หลังจากรัฐยูทาห์ประหารชีวิตรอนนี่ ลี การ์ดเนอร์ ด้วยการยิงเป้า (firing squad) ในวัย 49 ปี ที่เรือนจำรัฐยูทาห์ ในเมืองเดรเปอร์ ในความผิดฐานยิงทนายไมเคิล เบอร์เดลล์ วัย 36 ปี ที่Metropolitan Hall of Justice,ซอลท์เลคซิตี้ ระหว่างการแหกศาลที่เพื่อหลบหนีการควบคุมตัว เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2528 หลังจากนั้นยูทาห์ก็ไม่ได้ประหารชีวิตใครอีกเลย เพราะว่าไม่มีนักโทษหมดอุทรณ์(คดีถึงที่สุด) ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 กฎหมายที่ลงนามโดยแกรี เฮอร์เบิร์ต ผู้ว่าการรัฐยูทาห์ ฟื้นฟูหน่วยยิงปืนซึ่งเป็นวิธีการประหารชีวิตทางกฎหมาย โดยกำหนดให้ต้องใช้หากรัฐไม่สามารถได้รับยาฉีดที่ทำให้ถึงตายที่จำเป็นได้ภายใน 30 วันนับจากวันประหารชีวิตตามกำหนด โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเดิม เมื่อสภานิติบัญญัติผ่านกฎหมาย HB180 ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งตัดสิทธิ์ของนักโทษประหารในการเลือกวิธีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ซึ่งนักโทษที่ไม่ได้เลือก/ถูกตัดสินประหารหลังจากนั้นจะถูกฉีดสารพิษ โดยกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลัง หมายความว่านักโทษที่เลือกวิธียิงเป้า ก่อนกฎหมายHB180 ออกมาบังคับจะสามารถถูกยิงเป้านั่นเองซึ่งมีนักโทษอยู่ 3 คน รวมถึง รอนนี่ด้วย ซึ่งสาเหตุที่ กฎหมายคืนการยิงเป้าออกมาในปีพ.ศ. 2558 มาจากรัฐต่างๆ พยายามดิ้นรนเพื่อรักษาสินค้าคงคลังเนื่องจากผู้ผลิตในยุโรปต่อต้านการลงโทษประหารชีวิตปฏิเสธที่จะขายส่วนประกอบของการฉีดยาพิษให้กับเรือนจำสหรัฐฯประกอบกับการประหารชีวิตที่ผิดพลาดด้วยการฉีดสารพิษถึง 3 ครั้งในปี2557นั่นก็คือ
1.การประหารชีวิตเดนนิส แมคไกวร์ อายุ 53 ปี เมื่อวันที่16 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่สิ่งอำนวยความสะดวกทัณฑสถานตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ ในเมืองลูคัสวิลล์ ของรัฐโอไฮโอ ในความผิดฐานข่มขืนและฆาตกรรมจอย สจ๊วต วัย 22 ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ2532 โดยศพของเธอถูกพบโดยนักปีนเขาที่ Bantas Creek จากการชันสูตรพลิกศพ พบว่าเธอเสียชีวิตจากการถูกมีดบาดคอ ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงคาโรติดและหลอดเลือดดำคอของเธอขาด
ภาพถ่ายหน้าตรงของเดนนิสในเรือนจำ
ต่อมาในเดือนกันยายน 2556 ยาเพนโทบาร์บาร์บิทอลของรัฐโอไฮโอหมดลง โดยยาดังกล่าวซึ่งเดิมผลิตในเดนมาร์กต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกที่เข้มงวด ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายให้กับหน่วยงานราชทัณฑ์ภายในสหรัฐอเมริกาได้และผู้ผลิตในยุโรปสั่งห้ามเรือนจำในสหรัฐอเมริกาใช้ยาในการประหารชีวิต ด้วยเหตุนี้ รัฐโอไฮโอจึงถูกบังคับให้ใช้ยาชุดใหม่เพื่อประหารชีวิตแมคไกวร์ รัฐจึงใช้มิดาโซแลม ซึ่งเป็นยาระงับประสาทและยาไฮโดรมอร์โฟนซึ่งเป็นยาแก้ปวดกลุ่มฝิ่นร่วมกัน แต่ยาชุดดังกล่าวยังไม่เคยถูกใช้ในการประหารชีวิตมาก่อน
