โดนอีกแล้ว ข้อมูลหลุดถูกขโมยขายบนเว็บ Dark Web
https://www.mcot.net/view/GC3AQKQ7
รายงานของบริษัท Resecurity ระบุว่าเฉพาะเดือน ม.ค. 2567 มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (Personal Identifiable Information: PII) ของคนไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูลรั่วไหลและถูกประกาศขายบนฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย
บริษัท Resecurity รายงานว่ส มีข้อมูลจากประเทศไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูล จาก 5 แหล่งที่มา รั่วไหลและถูกประกาศขายอยู่ในฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยข้อมูลทั้งหมด ล้วนเป็นข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (PII) ประกอบด้วย
ชุดข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและประวัติคำสั่งซื้อจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ จากผู้ใช้งานจำนวน 160,000 ราย
ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ในกองทัพเรือจำนวนกว่า 45,000 นาย
ข้อมูลจากเว็บไซต์ของเอกชน อาทิข้อมูลส่วนตัวกว่า 25,500 ชุดข้อมูล
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทะเบียนหางานทางออนไลน์กว่า 61,000 ชุดข้อมูล
ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งมีการรั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านแถวข้อมูล
ในช่วงต้นปี 2567 มีการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากแพลตฟอร์มที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งยืนยันว่าผู้แสดงภัยคุกคามกำลังมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยอย่างจริงจัง
ผู้คุกคามมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐในไทย เนื่องจากมีเอกสารส่วนตัวจำนวนมากทั้งในรูปแบบข้อความและกราฟิกที่ใช้สำหรับ KYC ("รู้จักลูกค้าของคุณ")
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2024 เพียงเดือนเดียว มีการโพสต์การละเมิดข้อมูลสำคัญอย่างน้อย 14 ครั้งที่เปิดเผยข้อมูลของพลเมืองในฟอรัมอาชญากรไซเบอร์ ซึ่งเกือบจะแซงหน้าปริมาณบันทึกที่ถูกบุกรุกประจำปีที่ระบุเมื่อปีที่แล้ว
ล่าสุดศาลอาญาในประเทศไทยมีคำสั่งให้ระงับเว็บไซต์ 9near.org การดำเนินการนี้เกิดขึ้นหลังจากเว็บไซต์ขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองไทย 55 ล้านคน ที่ถูกกล่าวหาว่าได้มาจากบันทึกการลงทะเบียนวัคซีน ศาลประกาศเพิ่มเติมว่าเว็บไซต์อื่นใดที่พบว่าเผยแพร่ข้อมูลจาก "9near.org" ก็จะถูกบล็อกด้วยเช่นกัน มาตรการนี้เป็นไปตามคำร้องขอจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ซึ่งกำลังเตรียมการสำหรับการจับกุมบุคคลที่รับผิดชอบต่อการแฮ็กข้อมูล
“ณัฐพงษ์” ติงนโยบายดิจิทัลยังขาดชัดเจนมาตรฐานปลอดภัยขั้นต่ำ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_673590/
“ณัฐพงษ์” ชี้ข้อมูลประชาชนหลุดจากหน่วยงานรัฐเกือบ 20 ล้านชุด สะท้อนช่องโหว่ในระบบภาครัฐ ขณะติงนโยบายดิจิทัลรัฐบาล ให้น้ำหนักดึงเม็ดเงินลงทุนตั้ง “data center” แต่ยังขาดความชัดเจนมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำ
นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นต่อกรณีรายงานของบริษัท Resecurity ระบุว่า เฉพาะเดือนมกราคม 2567 มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลของคนไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูลรั่วไหล และถูกประกาศขายบนฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย โดยเป็นข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุมากถึง 19.7 ล้านแถวข้อมูล
