https://mgronline.com/daily/detail/9670000010061
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ปี 2567 ธุรกิจการศึกษา “โรงเรียนนานาชาติ” ยังคงเติบโตต่อเนื่อง มีนักลงทุนโดดเข้ามา “ชิงเค้ก 7 หมื่นล้าน” ประกาศลงทุนในธุรกิจการศึกษานานาชาติกันอย่างต่อเนื่อง
สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) เปิดเผยว่ามูลค่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่หากนับโรงเรียนนานาชาติที่อยู่นอกสมาชิกสมาคมฯ มูลค่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
โรงเรียนนานาชาติทุกแห่งมีอัตราการเติบโตเพียงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ในพื้นที่เมืองหลวงเมืองท่องเที่ยวเติบโต 100% แต่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองเติบโต 10 - 50% โดยมีโรงเรียนนานาชาติที่เป็นสมาชิก ISAT จำนวน 170 กว่าแห่ง และมีนักเรียนในเครือของสมาชิกประมาณ 80,000 คน มีครูประมาณ 8,000 คน
อย่างไรก็ดี การเติบโตของธุรกิจ “โรงเรียนนานาชาติ” เรียกได้ว่าสวนกระแสซบเซา “โรงเรียนเอกชน” ที่จ่อคิวปิดตัวลงเนื่องด้วยขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซมพิษเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจโรงเรียนเอกชนส่งสัญญาณขาลงมาตั้งแต่ปี 2562 พบว่ามีการปิดตัวเพิ่ม 4 เท่า โดยวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่ง แม้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำหนดมาตรการในการส่งเสริม สนับสนุนให้การช่วยเหลือก็ตาม
สำหรับธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยมีแนวโน้มในทิศทางบวก ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติขยายตัวจากการขยายตัวของจำนวนคนไทย ผู้มีความมั่งคั่งสูง รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจ และทำงานในไทย เป็นกลุ่มศักยภาพทางการเงินสูง ต้องการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
เป็นที่ทราบกันว่าค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ยของโรงเรียนนานาชาติอยู่ในระดับราคาค่อนข้างสูงเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 1.25 แสนบาทต่อปี ไปจนถึงประมาณ 1 ล้านบาทต่อปี กลุ่มคนมั่งคั่งยินดีจ่ายเพื่อแลกกับคุณภาพการศึกษาที่ยอดเยี่ยมเป็นมาตรฐานสากลแก่ลูกหลาน
ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่เจาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเมืองสำคัญที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและการค้า เช่น ชลบุรี ที่ได้รับอานิสงส์จากการส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษ EEC รวมถึงภูเก็ต และเชียงใหม่ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว และการค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค รวมทั้ง จำนวนโรงเรียนนานาชาติมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รองรับอุปสงค์ที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง
10 ปีที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนนานาชาติมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 5% ต่อปี ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด จำนวนโรงเรียนนานาชาติในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดมีการขยายตัวเฉลี่ย 7% ต่อปี ส่งผลให้สัดส่วนจำนวนโรงเรียนนานาชาติในต่างจังหวัดปรับตัวสูงขึ้นจาก 34% ของจำนวนโรงเรียนนานาชาติ
อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เปิดเผยระหว่างปี 2563 – 2566จำนวนโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เพิ่มขึ้น 33 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 19 แห่ง, ชลบุรี 3 แห่ง, เชียงใหม่ 2 แห่ง และสมุทรปราการ นอกจากนี้ กระจายอยู่ใน 9 อาทิ นนทบุรี, ลพบุรี, อุดรธานี, ลำปาง, เชียงราย, กำแพงเพชร, สุราษฎร์ธานี และสงขลา พื้นที่ละ 1 แห่ง
โดยข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2566 จำนวนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมีทั้งหมด 234 โรงเรียน กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ อาทิ .กรุงเทพมหานคร 122 แห่ง, เชียงใหม่ 20 แห่ง, ชลบุรี 13 แห่ง, ภูเก็ต 12 แห่ง, สมุทรปราการ 10 แห่ง, นนทบุรี 8 แห่ง และสุราษฎร์ธานี 7 แห่ง