ในช่วงเช้าของวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เมื่อเวลา 10:28 น. ที่สถานทัณฑ์ทางใต้ของรัฐโอไฮโอแมคไกวร์ถูกฉีดยาทั้งสองชนิดหลังจากที่เขาให้ถ้อยแถลงครั้งสุดท้าย ตามคำให้การของพยานในการประหารชีวิตหลังการเจ้าหน้าที่เริ่มเดินยาเป็นเวลา 4 นาที เขามองเห็นแมคไกวร์กำลังดิ้นรนและหายใจไม่ออกอย่างดัง แมคไกวร์ส่งเสียงหายใจไม่ออกและสำลัก ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบถึงสิบห้านาที เมื่อเวลา 10:53 น. แมคไกวร์ถูกประกาศว่าเสียชีวิตแล้ว โดยนับเป็นการประหารชีวิตที่ใช้เวลายาวนานที่สุดของรัฐ หลังจากการประหารชีวิตรัฐต้องใช้เวลากว่าสามปีก่อนที่รัฐโอไฮโอวางแผนที่จะรื้อฟื้นการประหารชีวิตอีกครั้งโดยใช้ยาสามชนิดผสมกัน ได้แก่มิดาโซแลมโรคิวโรเนียม โบรไมด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 โรนัลด์ ฟิลิปส์ ผู้ก่อเหตุฆ่าข่มขืนลูกสาวของตนเองในวัยเพียงแค่ 3 ขวบ ถูกประหารชีวิตและเป็นคนแรกในรอบ 3 ปี
2.โจเซฟ รูดอล์ฟ วูดที่ 3 โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ขณะอายุ 55 ปี ที่เรือนจำรัฐฟลอเรนซ์ เมืองฟลอเรนซ์ รัฐแอริโซนา ความผิดฐานฆาตกรรมและทำร้ายร่างกายหลังจากยิงเดบร้า ดีทซ์ แฟนสาวที่ห่างเหินของเขาและยูจีน ดีทซ์ พ่อของเธอเสียชีวิตในร้านขายตัวถังรถยนต์ในเทศมณฑลพิมา
ภาพถ่ายหน้าตรงของโจเซฟในเรือนจำ
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2532 โดยเขาถูกประหารชีวิตโดยการใช้มิดาโซแลมและไฮโดรมอร์โฟนซึ่งใช้ในการประหารชีวิตแมคไกวร์เพียงครั้งเดียวซึ่งวูดต้องได้รับการฉีดยาทั้งหมด 15 โดส โดยวูดอ้าปากค้างและสูดจมูกรวมถึงไอ 600 ครั้ง รวมเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงห้าสิบเจ็ดนาทีหลังจากฉีดยาและขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการประหารชีวิตควรใช้เวลาประมาณสิบนาที
ส่งผลให้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2014 แอริโซนาได้ระงับการประหารชีวิตเป็นการชั่วคราวหลังจากคดีวูด โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนขั้นตอนต่างๆ และการประหารชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นอีกในรัฐแอริโซนาเป็นเวลาแปดปีจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เมื่อคลาเรนซ์ ดิกสัน วับ 66 ปีถูกประหารชีวิตในข้อหาข่มขืนและสังหารหญิงวัย 21 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2521 ซึ่งคดีดังกล่าวไม่คลี่คลายจนถึงปีพ.ศ 2544
3.เคลย์ตัน ล็อกเก็ตต์ โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ขณะอายุ 38 ปี เรือนจำรัฐโอคลาโฮมา ในเมืองแมคอเลสเตอร์ รัฐโอคลาโฮมา ในความผิดฐานลักพาตัวและยิงสเตฟานี นีมาน ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายวัย 19 ปี แต่เธอไม่เสียชีวิต ทำให้ล็อกเก็ตต์และผู้สมรุร่วมคิดฝังเธอทั้งเป็นจนเป็นเหตุให้เธอเสียชีวิต