ข้อมูลที่หลุดครั้งนี้สะท้อนถึงเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะในกรณีนี้เป็นข้อมูลที่น่ากังวลที่หลุดออกมาจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งปฏิเสธได้ยากว่าเป็นเรื่องของความบกพร่องในการบริหารจัดการข้อมูลประชาชนของภาครัฐ
จากสถิติในการแฮ็กข้อมูลและระบบ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคนในที่แอบขโมยข้อมูลออกไปขายหรือใช้ช่องทางคนในในการเจาะระบบ ซึ่งในส่วนนี้ค่อนข้างป้องกันได้ยาก แต่จากที่ได้ติดตามข่าวข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มีข้อมูลนักท่องเที่ยวหลุด หมายเลขบัตรประชาชนหลุด หรือช่วงสถานการณ์โควิดที่มีการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโควิดของประชาชนออกมาขาย เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในทั้งหมด แต่เป็นปัญหาจากระบบที่มีช่องโหว่ และนโยบายในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐที่ยังไม่ได้วางให้ถูกหลักการเท่าที่ควร
ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะมีการประกาศนโยบาย cloud first policy หรือการทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นคลาวด์ให้หมดแล้ว แต่ยังมีขั้นตอนของการบริหารจัดการที่ต้องวางกรอบในเรื่องของการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ในการให้ภาครัฐเป็นคนควบคุมข้อมูลและรักษาดูแลความปลอดภัยข้อมูลให้ประชาชน ไม่ใช่ให้ผู้รับเหมาควบคุมได้ทุกอย่าง
นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ท่าทีที่รัฐบาลแถลงออกมาเรื่องนโยบายด้านดิจิทัลของประเทศยังค่อนข้างให้น้ำหนักกับการดึงเม็ดเงินจากต่างชาติมาลงทุนในการตั้ง data center
ประมาณแสนกว่าล้านบาทเป็นหลัก แต่รัฐควรจะมองให้ครอบคลุมเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย ซึ่งยังไม่ได้เห็นการแถลงออกมาจากทางกระทรวงดิจิทัลฯ หรือทางรัฐบาลเองว่าจะมีการลงรายละเอียดในเรื่องนี้อย่างไร
ดังนั้น เรื่องนี้มีความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของประชาชนด้วย เช่น การให้นักลงทุนต่างชาติมาตั้ง data center ในไทยอย่างเดียวไม่พอ เมื่อจะนำบริการดิจิทัลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ที่มาตั้ง data center ในไทยแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือมาตรการในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของประชาชนเป็นอย่างไร
ซึ่งจากการที่ตนอยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณฯ ได้เชิญหน่วยงานด้านดิจิทัลหลายหน่วยงานเข้ามาชี้แจง พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าตกลงในงบประมาณปี 2568-2569 ที่จะเริ่มมีการ migrate ข้อมูลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ให้หมด จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในการปกป้องข้อมูลแบบไหน ถ้าเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ของไทยอยากเข้ามาให้บริการภาครัฐด้วยจะทำได้หรือไม่ ถ้าได้แล้วผู้ให้บริการจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำอย่างไร ดังนั้น ถ้ารัฐบาลอยากช่วยอุดช่องว่างและส่งสัญญาณเรื่อง cloud first policy รัฐบาลก็ควรออกมาแถลงความชัดเจนในเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องของความปลอดภัยไซเบอร์ด้วย