สำหรับแนวโน้มในปีการศึกษา 2567 คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว ทั้ง กรุงเทพฯ, ชลบุรี, เชียงใหม่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
บริษัท โอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือไทยสมุทรประกันชีวิต มองว่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติเริ่มได้รับความนิยมจากกลุ่มทุนรายใหญ่ มีการลงทุนสร้างเพิ่มเติมหลายแห่ง ซึ่งโอเชี่ยนฯ มีพอร์ตโรงเรียนนานาชาติ 2 แบรนด์คือ “เซนต์สตีเฟ่น” กับ “ไบรท์ตัน” นอกจากนี้ ยังเตรียมลงทุนสร้างโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ทำเลริมถนนวิภาวดีรังสิต มูลค่าลงทุน 1,000 ล้านบาท เปิดไซต์ก่อสร้างในปี 2567 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2569 โดยสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่บนแลนด์แบงก์ด้านหลังโรงเรียนนานาชาติเซนต์สตีเฟ่นในปัจจุบัน วางแผนรองรับนักเรียนเพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า จำนวน 1,200 คน โดยปัจจุบันแลนด์แบงก์ดังกล่าวมีเซนต์สตีเฟ่น ตั้งอยู่บนที่ดิน 3 ไร่ รองรับนักเรียน 400 - 500 คน สร้างมานานไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ขณะที่ บริษัท อรสิรินโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน เตรียมต่อยอดธุรกิจพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตรมาตรฐานสากลจากประเทศอังกฤษ แห่งแรกใน จ. เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการเจรจากับ โรงเรียน Mill Hill School โรงเรียนสัญชาติอังกฤษที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมายาวนานกว่า 200 ปี เพราะมองเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการขยายธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยในเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น ตามการขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่
บทวิเคราะห์ SCB EIC เผยว่าแนวโน้มการแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติมีความรุนแรงขึ้น ตามการขยายธุรกิจ รวมถึงยังเผชิญความท้าทายทั้งจำนวนนักเรียนที่อาจขยายตัวได้ช้าจากอัตราการเกิดใหม่ของประชากรไทย และต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งการแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามการขยายธุรกิจไปตามพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และปริมณฑล โดยที่ผ่านมาโรงเรียนนานาชาติที่มีประสบการณ์ และมีชื่อเสียงมายาวนาน ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใน กรุงเทพฯ ชั้นใน
และจากข้อจำกัดของทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประกอบกับการขยายตัวของความเป็นเมือง ส่งผลให้ผู้เล่นในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติทั้งผู้เล่นรายเดิมที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านการศึกษามีแผนขยาย Campus ออกไป รวมถึง ผู้เล่นรายใหม่ที่ได้เข้ามาลงทุนเปิดโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ส่วนใหญ่มีแผนที่จะพัฒนา โรงเรียนนานาชาติในพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และฝั่งทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ โดยยังเป็นการขยายธุรกิจ ที่สอดคล้องไปตามการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัย
พบว่าผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยหันมาพัฒนาโครงการ ที่อยู่อาศัยระดับบน อย่างบ้านเดี่ยวราคา 20 ล้านบาทขึ้นไปในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยกลุ่มนี้ เป็นผู้มีความมั่งคั่งสูง จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาตินับเป็นปัจจัยหนุนให้ ผู้เล่นในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติหันมาพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และฝั่งทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ มากขึ้นด้วยเช่นกัน