ภาพถ่ายหน้าตรงของเคลย์ตันในเรือนจำ
ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 หลังจากที่เขาถูกเจ้าหน้าที่ใช้ปืนซ็อตไฟฟ้าพราะเขาขัดขืนที่จะไม่ออกจากห้องขังเพื่อประหาร ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่การแพทย์พยายามสอด เข็ม IV เข้าไปในแขนซ้ายของ ล็อกเก็ตต์ สอง ครั้งแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเธอก็พยายามสอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดดำแขนของเขา ในกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์เบรคิไอ แต่ก็ล้มเหลวเช่นกัน เธอขอความช่วยเหลือจากแพทย์ที่เข้าร่วม จอห์นนี่ เซลล์เมอร์ ซึ่งพยายามสามครั้งเพื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่คอของล็อคเก็ตต์แต่ล้มเหลว จากนั้นเขาก็ลองตรวจหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับกระดูกไหปลาร้าของ ล็อกเก็ตต์ แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้ง เจ้าหน้าที่พยายามเจาะเส้นเลือด 2 เส้นที่เท้าซ้ายแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเซลล์เมอร์ก็สอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดดำต้นขาที่ขาหนีบเมื่อ เริ่มประหารเวลา 18:23 น. ตามเวลาCDT เมื่อให้ ยา มิดาโซแลม (ยาระงับประสาท) ตัวแรก หลังจากที่ ล็อกเก็ตต์ ถูกประกาศว่าหมดสติเมื่อเวลา 18:33 น. ได้มีการฉีดยาอีก 2 ชนิด ได้แก่vecuronium bromide (อัมพาต) และโพแทสเซียมคลอไรด์ (เพื่อหยุดหัวใจเต้น) อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 18:36 น. สามนาทีหลังจากถูกประกาศว่าหมดสติ ล็อกเก็ตต์เริ่มดิ้นอย่างรุนแรงและสามารถเงยหน้าขึ้นพูดได้ โดยพูดว่า "โอ้เพื่อน" "ฉันไม่..." และตามที่บางคนบอก แหล่งที่มา "มีบางอย่างผิดปกติ" เขาพยายามลุกจากโต๊ะเวลา 18:37 น. และหายใจออกเสียงดัง มี รายงานว่าทนายความของ ล็อกเก็ตต์ กล่าวว่า "มันดูเหมือนเป็นการทรมาน" ผู้ อำนวย การกรมราชทัณฑ์โอคลาโฮมาโรเบิร์ต แพตตัน กล่าวว่าแพทย์คนหนึ่งในปัจจุบันหยุดการประหารชีวิตเมื่อเห็นได้ชัดว่าล็อกเก็ตต์มี "หลอดเลือดดำล้มเหลว" การประหารชีวิตยุติเมื่อเวลา 18:56 น. ล็อกเกตต์ถูกประกาศว่าเสียชีวิตเมื่อเวลา 19:06 น. เนื่องจากอาการหัวใจวาย จากการการสอบสวนในเวลาต่อมาพบว่ายาทั้งสามชนิดได้รับการบริหารอย่างเหมาะสมให้กับ ล็อกเก็ตต์อย่างไรก็ตาม มันเป็นผ้าที่พันไว้เหนือขาหนีบของล็อคเก็ตต์เพื่อป้องกันไม่ให้พยานเข้ามาดูบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สังเกตเห็นว่าการเชื่อมต่อทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบล้มเหลวเนื่องจากหลอดเลือดดำที่ยุบ แพทย์ที่เข้าร่วมการประหารชีวิตระบุว่า ล็อกเก็ตต์ได้รับยาไม่เพียงพอที่จะทำให้เสียชีวิตและมียาเหลือไม่เพียงพอที่จะพยายามต่อไป การประหารชีวิตก็หยุดลงหลังจากผ่านไป 33 นาที มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่เรือนจำพูดคุยกันที่จะพาล็อกเก็ตต์ ไปโรงพยาบาลก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย แพตตันระบุว่า "