สำหรับกรณีแบบนี้คนที่เสียที่สุดก็คือ ประชาชน พอข้อมูลออกไปแล้วสามารถถูกเอาไปขยายผล ทำซ้ำ ส่งต่อได้อีกไม่รู้จบ นี่คือความน่ากลัวของเรื่องนี้ โดยที่เราไม่สามารถดึงข้อมูลกลับมาได้ รัฐบาลควรมีความชัดเจนในเรื่องนี้ ว่าตกลงเรื่องของสถาปัตยกรรมทางด้านดิจิทัลของประเทศที่มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และคุ้มครองข้อมูลของประชาชนควรจะมีหน้าตาแบบไหน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้ทำยาก เพราะถ้าดูในหลายๆ ประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลของรัฐบาลใช้คลาวด์กันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ ฯลฯ แต่ละที่มีมาตรฐานเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หมดแล้ว เขามีมาตรฐานไว้เลยว่าถ้ารัฐบาลจะเอาบริการดิจิทัลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ ผู้ให้บริการคลาวด์จะต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำอย่างไร เพราะฉะนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำยาก รัฐบาลสามารถไปศึกษาศึกษา เอามาปรับใช้ แล้วประกาศได้ทันทีเพื่อให้เกิดความชัดเจนในส่วนนี้ ประชาชนเองก็จะได้สบายใจด้วยว่า เรามีทิศทางในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
น้ำท่อมเกลื่อนเมือง โคราชลุยตรวจผับ เจอแอบขาย 2 ที่ ยึดยาแก้ไอยกลัง เกือบ 500 ขวด
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4413117
น้ำท่อมเกลื่อนเมือง โคราชลุยตรวจผับ เจอแอบขาย 2 ที่ ยึดยาแก้ไอยกลัง 449 ขวด
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นาย
สยาม ศิริมงคล ผวจ.นครราชสีมา สั่งการให้ชุดปฏิบัติการจัดระเบียบสังคม ชุดปฏิบัติการพิเศษ.ปค.นม./ปค.อ.เมือง , สสจ.นม , สภ.เมือง นครราชสีมา สภ.โพธิ์กลาง และ ศดธ.จว ร่วมตรวจสอบสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ตามนโยบายจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ผลการตรวจสอบ จำนวน 11 ร้าน
ผลการปฏิบัติพบการกระทำความผิด 3 ร้าน ได่แก่
1. ร้านพลังใบ Korat (ตำบลในเมือง) ผิด พรบ.อาหาร ของกลางน้ำกระท่อม 120 ขวด และพรบ.ยา ของกลางยาแก้ไอ 449 ขวด
2. ร้าน Ratchasi คราฟต์ (มทส.) ผิด พรบ.อาหาร ของกลางน้ำกระท่อมจำนวน 2 ถัง
และ 3. ร้านรินเจริญ (มทส.) พบการจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย
JJNY : โดนอีกแล้ว ข้อมูลหลุด│“ณัฐพงษ์” ติงนโยบายดิจิทัลยังขาดมาตรฐานปลอดภัย│น้ำท่อมเกลื่อนเมือง│เวียดนามออกมาตรการจูงใจ
https://www.mcot.net/view/GC3AQKQ7
รายงานของบริษัท Resecurity ระบุว่าเฉพาะเดือน ม.ค. 2567 มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (Personal Identifiable Information: PII) ของคนไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูลรั่วไหลและถูกประกาศขายบนฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย
บริษัท Resecurity รายงานว่ส มีข้อมูลจากประเทศไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูล จาก 5 แหล่งที่มา รั่วไหลและถูกประกาศขายอยู่ในฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยข้อมูลทั้งหมด ล้วนเป็นข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลได้ (PII) ประกอบด้วย
ชุดข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลและประวัติคำสั่งซื้อจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ จากผู้ใช้งานจำนวน 160,000 ราย
ข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ในกองทัพเรือจำนวนกว่า 45,000 นาย
ข้อมูลจากเว็บไซต์ของเอกชน อาทิข้อมูลส่วนตัวกว่า 25,500 ชุดข้อมูล
ข้อมูลส่วนตัวของผู้ลงทะเบียนหางานทางออนไลน์กว่า 61,000 ชุดข้อมูล
ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งมีการรั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านแถวข้อมูล
ในช่วงต้นปี 2567 มีการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากแพลตฟอร์มที่เน้นผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งยืนยันว่าผู้แสดงภัยคุกคามกำลังมุ่งเป้าไปที่ข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยอย่างจริงจัง
