท่าทัน นับวันจะทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ลำบากมากขึ้น
ดังนั้น เรื่องนี้สำคัญ หากเราไม่ทำอะไรในระยะยาว ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs พ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจะอยู่ลำบาก นับวันจะค้าขายยากขึ้น เงินทุกบาทที่คนไทยช็อปปิ้งออนไลน์จะไหลไปอยู่ต่างประเทศทั้งหมด กระทบต่อการจ้างงาน ต่อการลงทุนในประเทศ วันนี้ กมธ. จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลับไปหารือกันอย่างเร่งด่วนว่าจะมีแนวทางอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ สิ่งที่ควรออกมาเป็นมาตรการให้ชัดเจนคือ สำหรับสินค้าที่มูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาทจากต่างประเทศ จะทำอย่างไรให้สินค้าไทยไม่เผชิญความเสียเปรียบจากช่องว่างทางภาษี รวมถึงประเด็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โดย กมธ. ตั้งเวลาไว้ที่ 30-60 วัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับมาชี้แจงใน กมธ. นอกจากนี้จะตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามประเด็นนี้โดยเฉพาะเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้ผู้ประกอบการและประชาชน
“อมรัตน์” จี้ยกเลิก-ล้าง “มรดกบาป” ยุครบ.คสช.
https://siamrath.co.th/n/513343
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.67 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีต สส.พรรคก้าวไกล และที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความใน X ว่า
พรรคก้าวไกลยื่นร่างยกเลิกประกาศคำสั่ง คสช. ไปนานแล้ว เรียกร้องนายกฯ เซ็นรับรองโดยเร็ว
ยุครัฐบาล คสช. มีการออกประกาศคำสั่งกว่าร้อยฉบับที่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ทั้งในแง่สิทธิเสรีภาพ ผังเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จนวันนี้ “มรดกบาป” เหล่านั้นยังหลงเหลือ แม้ที่ผ่านมามีความพยายามยกเลิกผ่านกลไกสภาฯ แต่ไม่สำเร็จ เพราะเสียงสนับสนุนไม่เพียงพอ
ล่าสุดต้นสัปดาห์ (5 ก.พ.) สส. จากพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันอย่างพรรคภูมิใจไทย ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.ฯ เข้าสู่สภาฯ ซึ่ง รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล มองว่าเป็นนิมิตหมายอันดีในการล้างมรดกบาป คสช. แต่ขณะเดียวกัน ต้องเรียกร้องไปถึงเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เซ็นรับรองร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่พรรคก้าวไกลยื่นเข้าสภาฯ ตั้งแต่ปีที่แล้วด้วย
https://twitter.com/AmaratJeab/status/1756110410502336865
‘โลกร้อน’ ไม่หยุด อุณหภูมิเฉลี่ยรอบปีสูงขึ้น 1.5°C เกินกว่า ‘ข้อตกลงปารีส’
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1112550
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! “ภาวะโลกร้อน” ทำอุณหภูมิเฉลี่ยโลกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส แตะลิมิตอุณหภูมิสูงขึ้นตามข้อตกลงปารีส ตามข้อมูลล่าสุดของอียู นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็น “คำเตือนสำคัญสำหรับมวลมนุษยชาติ”
องค์กรติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป หรือ C3S เผยข้อมูลสุดตะลึง เมื่อพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 จนถึงมกราคม 2024 อยู่ที่ 15.02 องศาเซลเซียส สูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม (1850-1900) ถึง 1.52 องศาเซลเซียส
ระดับอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในข้อตกลงปารีสปี 2015 ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ หรือ COP ครั้งที่ 21 เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
“อุณหภูมิเพียง 1.5 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราต้องเผชิญกับน้ำท่วมทั้งใหญ่ ความแห้งแล้ง คลื่นความร้อนและไฟป่าทั่วโลก” ศ.บ๊อบ วัตสัน อดีตประธานหน่วยงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ กล่าวกับสถานีวิทยุ BBC Radio 4
เป็นเวลา 9 เดือนแล้วที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเดือนมกราคม 2024 ถือเป็นเดือนที่ 8 ที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดติดต่อกันเป็นประวัติการณ์ โดยเซอร์ ไบรอัน ฮอสกินส์ ประธานสถาบันแกรนแธม สถาบันวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน กล่าวว่าข้อมูลนี้ถือเป็น “คำเตือน” ให้พวกเราต้องเร่งแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน
• เดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์
ริชาร์ด เบตส์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยผลกระทบสภาพภูมิอากาศที่ศูนย์แฮดลีย์ ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร กล่าวว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจนทำลายสถิติในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงว่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างมาก
อุณหภูมิอากาศบนพื้นผิวเฉลี่ยของเดือนมกราคม 2024 อยู่ที่ 13.14 องศาเซลเซียส สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมากกว่าเดือนมกราคม 2020 ที่เคยร้อนที่สุดอยู่ 0.12 องศาเซลเซียส และยังอุ่นกว่าค่าเฉลี่ยเดือนมกราคมช่วงปี 1850-1900 ซึ่งเป็นยุคก่อนอุตสาหกรรมถึง 1.66 องศาเซลเซียส อีกด้วย
ในเดือนมกราคม 2024 แต่ละพื้นที่ในโลกเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป โดยแคนาดาตะวันออก แอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรปมีอุณหภูมิในเดือนมกราคมสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก
ขณะที่ในกลุ่มพื้นที่นอร์ดิก แคนาดาตะวันตก อเมริกากลาง และไซบีเรียตะวันออกส่วนใหญ่ กลับมาอุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก และในบางพื้นที่ของสวีเดนและฟินแลนด์อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า -40 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม 2024
นอกจากนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป ฝั่งตะวันตกและตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือและตะวันออก มีความชื้นมากกว่าค่าเฉลี่ย แต่ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ บางส่วนของสเปน สแกนดิเนเวียส่วนใหญ่ และคาบสมุทรบอลข่านตะวันออกกลับแห้งแล้งกว่าปรกต
ด้วยสภาพอากาศที่แห้งแล้งกว่าปกติในภูมิภาคจะงอยแอฟริกา คาบสมุทรอาหรับ เอเชียกลางตอนใต้ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ ส่งผลให้เกิดไฟป่าในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ชิลีที่เกิดไฟป่าครั้งใหญ่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024
อีกทั้ง อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลทั่วโลกก็แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 20.97 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม 2024 ถือเป็นอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่เคยบันทึกไว้ในรอบเดือน โดยมีเพียงเดือนสิงหาคม 2566 เท่านั้นที่สูงกว่าด้วยอุณหภูมิ 20.98 องศาเซลเซียส
แต่เมื่อ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ได้ทำลายสถิติอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงสุดไปแล้วเรียบร้อย ด้วยอุณหภูมิแตะระดับ 21.12 องศาเซลเซียส
• เอลนีโญทำอุณหภูมิพุ่งสูง
ปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกร้อนขึ้น และทำให้ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรุนแรงขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และทำให้อุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงกว่าปรกติที่ประมาณ 0.2 องศาเซลเซียสเท่านั้น
อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั่วโลกเริ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเกือบทุกวันในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีปรากฏการณ์เอลนีโญเริ่ม และต่อเนื่องไปจนถึงปี 2024 อย่างไรก็ตามภาวะเอลนีโญคาดว่าจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิโลกคงที่ชั่วคราว จากนั้นจะลดลงเล็กน้อย โดยอาจกลับมาต่ำกว่าเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส
แต่ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อนในระยะยาว และเรายังคงต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างที่เราพบเจอกันมาตลอดปี 2023 ทั้งคลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง ไฟป่า และน้ำท่วมต่อไป
แม้ว่าอุณหภูมิที่ทำลายสถิติในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาจะสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงปารีสล้มเหลวแล้ว นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าโลกจะไปอยู่ในจุดที่ “กู่ไม่กลับ” เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปีขึ้นไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง
ถ้าหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกครึ่งองศา กลายเป็น 2 องศาเซลเซียส จะสร้าง “หายนะ” ทางสิ่งแวดล้อมได้ทันที แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกตะวันตกจะพังทลายลงอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดภัยพิบัติระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นตลอดหลายศตวรรษหลังจากนั้น
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ยังยืนว่าเรายังสามารถยังพอแก้ไขได้ทัน ซาแมนธา เบอร์เกรส รองผู้อำนวยการ C3S เรียกร้องให้แต่ละประเทศดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน เพราะวิธีเดียวที่จะหยุดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นได้
ที่มา: Aljazeera, BBC, [url=https://www.ft.com/content/8927424e-2828-44