สารเคมีไม่ได้เข้าสู่ผู้กระทำความผิด"
แพทย์ตรวจ IV และรายงานว่าหลอดเลือดดำยุบ และยาซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อ รั่วไหลออกมา หรือทั้งสองอย่าง [...] แพตตันถามว่าได้รับยาเพียงพอที่จะทำให้เสียชีวิตหรือไม่ ซึ่งแพทย์ตอบว่า "ไม่" ผู้อำนวยการจึงถามว่ามีเส้นเลือดอีกเส้นหนึ่งสำหรับการประหารชีวิตหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้น ยังมียาเหลืออยู่เพียงพอหรือไม่ แพทย์ตอบว่าไม่ทั้งสองคำถาม
จากข้อมูลของกรมราชทัณฑ์รัฐโอกลาโอมา เวลาที่นักโทษจะถูกประกาศว่าเสียชีวิตคือ 6 ถึง 12 นาทีในการประหารชีวิต 19 ครั้งก่อนหน้าล็อกเก็ตต์
โดยหลังจากนั้นรัฐได้ประหารชีวิต ชาร์ลส์ เฟรเดอริก วอร์เนอร์ ผู้ก่อเหตุฆ่าข่มขืนลูกสาววัย 11 เดือน เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ 2558 หลังจากนั้นก็ไม่มีการประหารเลยเป็นเวลา เกือบ 7 ปี จนมีการประหารชีวิตจอห์น แกรนท์ เมื่อปี พ.ศ.2563 ในความผิดฐานฆาตกรรมพนักงานโรงอาหารของเรือนจำ โดยการประหารชีวิตของเขามีรายงานมีว่าแกรนท์ชัก แต่ทางเรือนจำบอกการประหารชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 การจัดหาโซเดียมไธโอเพนทอลซึ่งเป็นยาตัวแรกที่ทำให้นักโทษผ่อนคลายในการฉีดสารพิษหาได้ยากขึ้นในสหรัฐ เนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ประกาศห้ามการส่งออกโซเดียมไทโอเพนทอลในเดือนธันวาคมพ.ศ.2553 โดยตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปได้ขยายข้อจำกัดทางการค้าเพื่อป้องกันการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาบางชนิดเพื่อการลงโทษประหารชีวิต โดยระบุว่า "สหภาพไม่อนุมัติการลงโทษประหารชีวิตในทุกสถานการณ์ " ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนยาในการประหารชีวิตในประเทศที่ใช้การฉีดสารพิษซึ่งมี สหรัฐและเวียดนามที่เพิ่งนำการยิงเป้าออกซึ่งมีมีรายงานว่ากรมตำรวจเวียดนามได้สร้างศูนย์ 10 แห่งและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หลายร้อยคนให้ดำเนินการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษ ในปีพ.ศ.2555เวียดนามไม่สามารถประหารชีวิตนักโทษได้ซึ่ง มีนักโทษที่คดีเด็ดขาดแล้วกว่า 450 คน รอคิวประหาร หลังจากที่เวียดยกเลิกยิงเป้าไป โดยกระทรวงตำรวจเวียดนามเสนอแนะให้ยุติหน่วยยิงปืนเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 โดยระบุว่า หน่วยดังกล่าวนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตในกรณีที่มีสมาชิกคนหนึ่งของทีมยิง ในขณะที่คนอื่นๆ อีกหลายคนลาออกจากราชการ ซึ่งการยิงเป้าครั้งสุดท้ายครั้งสุดท้ายของเวียดนามคือการประหารชีวิต Van Dinh Hieu อายุ 26 ปี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ 2554 ในความผิดฐานสังหาร Le Thi Cuc อานุ 61 ปี และแทง Le Van Tong สามี กับ Cuc Nguyen Thi Ly สาวใช้ จนได้รับบาดเจ็บ ที่เมืองนินห์ถ่วนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ซึ่งเขาหมดสติขณะศาลตัดสินประหารชีวิต ซึ่งการฉีดสารพิษโดนแทนในเดือน
พฤศจิกายนของปีเดียวกันแต่ก็ยังไม่มีการฉีดสารพิษเกิดขึ้น โดยในช่วงที่เวียดนามยังใช้การยิงเป้าเวียดนามจะปุปุนักโทษไปปีละประมาณ 100 คน โดยในช่วงต้นปีพ.ศ. 2556 เวียดนามได้แก้ปัญหาการขาดแคลนยาที่ใช้ในการประหารชีวิตโดยการผลิตยาประหารเองเลย ยาที่ใช้ในการประหารชีวิตนักโทษก็จะผลิตในเวียดนาม ส่งผลให้สามารถกลับมาฉีดสารพิษได้ และบุคคลแรกที่ถูกฉีดสารพิษในเวียดนามคือ Nguyen Anh Tuan ในความผิดฐานปล้นฆ่าพนักงานปั๊มน้ำมันในเมือง Me Linh เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 โดยระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เวียดนามได้ประหารชีวิตผู้คนไป 429 ราย ด้วยการฉีดสารพิษ
Van Dinh Hieu ขณะอยู่ในศาล
สหรัฐเข้าใกล้การยิงเป้าครั้งแรกในรอบ 14 ปี
1.การประหารชีวิตเดนนิส แมคไกวร์ อายุ 53 ปี เมื่อวันที่16 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่สิ่งอำนวยความสะดวกทัณฑสถานตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ ในเมืองลูคัสวิลล์ ของรัฐโอไฮโอ ในความผิดฐานข่มขืนและฆาตกรรมจอย สจ๊วต วัย 22 ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ2532 โดยศพของเธอถูกพบโดยนักปีนเขาที่ Bantas Creek จากการชันสูตรพลิกศพ พบว่าเธอเสียชีวิตจากการถูกมีดบาดคอ ซึ่งทำให้หลอดเลือดแดงคาโรติดและหลอดเลือดดำคอของเธอขาด
ภาพถ่ายหน้าตรงของเดนนิสในเรือนจำ
ต่อมาในเดือนกันยายน 2556 ยาเพนโทบาร์บาร์บิทอลของรัฐโอไฮโอหมดลง โดยยาดังกล่าวซึ่งเดิมผลิตในเดนมาร์กต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกที่เข้มงวด ซึ่งทำให้ไม่สามารถขายให้กับหน่วยงานราชทัณฑ์ภายในสหรัฐอเมริกาได้และผู้ผลิตในยุโรปสั่งห้ามเรือนจำในสหรัฐอเมริกาใช้ยาในการประหารชีวิต ด้วยเหตุนี้ รัฐโอไฮโอจึงถูกบังคับให้ใช้ยาชุดใหม่เพื่อประหารชีวิตแมคไกวร์ รัฐจึงใช้มิดาโซแลม ซึ่งเป็นยาระงับประสาทและยาไฮโดรมอร์โฟนซึ่งเป็นยาแก้ปวดกลุ่มฝิ่นร่วมกัน แต่ยาชุดดังกล่าวยังไม่เคยถูกใช้ในการประหารชีวิตมาก่อน
ในช่วงเช้าของวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เมื่อเวลา 10:28 น. ที่สถานทัณฑ์ทางใต้ของรัฐโอไฮโอแมคไกวร์ถูกฉีดยาทั้งสองชนิดหลังจากที่เขาให้ถ้อยแถลงครั้งสุดท้าย ตามคำให้การของพยานในการประหารชีวิตหลังการเจ้าหน้าที่เริ่มเดินยาเป็นเวลา 4 นาที เขามองเห็นแมคไกวร์กำลังดิ้นรนและหายใจไม่ออกอย่างดัง แมคไกวร์ส่งเสียงหายใจไม่ออกและสำลัก ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบถึงสิบห้านาที เมื่อเวลา 10:53 น. แมคไกวร์ถูกประกาศว่าเสียชีวิตแล้ว โดยนับเป็นการประหารชีวิตที่ใช้เวลายาวนานที่สุดของรัฐ หลังจากการประหารชีวิตรัฐต้องใช้เวลากว่าสามปีก่อนที่รัฐโอไฮโอวางแผนที่จะรื้อฟื้นการประหารชีวิตอีกครั้งโดยใช้ยาสามชนิดผสมกัน ได้แก่มิดาโซแลมโรคิวโรเนียม โบรไมด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 โรนัลด์ ฟิลิปส์ ผู้ก่อเหตุฆ่าข่มขืนลูกสาวของตนเองในวัยเพียงแค่ 3 ขวบ ถูกประหารชีวิตและเป็นคนแรกในรอบ 3 ปี