ผู้คุกคามมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐในไทย เนื่องจากมีเอกสารส่วนตัวจำนวนมากทั้งในรูปแบบข้อความและกราฟิกที่ใช้สำหรับ KYC ("รู้จักลูกค้าของคุณ")
ในช่วงต้นเดือนมกราคม 2024 เพียงเดือนเดียว มีการโพสต์การละเมิดข้อมูลสำคัญอย่างน้อย 14 ครั้งที่เปิดเผยข้อมูลของพลเมืองในฟอรัมอาชญากรไซเบอร์ ซึ่งเกือบจะแซงหน้าปริมาณบันทึกที่ถูกบุกรุกประจำปีที่ระบุเมื่อปีที่แล้ว
ล่าสุดศาลอาญาในประเทศไทยมีคำสั่งให้ระงับเว็บไซต์ 9near.org การดำเนินการนี้เกิดขึ้นหลังจากเว็บไซต์ขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองไทย 55 ล้านคน ที่ถูกกล่าวหาว่าได้มาจากบันทึกการลงทะเบียนวัคซีน ศาลประกาศเพิ่มเติมว่าเว็บไซต์อื่นใดที่พบว่าเผยแพร่ข้อมูลจาก "9near.org" ก็จะถูกบล็อกด้วยเช่นกัน มาตรการนี้เป็นไปตามคำร้องขอจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ซึ่งกำลังเตรียมการสำหรับการจับกุมบุคคลที่รับผิดชอบต่อการแฮ็กข้อมูล
“ณัฐพงษ์” ติงนโยบายดิจิทัลยังขาดชัดเจนมาตรฐานปลอดภัยขั้นต่ำ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_673590/
“ณัฐพงษ์” ชี้ข้อมูลประชาชนหลุดจากหน่วยงานรัฐเกือบ 20 ล้านชุด สะท้อนช่องโหว่ในระบบภาครัฐ ขณะติงนโยบายดิจิทัลรัฐบาล ให้น้ำหนักดึงเม็ดเงินลงทุนตั้ง “data center” แต่ยังขาดความชัดเจนมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำ
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ให้ความเห็นต่อกรณีรายงานของบริษัท Resecurity ระบุว่า เฉพาะเดือนมกราคม 2567 มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวบุคคลของคนไทยเกือบ 20 ล้านชุดข้อมูลรั่วไหล และถูกประกาศขายบนฟอรัมซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย โดยเป็นข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุมากถึง 19.7 ล้านแถวข้อมูล
ข้อมูลที่หลุดครั้งนี้สะท้อนถึงเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มาโดยตลอด โดยเฉพาะในกรณีนี้เป็นข้อมูลที่น่ากังวลที่หลุดออกมาจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งปฏิเสธได้ยากว่าเป็นเรื่องของความบกพร่องในการบริหารจัดการข้อมูลประชาชนของภาครัฐ
จากสถิติในการแฮ็กข้อมูลและระบบ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากคนในที่แอบขโมยข้อมูลออกไปขายหรือใช้ช่องทางคนในในการเจาะระบบ ซึ่งในส่วนนี้ค่อนข้างป้องกันได้ยาก แต่จากที่ได้ติดตามข่าวข้อมูลรั่วไหลที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มีข้อมูลนักท่องเที่ยวหลุด หมายเลขบัตรประชาชนหลุด หรือช่วงสถานการณ์โควิดที่มีการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการโควิดของประชาชนออกมาขาย เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากคนในทั้งหมด แต่เป็นปัญหาจากระบบที่มีช่องโหว่ และนโยบายในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐที่ยังไม่ได้วางให้ถูกหลักการเท่าที่ควร
ทั้งนี้ แม้รัฐบาลจะมีการประกาศนโยบาย cloud first policy หรือการทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นคลาวด์ให้หมดแล้ว แต่ยังมีขั้นตอนของการบริหารจัดการที่ต้องวางกรอบในเรื่องของการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ในการให้ภาครัฐเป็นคนควบคุมข้อมูลและรักษาดูแลความปลอดภัยข้อมูลให้ประชาชน ไม่ใช่ให้ผู้รับเหมาควบคุมได้ทุกอย่าง
นายณัฐพงษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ท่าทีที่รัฐบาลแถลงออกมาเรื่องนโยบายด้านดิจิทัลของประเทศยังค่อนข้างให้น้ำหนักกับการดึงเม็ดเงินจากต่างชาติมาลงทุนในการตั้ง data center
ประมาณแสนกว่าล้านบาทเป็นหลัก แต่รัฐควรจะมองให้ครอบคลุมเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ด้วย ซึ่งยังไม่ได้เห็นการแถลงออกมาจากทางกระทรวงดิจิทัลฯ หรือทางรัฐบาลเองว่าจะมีการลงรายละเอียดในเรื่องนี้อย่างไร