เช่น ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขตบางพลัด ตลิ่งชัน รวมไปถึง อำเภอเมืองนนทบุรี บางกรวย และบางบัวทอง ตามแนวถนนราชพฤกษ์ ฝั่งทิศตะวันออก ได้แก่ สวนหลวง บางนา ประเวศ พระโขนง สะพานสูง บึงกุ่ม ลาดกระบัง และตามแนวถนนวงแหวนฝั่งตะวันออก และถนนบางนา-ตราด ฯลฯ
ทั้งนี้ แนวโน้มการขยายธุรกิจโรงเรียนนานาชาติไปตามพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และปริมณฑล ซึ่งไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่โรงเรียน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนนานาชาติขนาดใหญ่ เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนได้มากขึ้น เช่น การเพิ่มจำนวนห้องเรียน อาคารเรียน หอพัก สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยมีเป้าหมายในการช่วงชิงจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาจากทั้งนักเรียนไทย และนักเรียนต่างชาติ ทั้งที่เข้ามาพร้อมกับครอบครัวที่เข้ามาประกอบธุรกิจ หรือเข้ามาทำงานในไทย รวมถึงนักเรียนจากกลุ่มประเทศ CLMV ที่ผู้ปกครองส่งเข้ามาเรียนในไทย
การช่วงชิงจำนวนนักเรียนจะเป็นไปอย่างรุนแรงมากขึ้น กลุ่มโรงเรียนนานาชาติที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก-สมุทรปราการ ที่มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ในช่วง 5 - 8 แสนบาทต่อปีจะมีการแข่งขันที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากยังคงมีอัตราการเข้าเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 44% ของความจุสูงสุดที่โรงเรียนสามารถรับนักเรียนได้ ซึ่งยังคงเหลือพื้นที่ว่างสำหรับรับนักเรียนใหม่ให้เต็มความจุสูงสุดอยู่ค่อนข้างมาก
ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องของมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้ร่วมหารือกับ นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย ถึงทิศทางพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ 200 กว่าแห่ง ทั้งการเพิ่มบุคลากร และการคุ้มครองการทำงานของผู้บริหารและครูต่างชาติ
โดย ศธ. จะขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในหลากหลายด้าน อาทิ การตั้งระบบศูนย์ข้อมูลของโรงเรียนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดเวลาในการดำเนินการและลดการใช้ทรัพยากร ตลอดจนดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน (Child Safeguarding) รวมทั้ง พิจารณาการนำประสบการณ์และความสามารถของครูชาวต่างประเทศ มาเทียบสำหรับการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พิจารณาคุณวุฒิการสอนหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (Teaching Qualification) ของครูประจำหลักสูตรต่าง ๆ ที่ได้รับจากต่างประเทศ เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการต่อวีซ่า และทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และพำนักในไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ จะจัดหาโรงเรียนนานาชาติที่สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบ และการเพิ่มประเภทของบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะสาขาวิชาเฉพาะด้าน เพื่อให้การพัฒนางานด้านการศึกษาของโรงเรียนให้มีความสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และให้พิจารณาเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้บริหารและครูชาวต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ทิ้งท้ายด้วยคำสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่าโรงเรียนนานาชาติ หรือโรงเรียนที่สอน English Program นับเป็นประเภทดาวรุ่งพุ่งแรง เพราะจับตลาดค่อนข้างตรงกลุ่มลูกค้า ซึ่งไทยกำลังผลักดันประเทศเข้าสู่ฮับทางการศึกษา เนื่องจากที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก มีนักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมาบางโรงเรียนมีนักเรียนไม่ถึง 100 คน แต่ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 100 - 200 คน เพราะโรงเรียนนานาชาติเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นนั่นเอง
ปีนี้นับเป็นปีทองของธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอย่างแท้จริง
ยุคทอง! โรงเรียนนานาชาติ นักลงทุน “ชิงเค้ก 7 หมื่นล้าน” ดันธุรกิจการศึกษาโตไม่แผ่ว
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ปี 2567 ธุรกิจการศึกษา “โรงเรียนนานาชาติ” ยังคงเติบโตต่อเนื่อง มีนักลงทุนโดดเข้ามา “ชิงเค้ก 7 หมื่นล้าน” ประกาศลงทุนในธุรกิจการศึกษานานาชาติกันอย่างต่อเนื่อง
สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) เปิดเผยว่ามูลค่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอยู่ที่ 7 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่หากนับโรงเรียนนานาชาติที่อยู่นอกสมาชิกสมาคมฯ มูลค่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
โรงเรียนนานาชาติทุกแห่งมีอัตราการเติบโตเพียงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ในพื้นที่เมืองหลวงเมืองท่องเที่ยวเติบโต 100% แต่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองเติบโต 10 - 50% โดยมีโรงเรียนนานาชาติที่เป็นสมาชิก ISAT จำนวน 170 กว่าแห่ง และมีนักเรียนในเครือของสมาชิกประมาณ 80,000 คน มีครูประมาณ 8,000 คน
อย่างไรก็ดี การเติบโตของธุรกิจ “โรงเรียนนานาชาติ” เรียกได้ว่าสวนกระแสซบเซา “โรงเรียนเอกชน” ที่จ่อคิวปิดตัวลงเนื่องด้วยขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซมพิษเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งธุรกิจโรงเรียนเอกชนส่งสัญญาณขาลงมาตั้งแต่ปี 2562 พบว่ามีการปิดตัวเพิ่ม 4 เท่า โดยวิกฤตการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่ง แม้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการศึกษาเอกชน และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำหนดมาตรการในการส่งเสริม สนับสนุนให้การช่วยเหลือก็ตาม
สำหรับธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยมีแนวโน้มในทิศทางบวก ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติขยายตัวจากการขยายตัวของจำนวนคนไทย ผู้มีความมั่งคั่งสูง รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจ และทำงานในไทย เป็นกลุ่มศักยภาพทางการเงินสูง ต้องการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
เป็นที่ทราบกันว่าค่าเล่าเรียนโดยเฉลี่ยของโรงเรียนนานาชาติอยู่ในระดับราคาค่อนข้างสูงเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณ 1.25 แสนบาทต่อปี ไปจนถึงประมาณ 1 ล้านบาทต่อปี กลุ่มคนมั่งคั่งยินดีจ่ายเพื่อแลกกับคุณภาพการศึกษาที่ยอดเยี่ยมเป็นมาตรฐานสากลแก่ลูกหลาน
ทำเลที่ตั้งของโรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่เจาะกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเมืองสำคัญที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและการค้า เช่น ชลบุรี ที่ได้รับอานิสงส์จากการส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษ EEC รวมถึงภูเก็ต และเชียงใหม่ ที่เป็นเมืองท่องเที่ยว และการค้าการลงทุนที่สำคัญของภูมิภาค รวมทั้ง จำนวนโรงเรียนนานาชาติมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รองรับอุปสงค์ที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง
10 ปีที่ผ่านมา จำนวนโรงเรียนนานาชาติมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 5% ต่อปี ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงต่างจังหวัด จำนวนโรงเรียนนานาชาติในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีการขยายตัวเฉลี่ย 4% ต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ต่างจังหวัดมีการขยายตัวเฉลี่ย 7% ต่อปี ส่งผลให้สัดส่วนจำนวนโรงเรียนนานาชาติในต่างจังหวัดปรับตัวสูงขึ้นจาก 34% ของจำนวนโรงเรียนนานาชาติ
อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เปิดเผยระหว่างปี 2563 – 2566จำนวนโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เพิ่มขึ้น 33 แห่ง แบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ 19 แห่ง, ชลบุรี 3 แห่ง, เชียงใหม่ 2 แห่ง และสมุทรปราการ นอกจากนี้ กระจายอยู่ใน 9 อาทิ นนทบุรี, ลพบุรี, อุดรธานี, ลำปาง, เชียงราย, กำแพงเพชร, สุราษฎร์ธานี และสงขลา พื้นที่ละ 1 แห่ง
โดยข้อมูลล่าสุด ณ ปี 2566 จำนวนโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยมีทั้งหมด 234 โรงเรียน กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ อาทิ .กรุงเทพมหานคร 122 แห่ง, เชียงใหม่ 20 แห่ง, ชลบุรี 13 แห่ง, ภูเก็ต 12 แห่ง, สมุทรปราการ 10 แห่ง, นนทบุรี 8 แห่ง และสุราษฎร์ธานี 7 แห่ง
สำหรับแนวโน้มในปีการศึกษา 2567 คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยว ทั้ง กรุงเทพฯ, ชลบุรี, เชียงใหม่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
บริษัท โอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัทในเครือไทยสมุทรประกันชีวิต มองว่าธุรกิจโรงเรียนนานาชาติเริ่มได้รับความนิยมจากกลุ่มทุนรายใหญ่ มีการลงทุนสร้างเพิ่มเติมหลายแห่ง ซึ่งโอเชี่ยนฯ มีพอร์ตโรงเรียนนานาชาติ 2 แบรนด์คือ “เซนต์สตีเฟ่น” กับ “ไบรท์ตัน” นอกจากนี้ ยังเตรียมลงทุนสร้างโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ทำเลริมถนนวิภาวดีรังสิต มูลค่าลงทุน 1,000 ล้านบาท เปิดไซต์ก่อสร้างในปี 2567 มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2569 โดยสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่บนแลนด์แบงก์ด้านหลังโรงเรียนนานาชาติเซนต์สตีเฟ่นในปัจจุบัน วางแผนรองรับนักเรียนเพิ่มขึ้น 2 - 3 เท่า จำนวน 1,200 คน โดยปัจจุบันแลนด์แบงก์ดังกล่าวมีเซนต์สตีเฟ่น ตั้งอยู่บนที่ดิน 3 ไร่ รองรับนักเรียน 400 - 500 คน สร้างมานานไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ขณะที่ บริษัท อรสิรินโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน เตรียมต่อยอดธุรกิจพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตรมาตรฐานสากลจากประเทศอังกฤษ แห่งแรกใน จ. เชียงใหม่ อยู่ระหว่างการเจรจากับ โรงเรียน Mill Hill School โรงเรียนสัญชาติอังกฤษที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมายาวนานกว่า 200 ปี เพราะมองเห็นถึงศักยภาพและโอกาสในการขยายธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของชาวไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่อาศัยในเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น ตามการขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่
บทวิเคราะห์ SCB EIC เผยว่าแนวโน้มการแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติมีความรุนแรงขึ้น ตามการขยายธุรกิจ รวมถึงยังเผชิญความท้าทายทั้งจำนวนนักเรียนที่อาจขยายตัวได้ช้าจากอัตราการเกิดใหม่ของประชากรไทย และต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งการแข่งขันของโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามการขยายธุรกิจไปตามพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และปริมณฑล โดยที่ผ่านมาโรงเรียนนานาชาติที่มีประสบการณ์ และมีชื่อเสียงมายาวนาน ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใน กรุงเทพฯ ชั้นใน
และจากข้อจำกัดของทำเลพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประกอบกับการขยายตัวของความเป็นเมือง ส่งผลให้ผู้เล่นในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติทั้งผู้เล่นรายเดิมที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านการศึกษามีแผนขยาย Campus ออกไป รวมถึง ผู้เล่นรายใหม่ที่ได้เข้ามาลงทุนเปิดโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ ส่วนใหญ่มีแผนที่จะพัฒนา โรงเรียนนานาชาติในพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และฝั่งทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ โดยยังเป็นการขยายธุรกิจ ที่สอดคล้องไปตามการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัย
พบว่าผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยหันมาพัฒนาโครงการ ที่อยู่อาศัยระดับบน อย่างบ้านเดี่ยวราคา 20 ล้านบาทขึ้นไปในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้มีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยกลุ่มนี้ เป็นผู้มีความมั่งคั่งสูง จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาตินับเป็นปัจจัยหนุนให้ ผู้เล่นในธุรกิจโรงเรียนนานาชาติหันมาพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และฝั่งทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ มากขึ้นด้วยเช่นกัน
เช่น ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ เขตบางพลัด ตลิ่งชัน รวมไปถึง อำเภอเมืองนนทบุรี บางกรวย และบางบัวทอง ตามแนวถนนราชพฤกษ์ ฝั่งทิศตะวันออก ได้แก่ สวนหลวง บางนา ประเวศ พระโขนง สะพานสูง บึงกุ่ม ลาดกระบัง และตามแนวถนนวงแหวนฝั่งตะวันออก และถนนบางนา-ตราด ฯลฯ
ทั้งนี้ แนวโน้มการขยายธุรกิจโรงเรียนนานาชาติไปตามพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นนอก และปริมณฑล ซึ่งไม่มีข้อจำกัดด้านขนาดพื้นที่โรงเรียน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนนานาชาติขนาดใหญ่ เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนได้มากขึ้น เช่น การเพิ่มจำนวนห้องเรียน อาคารเรียน หอพัก สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยมีเป้าหมายในการช่วงชิงจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาจากทั้งนักเรียนไทย และนักเรียนต่างชาติ ทั้งที่เข้ามาพร้อมกับครอบครัวที่เข้ามาประกอบธุรกิจ หรือเข้ามาทำงานในไทย รวมถึงนักเรียนจากกลุ่มประเทศ CLMV ที่ผู้ปกครองส่งเข้ามาเรียนในไทย
การช่วงชิงจำนวนนักเรียนจะเป็นไปอย่างรุนแรงมากขึ้น กลุ่มโรงเรียนนานาชาติที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก-สมุทรปราการ ที่มีอัตราค่าเล่าเรียนอยู่ในช่วง 5 - 8 แสนบาทต่อปีจะมีการแข่งขันที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากยังคงมีอัตราการเข้าเรียนของนักเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 44% ของความจุสูงสุดที่โรงเรียนสามารถรับนักเรียนได้ ซึ่งยังคงเหลือพื้นที่ว่างสำหรับรับนักเรียนใหม่ให้เต็มความจุสูงสุดอยู่ค่อนข้างมาก
ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องของมาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้ร่วมหารือกับ นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย ถึงทิศทางพัฒนาโรงเรียนนานาชาติ 200 กว่าแห่ง ทั้งการเพิ่มบุคลากร และการคุ้มครองการทำงานของผู้บริหารและครูต่างชาติ
โดย ศธ. จะขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการในหลากหลายด้าน อาทิ การตั้งระบบศูนย์ข้อมูลของโรงเรียนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดเวลาในการดำเนินการและลดการใช้ทรัพยากร ตลอดจนดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียน (Child Safeguarding) รวมทั้ง พิจารณาการนำประสบการณ์และความสามารถของครูชาวต่างประเทศ มาเทียบสำหรับการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พิจารณาคุณวุฒิการสอนหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (Teaching Qualification) ของครูประจำหลักสูตรต่าง ๆ ที่ได้รับจากต่างประเทศ เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการต่อวีซ่า และทำใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) และพำนักในไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ จะจัดหาโรงเรียนนานาชาติที่สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบ และการเพิ่มประเภทของบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะสาขาวิชาเฉพาะด้าน เพื่อให้การพัฒนางานด้านการศึกษาของโรงเรียนให้มีความสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และให้พิจารณาเกี่ยวกับการคุ้มครองการทำงานของผู้บริหารและครูชาวต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
ทิ้งท้ายด้วยคำสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมสถานศึกษาเอกชน จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่าโรงเรียนนานาชาติ หรือโรงเรียนที่สอน English Program นับเป็นประเภทดาวรุ่งพุ่งแรง เพราะจับตลาดค่อนข้างตรงกลุ่มลูกค้า ซึ่งไทยกำลังผลักดันประเทศเข้าสู่ฮับทางการศึกษา เนื่องจากที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก มีนักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมาบางโรงเรียนมีนักเรียนไม่ถึง 100 คน แต่ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 100 - 200 คน เพราะโรงเรียนนานาชาติเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นนั่นเอง
ปีนี้นับเป็นปีทองของธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอย่างแท้จริง