2.โจเซฟ รูดอล์ฟ วูดที่ 3 โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ขณะอายุ 55 ปี ที่เรือนจำรัฐฟลอเรนซ์ เมืองฟลอเรนซ์ รัฐแอริโซนา ความผิดฐานฆาตกรรมและทำร้ายร่างกายหลังจากยิงเดบร้า ดีทซ์ แฟนสาวที่ห่างเหินของเขาและยูจีน ดีทซ์ พ่อของเธอเสียชีวิตในร้านขายตัวถังรถยนต์ในเทศมณฑลพิมา
ภาพถ่ายหน้าตรงของโจเซฟในเรือนจำ
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2532 โดยเขาถูกประหารชีวิตโดยการใช้มิดาโซแลมและไฮโดรมอร์โฟนซึ่งใช้ในการประหารชีวิตแมคไกวร์เพียงครั้งเดียวซึ่งวูดต้องได้รับการฉีดยาทั้งหมด 15 โดส โดยวูดอ้าปากค้างและสูดจมูกรวมถึงไอ 600 ครั้ง รวมเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงห้าสิบเจ็ดนาทีหลังจากฉีดยาและขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเกือบสองชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการประหารชีวิตควรใช้เวลาประมาณสิบนาที
ส่งผลให้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2014 แอริโซนาได้ระงับการประหารชีวิตเป็นการชั่วคราวหลังจากคดีวูด โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนขั้นตอนต่างๆ และการประหารชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นอีกในรัฐแอริโซนาเป็นเวลาแปดปีจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เมื่อคลาเรนซ์ ดิกสัน วับ 66 ปีถูกประหารชีวิตในข้อหาข่มขืนและสังหารหญิงวัย 21 ปี เมื่อปีพ.ศ. 2521 ซึ่งคดีดังกล่าวไม่คลี่คลายจนถึงปีพ.ศ 2544
3.เคลย์ตัน ล็อกเก็ตต์ โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ขณะอายุ 38 ปี เรือนจำรัฐโอคลาโฮมา ในเมืองแมคอเลสเตอร์ รัฐโอคลาโฮมา ในความผิดฐานลักพาตัวและยิงสเตฟานี นีมาน ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายวัย 19 ปี แต่เธอไม่เสียชีวิต ทำให้ล็อกเก็ตต์และผู้สมรุร่วมคิดฝังเธอทั้งเป็นจนเป็นเหตุให้เธอเสียชีวิต
ภาพถ่ายหน้าตรงของเคลย์ตันในเรือนจำ
ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 หลังจากที่เขาถูกเจ้าหน้าที่ใช้ปืนซ็อตไฟฟ้าพราะเขาขัดขืนที่จะไม่ออกจากห้องขังเพื่อประหาร ในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่การแพทย์พยายามสอด เข็ม IV เข้าไปในแขนซ้ายของ ล็อกเก็ตต์ สอง ครั้งแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเธอก็พยายามสอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดดำแขนของเขา ในกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์เบรคิไอ แต่ก็ล้มเหลวเช่นกัน เธอขอความช่วยเหลือจากแพทย์ที่เข้าร่วม จอห์นนี่ เซลล์เมอร์ ซึ่งพยายามสามครั้งเพื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำที่คอของล็อคเก็ตต์แต่ล้มเหลว จากนั้นเขาก็ลองตรวจหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับกระดูกไหปลาร้าของ ล็อกเก็ตต์ แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้ง เจ้าหน้าที่พยายามเจาะเส้นเลือด 2 เส้นที่เท้าซ้ายแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นเซลล์เมอร์ก็สอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดดำต้นขาที่ขาหนีบเมื่อ เริ่มประหารเวลา 18:23 น. ตามเวลาCDT เมื่อให้ ยา มิดาโซแลม (ยาระงับประสาท) ตัวแรก หลังจากที่ ล็อกเก็ตต์ ถูกประกาศว่าหมดสติเมื่อเวลา 18:33 น. ได้มีการฉีดยาอีก 2 ชนิด ได้แก่vecuronium bromide (อัมพาต) และโพแทสเซียมคลอไรด์ (เพื่อหยุดหัวใจเต้น) อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 18:36 น. สามนาทีหลังจากถูกประกาศว่าหมดสติ ล็อกเก็ตต์เริ่มดิ้นอย่างรุนแรงและสามารถเงยหน้าขึ้นพูดได้ โดยพูดว่า "โอ้เพื่อน" "ฉันไม่..." และตามที่บางคนบอก แหล่งที่มา "มีบางอย่างผิดปกติ" เขาพยายามลุกจากโต๊ะเวลา 18:37 น. และหายใจออกเสียงดัง มี รายงานว่าทนายความของ ล็อกเก็ตต์ กล่าวว่า "มันดูเหมือนเป็นการทรมาน" ผู้ อำนวย การกรมราชทัณฑ์โอคลาโฮมาโรเบิร์ต แพตตัน กล่าวว่าแพทย์คนหนึ่งในปัจจุบันหยุดการประหารชีวิตเมื่อเห็นได้ชัดว่าล็อกเก็ตต์มี "หลอดเลือดดำล้มเหลว" การประหารชีวิตยุติเมื่อเวลา 18:56 น. ล็อกเกตต์ถูกประกาศว่าเสียชีวิตเมื่อเวลา 19:06 น. เนื่องจากอาการหัวใจวาย จากการการสอบสวนในเวลาต่อมาพบว่ายาทั้งสามชนิดได้รับการบริหารอย่างเหมาะสมให้กับ ล็อกเก็ตต์อย่างไรก็ตาม มันเป็นผ้าที่พันไว้เหนือขาหนีบของล็อคเก็ตต์เพื่อป้องกันไม่ให้พยานเข้ามาดูบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สังเกตเห็นว่าการเชื่อมต่อทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบล้มเหลวเนื่องจากหลอดเลือดดำที่ยุบ แพทย์ที่เข้าร่วมการประหารชีวิตระบุว่า ล็อกเก็ตต์ได้รับยาไม่เพียงพอที่จะทำให้เสียชีวิตและมียาเหลือไม่เพียงพอที่จะพยายามต่อไป การประหารชีวิตก็หยุดลงหลังจากผ่านไป 33 นาที มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่เรือนจำพูดคุยกันที่จะพาล็อกเก็ตต์ ไปโรงพยาบาลก่อนที่เขาจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย แพตตันระบุว่า "สารเคมีไม่ได้เข้าสู่ผู้กระทำความผิด"
แพทย์ตรวจ IV และรายงานว่าหลอดเลือดดำยุบ และยาซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อ รั่วไหลออกมา หรือทั้งสองอย่าง [...] แพตตันถามว่าได้รับยาเพียงพอที่จะทำให้เสียชีวิตหรือไม่ ซึ่งแพทย์ตอบว่า "ไม่" ผู้อำนวยการจึงถามว่ามีเส้นเลือดอีกเส้นหนึ่งสำหรับการประหารชีวิตหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้น ยังมียาเหลืออยู่เพียงพอหรือไม่ แพทย์ตอบว่าไม่ทั้งสองคำถาม
จากข้อมูลของกรมราชทัณฑ์รัฐโอกลาโอมา เวลาที่นักโทษจะถูกประกาศว่าเสียชีวิตคือ 6 ถึง 12 นาทีในการประหารชีวิต 19 ครั้งก่อนหน้าล็อกเก็ตต์
โดยหลังจากนั้นรัฐได้ประหารชีวิต ชาร์ลส์ เฟรเดอริก วอร์เนอร์ ผู้ก่อเหตุฆ่าข่มขืนลูกสาววัย 11 เดือน เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ 2558 หลังจากนั้นก็ไม่มีการประหารเลยเป็นเวลา เกือบ 7 ปี จนมีการประหารชีวิตจอห์น แกรนท์ เมื่อปี พ.ศ.2563 ในความผิดฐานฆาตกรรมพนักงานโรงอาหารของเรือนจำ โดยการประหารชีวิตของเขามีรายงานมีว่าแกรนท์ชัก แต่ทางเรือนจำบอกการประหารชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 การจัดหาโซเดียมไธโอเพนทอลซึ่งเป็นยาตัวแรกที่ทำให้นักโทษผ่อนคลายในการฉีดสารพิษหาได้ยากขึ้นในสหรัฐ เนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ประกาศห้ามการส่งออกโซเดียมไทโอเพนทอลในเดือนธันวาคมพ.ศ.2553 โดยตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สหภาพยุโรปได้ขยายข้อจำกัดทางการค้าเพื่อป้องกันการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาบางชนิดเพื่อการลงโทษประหารชีวิต โดยระบุว่า "สหภาพไม่อนุมัติการลงโทษประหารชีวิตในทุกสถานการณ์ " ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนยาในการประหารชีวิตในประเทศที่ใช้การฉีดสารพิษซึ่งมี สหรัฐและเวียดนามที่เพิ่งนำการยิงเป้าออกซึ่งมีมีรายงานว่ากรมตำรวจเวียดนามได้สร้างศูนย์ 10 แห่งและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หลายร้อยคนให้ดำเนินการประหารชีวิตด้วยการฉีดยาพิษ ในปีพ.ศ.2555เวียดนามไม่สามารถประหารชีวิตนักโทษได้ซึ่ง มีนักโทษที่คดีเด็ดขาดแล้วกว่า 450 คน รอคิวประหาร หลังจากที่เวียดยกเลิกยิงเป้าไป โดยกระทรวงตำรวจเวียดนามเสนอแนะให้ยุติหน่วยยิงปืนเป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 โดยระบุว่า หน่วยดังกล่าวนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตในกรณีที่มีสมาชิกคนหนึ่งของทีมยิง ในขณะที่คนอื่นๆ อีกหลายคนลาออกจากราชการ ซึ่งการยิงเป้าครั้งสุดท้ายครั้งสุดท้ายของเวียดนามคือการประหารชีวิต Van Dinh Hieu อายุ 26 ปี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ 2554 ในความผิดฐานสังหาร Le Thi Cuc อานุ 61 ปี และแทง Le Van Tong สามี กับ Cuc Nguyen Thi Ly สาวใช้ จนได้รับบาดเจ็บ ที่เมืองนินห์ถ่วนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2551 ซึ่งเขาหมดสติขณะศาลตัดสินประหารชีวิต ซึ่งการฉีดสารพิษโดนแทนในเดือน
พฤศจิกายนของปีเดียวกันแต่ก็ยังไม่มีการฉีดสารพิษเกิดขึ้น โดยในช่วงที่เวียดนามยังใช้การยิงเป้าเวียดนามจะปุปุนักโทษไปปีละประมาณ 100 คน โดยในช่วงต้นปีพ.ศ. 2556 เวียดนามได้แก้ปัญหาการขาดแคลนยาที่ใช้ในการประหารชีวิตโดยการผลิตยาประหารเองเลย ยาที่ใช้ในการประหารชีวิตนักโทษก็จะผลิตในเวียดนาม ส่งผลให้สามารถกลับมาฉีดสารพิษได้ และบุคคลแรกที่ถูกฉีดสารพิษในเวียดนามคือ Nguyen Anh Tuan ในความผิดฐานปล้นฆ่าพนักงานปั๊มน้ำมันในเมือง Me Linh เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 โดยระหว่างวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เวียดนามได้ประหารชีวิตผู้คนไป 429 ราย ด้วยการฉีดสารพิษ
Van Dinh Hieu ขณะอยู่ในศาล