ดังนั้น เรื่องนี้มีความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของประชาชนด้วย เช่น การให้นักลงทุนต่างชาติมาตั้ง data center ในไทยอย่างเดียวไม่พอ เมื่อจะนำบริการดิจิทัลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ที่มาตั้ง data center ในไทยแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือมาตรการในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของประชาชนเป็นอย่างไร
ซึ่งจากการที่ตนอยู่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญงบประมาณฯ ได้เชิญหน่วยงานด้านดิจิทัลหลายหน่วยงานเข้ามาชี้แจง พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าตกลงในงบประมาณปี 2568-2569 ที่จะเริ่มมีการ migrate ข้อมูลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ให้หมด จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในการปกป้องข้อมูลแบบไหน ถ้าเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ของไทยอยากเข้ามาให้บริการภาครัฐด้วยจะทำได้หรือไม่ ถ้าได้แล้วผู้ให้บริการจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำอย่างไร ดังนั้น ถ้ารัฐบาลอยากช่วยอุดช่องว่างและส่งสัญญาณเรื่อง cloud first policy รัฐบาลก็ควรออกมาแถลงความชัดเจนในเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องของความปลอดภัยไซเบอร์ด้วย
สำหรับกรณีแบบนี้คนที่เสียที่สุดก็คือ ประชาชน พอข้อมูลออกไปแล้วสามารถถูกเอาไปขยายผล ทำซ้ำ ส่งต่อได้อีกไม่รู้จบ นี่คือความน่ากลัวของเรื่องนี้ โดยที่เราไม่สามารถดึงข้อมูลกลับมาได้ รัฐบาลควรมีความชัดเจนในเรื่องนี้ ว่าตกลงเรื่องของสถาปัตยกรรมทางด้านดิจิทัลของประเทศที่มีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และคุ้มครองข้อมูลของประชาชนควรจะมีหน้าตาแบบไหน
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้ทำยาก เพราะถ้าดูในหลายๆ ประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลของรัฐบาลใช้คลาวด์กันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ ฯลฯ แต่ละที่มีมาตรฐานเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หมดแล้ว เขามีมาตรฐานไว้เลยว่าถ้ารัฐบาลจะเอาบริการดิจิทัลภาครัฐไปขึ้นคลาวด์ ผู้ให้บริการคลาวด์จะต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำอย่างไร เพราะฉะนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำยาก รัฐบาลสามารถไปศึกษาศึกษา เอามาปรับใช้ แล้วประกาศได้ทันทีเพื่อให้เกิดความชัดเจนในส่วนนี้ ประชาชนเองก็จะได้สบายใจด้วยว่า เรามีทิศทางในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
น้ำท่อมเกลื่อนเมือง โคราชลุยตรวจผับ เจอแอบขาย 2 ที่ ยึดยาแก้ไอยกลัง เกือบ 500 ขวด
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4413117
น้ำท่อมเกลื่อนเมือง โคราชลุยตรวจผับ เจอแอบขาย 2 ที่ ยึดยาแก้ไอยกลัง 449 ขวด
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครราชสีมา สั่งการให้ชุดปฏิบัติการจัดระเบียบสังคม ชุดปฏิบัติการพิเศษ.ปค.นม./ปค.อ.เมือง , สสจ.นม , สภ.เมือง นครราชสีมา สภ.โพธิ์กลาง และ ศดธ.จว ร่วมตรวจสอบสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ตามนโยบายจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ผลการตรวจสอบ จำนวน 11 ร้าน
ผลการปฏิบัติพบการกระทำความผิด 3 ร้าน ได่แก่
1. ร้านพลังใบ Korat (ตำบลในเมือง) ผิด พรบ.อาหาร ของกลางน้ำกระท่อม 120 ขวด และพรบ.ยา ของกลางยาแก้ไอ 449 ขวด
2. ร้าน Ratchasi คราฟต์ (มทส.) ผิด พรบ.อาหาร ของกลางน้ำกระท่อมจำนวน 2 ถัง
และ 3. ร้านรินเจริญ (มทส.) พบการจำหน่ายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย